project สัตว์

โครงการหน่วยบริบาลและฟื้นฟูสุขภาพช้างชราและพิการ

เนื่องจาก สถานที่ตั้งของปางช้างบางแห่งนั้นอยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาลช้างที่มีความพร้อมประกอบกับข้อจำกัดที่ช้างชรามีอายุมาก การเคลื่อนย้ายขนส่งช้างเป็นระยะทางไกลๆ จึงไม่ค่อยแนะนำ อีกทั้งความพร้อมของยาและเวชภัณฑ์ที่มีอยู่ในปางช้างนั้นก็ยังไม่ดีพอ ทำให้การดูแลรักษาช้างนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ช้างอยู่ในสภาพที่เจ็บป่วยเรื่อยๆ หรือบางเชือกต้องเสียชีวิตไปด้วยเหตุที่ไม่สมควร การจัดตั้งหน่วยพยาบาลช้างชราและพิการในพื้นที่ปางช้างที่อยู่ห่างไกลและขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นนั้น จะเป็นการช่วยเหลือดูแลช้างเหล่านั้นได้มากขึ้น มีการดูแลรักษาช้าง การตรวจสุขภาพ และการจัดตารางกิจกรรมสำหรับช้าง ซึ่งจะส่งผลให้ช้างยังคงมีสุขภาพกายและใจที่ดี และได้รับการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสมทันทีเมื่อช้างเจ็บป่วย ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นของคนเลี้ยงช้าง

Duration 5 เดือน Area ระบุพื้นที่: ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

Current donation amount

238,050 THB

Target

440,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 54%
จำนวนผู้บริจาค 297

สำเร็จแล้ว

Project updates

มูลนิธิช้างปันใจสู่ชาวดอย เริ่มปลูกอาหารช้างและพาช้างไปโรงพยาบาล

21 September 2022

มูลนิธิช้างปันน้ำใจสู่ชาวดอย นำเงินบริจาคที่ได้รับบริจาคไปปลูกอาหารช้างเพิ่มเติม และเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาช้าง เคลื่อนย้ายช้างไปยังโรงพยาบาล และพากลับบ้าน

พาพังช้างแม่บุญมีที่ป่วยไปรักษาโรงพยาบาล จนสามารถกลับบ้านได้

ปลูกหญ้าเนเปียร์ เป็นอาหารช้าง


Read more »
See all project updates

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมาเราพบว่าช้างเลี้ยงเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจการท่องเที่ยวมากขึ้น และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของปางช้างหรือแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละปีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช้างที่ถูกนำมาใช้งานนั้นก็ย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยจากการทำงานและ สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย โรคติดต่อ ทำให้เกิดโรคหรือความผิดปกติของสุขภาพร่างกายและจิตใจ

ในปัจจุบันก็พบว่าช้างเลี้ยงที่ถูกนำมาใช้งานเหล่านั้นเริ่มมีอายุมากขึ้น เกือบร้อยละ 60 จะเป็นช้างที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี และอีกร้อยละ 10 จะเป็นช้างที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช้างชรา เจ้าของช้างไม่สามารถใช้ประโยชน์จากช้างได้ ช้างจะถูกใช้งานบ้างหรืองดใช้งานและถูกเลี้ยงไว้เฉยๆ ขาดการดูแล เลี้ยงดูที่เหมาะสมเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการที่อยู่อาศัย อาหาร กิจกรรมของช้างในแต่ละวัน การเดิน การยืน การนอน และการขับถ่าย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ผู้เลี้ยงช้างกลุ่มนี้จะต้องให้ความสำคัญมาก  

เมื่อกลุ่มช้างชราเกิดเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติ มีบาดแผล การจัดการในเบื้องต้นนั้นควาญช้าง ผู้ดูแลช้าง และเจ้าของช้าง จะเป็นผู้ที่ต้องให้การดูแลรักษา โดยอาศัยยาและเวชภัณฑ์ที่มีอยู่ในขณะนั้นนำมาใช้รักษาช้างก่อน และหากอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกตินั้นไม่บรรเทาเบาบางลง ก็จะติดต่อสัตวแพทย์ที่อยู่ใกล้เคียงให้เข้าไปทำการรักษา หรือหากพบว่ามีอาการรุนแรง ก็จะทำการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลช้างที่มีความพร้อมในการดูแลรักษาต่อไป 

แต่เนื่องจาก สถานที่ตั้งของปางช้างบางแห่งนั้นอยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาลช้างที่มีความพร้อมประกอบกับข้อจำกัดที่ช้างชรามีอายุมาก การเคลื่อนย้ายขนส่งช้างเป็นระยะทางไกลๆ จึงไม่ค่อยแนะนำ อีกทั้งความพร้อมของยาและเวชภัณฑ์ที่มีอยู่ในปางช้างนั้นก็ยังไม่ดีพอ ทำให้การดูแลรักษาช้างนั้นไม่ประสบความสำเร็จในการดูแลรักษา ทำให้ช้างอยู่ในสภาพที่เจ็บป่วยเรื่อยๆ หรือบางเชือกต้องเสียชีวิตไปด้วยเหตุที่ไม่สมควร

ดังนั้น การจัดตั้งหน่วยพยาบาลช้างชราและพิการในพื้นที่ปางช้างที่อยู่ห่างไกลและขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นนั้น จะเป็นการช่วยเหลือดูแลช้างเหล่านั้นได้มากขึ้น มีการดูแลรักษาช้าง การตรวจสุขภาพ และการจัดตารางกิจกรรมสำหรับช้าง ให้ช้างได้ทำ ซึ่งจะส่งผลให้ช้างยังคงมีสุขภาพกายและใจที่ดี และได้รับการดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสมทันทีเมื่อช้างเจ็บป่วย ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นของคนเลี้ยงช้างและเจ้าของช้างด้วย

เรายังคงพยายามหาวิธีที่จะดูแลช้างและควาญช้างของเราอย่างดีที่สุด แม้ว่าจะผ่านการระบาดมาถึง 4 รอบแล้ว วิธีการแก้ปัญหาของเราอย่างแรก คือเปิดรับบริจาคจากบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนจำกัดต่างๆ รวมถึงการใช้เทคนิคทางการตลาดต่างๆ (facebook ads) และการผลิตผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิเพื่อหารายได้มาสนับสนุนค่าใช้จ่าย นอกจากนี้เรายังพยายามอย่างมากที่จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ลดได้เพื่อพยุงให้มูลนิธิยังคงเดินหน้าไปได้ต่อ 


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เมื่อระดมทุนแล้ว มูลนิธิส่งมอบเงินให้กับโครงการช่วยเหลือช้างและควาญช้างในเขตแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ค่าอาหารช้าง (หญ้าสด อาหารเสริม อาหารเม็ด สมุนไพร ข้าวเหนียวนึ่ง) โดยทางมูลนิธิรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และอีกส่วนหนึ่งคือการเช่าสวนเพื่อปลูกหญ้าให้ช้างอีกด้วย 
  • ยาและเวชภัณฑ์ อาหารเสริม สำหรับช้างชราและช้างป่วย/พิการ โดยทางมูลนิธิจะจัดซื้อยาตามรายการของสัตวแพทย์ เพื่อมอบให้แก่ปางช้างและเจ้าของช้าง โดยเป็นยามาตราฐานและยาจำเป็นที่ควาญช้างควรมี
  • จ้างควาญช้างให้เป็นคนตัดหญ้าเองเพื่อช่วยเหลือด้านรายได้ในช่วงที่ไม่มีงาน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID- 19

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ประธานมูลนิธิ 

นัยน์ปพร หัตถการ

ผู้ประสานงาน

สุชัญญา นิยมกิจการกุล 

สัตวแพทย์ประจำมูลนิธิ 

นายสัตวแพทย์ วรุตม์ วงศ์กาฬสินธุ์


มูลนิธิช้างปันน้ำใจสู่ชาวดอย บริจาคอาหารให้ช้างที่ปางโชคชัย หมอลงพื้นที่ช่วยเหลือช้าง

6 May 2022

การช่วยเหลือช้าง/ปางช้างในพื้นที่ห่างไกล 

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 ทีมงานมูลนิธิช้างปันน้ำใจสู่ชาวดอย ได้มีโอกาสบริจาคอาหารช้างและข้าวสารให้ควาญช้าง ที่ปางช้างโชคชัย ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปางช้างขาดรายได้และความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการหารายได้เสริม ปางช้างโชคชัยมีช้างทั้งหมดจำนวน 54 เชือก โดยผู้ดูแลปางต้องการให้ช้างมีอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และมีควาญช้างดูแลช้างในจำนวนที่เหมาะสม

การรักษาช้างของมูลนิธิ (veterinarian report) 


ช้างที่ป่วยเป็นพี่ช้างเพศเมีย อายุ 25 ปี
เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่มีสาเหตุโน้มนำหลักมาจากการกินดินเพื่อถ่ายท้อง (ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติในช้าง) และดินมีการปนเปื้อนของสารเคมีและปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร

วันแรก มีอาการท้องเสีย อุจจาระเละ เหลว ไม่จับตัวเป็นก้อน

วันที่ 2 พี่ช้างยืนซึม งวงตก ผลุดลุกผลุดนั่ง เอางวงตีและเป่าท้อง บางครั้งเดินวน โยกตัวไปมา หูไม่ค่อยโบก หางแกว่งช้า ยืนอ้าปากหายใจ และยังไม่พบอุจจาระช้างเลยคาดว่าช้างอาจจะเกิดอาการท้องผูก

จากการถามประวัติพบว่าช้างไปกินดินและหญ้าที่ปลูกติดกับแปลงดอกไม้ที่ปลูกข้างๆ ปางช้าง ซึ่งพบว่ามีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพื่อการเกษตรเป็นประจำ และเมื่อช่วงวันที่ 16-17 เมษายน เกิดฝนตกหนัก ชะล้างเอาดินและน้ำจากแปลงดอกไม้ไหลลงพื้นที่แปลงหญ้าช้างที่อยู่ต่ำกว่า


แผนการรักษาพี่ช้าง คือการให้สารน้ำ ให้ยาลดปวดอักเสบ และให้ยาและสารอาหาร ทางหลอดเลือดดำและกล้ามเนื้อ วางแผนการล้วงอุจจาระทางทวารหนักหรือล้วงก้นนั่นเอง บวกกับการเสริมอาหารโปรไบโอติกเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยในกระบวนการหมักย่อยในลำไส้ส่วนท้ายและกระตุ้นระบบการทำงานของระบบทางเดินอาหารของช้างให้กลับมาทำงานเป็นปกติ

ภายหลังการรักษา ด้วยการฉีดยา โดยไม่ได้ทำการล้วงอุจจาระ และเฝ้าดูอาการของช้าง ก็พบว่าพี่ช้างเริ่มแสดงอาการดีขึ้น กินกล้วยและต้นข้าวโพดทั้งต้น กินน้ำ ใช้งวงหยิบจับอาหาร โบกหูและแกว่งหางได้ดีขึ้น และขับถ่ายอุจจาระออกมาได้

การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา

  • แนะนำให้ปางช้างจัดทำโรงเรือนเก็บอาหารช้าง (หญ้า ต้นข้าวโพดและกล้วย) และให้ช้างกินพืชอาหารช้างจากแหล่งที่เตรียมให้เท่านั้น
  • จัดทำระบบน้ำดื่มและน้ำใช้ให้แก่ช้าง
  • และกั้นแนวเขต และแจ้งควาญช้างว่า ห้ามให้พี่ช้างไปกินหญ้าและน้ำในแหล่งใกล้แปลงพืชเกษตรกรรม
  • ติดตามดูอาการช้างต่อเนื่อง ( เฝ้าดูพฤติกรรม และ อุจจาระของช้าง)


พี่ช้างพังบุญเงิน อายุ 30 ปี มีอาการลิ่มเลือดใหลออกจากอวัยะเพศ และบางครั้งพบว่ามีเลือดสดไหลปนออกมากับปัสสาวะ ปัสสาวะกระปริบกระปรอย แต่พี่ช้างยังคงกินอาหารและน้ำได้ปกติ การขับถ่ายอุจจาระปกติ การเดิน การนอนปกติ ไม่มีอาการซึม การตรวจร่างกาย และเฝ้าดูพฤติกรรมก็ปกติ สีของเยื่อเมือก สี Pale pink ชุ่มชื้นดี หมอจึงทำการเก็บตัวอย่างเลือด และ ตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

ผลการตรวจเลือด

  • พบว่าค่าเลือด เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติเล็กน้อย
  • ค่า Liver function test ปกติทั้งหมด
  • ค่า Kidney function test พบว่า BUN และ CREATININE สูงกว่าปกติเล็กน้อย

ผลตรวจปัสสาวะ

  • มีความขุ่น - สีขาวขุ่น และ เหลืองข้น
  • มี Hemolysis +3
  • กลิ่นไม่เหม็น
  • ไม่พบตะกอน หรือ นิ่ว ไม่พบแบคทีเรีย / เชื้อโรคอื่นๆ

แผนการรักษา

  1. เก็บตัวอย่างน้ำดื่มของช้างไปตรวจคุณภาพเพิ่มเติม
  2. พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะและยาลดการอักเสบ หากพี่บุญเงินมีอาการซึม
  3. เพิ่มอาหารเสริมและยาบำรุงเลือด

และให้ควาญช้างเฝ้าดูพฤติกรรมพี่ช้างบุญเงินทุกวัน และรองปัสสาวะช้างมาตรวจดูลักษณะทางกายภาพ (ใช้ภาชนะสีขาว/ใส) และถ่ายรูปเก็บไว้ส่งรายงานให้ช้างกินน้ำสะอาดมากขึ้น โดยให้ปางช้างจัดทำระบบบำบัดน้ำและกรองน้ำดื่มสำหรับช้าง (ทำน้ำพุเพิ่มในบ่อ และ มีถังกรอง) และอีก 1 สัปดาห์ หมอวางแผนตรวจร่างกายพี่ช้างอีกครั้ง 

เราหวังว่าพี่เค้าจะอาการดีขึ้น มาเอาใจช่วยพี่ช้างบุญเงินไปด้วยนะคะ

มูลนิธิช้างปันใจสู่ชาวดอย เริ่มปลูกอาหารช้างและพาช้างไปโรงพยาบาล

21 September 2022

มูลนิธิช้างปันน้ำใจสู่ชาวดอย นำเงินบริจาคที่ได้รับบริจาคไปปลูกอาหารช้างเพิ่มเติม และเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาช้าง เคลื่อนย้ายช้างไปยังโรงพยาบาล และพากลับบ้าน

พาพังช้างแม่บุญมีที่ป่วยไปรักษาโรงพยาบาล จนสามารถกลับบ้านได้

ปลูกหญ้าเนเปียร์ เป็นอาหารช้าง


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหารช้าง (หญ้าเนเปีย สัปปะรด อ้อย กล้วย แตงโม ฟักทอง) เป็นเวลา 5 เดือน 5 เชือก 300,000.00
2 ค่ายาและเวชภัณฑ์ช้าง เป็นเวลา 5 เดือน 5 เชือก 100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
400,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
40,000.00

ยอดระดมทุน
440,000.00