project เด็กและเยาวชน

High Scope พัฒนาเด็กอนุบาลเน้นการลงมือทำ

ร่วมมอบสื่อการเรียนรู้สำหรับการสอนแบบ High-Scope ให้เด็กเล็ก 854 คน ใน 20 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.ลพบุรี การมีสื่อที่เหมาะสมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย

ระยะเวลาโครงการ 1ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ลพบุรี

ยอดบริจาคขณะนี้

230,000 บาท

เป้าหมาย

230,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 59

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบสื่อการเรียนรู้ให้เด็กเล็ก 854 คน ใน 20 ศูนย์ฯ จ.ลพบุรี

5 พฤศจิกายน 2019

โครงการส่งเสริมศักยภาพให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.) ที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดลพบุรี ได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ High scope โดยส่งครูเข้ารับการอบรม (on site training) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนให้เด็กเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำด้วยตนเองเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้หรือเรียกว่า child center เป็นการเรียนรู้วิชาการผ่านการเล่นของเด็กๆ ผ่านมุมกระตุ้นพัฒนาการหรือมุมของเล่นอย่างน้อย 5 มุม มีรายละเอียดดังนี้

1) มุมหนังสือ ได้แก่ นิทานและชั้นวางหนังสือ ให้เด็กๆ เลือกนิทานที่ชอบมาเปิดดู หรือให้คุณครูอ่านให้ฟัง

2)มุมศิลปะ ได้แก่ ดินน้ำมัน กระดาษ อุปกรณ์ระบายสี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามจินตนาการ

3) มุมวิทยาศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์จำลองและอุปกรณ์จริง เพื่อนเรียนรู้การใช้และเข้าใจ ความสัมพันธ์ของสิ่งของ เช่น ลูกโลก ตราชั่ง แว่นขยาย 

4) มุมบล็อก บล็อกไม้หรือตัวต่อเพื่อประกอบเป็นสิ่งต่างๆ ตามความคิด และจินตนาการ

5) มุมบ้าน ชุดเครื่องครัว อุปกรณ์สำหรับเล่นบทบาทสมมติ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนแบบ High scope จำนวน 20 ศูนย์ มีเด็กได้รับการกระตุ้น พัฒนาการผ่านการเล่นโดยครูเป็นผู้ดูแล 854 คน และภายหลังที่ “เทใจดอทคอม” ได้ระดมทุนช่วยเหลือ ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงได้กระจายของเล่นให้แต่ละศูนย์ตามของเล่นที่จะซื้อทั้ง 20 ศูนย์ ดังนี้ 

  1. เทศบาลตำบลถนนใหญ่
  2. ศูนย์การบินทหารบก
  3. เทศบาลตำบลเขาพระงาม
  4. ดงน้อย
  5. อบต.บางคู้
  6. วัดหัวสำโรง
  7. วัดบ้านกล้วย
  8. บ้านนกเขาเปล้า
  9. บ้านหนองปล้อง
  10. เพนียด
  11. อบต.วังขอนขว้าง
  12. อบต.ดงมะรุม
  13. บ้านหนองโก
  14. อบต.ท่ามะนาว
  15. อบต.ห้วยหิน
  16. อบต.ยางราก
  17. ทต.พัฒนานิคม
  18. ร.ร.บ้านหนองโพธิ์
  19. อบต.เขาน้อย
  20. ร.ร.บ้านหนองประดู่

ภาพมอบของเล่นให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก




ผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก

เด็กอายุ 3-4 ปี ของจังหวัดลพบุรีที่ผ่านการใช้ high scope 6 เดือน และใช้ของเล่น ทำให้เด็กมีทักษะทางสมองสูงกว่าค่ากลางของประเทศ

ผลการประเมินพัฒนาการเด็กเมื่อผ่านการใช้ของเล่นตามมุมประมาณ 6 เดือน ตามที่ได้นำเสนอไปนั้น ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วัดพัฒนาการเด็กเรื่อง ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จหรือ Executive function (EF) ในเด็กอายุ 3-4 ปี โดยใช้แบบประเมิน MU.EF-101 สุ่มเลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 5 ศูนย์ จาก 20 ศูนย์ ที่ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ high scope และได้ใช้ของเล่นที่ “เทใจ” ระดมทุนสนับสนุน มีผลการประเมินเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานเด็กไทย อายุ 2-6 ปี ดังนี้


ผลการสุ่มประเมิน EF ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผ่านการใช้ high scope จำนวน 5 ศูนย์ เทียบกับค่ากลางของประเทศไทย สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ย <40 (ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยควรปรับปรุง) พบร้อยละ 0.6 ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางของประเทศซึ่งพบร้อยละ 14, ค่าคะแนนเฉลี่ย 40-44 (ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยควรพัฒนา) พบร้อยละ 0.6 ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางของประเทศซึ่งพบร้อยละ 14, ค่าคะแนนเฉลี่ย 45-55 (เกณฑ์เฉลี่ยปานกลาง) พบร้อยละ 42.90 ซึ่งมากกว่าค่ากลางของประเทศร้อยละ 38, ค่าคะแนนเฉลี่ย 56-60 (สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อย ดี) พบร้อยละ 26.70 ซึ่งมากกว่าค่ากลางประเทศร้อยละ16 และค่าคะแนนเฉลี่ย >60 (สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ดีมาก) พบร้อยละ 29.20 ซึ่งมากกว่าค่ากลางของประเทศร้อยละ 18

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เด็ก 2 ขวบ สามารถทำอะไรได้บ้าง

กินข้าวเองได้ไหม?
รู้จักเข้าคิว และรอคอยได้หรือยัง?
เก็บของเล่นเข้าที่ทุกครั้งหรือไม่?

ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.เขาน้อย อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เด็กสามารถทำได้ดีทุกคน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่พึ่งพาของผู้ปกครองที่หาเช้ากินค่ำในการดูแลลูกน้อย ได้นำระบบการสอนแบบ High-Scope ไปปรับใช้ ทำให้ประสิทธิผลเทียบเท่ากับคอร์สการเรียนแสนแพงที่สอนอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเมืองกรุง


บรรยายภาพ : ทุกการเปลี่ยนกิจกรรมเด็กต้องเข้าคิวรอคอย

ระบบการสอนเด็กแบบ High-Scope คือ การผสมผสานการเรียนและการเล่น ที่คิดค้นโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ศ.เจมส์ เจ.แฮคเมน ทำให้การดำเนินการแบบนี้ต้นทุนไม่สูง แถมได้ผลลัพท์มากถึง 7 เท่า เพียงแค่ปรับปรุงเครื่องมือในการสอน และเพิ่มบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไป

เราจึงอยากชวนทุกคนมาร่วมให้โอกาสน้อง 854 คน ที่เรียนใน 20 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน จ.ลพบุรีให้ได้รับการพัฒนาที่ดี มีสื่อการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล้าช้า 

แต่ละศูนย์ฯ จะมีมุมการเรียนรู้ 5 มุม สื่อของเล่นที่แต่ละศูนย์จะได้รับ คือ

  1. มุมบล็อก - บล็อกไม้หรือตัวต่อเพื่อประกอบเป็นสิ่งต่างๆ ตามความคิด และจินตนาการ
  2. มุมหนังสือ - นิทานและชั้นวางหนังสือ ให้เด็กๆ เลือกนิทานที่ชอบมาเปิดดู หรือให้คุณครูอ่านให้ฟัง
  3. มุมศิลปะ - ดินน้ำมัน กระดาษ อุปกรณ์ระบายสี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามจินตนาการ 
  4. มุมบ้าน - ชุดเครื่องครัว อุปกรณ์สำหรับเล่นบทบาทสมมติ
  5. มุมวิทยาศาสตร์ - อุปกรณ์จำลองและอุปกรณ์จริง เพื่อนเรียนรู้การใช้และเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งของ เช่น ลูกโลก ตราชั่ง แว่นขยาย

ปี 2560 กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า

เด็กปฐมวัยไทยมีพัฒนาการล่าช้าต่ำกว่ามาตรฐานถึง 30 %
10-15 % ของเด็กไทยชั้น ป.3 และ ป.6 “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็น”
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน


บรรยายภาพ : นักโภชนาการช่วยเมนูอาหาร

แนวทางการพัฒนาศูนย์ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 

  1. ด้านบุคคลากร คือ เพิ่มให้ครูกับเด็กมีอัตราที่เหมาะสม แผนการพัฒนาศูนย์ โดยครูเหล่านี้ต้องผ่านการอบรมการสอน High-Scope
  2. ด้านสื่อการเรียนการสอน คือ การเพิ่มนิทานสำหรับเด็กเล็ก ชุดของเล่นที่เสริมความแข็งแกร่งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ 
  3. ด้านโภชนาการของเด็ก คือ ทีมนักโภชนาการไปดูแลอาหารให้ครบ 5 หมู่ และตรวจวัดน้ำหนักสูงสุดเพื่อพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์ 

ผลลัพธ์ที่จะได้รับต่อเด็ก

  1. ความฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient : IQ)
  2. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ)
  3. ความฉลาดในการแก้ปัญหา (Adversity Quotient :AQ)
  4. ความฉลาดทางจริยธรรม (Moral Quotient : MQ)

บรรยายภาพ : สื่อการสอนที่จำเป็น

ผลประโยชน์แบบเป็นรูปธรรม

  1. เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการแก้ไข
  2. เด็กกลุ่มในระดับมาตราฐาน ได้รับการดูแลเอาใจใส่และมีพัฒนาการที่สมวัยเพิ่มขึ้น
  3. เพิ่มศักยภาพบุคคลากรด้านการศึกษา


          บรรยายภาพ : ครูผู้ช่วยจะช่วยดูเด็กข้างหลังได้ดีขึ้น

สำหรับระดมทุนนี้จะเป็นการนำไปซื้อสื่อการสอนให้กับ 20 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย


ภาคี

  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
  • สำนักงานสาธารณสุขในเขตจังหวัดลพบุรี
  • โรงเรียนในสังกัด สพฐ.
  • เครือข่ายภาคเอกชน สนับสนุนในขอบเขตความรับผิดชอบที่สามารถจัดการได้ได้เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2560

มอบสื่อการเรียนรู้ให้เด็กเล็ก 854 คน ใน 20 ศูนย์ฯ จ.ลพบุรี

5 พฤศจิกายน 2019

โครงการส่งเสริมศักยภาพให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.) ที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดลพบุรี ได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ High scope โดยส่งครูเข้ารับการอบรม (on site training) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนให้เด็กเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำด้วยตนเองเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้หรือเรียกว่า child center เป็นการเรียนรู้วิชาการผ่านการเล่นของเด็กๆ ผ่านมุมกระตุ้นพัฒนาการหรือมุมของเล่นอย่างน้อย 5 มุม มีรายละเอียดดังนี้

1) มุมหนังสือ ได้แก่ นิทานและชั้นวางหนังสือ ให้เด็กๆ เลือกนิทานที่ชอบมาเปิดดู หรือให้คุณครูอ่านให้ฟัง

2)มุมศิลปะ ได้แก่ ดินน้ำมัน กระดาษ อุปกรณ์ระบายสี เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามจินตนาการ

3) มุมวิทยาศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์จำลองและอุปกรณ์จริง เพื่อนเรียนรู้การใช้และเข้าใจ ความสัมพันธ์ของสิ่งของ เช่น ลูกโลก ตราชั่ง แว่นขยาย 

4) มุมบล็อก บล็อกไม้หรือตัวต่อเพื่อประกอบเป็นสิ่งต่างๆ ตามความคิด และจินตนาการ

5) มุมบ้าน ชุดเครื่องครัว อุปกรณ์สำหรับเล่นบทบาทสมมติ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนแบบ High scope จำนวน 20 ศูนย์ มีเด็กได้รับการกระตุ้น พัฒนาการผ่านการเล่นโดยครูเป็นผู้ดูแล 854 คน และภายหลังที่ “เทใจดอทคอม” ได้ระดมทุนช่วยเหลือ ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงได้กระจายของเล่นให้แต่ละศูนย์ตามของเล่นที่จะซื้อทั้ง 20 ศูนย์ ดังนี้ 

  1. เทศบาลตำบลถนนใหญ่
  2. ศูนย์การบินทหารบก
  3. เทศบาลตำบลเขาพระงาม
  4. ดงน้อย
  5. อบต.บางคู้
  6. วัดหัวสำโรง
  7. วัดบ้านกล้วย
  8. บ้านนกเขาเปล้า
  9. บ้านหนองปล้อง
  10. เพนียด
  11. อบต.วังขอนขว้าง
  12. อบต.ดงมะรุม
  13. บ้านหนองโก
  14. อบต.ท่ามะนาว
  15. อบต.ห้วยหิน
  16. อบต.ยางราก
  17. ทต.พัฒนานิคม
  18. ร.ร.บ้านหนองโพธิ์
  19. อบต.เขาน้อย
  20. ร.ร.บ้านหนองประดู่

ภาพมอบของเล่นให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก




ผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก

เด็กอายุ 3-4 ปี ของจังหวัดลพบุรีที่ผ่านการใช้ high scope 6 เดือน และใช้ของเล่น ทำให้เด็กมีทักษะทางสมองสูงกว่าค่ากลางของประเทศ

ผลการประเมินพัฒนาการเด็กเมื่อผ่านการใช้ของเล่นตามมุมประมาณ 6 เดือน ตามที่ได้นำเสนอไปนั้น ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วัดพัฒนาการเด็กเรื่อง ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จหรือ Executive function (EF) ในเด็กอายุ 3-4 ปี โดยใช้แบบประเมิน MU.EF-101 สุ่มเลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 5 ศูนย์ จาก 20 ศูนย์ ที่ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ high scope และได้ใช้ของเล่นที่ “เทใจ” ระดมทุนสนับสนุน มีผลการประเมินเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานเด็กไทย อายุ 2-6 ปี ดังนี้


ผลการสุ่มประเมิน EF ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผ่านการใช้ high scope จำนวน 5 ศูนย์ เทียบกับค่ากลางของประเทศไทย สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ย <40 (ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยควรปรับปรุง) พบร้อยละ 0.6 ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางของประเทศซึ่งพบร้อยละ 14, ค่าคะแนนเฉลี่ย 40-44 (ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อยควรพัฒนา) พบร้อยละ 0.6 ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางของประเทศซึ่งพบร้อยละ 14, ค่าคะแนนเฉลี่ย 45-55 (เกณฑ์เฉลี่ยปานกลาง) พบร้อยละ 42.90 ซึ่งมากกว่าค่ากลางของประเทศร้อยละ 38, ค่าคะแนนเฉลี่ย 56-60 (สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเล็กน้อย ดี) พบร้อยละ 26.70 ซึ่งมากกว่าค่ากลางประเทศร้อยละ16 และค่าคะแนนเฉลี่ย >60 (สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ดีมาก) พบร้อยละ 29.20 ซึ่งมากกว่าค่ากลางของประเทศร้อยละ 18

แผนการใช้เงิน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนเด็ก  สื่อที่ต้องการซื้อ
เทศบาลตำบลถนนใหญ่
33 10,000
ศูนย์การบินทหารบก
40 10,000
เทศบาลตำบลเขาพระงาม
60 10,000
ดงน้อย
69 10,000
อบต.บางคู้
65 10,000
วัดหัวสำโรง
14 20,000
วัดบ้านกล้วย
15 10,000
บ้านนกเขาเปล้า 42 10,000
บ้านหนองปล้อง
4 10,000
เพนียด
49 10,000
อบต.วังขอนขว้าง
41 10,000
อบต.ดงมะรุม
50 10,000
บ้านหนองโก
77 10,000
อบต.ท่ามะนาว
40 10,000
อบต.ห้วยหิน
44 10,000
อบต.ยางราก
48 10,000
เทศบาลตำบลพัฒนานิคม
60 10,000
ร.ร.บ้านหนองโพธิ์
30 10,000
อบต.เขาน้อย
86 30,000
ร.ร.บ้านหนองประดู่ 30 10,000
งบประมาณรวมทั้งหมด
230,000