project ผู้สูงอายุ กลุ่มคนเปราะบาง

Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม

เติมรัก ปันอิ่ม ให้ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตตามลำพัง ไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู และอยู่อาศัยในบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม ได้รับการดูแลโภชนาการด้านอาหาร และมีคนไปเยี่ยมเยียนให้ช่วยคลายเหงาลงได้

Duration 01 พ.ค. 2565 ถึง 30 เม.ย. 2566 Area ระบุพื้นที่: อ.ตาพระยา อ.วัฒนานคร อ.วังสมบูรณ์ และอ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว , อ.พนมดงรัก อ.บัวเชด อ.สังขะ และอ.กาบเชิง จ.สุรินทร์

Current donation amount

462,042 THB

Target

462,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 477

สำเร็จแล้ว

Project updates

ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหารให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวน 109 คน

16 March 2023

มูลนิธิโคเออร์ดำเนินกิจกรรมสงเคราะห์ข้าวสารอาหารแห้ง ให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการยากไร้ ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ เป็นเวลากว่า 36 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ถึงปัจจุบัน โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหาร 1 ชุด/เดือน

ชุดอาหารจะประกอบด้วย ข้าวสาร 10 กิโลกรัม และ/หรือ ไข่ไก่ ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กุนเชียง ปลากระป๋อง นมกล่อง UHT ตามความเหมาะสม ซึ่งจะลงพื้นที่ในทุกๆ อาทิตย์แรกของเดือน

ในระยะเวลารณรงค์โครงการ Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม ผ่านเทใจดอทคอม ระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีผู้รับประโยชน์ ในพื้นที่ จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 109 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน และคนพิการ จำนวน 23 คน รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตาราง : สรุปโครงการจากการประเมินโดยการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ 

ที่

ผู้รับประโยชน์

ก่อนทำโครงการผลที่ได้รับอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ
1ผู้สูงอายุ1.อยู่โดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ
2.ขาดแคลนอาหาร
1.การเยี่ยมเยียนทำให้ผู้สูงอายุได้มีคนให้พูดคุย ปรับทุกข์และให้กำลังใจ
2.การมอบชุดอาหารช่วยให้ผู้สูงอายุมีอาหารครบมื้อ
1.ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลือที่ยั่งยืนได้
2.ผู้สูงอายุบางคนมีภาระจากการต้องดูแลลูกที่พิการ หรือหลานที่ลูกฝากไว้ให้เลี้ยงดูเพราะต้องไปทำงานต่างจังหวัด
2คนพิการ1.ไม่มีรายได้เนื่องจากปัญหาทางกายภาพ
2.เป็นผู้มีภาวะพึ่งพิงในครอบครัวที่มีฐานะยากจน
1.การมอบชุดอาหารสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ และครอบครัวที่ต้องดูแลคนพิการได้
2.ชุดอาหารที่ได้รับสามารถช่วยสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือนทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่า
1.คนพิการที่ได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ตาบอด พิการจากกับระเบิด ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ยั่งยืนได้

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 นางบุญยัง มีหล้า หรือป้าน้อย อาศัยอยู่คนเดียวในกระต๊อบใกล้ๆ กับบ้านของญาติ ที่บ้านคลองอึ่งดำ ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ปัจจุบันป้าอายุ 68 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน และไทรอยด์ อีกทั้งดวงตาก็พร่ามัว ทำให้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ ในขณะที่ญาติๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกันมีอาชีพรับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ มีฐานะไม่สู้ดีนัก การช่วยเหลือกันเองจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือจากโคเออร์ ป้าน้อยต้องอยู่แบบอดมื้อกินมื้อ

ป้าน้อยบอกกับเราว่า ..“มันดีมากที่โคเออร์ ได้ช่วยเหลือให้ข้าวสารอาหารแห้งแก่ป้าช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายของป้า และญาติด้วยเพราะในวันที่เขาไม่มีรายได้ ไม่มีคนจ้างงาน เขาออกไปหาเก็บผัก ขุดปู ขุดเขียด มาทำกินได้ แต่เขาไม่มีข้าวสาร ก็ได้แบ่งปันกันไปได้ สำหรับป้าไม่เคยมีหน่วยงานไหนช่วยเหลือ มีแค่เงินคนแก่ ป้าดีใจมาก ไม่ใช่แค่ช่วยป้าแต่ยังช่วยคนที่จุนเจือป้าด้วย”

 คุณยายปั่น ฟองเกิด อายุ 85 ปี อาศัยอยู่ลำพังคนเดียวที่ บ้านโนนเสาเอ้ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โคเออร์ได้รับข้อมูลความลำบากของยายจากอาสาสมัคร  เมื่อราวๆ สิบกว่าปีมาแล้ว สามีของยายเสียชีวิตลงทำให้ต้องอยู่คนเดียว ยายพิการขาขาดจากกับระเบิด ที่เกิดจากการออกไปหาเก็บของป่าขายที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยายมีลูก 3 คน สองคนไปทำงานและมีครอบครัวในต่างจังหวัด เหลือหนึ่งคนที่มีครอบครัวและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีความขัดสน หาเช้ากินค่ำ และได้นำหลานวัย 7 ขวบที่ป่วยจิตเวชมาฝากให้ยายปั่นเลี้ยงเวลาต้องออกไปทำงาน

ยายปั่นเล่าให้ฟังเกือบทุกครั้งที่ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนว่า..“ถึงมีลูกก็ไม่ช่วยอะไร และยังเอาหลานมาฝากให้เลี้ยงต้องหุงหาข้าวให้กิน แค่เบี้ยคนแก่กับคนพิการก็ไม่พอกิน ขอบใจที่ให้ข้าว ให้ของแห้ง ช่วยได้เยอะ”

ป้าน้อยและยายปั่นเป็นเพียงตัวอย่างของผู้รับผลประโยชน์จากชุดอาหารที่ได้รับแต่ละเดือน ไม่เพียงแต่ได้ปันความอิ่มเท่านั้น หากแต่การได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนในแต่ละครั้ง ยังเป็นการได้รับฟัง พูดคุย ปรับทุกข์ เติมความรัก และสร้างรอยยิ้มให้พวกเขาได้อีกด้วย

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ 
จำนวนผู้รับประโยชน์(คน)ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้สูงอายุ861.ผู้สูงอายุได้รับอาหารครบมื้อ และมีโภชนาการที่ดีขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้รับการบรรเทาใจ จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร
คนพิการ231.ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ ครอบครัวหรือผู้ดูแลได้
2.คนพิการหรือผู้ป่วย รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : บ้านของคุณตาสมุน กูลกิจ ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ (อายุ 72 ปี) ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์ 

 ภาพ : บ้านของคุณยายเปี่ยน ทองผง ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ (อายุ70ปี)ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์

   ภาพ : ยายและหลานได้อิ่มด้วยกัน   

 ภาพ : วันนี้...ยายได้รับความรักและปันอิ่ม (ยิ้มน้อย...แต่ยิ้มนะ)

 ภาพ : อาสาสมัครโคเออร์ร่วมกับ อสม. ในพื้นที่ จ.สระแก้ว ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น

   ภาพ : มอบข้าวสารอาหารแห้งและเยี่ยมเยียนคุณยาย

 ภาพ : คุณยายตาบอดแต่รับรู้ได้ถึงน้ำใจของกันและกัน  

    ภาพ : ร่วมด้วยช่วยดูแลซึ่งกันและกัน   

วิดีโอกิจกรรม


Read more »
See all project updates

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

การที่จะมีใครสักคนไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือด้านอาหารจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เพียงเป็นการดูแลด้านจิตใจแต่ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุได้อีกด้วย

ตั้งแต่ปี 2539 เจ้าหน้าที่โคเออร์ที่ทำงานในสำนักงานสนามพื้นที่ จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ ได้ทำงานในพื้นที่ทำให้ได้พบเห็นสภาพความเป็นอยู่และปัญหาความยากจนของคนในพื้นที่ อันเนื่องมาจากสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและปัญหาภัยแล้ง ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรหรือเพาะปลูกได้ผลผลิตดีพอที่จะใช้เลี้ยงชีพได้  คนในวัยแรงงานจึงต้องออกจากบ้านไปทำมาหากินนอกถิ่นฐานของตนเองทิ้งให้คนในวัยพึ่งพิงต้องอยู่ตามลำพัง และเกิดปัญหาครอบครัวข้ามรุ่นตามมา โคเออร์ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านจึงได้ลงพื้นที่ไปตามบ้านและทำการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุหรือคนที่มีภาวะพึงพิงที่ใช้ชีวิตตามลำพัง ไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู  และอยู่อาศัยในบ้านเรือนที่มีสภาพทรุดโทรม

ผู้สูงอายุที่ทางมูลนิธิโคเออร์ช่วยเหลือ

  1. เป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)   
  2. ผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตตามลำพังไม่มีลูกหลานส่งเสียเลี้ยงดู 
  3. ผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ในสภาพบ้านเรือนที่ทรุดโทรม  

แม้ภาครัฐจะแก้ไขปัญหาด้านค่าครองชีพโดยการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ แต่จำนวนเงินที่ได้รับยังคงไม่เพียงพอในการจะดำรงชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวข้ามรุ่น หรือครัวเรือนที่ประกอบด้วยคน 2 รุ่น คือ รุ่นปู่ย่า ตายาย และรุ่นหลาน ส่วนรุ่นพ่อแม่นั้นขาดหายไปเนื่องจากการทำงานไกลบ้านทำให้ต้องทิ้งลูกไว้ให้พ่อแม่ที่ชราเลี้ยงดูทำให้นอกจากจะต้องใช้จ่ายเพื่อตัวเองแล้วพวกเขายังต้องใช้จ่ายเพื่อลูกหลาน หรือคนในครอบครัวที่อยู่ในภาวะพึงพิงที่ต้องดูแลอีกด้วย

การต้องอยู่คนเดียวในภาวะที่ยากลำบาก แก่ชราและมีหลายโรครุมเร้าย่อมเป็นการดีกว่าอย่างแน่นอนหากผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีใครสักคนไปมาหาสู่ หยิบยื่นความช่วยเหลือ ได้บอกเล่าเรื่องราวความทุกข์ยากหรือแม้แต่ความสุขให้ผู้อื่นได้ฟังอย่างน้อยก็จะช่วยคลายเหงาลงได้   ทั้งยังจะส่งผลดีต่อจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักว่ายังมีความสำคัญไม่ได้เป็นภาระของผู้อื่น แม้ว่าหลายท่านได้จากไปแล้วอย่างสงบ แต่พวกเราคณะทำงานยังคงจดจำรอยยิ้ม และคำให้ศีลให้พรของท่านทุกครั้งที่ลงพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ

มูลนิธิโคเออร์จึงให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและสิ่งจำเป็น โดยลงพื้นที่ร่วมกับ อสม. ในทุกๆ เดือนเพื่อมอบสิ่งของและดูแลตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ หากพบสิ่งผิดปกติเบื้องต้นจะทำการส่งตัวผู้สูงอายุไปยัง รพสต.ก่อน และอาจมีการส่งต่อโรงพยาบาลประจำอำเภอต่อไปแล้วแต่กรณี 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ (อ.ตาพระยา อ.วัฒนานคร อ.วังสมบูรณ์ และ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว , อ.พนมดงรัก อ.บัวเชด อ.สังขะ และอ.กาบเชิง จ.สุรินทร์)
  2. นำข้อมูลมาพิจารณา และพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุเข้าโครงการช่วยเหลือ 100 คน
  3. ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุด้วยการ
    1. ส่งมอบชุดอาหารเพื่อเพิ่มโภชนาการให้แก่ผู้สูงอายุ
    2. ตรวจสุขภาพและให้คำแนะนำสุขภาพเบื้องต้น เดือนละ 1 ครั้ง โดยอาสาสมัครโคเออร์ และอสม. ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ
  4. ในวันที่ 15 เมษายน จัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เพื่อสร้างพลังใจ และกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ

หมายเหตุ : หากผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือเสียชีวิตหรือญาติพร้อมที่จะดูแลแล้ว ก็จะใช้ข้อมูลผู้สูงอายุท่านถัดไปที่ได้มีการขึ้นทะเบียนแล้วขึ้นมาแทนที่

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิโคเออร์ (COERR FOUNDATION) เป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยธรรมชาติ และให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย รวมทั้งราษฎรไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อันสืบเนื่องมาจากผู้ลี้ภัย และราษฎรไทยยากไร้ และด้อยโอกาส ทั้งนี้ด้วยการยึดหลักความรัก เมตตาธรรมและมนุษยธรรม เป็นพื้นฐานในการดำเนินการช่วยเหลือ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือลัทธิการเมืองแต่อย่างใด

ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหารให้แก่ผู้สูงอายุและผู้พิการ จำนวน 109 คน

16 March 2023

มูลนิธิโคเออร์ดำเนินกิจกรรมสงเคราะห์ข้าวสารอาหารแห้ง ให้แก่ผู้สูงอายุและคนพิการยากไร้ ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ เป็นเวลากว่า 36 ปีแล้ว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ถึงปัจจุบัน โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและแจกชุดอาหาร 1 ชุด/เดือน

ชุดอาหารจะประกอบด้วย ข้าวสาร 10 กิโลกรัม และ/หรือ ไข่ไก่ ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กุนเชียง ปลากระป๋อง นมกล่อง UHT ตามความเหมาะสม ซึ่งจะลงพื้นที่ในทุกๆ อาทิตย์แรกของเดือน

ในระยะเวลารณรงค์โครงการ Happy meal for Happy Granny : เติมรัก ปันอิ่ม ผ่านเทใจดอทคอม ระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีผู้รับประโยชน์ ในพื้นที่ จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 109 คน แบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน และคนพิการ จำนวน 23 คน รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตาราง : สรุปโครงการจากการประเมินโดยการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่ใน จ.สระแก้ว และจ.สุรินทร์ 

ที่

ผู้รับประโยชน์

ก่อนทำโครงการผลที่ได้รับอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ
1ผู้สูงอายุ1.อยู่โดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ
2.ขาดแคลนอาหาร
1.การเยี่ยมเยียนทำให้ผู้สูงอายุได้มีคนให้พูดคุย ปรับทุกข์และให้กำลังใจ
2.การมอบชุดอาหารช่วยให้ผู้สูงอายุมีอาหารครบมื้อ
1.ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลือที่ยั่งยืนได้
2.ผู้สูงอายุบางคนมีภาระจากการต้องดูแลลูกที่พิการ หรือหลานที่ลูกฝากไว้ให้เลี้ยงดูเพราะต้องไปทำงานต่างจังหวัด
2คนพิการ1.ไม่มีรายได้เนื่องจากปัญหาทางกายภาพ
2.เป็นผู้มีภาวะพึ่งพิงในครอบครัวที่มีฐานะยากจน
1.การมอบชุดอาหารสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ และครอบครัวที่ต้องดูแลคนพิการได้
2.ชุดอาหารที่ได้รับสามารถช่วยสมาชิกคนอื่นๆ ในครัวเรือนทำให้คนพิการรู้สึกมีคุณค่า
1.คนพิการที่ได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง ตาบอด พิการจากกับระเบิด ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ยั่งยืนได้

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 นางบุญยัง มีหล้า หรือป้าน้อย อาศัยอยู่คนเดียวในกระต๊อบใกล้ๆ กับบ้านของญาติ ที่บ้านคลองอึ่งดำ ต.วังทอง อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว ปัจจุบันป้าอายุ 68 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน และไทรอยด์ อีกทั้งดวงตาก็พร่ามัว ทำให้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ ในขณะที่ญาติๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกันมีอาชีพรับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ มีฐานะไม่สู้ดีนัก การช่วยเหลือกันเองจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ก่อนจะได้รับความช่วยเหลือจากโคเออร์ ป้าน้อยต้องอยู่แบบอดมื้อกินมื้อ

ป้าน้อยบอกกับเราว่า ..“มันดีมากที่โคเออร์ ได้ช่วยเหลือให้ข้าวสารอาหารแห้งแก่ป้าช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายของป้า และญาติด้วยเพราะในวันที่เขาไม่มีรายได้ ไม่มีคนจ้างงาน เขาออกไปหาเก็บผัก ขุดปู ขุดเขียด มาทำกินได้ แต่เขาไม่มีข้าวสาร ก็ได้แบ่งปันกันไปได้ สำหรับป้าไม่เคยมีหน่วยงานไหนช่วยเหลือ มีแค่เงินคนแก่ ป้าดีใจมาก ไม่ใช่แค่ช่วยป้าแต่ยังช่วยคนที่จุนเจือป้าด้วย”

 คุณยายปั่น ฟองเกิด อายุ 85 ปี อาศัยอยู่ลำพังคนเดียวที่ บ้านโนนเสาเอ้ ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โคเออร์ได้รับข้อมูลความลำบากของยายจากอาสาสมัคร  เมื่อราวๆ สิบกว่าปีมาแล้ว สามีของยายเสียชีวิตลงทำให้ต้องอยู่คนเดียว ยายพิการขาขาดจากกับระเบิด ที่เกิดจากการออกไปหาเก็บของป่าขายที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยายมีลูก 3 คน สองคนไปทำงานและมีครอบครัวในต่างจังหวัด เหลือหนึ่งคนที่มีครอบครัวและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีความขัดสน หาเช้ากินค่ำ และได้นำหลานวัย 7 ขวบที่ป่วยจิตเวชมาฝากให้ยายปั่นเลี้ยงเวลาต้องออกไปทำงาน

ยายปั่นเล่าให้ฟังเกือบทุกครั้งที่ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนว่า..“ถึงมีลูกก็ไม่ช่วยอะไร และยังเอาหลานมาฝากให้เลี้ยงต้องหุงหาข้าวให้กิน แค่เบี้ยคนแก่กับคนพิการก็ไม่พอกิน ขอบใจที่ให้ข้าว ให้ของแห้ง ช่วยได้เยอะ”

ป้าน้อยและยายปั่นเป็นเพียงตัวอย่างของผู้รับผลประโยชน์จากชุดอาหารที่ได้รับแต่ละเดือน ไม่เพียงแต่ได้ปันความอิ่มเท่านั้น หากแต่การได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนในแต่ละครั้ง ยังเป็นการได้รับฟัง พูดคุย ปรับทุกข์ เติมความรัก และสร้างรอยยิ้มให้พวกเขาได้อีกด้วย

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ 
จำนวนผู้รับประโยชน์(คน)ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้สูงอายุ861.ผู้สูงอายุได้รับอาหารครบมื้อ และมีโภชนาการที่ดีขึ้น
2.ผู้สูงอายุได้รับการบรรเทาใจ จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร
คนพิการ231.ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนพิการ ครอบครัวหรือผู้ดูแลได้
2.คนพิการหรือผู้ป่วย รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น
รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : บ้านของคุณตาสมุน กูลกิจ ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ (อายุ 72 ปี) ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์ 

 ภาพ : บ้านของคุณยายเปี่ยน ทองผง ต.เทพรักษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์ (อายุ70ปี)ผู้ได้รับชุดอาหารจากมูลนิธิโคเออร์

   ภาพ : ยายและหลานได้อิ่มด้วยกัน   

 ภาพ : วันนี้...ยายได้รับความรักและปันอิ่ม (ยิ้มน้อย...แต่ยิ้มนะ)

 ภาพ : อาสาสมัครโคเออร์ร่วมกับ อสม. ในพื้นที่ จ.สระแก้ว ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น

   ภาพ : มอบข้าวสารอาหารแห้งและเยี่ยมเยียนคุณยาย

 ภาพ : คุณยายตาบอดแต่รับรู้ได้ถึงน้ำใจของกันและกัน  

    ภาพ : ร่วมด้วยช่วยดูแลซึ่งกันและกัน   

วิดีโอกิจกรรม


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหารแห้ง อาทิ ข้าวสาร 10 กิโลกรัม ไข่ไก่ ปลากระป๋อง ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมกล่อง UHT ชุดละ 350 บาท/เดือน 100 คน 420,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
420,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
42,000.00

ยอดระดมทุน
462,000.00