project สัตว์

สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรัง เพื่อให้มีโอกาสได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

Duration ปัจจุบัน ถึง 29 ก.พ. 68 Area ระบุพื้นที่: ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา)

Current donation amount

367,911 THB

Target

451,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 82%
236 days left จำนวนผู้บริจาค 598

Project updates

ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

27 March 2024

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
1มิถุนายน 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
215 กรกฎาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
328 กรกฎาคม 2566บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
43 สิงหาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
5กรกฎาคม - ธันวาคม 2566อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

  • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
  • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
  • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
  • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า (ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1มกราคม181
2กุมภาพันธ์104
3มีนาคม141
4เมษายน281
5พฤษภาคม384
6มิถุนายน344
7กรกฎาคม334
8สิงหาคม1616
9กันยายน112
10ตุลาคม200
11พฤศจิกายน175
12ธันวาคม712
รวม
24654
จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


















Read more »
See all project updates

สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ในการดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บและตกรัง เพื่อให้มีโอกาสได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัจจุบัน การดูแลรักษานกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังมีข้อจำกัดอย่างมาก อาทิขาดแคลนโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถดูแลรักษานกป่าได้ เพราะส่วนมาก คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์มักจะไม่ค่อยรับนกป่ามารักษา เพราะต้องอาศัยทักษะการดูแลที่เฉพาะเจาะจง แตกต่างไปจากสัตว์กลุ่มอื่น เช่น แมว หรือสุนัข

ประชาชนที่พบเจอนกป่าที่บาดเจ็บหรือตกรังจึงขาดพื้นที่เพื่อส่งรักษา ประกอบกับการนำนกป่าไปรักษาในคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ทั่วไปยังสร้างค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่พบนกอีกด้วย บ่อยครั้งทำให้ผู้พบนกเลือกที่จะไม่ส่งรักษา  จึงทำให้นกที่บาดเจ็บจึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เป็นผลทำให้นกป่าตายมากขึ้น

หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของนกป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูทำรังที่มักมีผู้พบเจอลูกนกตกรังอยู่เป็นประจำ จึงได้เปิดพื้นที่ขึ้นเพื่อรับนกป่ามาดูแลรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  โดยมีสัตวแพทย์และสัตวบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลนกป่าโดยเฉพาะเป็นผู้ดูแลรักษา และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปล่อยนกที่ได้รับมากลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง ให้นกเหล่านั้นได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างอิสระและเติมเต็มหน้าที่ในระบบนิเวศ

ก่อนหน้านี้มีเพียงคลินิกสัตว์ป่า ภายใต้การดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถรับดูแลนกป่าในจังหวัดเชียงใหม่ได้ ทำให้ยังไม่สามารถดูแลรักษานกป่าได้อย่างทั่วถึง การดำเนินงานของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาจึงเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระงานของคลินิกสัตว์ป่าในด้านการดูแลรักษานกป่าที่นำส่งโดยประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เนื่องจากการดำเนินงานของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนามีลักษณะการดำเนินงานในระยะยาวตลอดทั้งปี จึงมีลักษณะการดำเนินงานดังนี้

1. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่พบเจอนกป่าบาดเจ็บหรือตกรังผ่านทางเพจ Facebook รวมถึงผลิตสื่อความรู้เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการดูแลรักษานกป่า

2. ในกรณีที่ผู้พบนกไม่สามารถดูแลนกตัวดังกล่าวได้เอง สามารถนำนกมาส่งให้กับหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น  นกที่พิการถาวร ไม่มีโอกาสในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และนกพิราบ (Feral Pigeon) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการกระจายโรคสู่นกตัวอื่นภายในหน่วยฟื้นฟู

3. นกทุกตัวที่เข้ามาในหน่วยฟื้นฟูจะได้รับการลงทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานด้านการรักษา รวมถึงหลักฐานทางกฎหมายเพื่อแสดงต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

4. สัตวแพทย์และสัตวบาลทำหน้าที่ดูแลรักษานกทุกตัวอย่างดีที่สุดเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง

5. นำนกที่พร้อมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติไปปล่อยในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของนกชนิดนั้นๆ

6. เปิดพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกงานของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7. จัดกิจกรรมด้านการศึกษา อาทิ กิจกรรม open house เปิดพื้นที่หน่วยฟื้นฟูให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกิจกรรมออนไลน์ เช่น งานเสวนาเกี่ยวกับการดูแลนกป่าผ่านทาง Facebook ของหน่วยฟื้นฟู และชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา

ค่าใช้จ่ายในการรักษนกบาดเจ็บและลูกนกตกรัง

  • ค่ารักษานกบาดเจ็บ เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดใหญ่ & เหยี่ยว ตกรัง เฉลี่ย 3,000 บาท/ตัว
  • ลูกนกขนาดเล็ก ตกรัง เฉลี้ย 2,000 บาท/ตัว

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงาน กองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

นพ. รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ - ประธาน

พ.ญ. สุภารัชต์ กาญจนะวณิชย์ - รองประธาน

นายอายุวัต เจียรวัฒนกนก -  เลขาธิการ

นายธนา ศิริสัมพันธ์ -   รองเลขาธิการ

นางสาวสุฐิตา วรรณประภา -  รองเลขาธิการและบัญชี

สพ.ญ. ปิติกาญจน์ บำเพ็ญผล - กรรมการและสัตวแพทย์ประจำหน่วย

นายฌาน โทสินธิติ -   กรรมการและสัตวบาล

นายกฤษณศักดิ์ สิงห์คำ -  กรรมการ

นายพชร จันทร์ขจรชัย -  กรรมการ

นายวรพจน์ บุญความดี -  กรรมการ

นายพีรณัฐ วินิจมโนกุล -  กรรมการ

พ.ญ. สิริมนต์ ริ้วตระกูล -  กรรมการ

ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ

5 July 2023

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
1มิ.ย. - ก.ค. 65นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน
ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
224 ต.ค. – 2 พ.ย. 65
นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 1 คน
ฝึกงานระยะสั้นในการปฏิบัติการการจัดจำแนกชนิดนก การจับบังคับ การวินิจฉัย การดูแล การเลี้ยงดู และการรักษา รวมถึงการออกภาคสนามเพื่อฝึกจำแนกชนิดนกป่า และการปล่อยนกกลับคืนสู่ธรรมชาติ
317 ธ.ค. 65นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 4คน
ฝึกจับบังคับนกและทำการเก็บตัวอย่างโลหิตเพื่อทำการศึกษาและ
การจำแนกเพศ และนำไปใช้ในรายวิชาเรียน
411 ก.พ. 66นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 60 คน
ศึกษาดูงานการดูแลนกป่าเพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ฝึกจับบังคับและการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การให้ความรู้ในการช่วยเหลือ เลี้ยงดูและปฐมพยาบาลนกป่าเบื้องต้น
522 – 23 เม.ย. 66นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 คนกิจกรรมฝึกสตัฟฟ์นกเพื่อเป็นตัวอย่างการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นตัวต้นแบบสำหรับเลี้ยงดูลูกนกเพื่อป้องกันการฝังใจต่อมนุษย์

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือ

ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า(ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ(ตัว)
1ปี 256519549 (14%)
2มกราคม 66182
3กุมภาพันธ์ 66123
4มีนาคม 66140
5เมษายน 66281

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

พีรณัฐ วินิจมโนกุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา
“ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือนกป่าเบื้องต้น การดูแลนกป่า รวมถึงการจับบังคับนก การตรวจสุขภาพและวินิจฉัยโรคในนกเบื้องต้น ซึ่งเป็นความรู้และทักษะที่เพิ่มเติมมาจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เนื่องจากได้ฝึกปฏิบัติจริงกับนกป่า และยังได้เป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือนกร่วมกับทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา และร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ สิ่งที่ประทับใจคือ ทางกองทุนฟื้นฟูนกป่าเปิดกว้างในการให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อเข้าไปขอฝึกงานหรือเรียนรู้ได้ตลอด ซึ่งทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหรือช่วยเหลือนกป่าได้อย่างถูกต้อง ”

พรกนก ธัญลักษณากุล นักศึกษาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาสาสมัครของหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา
“ หน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือนกในธรรมชาติที่บาดเจ็บและพลัดหลงมา อีกทั้งยังช่วยให้ประชาชนคนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการฟื้นฟูนกตลอดจนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่องผ่านการนำเสนอข้อมูลผ่านเพจกองทุนฯ อย่างเต็มที่ด้วยบุคลากรที่ใส่ใจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกในพื้นที่และมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เมื่อมีการพบเจอนกบาดเจ็บหรือพลัดหลง การติดต่อเพื่อประสานการนำนกเข้ากระบวนการรักษาและฟื้นฟูก็เป็นไปด้วยดีและรวดเร็ว ”

ยศวดี กาญจนจิตต์ นักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวแทนชมรมเพื่อนสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“ ได้มาฝึกงานที่นี่ก็ได้ฝึกหลาย ๆ อย่างค่ะ ตั้งแต่ฝึกจับบังคับนก ได้รู้จักธรรมชาติของนกแต่ละชนิด ทั้งนิสัย อาหารที่กิน วิธีการดูแลก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ”

รูปภาพกิจกรรม

 ภาพ : การปล่อยนกกะลิง จำนวน 2 ตัว ที่ได้รับการช่วยเหลือจากการถูกจับและลักลอบเลี้ยงอย่างผิดกฎหมาย โดยปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ณ ทุ่งกิ๊ก อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน

 ภาพ : กิจกรรมศึกษาดูงานการดูแลนกป่าเพื่อฟื้นฟูก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ภาพ : การให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการร่วมอนุรักษ์นกป่า

 ภาพ : ให้การต้อนรับประธานสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการอนุรักษ์นกป่า

 ภาพ : ให้การต้อนรับผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการอนุรักษ์นกป่า

 ภาพ : ให้การต้อนรับอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมวางแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปักษีวิทยา

 ภาพ : กิจกรรมการอบรมสตัฟฟ์นก โดยวิทยากรจากพิพิธภัณฑ์กายวิภาคและพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ภาพ : กิจกรรมให้ความรู้และปลูกฝังการอนุรักษ์นกและธรรมชาติในกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

 ภาพ : นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ฝึกจับบังคับนกและทำการเก็บตัวอย่างโลหิตเพื่อทำการศึกษาและการจำแนกเพศนก ด้วยวิธีทางพันธุศาสตร์โมเลกุล และนำไปใช้ในรายวิชาเรียน

 ภาพ : นกเค้าโมงที่ได้รับการช่วยเหลือในฤดูมรสุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกในวัยหัดบิน ซึ่งได้รับการอนุบาลก่อนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ

 ภาพ : ลูกนกกาเหว่าที่ได้รับความช่วยเหลือ

 ภาพ : ลูกเป็ดแดงที่ได้รับความช่วยเหลือ

 ภาพ : นกเค้ากู่ (นกฮูก) ที่ได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่วัยลูกนก หลังจากได้รับการฟื้นฟูและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ พบว่าสามารถใช้ชีวิตอยู่ในธรรมชาติได้

 ภาพ : นกโพระดกธรรมดาที่ได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่วัยลูกนก ได้รับการฟื้นฟูและปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ


ดูแลและปล่อยนกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ปี 2565-66

27 March 2024

กิจกรรมของกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

ครั้งที่วันที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม
1มิถุนายน 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานวิจัยปัญหาพิเศษ หัวข้อการสำรวจปรสิตในนกป่าที่ได้รับการช่วยเหลือ 
215 กรกฎาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาการปรับสภาพนกในกรงเลี้ยงและการตรวจเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในสัตว์ปีก
328 กรกฎาคม 2566บุคคลทั่วไปและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่Bird walk & Open house เยี่ยมชมกระบวนการฟื้นฟูนกป่าภายในหน่วยฟื้นฟูนกป่าล้านนา ตั้งแต่การรับนกจนถึงการปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ
43 สิงหาคม 2566นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานบริการวิขาการหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ การศึกษาและติดตามอาการนกกลุ่มนกเค้า
5กรกฎาคม - ธันวาคม 2566อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลสัตวแพทย์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

กิจกรรมภาคสนาม-ปฏิบัติการในกระบวนวิชา

  • ทักษะปฏิบัติทางคลินิกช้างและสัตว์ป่า เพื่อฝึกฝนทักษะปฏิบัติการทางคลินิกและการแก้ปัญหาสุขภาพนกป่า
  • ปัญหาคลินิกปฏิบัติช้างและสัตว์ป่า ศึกษาการจัดเลี้ยงนกป่าที่ได้รับการฟื้นฟู การวินิจฉัยและการสังเกตพฤติกรรมนกป่า ขั้นตอนการฟื้นฟูนกป่า และการจัดการนกธรรมชาติในภาคเหนือ
  • พฤติกรรมและการจับบังคับสัตว์สำหรับสัตวแพทย์ ศึกษาพฤติกรรมสัตว์ปีกและงู รวมทั้งการจับบังคับและการตรวจร่างกาย
  • การจับบังคับสัตว์สำหรับพยาบาลสัตว์ ศึกษาการจับบังคับนกป่าเพื่อให้การช่วยเหลือและการทำหัตถการทางคลินิก เช่น การเก็บตัวอย่างเลือด

การรับเข้าและปล่อยนกป่าที่ทำการช่วยเหลือในปี 2566

ลำดับที่เดือนจำนวนนกที่รับเข้า (ตัว)จำนวนนกที่ปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ (ตัว)
1มกราคม181
2กุมภาพันธ์104
3มีนาคม141
4เมษายน281
5พฤษภาคม384
6มิถุนายน344
7กรกฎาคม334
8สิงหาคม1616
9กันยายน112
10ตุลาคม200
11พฤศจิกายน175
12ธันวาคม712
รวม
24654
จำนวนนกที่ได้รับการช่วยเหลือของปี 2565-2566 

สัดส่วนหลังการรักษานกจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ของปี 2565-2566 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม


















Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่ารักษาพยาบาล 12 เดือน 50,000.00
2 ค่ายา 12 เดือน 10,000.00
3 ค่าอาหารนก 12 เดือน 30,000.00
4 ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก 12 เดือน 5,000.00
5 ค่าตอบแทนสัตวแพทย์ รายปี 1 คน 60,000.00
6 ค่าตอบแทนสัตวบาล รายปี 1 คน 180,000.00
7 ค่าตอบแทนผู้จัดการหน่วยฟื้นฟูฯ 1 คน 60,000.00
8 ค่าเดินทาง สำหรับรับนก (ค่าน้ำมัน) 12 เดือน 15,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
410,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
41,000.00

ยอดระดมทุน
451,000.00

Donate to
สนับสนุนกองทุนฟื้นฟูนกป่าล้านนา

Amount
Payment Methods

Pay by scan/upload QR code via mobile banking application of Siam Commercial bank, TMB bank, Krungthai bank, Bangkok bank, Krungsri bank, Thanachart bank, Kasikorn bank, GSB Bank

You will get the QR code after you confirm donation.

Tax Deduction

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
Filling out to send confirmation email
Filling out to send confirmation email

We will send receipt to your email after donation succeed.


Credit card information will be securely processed by provider with international standard PCI-DSS Compliant Omise logo

Invite Friends