project สัตว์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ

แสงไฟส่องสว่างในพื้นที่ช้างป่า 3 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี

เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างระดมทุนเพื่อสนับสนุนแสงไฟและอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังช้างป่าใน 3 หมู่บ้าน ของ อ. ทองผาภูมิและศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสียหายจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินของชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมที่ชิดกับแนวป่า ไฟส่องสว่างนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นระหว่างที่ชาวบ้านเดินทางออกไปเฝ้าไร่ พร้อมกับที่เครือข่ายทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะสามารถรับข่าวสารการพบเจอช้างป่าและเข้าไปผลักดันช้างโดยมีระยะที่มองเห็นช้างป่าในไร่ตอนกลางคืนที่ไกลขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้นทั้งคนและช้าง

Duration 3 เดือน Area ระบุพื้นที่: ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (บ้านภูเตย), ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (บ้านสะพานลาว), ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี (บ้านปากเหมือง)

Current donation amount

45,698 THB

Target

373,120 THB
ดำเนินการไปแล้ว 12%
จำนวนผู้บริจาค 116

สำเร็จแล้ว

Project updates

ชาวบ้าน ในอำเภอผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับไฟฉายส่องสว่างเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันช้างในตอนกลางคืน

19 April 2023

เมื่อได้รับเงินบริจาคแล้ววันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยอุปกรณ์ที่ได้จัดซื้อผ่านการระดมทุนมีดังนี้

  1. วิทยุสื่อสาร D2452 Plus จำนวน 6 เครื่อง
  2. ไฟฉายคาดหัว P90 จำนวน 6 ชุด และแบตเตอรี่ MBLL18650 จำนวน 9 ก้อน
  3. ไฟฉายเทอร์โบไลท์ W591 จำนวน 40 กระบอก
  4. เสบียงอาหารและน้ำสำหรับอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 38,950 บาท

เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้ว ในวันที่ 21 มีนาคม 2566 ทางโครงการได้มอบวิทยุสื่อสาร 6 เครื่องและไฟฉายคาดหัว 6 ชุดให้กับกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นจำนวน 7 ราย ประจำหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม จังหวัดกาญจนบุรี ตัวแทนรับมอบคือ นายอนุชิต ปัสสาสัย โดยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากส่งมอบอุปกรณ์ก็คือทำให้ทีมป่าลั่นมีวิทยุสื่อสารสำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกจากชุมชน ทดแทนวิทยุชุดเก่าที่เสียหายและไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ ในช่วงที่โครงการลงพื้นที่นั้น บ้านสะพานลาวพบช้างป่าหนึ่งฝูงที่มีจำนวนอย่างน้อย 20 ตัวในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมซึ่งออกมาหากินกล้วยและพืชเกษตรตามบ่อน้ำและห้วยใกล้กับพื้นที่ชุมชน ทำให้ทีมป่าลั่นได้ทดลองใช้วิทยุสื่อสารในเย็นวันนั้นและสามารถผลักดันช้างกลับเข้าป่าได้อย่างปลอดภัยทั้งคนและช้าง

ต่อมา ในวันที่ 28 มีนาคม 2566 โครงการได้มอบไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอกให้กับหัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิที่ 6 (โป่งช้าง) ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิในพื้นที่หมู่ 4 บ้านเนินสวรรค์ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งพื้นที่นี้มีช้างป่าทั้งช้างโทนและช้างฝูง อย่างน้อย 15 ตัววนเวียนมาในพื้นที่เป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งตรงกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชเกษตรกลุ่มมันสำปะหลัง หลังจากที่ได้รับอุปกรณ์แล้ว ตัวแทนระบุว่าจะใช้ไฟฉายในการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าต่อไปหากพบข่าวช้างป่าเข้ามาในชุมชน

ในวันที่ 2 เมษายน 2566 ทางโครงการได้ส่งมอบไฟฉายทั้งหมด 36 กระบอกให้กับตัวแทนหมู่บ้านที่มีข่าวการพบช้างป่าและเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าที่มีพื้นที่เกษตรติดกับพื้นที่อนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติ โดยแบ่งเป็น 4 หมู่บ้าน จาก 3 ตำบลในอำเภอทองผาภูมิ ประกอบด้วย

  1. นายเชน ศรีเสมอ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านชะอี้ ตำบลชะแล
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอก
  2. นายเอกพรรดิ์ ก้อนทอง ตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 7 บ้านชะอี้
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอก
  3. นายไพรวัลย์ พิมพา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านภูเตย ตำบลชะแลและตัวแทนกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าหมู่ 5 บ้านเขาพระอินทร์ของบ้านภูเตย ตำบลชะแลได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 5 กระบอก
  4. นายนิวัฒน์ สอนจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านภูเตย
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 2 กระบอก
  5. นางบัวลม โทนทอง ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 5 บ้านภูเตย
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 3 กระบอก
  6. นายเอื้อการย์ อารามรักษ์ อาสาสมัครบินโดรนป้องกันช้างป่าอำเภอทองผาภูมิ
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 2 กระบอก
  7. นายอนุชิต ปัสสาสัย อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 12 กระบอก พร้อมทั้งเสบียงอาหารและน้ำสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่าในชุมชน
  8. ตัวแทนกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 6 บ้านไร่ ตำบลห้วยเขย่ง
    จะได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอกแต่ต้องรอการประสานงานกับผู้นำชุมชนอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง

ข้อสรุปที่ได้จากการดำเนินโครงการคือตัวแทนชุมชม 9 กลุ่มจาก 5 หมู่บ้าน 4 ตำบลในอำเภอทองผาภูมิ ได้แก่ 1) หมู่ 4 บ้านเนินสวรรค์ ตำบลปิล๊อก 2) หมู่ 6 บ้านไร่ ตำบลห้วยเขย่ง 3) หมู่ 5 บ้านภูเตย บ้านเขาพระอินทร์ ตำบลชะแล 4) หมู่ 7 บ้านชะอี้ ตำบลชะแล และ 5) หมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับไฟฉายส่องสว่างเทอร์โบไลท์จำนวน 40 กระบอกสำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าไม่ให้ก่อความเสียหายกับพืชเกษตร และเพิ่มความปลอดภัยของชุมชนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ทางโครงการได้ใช้เงินระดมทุนสนับสนุนวิทยุสื่อสาร 4 เครื่อง ไฟฉายคาดหัวและแบตเตอรี่ 6 ชุด และเสบียงอาหารและน้ำสำหรับอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นอีกด้วย

สำหรับข้อเสนอแนะในการระดมทุนครั้งถัดไป ผู้รับผิดชอบโครงการเห็นว่า นอกจากไฟส่องสว่างสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่าและผลักดันช้างป่านั้น ไฟส่องสว่างในพื้นที่สัญจรก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะตามถนนหรือพื้นที่สัญจรที่ไม่มีไฟทางหลวง หรือพื้นที่ขอบไร่ชายป่าที่ติดกับพื้นที่อนุรักษ์ การใช้ไฟส่องสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ไม่ต้องต่อสายไฟและเสาไฟจากสายไฟหลักซึ่งใช้งบประมาณสูง มีระยะเวลาการดำเนินการที่ยาวนานกว่า และดำเนินการได้ยากกว่า ดังนั้น การใช้เสาไฟพลังงานแสงอาทิตย์จะทำให้สามารถมองเห็นช้างป่าระหว่างการสัญจรได้ง่ายขึ้น และยังเพิ่มความปลอดภัยต่อทั้งชีวิตคนและช้างป่ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ความประทับใจจากผู้ได้รับประโยชน์

ไพรวัลย์ พิมพา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 บ้านเขาพระอินทร์ ตำบลชะแล
“...ก่อนหน้าที่จะได้รับอุปกรณ์ช้างก็มาเรื่อย ๆ มากินมัน ข้าวโพด ความเสียหายเป็นกระจุก กระจายไป ชาวบ้านต้องมาไล่เอง ปกติชาวบ้านก็ใช้ไฟฉายไฟกรีดยาง มอง 20-30 เมตรก็ไม่รู้เรื่องแล้ว เมื่อได้ไฟฉายแล้วน่าจะช่วยได้ดีระดับนึงเลย เพราะการมองเห็นน่าจะโอเคกว่า บางครั้งเราได้ยินเสียงอยู่แต่เดินไปเราก็ไม่กล้า มองไม่เห็น แต่มีไฟแล้วมองเห็นช้างง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น ผลักดันง่ายขึ้น...”

บัวลม โทนทอง เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในหมู่ 5 บ้านภูเตย ตำบลชะแล
“...ก่อนหน้านี้ก็ตกใจนะ (เมื่อเจอช้าง) เคยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ว่าอยากได้ตรงนี้ เพราะที่เราอยู่ ที่อยู่กับหลาน เราก็อยู่กับความมืดเนาะ ... ก็เลยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ว่าอยากได้ไฟ ... เพราะเราอยู่กับช้าง มันไม่ใช่ฝูงควายเนอะ เราก็อยากได้ที่เราพอจะอยู่ได้ ที่ทำให้พวกเรา พวกชาวบ้านปลอดภัย ...
(เมื่อได้ไฟฉายแล้ว) มันก็คงจะดีกว่า เหมือนช้างมา เราก็ใช้ความสว่างช่วยตัวเรา เมื่อก่อนเราก็อยู่กับความมืด เราก็กลัวมาก ถ้าเราได้แสงสว่างมาเนี่ย มันก็คงจะดีกว่าแต่ก่อนน่ะค่ะ”

เอกพรรดิ์ ก้อนทอง ตัวแทนเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 7 บ้านชะอี้ ตำบลชะแล
“...ก็คงจะดี คือว่า หนึ่ง มันสว่าง เราได้เห็นได้อะไร ส่องดีกว่า น่าจะดีกว่าที่เราใช้อยู่นะ เพราะก็ต้องการแบบที่ระยะที่อยู่ไกล ๆ หน่อยน่าจะเห็น อีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าสว่างเขาน่าจะตกใจกว่าไฟที่เราใช้อยู่นะ...”

อนุชิต ปัสสาสัย อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม
“....(ก่อนที่จะได้รับไฟฉายและชุดวิทยุสื่อสารมา) มันก็เสี่ยง ทำงานลำบาก ไม่มีวอ ไม่มีไฟ .... (พอได้ไฟได้วอมา) ก็ทำงานปกติ มันก็ทำงานสบาย ง่ายขึ้น ... รู้สึกดีใจ ก็เราไม่มีไง ของหมดแล้ว มันก็เสียมา เราใช้ประจำไง ... (การมีแสงไฟมันช่วยเรายังไงบ้าง) มองเห็นง่ายเลยแหละ หาช้างเจอ เราก็ปลอดภัย มันก็สำคัญมากเลยแหละ ไฟกับวอนี่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก อย่างอื่นนี้ยังพอได้ แต่ถ้าไฟไม่สว่างนี่ อันตรายครับ ถ้าเราหาช้างนี่ เราหาเขาไม่เจอเราก็ไล่เขาไม่ได้ มีไฟ มีความปลอดภัย สอง วอนี่ ประสานงานกันตลอด ทำงานได้...
ไฟหัวใช้สำหรับเดินทาง คนนึงต้องมีสองอัน ไฟหัวอันนึง ไฟเทอร์โบไลท์อันนึง เวลาเจอก็ใช้ไฟใหญ่ เวลาเดินเข้าไปก็ใช้ไฟเล็กก่อน ประหยัด เพราะบางครั้งก็ใช้เวลานาน อันเดียวไม่พอ บางก็เกือบสว่าง....
(เปรียบเทียบความปลอดภัยระหว่างมีไฟกับไม่มีไฟ) ถ้ามีไฟ ความปลอดภัยก็ร้อยเปอร์เซ็นต์เลยดีกว่า มั่นใจ ถ้าไม่มี มันไม่สว่างนี่ 50-50 เลยนะ บางทีเขาแจ้งมา เราก็ต้องไป บางทีไฟไม่พอ เราก็ต้องไป ในเมื่อเราทำงานตรงนี้แล้ว แต่มันก็ไปด้วยความเสี่ยงอะ เราเป็นลูกพี่ ก็เป็นห่วงไง อันตราย.... ไล่ช้างกลางคืนดีกว่า มันเซฟตี้ (ปลอดภัย) ดีกว่า เขามองเราไม่เห็น...”

คลิปสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับไฟฉายและวิทยุสื่อสาร

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ช้างป่าเอเชีย ในอำเภอ
ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ช้างป่าอย่างน้อย 2 ฝูง จำนวนอย่างน้อย 30 ตัวช้างป่าถูกผลักดันออกจากพื้นที่เกษตรด้วยแสงจากไฟฉาย
เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า 4 คน และอาสาสมัครหรือตัวแทนชุมชนเฝ้าระวังช้างป่าจาก 5 หมู่บ้าน จาก 4 ตำบลในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี1) เกษตรกรอย่างน้อย 4 คน
2) อาสาสมัครและตัวแทนชุมชนเฝ้าระวังช้างป่าอย่างน้อย 15 คน

1) เกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยช้างป่าได้รับไฟฉายส่องสว่างในการเฝ้าระวังพืชเกษตรของตนเอง
2) เกษตรกรและอาสาสมัครรู้สึกมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้นในการเฝ้าระวังช้างป่า
3) อาสาสมัครพร้อมช่วยเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกพื้นที่เกษตรของชุมชน
4) อาสาสมัครมีกำลังใจในการเฝ้าระวังช้างป่ามากขึ้นเพราะอุปกรณ์พร้อม

ภาพประกอบ


ภาพ
นายวันชัย สูนคำ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิที่ 6 โป่งช้าง รับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 4 กระบอก


ภาพ
นายเชน ศรีเสมอ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านชะอี้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์ 4 กระบอก


ภาพ
นายเอกพรรดิ์ ก้อนทอง เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่ารับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 4 กระบอก


ภาพ
ไพรวัลย์ พิมพา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านเขาพระอินทร์รับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 5 กระบอก


ภาพ
นายนิวัฒน์ สอนจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านภูเตยรับไฟฉายเทอร์โบไลท์ 2 กระบอก


ภาพ
บัวลม และ สำเนียง โทนทองเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในหมู่ 5 บ้านภูเตย รับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 2 กระบอก


ภาพ
เกษตรกรที่บ้านและไร่ข้าวโพดอยู่ติดกับแนวป่าอุทยานรับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 1 กระบอก


ภาพ
อนุชิต ปัสสาสัย ผู้นำอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่น หมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมรับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 12 กระบอก


ภาพ
ตัวแทนอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นรับมอบเสบียงอาหารและน้ำสำหรับเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า


ภาพ
อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นรับมอบวิทยุสื่อสาร 5 เครื่องและไฟฉายคาดหัวพร้อมแบตเตอรี่ 6 ชุด


ภาพ
การเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าในพื้นที่เกษตรกรรม สวนกล้วยของหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมโดยอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่น


ภาพ
การเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าของหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมโดยอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่น

Read more »
See all project updates

เครือข่ายเสียงคนเสียงช้างระดมทุนเพื่อสนับสนุนแสงไฟและอุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวังช้างป่าใน 3 หมู่บ้าน ของ อ. ทองผาภูมิและศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสียหายจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินของชุมชนในพื้นที่เกษตรกรรมที่ชิดกับแนวป่า ไฟส่องสว่างนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นระหว่างที่ชาวบ้านเดินทางออกไปเฝ้าไร่ พร้อมกับที่เครือข่ายทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะสามารถรับข่าวสารการพบเจอช้างป่าและเข้าไปผลักดันช้างโดยมีระยะที่มองเห็นช้างป่าในไร่ตอนกลางคืนที่ไกลขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้นทั้งคนและช้าง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่

    ปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่หนึ่งในนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของช้าง กินอาหารหลากหลายมากขึ้น ขยายพื้นที่หากินมากขึ้นโดยเฉพาะพืชไร่และพืชสวนของชุมชน ซึ่งเป็นอาหารกลุ่มใหม่ของช้างป่า  ในด้านของช้าง ช้างอาจมีความเสี่ยงรับสารพิษจากยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีจากการกินมันสำปะหลังหรือข้าวโพดในพื้นที่เกษตรกรรม และเสี่ยงอันตรายจากการตอบโต้แบบใช้ความรุนแรงของเกษตรกรบางกลุ่ม  ในส่วนของชุมชน เกษตรกรได้รับความเสียหายทั้งทางเกษตรและทรัพย์สิน เกิดผลกระทบด้านวิถีความเป็นอยู่และส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น การไปเฝ้าไร่ในเวลากลางคืน ต้องอดนอน ทำให้ช่วงเวลากลางวันไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและสุขภาพทรุดโทรม การเปลี่ยนเวลากรีดยางเป็นช่วงกลางวันทำให้ได้ปริมาณยางน้อยกว่าการกรีดยางในช่วงเย็นหรือกลางคืน ส่งผลถึงรายได้ที่ควรจะได้รับ กลับได้น้อยลงหรือในบางราย รายได้ขาดหายไปเนื่องจากไม่กล้าเข้าไปกรีดยาง

    ปัจจุบัน จากการสำรวจของทีมงานในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ามีอย่างน้อย 3 หมู่บ้านในอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่เกษตกรรมมากกว่า 7,000 ไร่  พบความเสียหายของพืชเกษตรทั้งหมด 84 ครั้ง เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว มีทรัพย์สินเสียหายถึง 18 ครั้ง เช่น ถังน้ำและท่อประปา  พืชเกษตรบางส่วนได้รับการเยียวยาจากทางภาครัฐแล้ว แต่การเยียวยาที่ได้มาก็ไม่เพียงพอสำหรับชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบ และการดูแลดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้ความเสียหายจากช้างป่าลดน้อยลงแต่อย่างใด  ดังนั้น หากให้ไล่เรียงปัญหาที่พบซึ่งเป็นที่มาของโครงการระดมทุนครั้งนี้จะรายการดังต่อไปนี้

1. ช้างป่าออกนอกป่ามาหากินพืชไร่พืชสวนในพื้นที่ชุมชน สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางเกษตรกรและทรัพย์สินของชุมชน
2. การอยู่ในพื้นที่ที่มีช้างป่าสร้างความกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต
3. พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแสงไฟส่องสว่างระหว่างหมู่บ้านไปยังพื้นที่เกษตรกรรม
4. ปัญหาความปลอดภัยของเส้นทางช้างป่าและเส้นทางชุมชน (พื้นที่หากินของช้างป่าอยู่ใกล้โรงเรียน ใกล้ศูนย์เด็กเล็ก)
5. ชุมชนและเกษตรกรไม่ทราบวิธีการที่จะปกป้องชีวิตและทรัพย์สินหรือวิธีการผลักดันช้างป่าอย่างปลอดภัยเมื่อเจอช้างป่า
6. ระบบเยียวยาความเสียหายของภาครัฐจากช้างป่าที่ยังไม่ประสิทธิภาพ และตอบสนองได้ตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
7. ระบบการเฝ้าระวังช้างป่าของภาครัฐที่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ไม่สามารถให้การสนับสนุนการเฝ้าระวังช้างป่าของชุมชนให้เกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ กำลังคนและระยะทางในการดำเนินการ

วิธีการแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่

    แนวทางการเฝ้าระวังและผลักดันช้างควรอยู่ในแนวทาง "คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย ไม่ใช้ความรุนแรง" ตามเกณฑ์งานวิจัยเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าอย่างสันติ version 1.0 ของเครือข่ายเสียงคนเสียงช้าง โดยการเพิ่มแสงสว่างในพื้นที่เกษตรกรรม จุดเฝ้าระวัง ตามรอยต่อระหว่างป่าและชุมชน  ให้มีการติดตั้งไฟโซล่าเซลล์เพื่อป้องกันช้างป่าเข้าพื้นที่เบื้องต้น และใช้สำหรับเพิ่มทัศนวิสัยให้กับเกษตรกรที่เฝ้าระวังช้างบริเวณไร่ของตน ทำให้ทราบจำนวนช้างหรือมองเห็นช้างได้ระยะไกลขึ้น ชัดเจนขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนกับช้าง จากนั้นจึงแจ้งเตือนไปยังเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนเพื่อมาทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรม

    อีกส่วนหนึ่งคือ "การจัดตั้งทีมเฝ้าระวังของแต่ละชุมชน" และใช้วิธีการคืนช้างสู่ป่าอย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง โดยการรักษาระยะห่างระหว่างทีมกับช้างป่า เพิ่มความสว่างให้กับทีม และพาหนะที่ใช้ในการผลักดัน เน้นการใช้แสงไฟเป็นหลัก ประกอบกับเสียงคนในการผลักดันช้างป่า ส่งผลให้ช้างป่าเดินทางไปในทิศทางที่กำหนดได้  การเฝ้าระวังผลักดันช้างด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คนปลอดภัย ช้างปลอดภัย คืนช้างสู่ป่าได้อย่างสันติ ไม่ใช้ความรุนแรง แต่กลุ่มเฝ้าระวังผลักดันช้างป่าก็จำเป็นที่จะต้องมีประสบการณ์หรือเรียนรู้หลักการเฝ้าระวังช้างก่อนปฏิบัติการ และระหว่างปฏิบัติการก็ต้องรอบคอบ มีสติและไม่ประมาทด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

การบรรเทาปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่ใน 3 หมู่บ้าน 2 อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน 

1. การสนับสนุนอุปกรณ์เฝ้าระวังช้างป่าให้กับเกษตรกรและหาแนวร่วม/เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน

1.1 ประชาสัมพันธ์กับผู้นำหมู่บ้านและลูกบ้านถึงที่มาและความสำคัญ และแนวทางการทำงานของโครงการใน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านภูเตย บ้านสะพานลาวในอำเภอทองผาภูมิ และบ้านปากเหมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในการใช้ชีวิตร่วมกับช้างป่าโดยเน้นไปที่สันติวิธี คือ "ไม่ใช้ความรุนแรง และปลอดภัยทั้งคนและช้าง"
1.2 รวบรวมข้อมูลของผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เพื่อระบุพื้นที่เกษตรกรรมเป้าหมายสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ และหาบุคคลที่จะเป็นแนวร่วมในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน
1.3 อบรมวิธีการติดตั้งและใช้งานแสงไฟโซล่าร์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังช้างป่า พร้อมไปกับการระบุจุดเฝ้าระวังช้างป่า ตั้งช่องทางการสื่อสารการพบเจอช้างป่าผ่านวิทยุสื่อสารและแอพพลิเคชั่น LINE และมอบอุปกรณ์ส่องสว่างให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า

2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาปัญหาช้างป่าบุกรุกพืชไร่โดยกลุ่มเฝ้าระวังชุมชน

2.1 หลังจากที่ได้ระบุบุคคลหรือกลุ่มที่จะเข้ามาเป็นกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าแล้วในทั้ง 3 หมู่บ้านแล้ว กลุ่มเฝ้าระวังจะออกปฏิบัติการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรมให้กลับเข้าป่าหรือพื้นที่อนุรักษ์หลังจากที่ได้รับแจ้งจากชุมชนหรือเกษตรกรที่เฝ้าระวังอยู่ในภายในไร่ของตนผ่านวิทยุสื่อสาร ช่องทาง LINE หรือโทรศัพท์สายตรง
2.2 กลุ่มเฝ้าระวังไปพื้นที่ตามที่ได้รับแจ้งช่าว และทำการผลักดันช้างออกจากพื้นที่เกษตรกรรมโดยรักษาระยะห่างระหว่างคนกับช้าง ไม่ใช้ความรุนแรงในที่นี้คือไม่ใช้อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อทั้งคนและช้าง
2.3 เครือข่ายกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่า 3 หมู่บ้านสรุปผลการดำเนินงานเฝ้าระวังช้างป่าในช่วงปลายโครงการเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินการและวางแผนการจัดการปัญหาช้างป่าในระยะถัดไป

อุปกรณ์ที่จะระดมทุนสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่า

อุปกรณ์เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังช้างป่าอย่างสันติวิธีอ้างอิงจากประสบการณ์การใช้งานเฝ้าระวังของชาวบ้านที่ได้เฝ้าระวังช้างป่าอยู่ในพื้นที่ และได้ทำการผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรของตนอย่างสำเร็จ ทางเครือข่ายมีความจำเป็นต้องขอระดมทุนสนับสนุนอุปกรณ์โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. สำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยช้างป่าจำนวน 100 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้านภูเตย หมู่บ้านสะพานลาว อำเภอทองผาภูมิ และหมู่บ้านปากเหมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ 

    1.1 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ (Turbo-light) รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w ไฟฉายแรงสูงแบบพกพา ส่องไฟได้สว่างมากกว่า 500 เมตร ชาร์จไฟผ่าน USB จำนวน 100 ชุด เพื่อให้แสงสว่างเวลาเดินทางและระหว่างการผลักดันช้างป่า
    1.2 ไฟโซล่าร์เซลล์ติดไร่ JD Solar light 400w ติดตั้งแผงไฟโซล่าเซลล์ ขนาด 400 วัตต์ จำนวน 100 ชุด ในพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าและชุมชน เพื่อเสริมทัศนคติในระหว่างการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าเข้าพื้นที่ และลดการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนกับช้าง
    1.3 ไฟแผงติดรถ 100 ชุด Super LED Bar 300w 12V สำหรับติดไถของเกษตรกรที่เดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยงในเวลากลางคืน 100 ชุด

2. สำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน ทีมหลัก ทีมละ 3 คน ของ 3 หมู่บ้าน จำนวน 5 ทีม ได้แก่ ทีมสะพานลาว ทีมดงเล็ก ทีมภูเตย ทีมทุ่งเกษตร และทีมเขาพระอินทร์  อุปกรณ์ของทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชนจะใช้จากที่ระดมทุนสำหรับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยจะใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้

    2.1 ไฟแผงติดรถ Super LED Bar 300w 12V ติดตั้งบนยานพาหนะที่ใช้ในการเฝ้าระวัง เพื่อความปลอดภัยระหว่างเดินทางและปฏิบัติงานเฝ้าระวังในตอนกลางคืน
    2.2 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w สำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกจากพื้นที่เกษตรกรรม
    2.3 วิทยุสื่อสารจำนวน 30 เครื่อง Spender D2452 Plus เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนั้นไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ วิทยุสื่อสารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานสื่อสารระหว่างทีมเฝ้าระวังกับชุมชน
    2.4 ค่าน้ำมันและเสบียงสำหรับทีมเฝ้าระวังช้างป่าทั้งหมด 15 คนจาก 5 ทีม 3 หมู่บ้าน


ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายพิเชฐ นุ่นโต

นายเอื้อการย์ อารามรักษ์

นางอัจฉรา อิงคมะระธร

ชาวบ้าน ในอำเภอผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับไฟฉายส่องสว่างเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันช้างในตอนกลางคืน

19 April 2023

เมื่อได้รับเงินบริจาคแล้ววันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดซื้ออุปกรณ์และแสงไฟส่องสว่างเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันช้างป่าในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยอุปกรณ์ที่ได้จัดซื้อผ่านการระดมทุนมีดังนี้

  1. วิทยุสื่อสาร D2452 Plus จำนวน 6 เครื่อง
  2. ไฟฉายคาดหัว P90 จำนวน 6 ชุด และแบตเตอรี่ MBLL18650 จำนวน 9 ก้อน
  3. ไฟฉายเทอร์โบไลท์ W591 จำนวน 40 กระบอก
  4. เสบียงอาหารและน้ำสำหรับอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 38,950 บาท

เมื่อได้รับอุปกรณ์แล้ว ในวันที่ 21 มีนาคม 2566 ทางโครงการได้มอบวิทยุสื่อสาร 6 เครื่องและไฟฉายคาดหัว 6 ชุดให้กับกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นจำนวน 7 ราย ประจำหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม จังหวัดกาญจนบุรี ตัวแทนรับมอบคือ นายอนุชิต ปัสสาสัย โดยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากส่งมอบอุปกรณ์ก็คือทำให้ทีมป่าลั่นมีวิทยุสื่อสารสำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกจากชุมชน ทดแทนวิทยุชุดเก่าที่เสียหายและไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ ในช่วงที่โครงการลงพื้นที่นั้น บ้านสะพานลาวพบช้างป่าหนึ่งฝูงที่มีจำนวนอย่างน้อย 20 ตัวในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมซึ่งออกมาหากินกล้วยและพืชเกษตรตามบ่อน้ำและห้วยใกล้กับพื้นที่ชุมชน ทำให้ทีมป่าลั่นได้ทดลองใช้วิทยุสื่อสารในเย็นวันนั้นและสามารถผลักดันช้างกลับเข้าป่าได้อย่างปลอดภัยทั้งคนและช้าง

ต่อมา ในวันที่ 28 มีนาคม 2566 โครงการได้มอบไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอกให้กับหัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิที่ 6 (โป่งช้าง) ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิในพื้นที่หมู่ 4 บ้านเนินสวรรค์ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ ซึ่งพื้นที่นี้มีช้างป่าทั้งช้างโทนและช้างฝูง อย่างน้อย 15 ตัววนเวียนมาในพื้นที่เป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงต้นปีซึ่งตรงกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชเกษตรกลุ่มมันสำปะหลัง หลังจากที่ได้รับอุปกรณ์แล้ว ตัวแทนระบุว่าจะใช้ไฟฉายในการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าต่อไปหากพบข่าวช้างป่าเข้ามาในชุมชน

ในวันที่ 2 เมษายน 2566 ทางโครงการได้ส่งมอบไฟฉายทั้งหมด 36 กระบอกให้กับตัวแทนหมู่บ้านที่มีข่าวการพบช้างป่าและเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าที่มีพื้นที่เกษตรติดกับพื้นที่อนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติ โดยแบ่งเป็น 4 หมู่บ้าน จาก 3 ตำบลในอำเภอทองผาภูมิ ประกอบด้วย

  1. นายเชน ศรีเสมอ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านชะอี้ ตำบลชะแล
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอก
  2. นายเอกพรรดิ์ ก้อนทอง ตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 7 บ้านชะอี้
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอก
  3. นายไพรวัลย์ พิมพา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านภูเตย ตำบลชะแลและตัวแทนกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าหมู่ 5 บ้านเขาพระอินทร์ของบ้านภูเตย ตำบลชะแลได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 5 กระบอก
  4. นายนิวัฒน์ สอนจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านภูเตย
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 2 กระบอก
  5. นางบัวลม โทนทอง ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 5 บ้านภูเตย
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 3 กระบอก
  6. นายเอื้อการย์ อารามรักษ์ อาสาสมัครบินโดรนป้องกันช้างป่าอำเภอทองผาภูมิ
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 2 กระบอก
  7. นายอนุชิต ปัสสาสัย อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ
    ได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 12 กระบอก พร้อมทั้งเสบียงอาหารและน้ำสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่าในชุมชน
  8. ตัวแทนกลุ่มเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 6 บ้านไร่ ตำบลห้วยเขย่ง
    จะได้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์จำนวน 4 กระบอกแต่ต้องรอการประสานงานกับผู้นำชุมชนอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง

ข้อสรุปที่ได้จากการดำเนินโครงการคือตัวแทนชุมชม 9 กลุ่มจาก 5 หมู่บ้าน 4 ตำบลในอำเภอทองผาภูมิ ได้แก่ 1) หมู่ 4 บ้านเนินสวรรค์ ตำบลปิล๊อก 2) หมู่ 6 บ้านไร่ ตำบลห้วยเขย่ง 3) หมู่ 5 บ้านภูเตย บ้านเขาพระอินทร์ ตำบลชะแล 4) หมู่ 7 บ้านชะอี้ ตำบลชะแล และ 5) หมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับไฟฉายส่องสว่างเทอร์โบไลท์จำนวน 40 กระบอกสำหรับการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าไม่ให้ก่อความเสียหายกับพืชเกษตร และเพิ่มความปลอดภัยของชุมชนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ ทางโครงการได้ใช้เงินระดมทุนสนับสนุนวิทยุสื่อสาร 4 เครื่อง ไฟฉายคาดหัวและแบตเตอรี่ 6 ชุด และเสบียงอาหารและน้ำสำหรับอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นอีกด้วย

สำหรับข้อเสนอแนะในการระดมทุนครั้งถัดไป ผู้รับผิดชอบโครงการเห็นว่า นอกจากไฟส่องสว่างสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่าและผลักดันช้างป่านั้น ไฟส่องสว่างในพื้นที่สัญจรก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะตามถนนหรือพื้นที่สัญจรที่ไม่มีไฟทางหลวง หรือพื้นที่ขอบไร่ชายป่าที่ติดกับพื้นที่อนุรักษ์ การใช้ไฟส่องสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ไม่ต้องต่อสายไฟและเสาไฟจากสายไฟหลักซึ่งใช้งบประมาณสูง มีระยะเวลาการดำเนินการที่ยาวนานกว่า และดำเนินการได้ยากกว่า ดังนั้น การใช้เสาไฟพลังงานแสงอาทิตย์จะทำให้สามารถมองเห็นช้างป่าระหว่างการสัญจรได้ง่ายขึ้น และยังเพิ่มความปลอดภัยต่อทั้งชีวิตคนและช้างป่ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ความประทับใจจากผู้ได้รับประโยชน์

ไพรวัลย์ พิมพา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 บ้านเขาพระอินทร์ ตำบลชะแล
“...ก่อนหน้าที่จะได้รับอุปกรณ์ช้างก็มาเรื่อย ๆ มากินมัน ข้าวโพด ความเสียหายเป็นกระจุก กระจายไป ชาวบ้านต้องมาไล่เอง ปกติชาวบ้านก็ใช้ไฟฉายไฟกรีดยาง มอง 20-30 เมตรก็ไม่รู้เรื่องแล้ว เมื่อได้ไฟฉายแล้วน่าจะช่วยได้ดีระดับนึงเลย เพราะการมองเห็นน่าจะโอเคกว่า บางครั้งเราได้ยินเสียงอยู่แต่เดินไปเราก็ไม่กล้า มองไม่เห็น แต่มีไฟแล้วมองเห็นช้างง่ายขึ้น ปลอดภัยขึ้น ผลักดันง่ายขึ้น...”

บัวลม โทนทอง เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในหมู่ 5 บ้านภูเตย ตำบลชะแล
“...ก่อนหน้านี้ก็ตกใจนะ (เมื่อเจอช้าง) เคยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ว่าอยากได้ตรงนี้ เพราะที่เราอยู่ ที่อยู่กับหลาน เราก็อยู่กับความมืดเนาะ ... ก็เลยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ว่าอยากได้ไฟ ... เพราะเราอยู่กับช้าง มันไม่ใช่ฝูงควายเนอะ เราก็อยากได้ที่เราพอจะอยู่ได้ ที่ทำให้พวกเรา พวกชาวบ้านปลอดภัย ...
(เมื่อได้ไฟฉายแล้ว) มันก็คงจะดีกว่า เหมือนช้างมา เราก็ใช้ความสว่างช่วยตัวเรา เมื่อก่อนเราก็อยู่กับความมืด เราก็กลัวมาก ถ้าเราได้แสงสว่างมาเนี่ย มันก็คงจะดีกว่าแต่ก่อนน่ะค่ะ”

เอกพรรดิ์ ก้อนทอง ตัวแทนเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าหมู่ 7 บ้านชะอี้ ตำบลชะแล
“...ก็คงจะดี คือว่า หนึ่ง มันสว่าง เราได้เห็นได้อะไร ส่องดีกว่า น่าจะดีกว่าที่เราใช้อยู่นะ เพราะก็ต้องการแบบที่ระยะที่อยู่ไกล ๆ หน่อยน่าจะเห็น อีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าสว่างเขาน่าจะตกใจกว่าไฟที่เราใช้อยู่นะ...”

อนุชิต ปัสสาสัย อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคม
“....(ก่อนที่จะได้รับไฟฉายและชุดวิทยุสื่อสารมา) มันก็เสี่ยง ทำงานลำบาก ไม่มีวอ ไม่มีไฟ .... (พอได้ไฟได้วอมา) ก็ทำงานปกติ มันก็ทำงานสบาย ง่ายขึ้น ... รู้สึกดีใจ ก็เราไม่มีไง ของหมดแล้ว มันก็เสียมา เราใช้ประจำไง ... (การมีแสงไฟมันช่วยเรายังไงบ้าง) มองเห็นง่ายเลยแหละ หาช้างเจอ เราก็ปลอดภัย มันก็สำคัญมากเลยแหละ ไฟกับวอนี่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก อย่างอื่นนี้ยังพอได้ แต่ถ้าไฟไม่สว่างนี่ อันตรายครับ ถ้าเราหาช้างนี่ เราหาเขาไม่เจอเราก็ไล่เขาไม่ได้ มีไฟ มีความปลอดภัย สอง วอนี่ ประสานงานกันตลอด ทำงานได้...
ไฟหัวใช้สำหรับเดินทาง คนนึงต้องมีสองอัน ไฟหัวอันนึง ไฟเทอร์โบไลท์อันนึง เวลาเจอก็ใช้ไฟใหญ่ เวลาเดินเข้าไปก็ใช้ไฟเล็กก่อน ประหยัด เพราะบางครั้งก็ใช้เวลานาน อันเดียวไม่พอ บางก็เกือบสว่าง....
(เปรียบเทียบความปลอดภัยระหว่างมีไฟกับไม่มีไฟ) ถ้ามีไฟ ความปลอดภัยก็ร้อยเปอร์เซ็นต์เลยดีกว่า มั่นใจ ถ้าไม่มี มันไม่สว่างนี่ 50-50 เลยนะ บางทีเขาแจ้งมา เราก็ต้องไป บางทีไฟไม่พอ เราก็ต้องไป ในเมื่อเราทำงานตรงนี้แล้ว แต่มันก็ไปด้วยความเสี่ยงอะ เราเป็นลูกพี่ ก็เป็นห่วงไง อันตราย.... ไล่ช้างกลางคืนดีกว่า มันเซฟตี้ (ปลอดภัย) ดีกว่า เขามองเราไม่เห็น...”

คลิปสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับไฟฉายและวิทยุสื่อสาร

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จำนวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ช้างป่าเอเชีย ในอำเภอ
ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ช้างป่าอย่างน้อย 2 ฝูง จำนวนอย่างน้อย 30 ตัวช้างป่าถูกผลักดันออกจากพื้นที่เกษตรด้วยแสงจากไฟฉาย
เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า 4 คน และอาสาสมัครหรือตัวแทนชุมชนเฝ้าระวังช้างป่าจาก 5 หมู่บ้าน จาก 4 ตำบลในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี1) เกษตรกรอย่างน้อย 4 คน
2) อาสาสมัครและตัวแทนชุมชนเฝ้าระวังช้างป่าอย่างน้อย 15 คน

1) เกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยช้างป่าได้รับไฟฉายส่องสว่างในการเฝ้าระวังพืชเกษตรของตนเอง
2) เกษตรกรและอาสาสมัครรู้สึกมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้นในการเฝ้าระวังช้างป่า
3) อาสาสมัครพร้อมช่วยเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าออกพื้นที่เกษตรของชุมชน
4) อาสาสมัครมีกำลังใจในการเฝ้าระวังช้างป่ามากขึ้นเพราะอุปกรณ์พร้อม

ภาพประกอบ


ภาพ
นายวันชัย สูนคำ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิที่ 6 โป่งช้าง รับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 4 กระบอก


ภาพ
นายเชน ศรีเสมอ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านชะอี้รับไฟฉายเทอร์โบไลท์ 4 กระบอก


ภาพ
นายเอกพรรดิ์ ก้อนทอง เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่ารับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 4 กระบอก


ภาพ
ไพรวัลย์ พิมพา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านเขาพระอินทร์รับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 5 กระบอก


ภาพ
นายนิวัฒน์ สอนจิตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านภูเตยรับไฟฉายเทอร์โบไลท์ 2 กระบอก


ภาพ
บัวลม และ สำเนียง โทนทองเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในหมู่ 5 บ้านภูเตย รับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 2 กระบอก


ภาพ
เกษตรกรที่บ้านและไร่ข้าวโพดอยู่ติดกับแนวป่าอุทยานรับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 1 กระบอก


ภาพ
อนุชิต ปัสสาสัย ผู้นำอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่น หมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมรับมอบไฟฉายเทอร์โบไลท์ 12 กระบอก


ภาพ
ตัวแทนอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นรับมอบเสบียงอาหารและน้ำสำหรับเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า


ภาพ
อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่นรับมอบวิทยุสื่อสาร 5 เครื่องและไฟฉายคาดหัวพร้อมแบตเตอรี่ 6 ชุด


ภาพ
การเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าในพื้นที่เกษตรกรรม สวนกล้วยของหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมโดยอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่น


ภาพ
การเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าของหมู่ 2 บ้านสะพานลาว ตำบลสหกรณ์นิคมโดยอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทีมป่าลั่น

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ไฟฉายเทอร์โบไลท์ (Turbo-light) รุ่น S-240-Big W590 P70.2 20w ส่องไฟได้สว่างมากกว่า 500 เมตร ชาร์จไฟผ่าน USB และได้รับการยอมรับจากชาวบ้านที่เฝ้าระวังช้างป่าว่าสามารถทำให้ช้างออกจากไร่ได้ ชิ้นละ 700 บาท 100 ชิ้น 70,000.00
2 ไฟแผงสำหรับติดไร่ JD Solar light 400w ชุดละ 1,090 บาท สำหรับเกษตรกรที่ต้องอยู่เฝ้าไร่ในตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการเฝ้าระวัง 100 ชิ้น 109,000.00
3 ไฟแผงสำหรับติดรถ Super LED Bar 300w 12V ชุดละ 600 บาท มี 2 แผง สำหรับติดรถไถหรือรถกระบะของเกษตรกรระหว่างการเดินทางเข้าไร่ในตอนกลางคืนและทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน 100 ชิ้น 60,000.00
4 วิทยุสื่อสารสำหรับการสื่อสารระหว่างการเฝ้าระวังช้างป่า Spender D2452 Plus เครื่องละ 1,990 บาท 30 เครื่อง 59,700.00
5 ค่าน้ำมันและเสบียงสำหรับการเฝ้าระวังช้างป่าของทีมเฝ้าระวังช้างป่าประจำชุมชน เฉลี่ยวันละ 450 บาท 5 ทีม 3 หมู่บ้าน เป็นเวลา 90 วัน 15 คน 40,500.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
339,200.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
33,920.00

ยอดระดมทุน
373,120.00