project สัตว์ สิ่งแวดล้อม

อาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง (จ.กาญจนบุรี)

ฤดูปลาวางไข่ เป็นฤดูกาลสำคัญต่อชีวิต “ปลา” และ “มนุษย์” เพราะเป็นช่วงเดียวที่พ่อแม่พันธุ์ปลาจะเก็บเรี่ยวแรงทั้งหมดไปว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นสู่พื้นที่วางไข่ ความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ปลา จึงเท่ากับความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ อาสาสมัครกลุ่มใบไม้พร้อมที่จะเดินทางไปเพื่อนำ ทักษะ แรงกาย หัวใจ เพื่อเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัย ร่วมสนับสนุนภารกิจครั้งนี้ไปกับเรา

Duration 16 มิ.ย. 2566 ถึง 15 ก.ย. 2566 Area ระบุพื้นที่: อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี (อ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ต้นน้ำบิคลี่ ซองกาเลีย รันตี)

Current donation amount

40,133 THB

Target

209,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 19%
จำนวนผู้บริจาค 107

สำเร็จแล้ว

Project updates

อาสาสร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง กาญจนบุรี

9 April 2024

โครงการอาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี ได้ดำเนินการตลอดช่วงเวลาฤดูปลาวางไข่หรือฤดูฝน ครอบคลุมเวลาตั้งแต่ 16 มิถุนายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566 โดยแบ่งการทำงานเป็นครั้ง ๆ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 4-5 วัน ซึ่งแต่ละครั้งได้มีการเปิดรับอาสาสมัครครั้งละ 10-15 คน เข้ามาขับเคลื่อนการทำงานภาคสนาม ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขาแหลม กลุ่มคนอาสาเพื่อแผ่นดิน เป็นต้น

รูปแบบการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนโดยอาสาสมัครแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 ช่วงต้นฤดูกาล พวกเรามุ่งเน้นการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ เตรียมอุปกรณ์ และมีการฝึกปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ รวมทั้งการเรียนรู้และทำความเข้าใจสภาพพื้นที่ที่มีความหลากหลาย

ช่วงที่ 2 ช่วงกลางฤดูกาล มุ่งเน้นการทำงานแข่งกับเวลา ออกเรือไปเพื่อช่วยเหลือปลาผ่าน 3 ภารกิจย่อย ได้แก่

  1. ค้นหาอุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ
  2. ตัด แกะ ปลดปล่อย ช่วยชีวิตปลาออกจากอุปกรณ์ประมงผิดกฎหมายคืนสู่ลำน้ำ
  3. เก็บกู้อุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ

ช่วงที่ 3 ช่วงท้ายฤดูกาล เน้นการเข้าพื้นที่เพื่อหาความร่วมมือ ประชุมร่วม ประเมินข้อมูลการทำงานเพื่อวางแผน และส่งข้อมูลให้หน่วยงานในความรับผิดชอบนำไปใช้ในการแก้ปัญหาระยะยาวต่อไป

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ เราเห็นคนที่ทำงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จริง ที่มีใจแต่ขาดการสนับสนุนในหลายๆ อย่าง เราได้ใช้ชีวิตกับพี่ๆ น้องๆ อาสากลุ่มใบไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนไปทำงานกับญาติพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องมากกว่า เพราะทุกคนใส่ใจดูแลกันมากๆ ประทับใจสุดๆ เป็นพื้นที่ปลอดภัยสุด อยากมีโอกาสได้เจอทุกคนอีก ได้เรียนรู้จักการให้มากกว่าการรับไปด้วยกันอีก ขอบคุณประสบการณ์ครั้งนี้จริงๆ ที่หลังจากนี้ทุกครั้งที่เราหาปลาเราคงมีจิตสำนึกส่วนนี้ฝังอยู่ในใจและถ่ายทอดต่อไปให้คนรอบตัวได้รู้และได้ตระหนักจริงๆ ” คุณไอรินทร์ สมสรรพมงคล อาสาสมัครโครงการ

“ เป็นช่วงเวลา 4 วัน 3 คืน ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา โดยเป็นการนอนแพแบบไม่มีไฟฟ้า ต้องตักน้ำจากแม่น้ำมาอาบ นี่ยังไม่รวมกับทางขึ้นลงแพที่ลาดชันพอฝนตกดินก็เละและลื่น งานอาสานี้เป็นมากกว่างานอาสาคือความสัมพันธ์ เราได้มานั่งคุยกัน ปรึกษากัน ช่วยเหลือกัน และใช้เวลาร่วมกันในการทำสิ่งที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน และทำให้รู้ว่าคนทำงานตรงนี้ต้องมีคุณภาพชีวิตแบบนี้อยู่ตลอด ไม่ใช่แค่เรื่องคุณภาพชีวิต แต่ยังมีเรื่องของความพร้อมของสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน มันน่าเศร้าใจที่ไม่มีอะไรเลยสักอย่างที่ ‘มากเพียงพอ’ จะใช้ มันน่าเศร้าใจมากเลยที่งานอนุรักษ์มันดู ‘ไม่สำคัญพอ’ ที่จะได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังคน อุปกรณ์ และงบประมาณ ” คุณชนากานต์ จิตรหาญ อาสาสมัครโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
พื้นที่ป่าเกิดพื้นที่ปลอดภัยของปลา สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี200,000 ไร่พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ในบริเวณผืนน้ำได้รับการปกป้องจากการออกทำงาน ลาดตระเวณ ทั้งจากอาสาสมัคร และจากเจ้าหน้าที่ภาคสนามจากหน่วยประมงฯ และอุทยานฯ โดยได้มีการสนับสนุนทรัพยากรทำงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เสบียง ไฟฉาย กระเป๋ากันน้ำ ยารักษาโรค จากการดำเนินงานของโครงการ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม







Read more »
See all project updates

ฤดูปลาวางไข่ เป็นฤดูกาลสำคัญต่อชีวิต “ปลา” และ “มนุษย์” เพราะเป็นช่วงเดียวที่พ่อแม่พันธุ์ปลาจะเก็บเรี่ยวแรงทั้งหมดไปว่ายทวนกระแสน้ำขึ้นสู่พื้นที่วางไข่ ความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ปลา จึงเท่ากับความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ อาสาสมัครกลุ่มใบไม้พร้อมที่จะเดินทางไปเพื่อนำ ทักษะ แรงกาย หัวใจ เพื่อเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัย ร่วมสนับสนุนภารกิจครั้งนี้ไปกับเรา

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาการลักลอบทำการประมงในฤดูปลาวางไข่ เป็นปัญหาใหญ่ของพื้นที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ นอกจากจะปิดโอกาสให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้สืบเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติแล้ว เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย เครื่องมือเก่า ขยะจากกิจกรรมในน้ำ ยังเป็นอุปสรรค์ต่อการเดินทางว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นสู่พื้นที่วางไข่ในบริเวณทุ่งน้ำท่วมของฝูงปลา และสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ

ดังนั้นหากสูญเสียประชากรปลาแล้ว จะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารของชาวบ้าน ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ และพวกเราทุกคน หากประชากรปลาลดลงจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศที่จะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย

ใน 1 ปี จะมีเพียงครั้งเดียวที่สัตว์น้ำจะขึ้นวางไข่ ถ้าเรารักษาได้ก็เหมือนรักษาปลาได้ทั้งปี แต่ถ้ารักษาไว้ไม่ได้ เพียงไม่กี่ฤดูกาลปลาและสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก็จะหมดไปจากผืนน้ำ แม้จะกว้างใหญ่ไพศาลเพียงใด

โครงการครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน และอาสาสมัครกลุ่มใบไม้ วางแผนล่องท้องน้ำประมาณ 2 แสนกว่าไร่  โดยออกเดินทางจำนวน 5 ครั้ง ๆละ 5-7 วันตลอดฤดูฝนเพื่อใช้เรือในการเดินทางขึ้นสู่ต้นน้ำ ที่เป็นพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมที่ปลาจะใช้วางไข่ ผสมพันธุ์ และปฏิบัติภารกิจเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลารวมทั้งสัตว์น้ำอื่น ๆ

แต่ละครั้งเราจะมีผู้ปฏิบัติภารกิจราว 20 คน จึงทำให้ต้องระดมทุนเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือ เสบียงอาสาสมัคร และอุปกรณ์เก็บกู้เครื่องมือประมง โดยต่อครั้งใช้งบประมาณ 38,000 บาท

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.ระบบจัดการอาสาสมัคร  : ประชุมร่วมกับเครือข่าย ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม ชุมชน และทีมอาสาสมัครผู้ร่วมปฏิบัติงาน เพื่อเปิดรับอาสาทั่วไปให้เข้าร่วมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (กลุ่มใบไม้มีสถานะเป็นเครือข่ายอาสาสมัครผู้ร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานฯ)

2.ขั้นปฏิบัติงาน ลงพื้นที่ทำงาน ประเมินสถานการณ์ตามฤดูกาล : ลงพื้นที่ทำงานในฤดูฝน (เดือน มิถุนายน - เดือนกันยายน)  ประมาณ 4 ครั้ง

ตามสถานการณ์ของฝน และการไหลของน้ำป่าจากพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนัก เป็นช่วงที่ปลาสำคัญ  เช่น ปลาค้าวดำ ปลาค้าวขาว ปลากด ฯลฯ ขนาดใหญ่หลายสิบกิโลต่อตัว เลือกผสมพันธุ์ในช่วงนั้น ทางทีมอาสาสมัครจะเข้าพื้นที่ทำงานเข้มข้นขึ้น และสนับสนุนทรัพยากร น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์การทำงาน ให้กับเครือข่ายงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่

3.ขั้นประชาสัมพันธ์ สร้างความร่วมมือกับชุมชน และประชาชนในพื้นที่ :  นอกจากงานลงพื้นที่เก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ปลา จะมีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากชาวบ้าน ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจกรรมทางน้ำหรือคนที่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำงานระยะยาวต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายโชคนิธิ คงชุ่ม ผู้ก่อตั้งองค์กร : กลุ่มใบไม้

และทีมอาสาสมัครกลุ่มใบไม้


อาสาสร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง กาญจนบุรี

9 April 2024

โครงการอาสาปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูวางไข่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยต้นน้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี ได้ดำเนินการตลอดช่วงเวลาฤดูปลาวางไข่หรือฤดูฝน ครอบคลุมเวลาตั้งแต่ 16 มิถุนายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566 โดยแบ่งการทำงานเป็นครั้ง ๆ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 4-5 วัน ซึ่งแต่ละครั้งได้มีการเปิดรับอาสาสมัครครั้งละ 10-15 คน เข้ามาขับเคลื่อนการทำงานภาคสนาม ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนเขาแหลม อุทยานแห่งชาติเขาแหลม กลุ่มคนอาสาเพื่อแผ่นดิน เป็นต้น

รูปแบบการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนโดยอาสาสมัครแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 ช่วงต้นฤดูกาล พวกเรามุ่งเน้นการลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ เตรียมอุปกรณ์ และมีการฝึกปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ รวมทั้งการเรียนรู้และทำความเข้าใจสภาพพื้นที่ที่มีความหลากหลาย

ช่วงที่ 2 ช่วงกลางฤดูกาล มุ่งเน้นการทำงานแข่งกับเวลา ออกเรือไปเพื่อช่วยเหลือปลาผ่าน 3 ภารกิจย่อย ได้แก่

  1. ค้นหาอุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ
  2. ตัด แกะ ปลดปล่อย ช่วยชีวิตปลาออกจากอุปกรณ์ประมงผิดกฎหมายคืนสู่ลำน้ำ
  3. เก็บกู้อุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายออกจากลำน้ำ

ช่วงที่ 3 ช่วงท้ายฤดูกาล เน้นการเข้าพื้นที่เพื่อหาความร่วมมือ ประชุมร่วม ประเมินข้อมูลการทำงานเพื่อวางแผน และส่งข้อมูลให้หน่วยงานในความรับผิดชอบนำไปใช้ในการแก้ปัญหาระยะยาวต่อไป

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ เราเห็นคนที่ทำงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จริง ที่มีใจแต่ขาดการสนับสนุนในหลายๆ อย่าง เราได้ใช้ชีวิตกับพี่ๆ น้องๆ อาสากลุ่มใบไม้ ให้ความรู้สึกเหมือนไปทำงานกับญาติพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องมากกว่า เพราะทุกคนใส่ใจดูแลกันมากๆ ประทับใจสุดๆ เป็นพื้นที่ปลอดภัยสุด อยากมีโอกาสได้เจอทุกคนอีก ได้เรียนรู้จักการให้มากกว่าการรับไปด้วยกันอีก ขอบคุณประสบการณ์ครั้งนี้จริงๆ ที่หลังจากนี้ทุกครั้งที่เราหาปลาเราคงมีจิตสำนึกส่วนนี้ฝังอยู่ในใจและถ่ายทอดต่อไปให้คนรอบตัวได้รู้และได้ตระหนักจริงๆ ” คุณไอรินทร์ สมสรรพมงคล อาสาสมัครโครงการ

“ เป็นช่วงเวลา 4 วัน 3 คืน ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา โดยเป็นการนอนแพแบบไม่มีไฟฟ้า ต้องตักน้ำจากแม่น้ำมาอาบ นี่ยังไม่รวมกับทางขึ้นลงแพที่ลาดชันพอฝนตกดินก็เละและลื่น งานอาสานี้เป็นมากกว่างานอาสาคือความสัมพันธ์ เราได้มานั่งคุยกัน ปรึกษากัน ช่วยเหลือกัน และใช้เวลาร่วมกันในการทำสิ่งที่เป็นเป้าหมายเดียวกัน และทำให้รู้ว่าคนทำงานตรงนี้ต้องมีคุณภาพชีวิตแบบนี้อยู่ตลอด ไม่ใช่แค่เรื่องคุณภาพชีวิต แต่ยังมีเรื่องของความพร้อมของสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน มันน่าเศร้าใจที่ไม่มีอะไรเลยสักอย่างที่ ‘มากเพียงพอ’ จะใช้ มันน่าเศร้าใจมากเลยที่งานอนุรักษ์มันดู ‘ไม่สำคัญพอ’ ที่จะได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังคน อุปกรณ์ และงบประมาณ ” คุณชนากานต์ จิตรหาญ อาสาสมัครโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
พื้นที่ป่าเกิดพื้นที่ปลอดภัยของปลา สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ครอบคลุมพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี200,000 ไร่พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ในบริเวณผืนน้ำได้รับการปกป้องจากการออกทำงาน ลาดตระเวณ ทั้งจากอาสาสมัคร และจากเจ้าหน้าที่ภาคสนามจากหน่วยประมงฯ และอุทยานฯ โดยได้มีการสนับสนุนทรัพยากรทำงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เสบียง ไฟฉาย กระเป๋ากันน้ำ ยารักษาโรค จากการดำเนินงานของโครงการ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม







Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานอาสา ต่อ 1 ครั้ง ๆ ละ 38,000 บาท จำนวนอาสาสมัคร 10-20 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน 5-7 วัน ดังนี้ - ค่าเสบียงอาหาร / น้ำดื่ม / ยากันยุง 15,000 บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเรือ/รถ ในการทำงาน 16,000 บาท - ค่าอุปกรณ์ในการทำงาน/ อุปกรณ์กันน้ำ กันฝน 4,000 บาท - ค่าประชาสัมพันธ์ / ผลิตสื่อ / รณรงค์ 3,000 บาท 5 ครั้ง 190,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
190,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
19,000.00

ยอดระดมทุน
209,000.00