project กลุ่มคนเปราะบาง

ปลูกปันอิ่ม Farm For Friends 2

“เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง” โดยการใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต พร้อมผลิตวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อมาแบ่งปันให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ

Duration 21 ก.พ. 2565 ถึง 31 ก.ค. 2565 Area ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Current donation amount

47,208 THB

Target

126,500 THB
ดำเนินการไปแล้ว 37%
จำนวนผู้บริจาค 83

สำเร็จแล้ว

Project updates

การจ้างงานทำสวนและกิจกรรมแจกอาหารคนไร้บ้าน

28 April 2023
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์


" ผมตกงานมายาวนาน ไปสมัครที่ไหนก็ไม่มีคนรับเพราะด้วยมีโรคประจำตัวและเคยถูกหลอกไปทำงานแล้วไม่มีค่าจ้าง เขาไม่จ่ายค่าจ้าง วันนี้ได้มาทำสวนที่โครงการปลูกปันอิ่ม ก็เป็นงานที่พอทำได้ด้วยที่มีโรคประจำตัว และพอทำให้มีรายได้ค่าอาหาร ทางมูลนิธิอิสรชน ได้บอกแล้วว่านอกจากการทำงานแล้วทำให้เราได้แบ่งปันผลผลิตในการเอาไปทำอาหารให้เพื่อน(คนไร้บ้าน) ก็รู้สึกว่ามีอะไรให้ทำและเราเองก็มีประโยชน์เหมือนกัน " คุณอ้วน

พี่รัตน์ ชายเร่ร่อนไร้บ้าน ที่บางวันก็เมาสุรา วันหนึ่งอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองจากที่เรามูลนิธิอิสรชนลงไปพูดคุยในระยะหนึ่ง พี่รัตน์ก็รับจ้างหางานไปเรื่อย ๆ มีงานรับจ้างทั่วไปบ้าง งานก่อสร้างบ้าง แต่ช่วงหลังโควิดสถานการณ์นิ่ง ไม่มีงาน ก็มักจะถามทางมูลนิธิอิสรชนเสมอว่ามีงานไหม จนเราชวนให้ลองมาทำสวน ที่โครงการ ปลูกปันอิ่ม นี้ พี่รัตน์ก็มีความสุขในการมาสวน ได้ทำถางหญ้า ช่วยเก็บวัชพืช ถามว่าเป็นไงบ้างรู้สึกอย่างไร พี่รัตน์บอกว่า " ขอบคุณมากที่มีงานให้ทำ ช่วงนี้ไม่มีงานเลย เลยไม่มีอะไรจะกิน " และเจอแกทุกครั้งก็จะถามว่าไปทำสวนวันไหน เอาเขาไปด้วยคนนึงนะ และเล่าเรื่องราวที่ตนเองเคยทำสวนที่บ้าน มองเห็นความสุขที่ออกทางสายตา ที่มากกว่าการทำงานทั่วไป นี่คือพื้นที่ของการฟื้นฟู

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบางคนไร้บ้าน มาทำงาน 5-10 คนสลับกัน
คนที่ได้รับประทานอาหาร 80-100 คน
  • เขารู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและแบ่งปันสู่เพื่อน ๆ
  • ได้ฟื้นฟูตนเองในระหว่างการทำงาน ไม่ดื่มสุรา
  • มีงานทำมีรายได้
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


ภาพ : เก็บผักบุ้งน้ำ เป็นอาหารที่เขาไปเก็บไว้กินในพื้นที่สาธารณะ


ภาพ : รวมแรงรวมใจช่วยกันเตรียมแปลงสำหรับลงเมล็ดพันธ์

   
ภาพ : ผลผลิตเล็ก ๆ


ภาพ : รวมพลัง

วิดีโอการดำเนินกิจกรรม


Read more »
See all project updates

โครงการ “ปลูก ปันอิ่ม” เป็นแนวความคิดที่มูลนิธิอิสรชนคาดหวังจะใช้พื้นที่เหลือว่างของสวนมะพร้าวที่ได้รับความอนุเคราะห์มาจากเจ้าของสวนซึ่งเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิอิสรชนให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหลือว่างในสวน เพื่อ “เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง” โดยการใช้กิจกรรมการปลูกผักทำสวนเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ทักษะชีวิต พร้อมผลิตวัตถุดิบในการทำอาหารเพื่อมาแบ่งปันให้เพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

เปิดสวนว่าง สร้างแหล่งอาหาร เสริมความมั่นคงในชีวิต ให้คนไร้ที่พึ่ง

โควิดส่งผลให้คนตกงานเพิ่มขึ้น คนออกมาอยู่ถนนมากขึ้น ระบบการจ้างงานมีเงื่อนไข เช่น ต้องมีบัตรฉีดวัคซีน ต้องตรวจ ATK แต่คนไร้บ้านส่วนใหญ่ไม่มีบัตรประชาชน สูญหาย ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะตรวจ ATK ได้ทุกสัปดาห์ 

โครงการปลูกปันอิ่ม จึงกลับมาทำอีกครั้ง เพื่อมีพื้นที่ให้คนเร่ร่อน ไร้บ้านได้พัฒนาตัวเอง มีคุณค่า และได้รู้สึกแบ่งปันสู่ผู้อื่น เป็นแหล่งเรียนรู้ มีรายได้เล็กๆ เมื่อเขามาทำสวน เป็นแหล่งอาหารส่งต่อ 

ตลอดเวลาคนเหล่านี้ถูกลดทอนคุณค่า แล้วมากดทับตนเอง วันหนึ่งมีพื้นที่ให้เขาได้เรียนรู้ได้พัฒนา ได้แสดงความสามารถ ความภูมิใจเขาได้เกิดขึ้น ซึ่งการฟื้นฟูต้องใช้เวลา


ซึ่งพื้นที่ปลูกตอนนี้เป็นสวนโล่งเลย ไม่มีที่พักแดด หลบฝน และเก็บอุปกรณ์ โครงการจึงอยากทำเพิงเล็กๆ ที่เขาสามารถนั่งพัก เป็นเหมือนศาลาเล็กๆ ไว้ทำกิจกรรมทุกอย่างตรงนั้น จึงมาเปิดระดมทุนเพื่อทำส่วนนี้เพิ่ม

จากปลูกปันอิ่มครั้งแรก คนไร้บ้านหลายคนให้ความสนใจ บางคนตั้งตารอจะมาสวน 

สนุกดีแต่เหนื่อยมาก ได้ลองทำ เพราะไม่เคยได้ทำมาก่อน ได้ออกกำลังกาย สนุกดีนะ

เท่ห์ คนเร่ร่อนไร้บ้าน มีอาชีพนวดในถนน ช่วงโควิดระบาดได้มาทำสวนกับเรา เพราะไม่มีรายได้ รู้สึกว่าได้ใช้แรงมาก แต่ทำได้ไม่มาก เพราะแขนไม่ค่อยดี เขาแรงไม่เยอะเพราะแขนมีเหล็ก แต่ภูมิใจที่ตัวเองได้ทำประโยชน์

ประเด็นที่มูลนิธิอิสรชนสนใจคือการสร้างกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ไร้บ้าน ซึ่งหากมองโดยผิวเผินแล้วคนกลุ่มนี้อาจไม่ได้เป็นปัญหากับสังคมโดยชัดเจน หากในทางกลับกันพวกเขาคือกลุ่มคนที่ถูกกระทำ ทั้งการดูถูก การถูกรังเกียจ กระทั่งถึงการที่พวกเขาเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการในหลายๆด้านทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาเองที่ย่ำแย่ แต่หากมองในเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมอาจพบว่า ปัญหาคนเร่ร่อน ไร้บ้าน คือผลสะท้อนของปัญหาที่หลากหลาย เช่น การเข้าไม่ถึงการศึกษา ความยากจน การไม่มีงานทำ ฯลฯ ซึ่งแม้มีการพยายามจัดการเรื่องต่างๆเหล่านนี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้อย่างครอบคลุมและเข้มแข็งเพียงพอให้คนทุกคนในสังคมสามารถอยู่ได้อย่างเท่าเทียม มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ ในขณะเดียวกันในการที่คนหนึ่งคนจะต้องออกมาเป็นคนเร่ร่อน สังคมก็ต้องสูญเสีย “ผลิตภาพ” หมายถึงกำลังการผลิตที่จะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลุ่มเล็กๆไปด้วย ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนเร่ร่อน นอกจากจะเป็นการทำงานในเชิงสิทธิมนุษยชน ผ่านการสร้างช่วยเหลือดูแลคนแต่ละคนเพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการพร้อมทั้งเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะเคารพตัวเองพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในฐานะมนุษย์แล้ว ยังเป็นการสร้างผลิตภาพที่สำคัญแม้จะเป็นส่วนเล็กๆให้กับสังคมอีกทางหนึ่งด้วยเช้ากัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ชักชวนเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งได้รับการพูดคุยพัฒนาโดยมูลนิอิสรชนในเบื้องต้นแล้วจนสมารถเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิฯ ให้เข้าร่วมโครงการฯ
  2. ศึกษาธรรมชาติของพืชผักชนิดต่างๆเพื่อคัดเลือกพืชผักที่สามารถนำมาใช้ทำอาหารเลี้ยงเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่จะปลูก โดยเน้นคัดเลือกผักระยะเวลาสั้นและเก็บเกี่ยวได้เร็วในช่วงประมาณ 45 วัน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม
  3. พัฒนาพื้นที่เหลือว่างในสวนมะพร้าวให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามแผนที่ออกแบบไว้
  4. แบ่งทีมอาสาสมัครเพื่อจัดการดูแลพื้นที่สวน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  5. เก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้รับ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสนับสนุนกิจกรรมเลี้ยงอาหารผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ซึ่งมูลนิธิอิสรชนมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทุกวันอังคารในพื้นที่สนามหลวง
  6. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนไร้บ้าน ที่เข้ามารับแจกอาหารได้ทราบว่าเป็นผลผลิตจากการทำงานของเพื่อนของเขาเอง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันแก่กัน
  7. จัดการผลผลิตบางส่วนที่เหลือออกจำหน่ายเพื่อจัดสรรเป็นรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อน ที่เข้าร่วมโครงการฯ และใช้เป็นทุนจัดซื้ออุปกรณ์ของใช้จำเป็นเพื่อแจกจ่ายเพื่อนผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะหรือเป็นทุนในการทำกิจกรรมอื่นๆของมูลนิธิฯต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิอิสรชน

ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ตั้งแต่เกิดหรือเมื่อพบเจอเคส จนตาย ไม่ว่าจะเป็นการ ช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้น คือ ยารักษาโรค อาหารการกิน ที่อยู่หลับนอน เครื่องนุ่งห่ม เน้นทำงานเชิงรุก ไม่ให้ออกมาเร่ร่อน ชุมชนดูแลตนเอง ช่วยคนไร้ที่พึ่งในชุมชน ให้กลับมามีตัวตนในสังคม ช่วยตนเองและผู้อื่นได้ต่อไป โดยเน้นให้เขาช่วยตัวเองให้ได้มากที่สุด การให้ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ได้รับรู้เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในสิ่งที่ตนเองควรได้รับในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง

คลิปบรรยากาศการทำสวนของคนเร่ร่อน

3 May 2022

บรรยากาศ การทำสวนของเคนเร่ร่อน จากมูลนิธิอิสรชน

ผลผลิตจากการปลูกผัก ทำสวนของคนเร่ร่อน เริ่มนำมาประกอบอาหารได้

29 June 2022

มูลนิธิอิสรชนพาคนเร่ร่อน ลงพื้นที่ทำสวน ปลูกผัก ในเบื้องต้นมีจากการทำสวน ปลูกผัก ทำให้ได้ผลผลิตออกมาเล็กน้อยที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้



เสียงจากคนเร่ร่อนทำสวน ปลูกผัก สร้างรายได้

11 July 2022

จากการลงพื้นที่หลาย ๆ ครั้ง ทำให้เกิดบทสนทนาของ พี่เทพ และ พี่วาด คนเร่ร่อนที่เข้าร่วมเป็นคนปลูกผัก ดูแลสวน ในโครงการ ปลูกปันอิ่ม

พี่เทพ : "ผมทำได้ทุกอย่างแหละ นี่ถนนข้าวสารเปิดแล้ว ผมก็เดินเก็บขยะ มีรายได้พอเก็บกิน นอนข้างรถเข็นขยะ"

พี่เทพชายเร่ร่อนจากพิจิตร ที่ไม่ขอย้อนกลับไปบ้านอีก แต่ทุกครั้งที่คุยดวงตาเขาจะเศร้า เป็นชายที่ยิ้มยากพอสมควร แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ทำเขายิ้มได้ เราก็มีบางครั้งที่คุยทำให้เขายิ้ม เราก็ดีใจนะตอนหลังลองตัดสินใจพาพี่เทพมาทำสวน ชวนมาพี่เทพบอกว่า มาได้แต่ต้องมีพี่วาดมาด้วย นั้นคือเขาจะบ่นเสมอพี่วาดคุยไม่รู้เรื่อง พูดอย่างไปอย่าง แต่เขาก็ห่วงใยกัน

เวลามาที่สวน พี่วาดทำงานได้น้อย พี่เทพก็จะให้นั่งพักแล้วแกทำเอง ไม่ใช่แค่พี่วาดนะ พี่เทพรับอาสาลอกร่องสวน พอเราบอกเคลียร์พื้นที่ตรงนี้หน่อยให้พี่นพ อีกคนเคลียร์ แกก็จะบอกเดี๋ยวแกทำเอง เพราะแกเห็นพี่นพไม่ค่อยมีแรง ทำไม่ไหว

พี่วาดพูดว่า : "ค่าแรงไม่สำคัญอยู่ที่ใจที่อยากมาทำให้ วาดทำได้น้อยแบ่งค่าแรงให้พี่เทพได้เลย วาดอยากมา วาดให้ใจ"

จากคำพูดของพี่ๆคนเร่ร่อน ไม่ใช่แค่มาทำสวนแล้วจบเมื่อได้ค่าตอบแทน แต่มากกว่านั้นคือ งานทำสวนไม่ง่าย แต่เราบอกคนที่มาทำว่าคุยช่วยทำสวน ปลูกผักให้คนอื่นๆได้กินต่อ รวมถึงคุณด้วย เขาภูมิใจที่เขามีส่วนทำเพื่อคนอื่น มากกว่าค่าจ้าง

       น้ำใจที่เราเห็นเสมอที่เขามีให้กัน "เมื่อเราให้ใจเขา เขาก็จะให้ใจเรากลับมา"

การจ้างงานทำสวนและกิจกรรมแจกอาหารคนไร้บ้าน

28 April 2023

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์


" ผมตกงานมายาวนาน ไปสมัครที่ไหนก็ไม่มีคนรับเพราะด้วยมีโรคประจำตัวและเคยถูกหลอกไปทำงานแล้วไม่มีค่าจ้าง เขาไม่จ่ายค่าจ้าง วันนี้ได้มาทำสวนที่โครงการปลูกปันอิ่ม ก็เป็นงานที่พอทำได้ด้วยที่มีโรคประจำตัว และพอทำให้มีรายได้ค่าอาหาร ทางมูลนิธิอิสรชน ได้บอกแล้วว่านอกจากการทำงานแล้วทำให้เราได้แบ่งปันผลผลิตในการเอาไปทำอาหารให้เพื่อน(คนไร้บ้าน) ก็รู้สึกว่ามีอะไรให้ทำและเราเองก็มีประโยชน์เหมือนกัน " คุณอ้วน

พี่รัตน์ ชายเร่ร่อนไร้บ้าน ที่บางวันก็เมาสุรา วันหนึ่งอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองจากที่เรามูลนิธิอิสรชนลงไปพูดคุยในระยะหนึ่ง พี่รัตน์ก็รับจ้างหางานไปเรื่อย ๆ มีงานรับจ้างทั่วไปบ้าง งานก่อสร้างบ้าง แต่ช่วงหลังโควิดสถานการณ์นิ่ง ไม่มีงาน ก็มักจะถามทางมูลนิธิอิสรชนเสมอว่ามีงานไหม จนเราชวนให้ลองมาทำสวน ที่โครงการ ปลูกปันอิ่ม นี้ พี่รัตน์ก็มีความสุขในการมาสวน ได้ทำถางหญ้า ช่วยเก็บวัชพืช ถามว่าเป็นไงบ้างรู้สึกอย่างไร พี่รัตน์บอกว่า " ขอบคุณมากที่มีงานให้ทำ ช่วงนี้ไม่มีงานเลย เลยไม่มีอะไรจะกิน " และเจอแกทุกครั้งก็จะถามว่าไปทำสวนวันไหน เอาเขาไปด้วยคนนึงนะ และเล่าเรื่องราวที่ตนเองเคยทำสวนที่บ้าน มองเห็นความสุขที่ออกทางสายตา ที่มากกว่าการทำงานทั่วไป นี่คือพื้นที่ของการฟื้นฟู

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบางคนไร้บ้าน มาทำงาน 5-10 คนสลับกัน
คนที่ได้รับประทานอาหาร 80-100 คน
  • เขารู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและแบ่งปันสู่เพื่อน ๆ
  • ได้ฟื้นฟูตนเองในระหว่างการทำงาน ไม่ดื่มสุรา
  • มีงานทำมีรายได้
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


ภาพ : เก็บผักบุ้งน้ำ เป็นอาหารที่เขาไปเก็บไว้กินในพื้นที่สาธารณะ


ภาพ : รวมแรงรวมใจช่วยกันเตรียมแปลงสำหรับลงเมล็ดพันธ์

   
ภาพ : ผลผลิตเล็ก ๆ


ภาพ : รวมพลัง

วิดีโอการดำเนินกิจกรรม


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 เทปูนคอนกรีต ประมาณ 1 คันรถ หรือ 5 คิว 5 คิว 10,000.00
2 ทำหลังคา โรงเรือนขนาด 6x3 เมตร 1 50,000.00
3 ลงหินคลุก 5 คันรถ 15,000.00
4 ลงพันธุ์พืช ต้นอ่อน ต้นกล้า พืชผักสวนครัว 1000 ต้น 10,000.00
5 สนับสนุนรายได้คนเร่ร่อน 5 คน ที่มาร่วมโครงการ 300 บาทx5 คน x 20 ครั้ง คนละ 300 บาท 30,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
115,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
11,500.00

ยอดระดมทุน
126,500.00