สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้เด็กด้อยโอกาส

ระดุมทุนเพื่ออุปกรฌ์การเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กด้อยโอกาสในศูนย์การเรียนบ้านนาจำนวน 300 คน ให้มีอุปกรณ์พร้อมเรียนหนังสือ
Duration 01 ก.ค. 2565 ถึง 30 พ.ย. 2565 Area ระบุพื้นที่: มูลนิธิพันธกิจเด็กและชุมชน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130 (ศูนย์การเรียนบ้านนานา อแม่สาย จ.เชียงราย 57130), หมู่บ้านผาหมี (คนที่อาศัยอยู่ตามสวน ส้มและสวนลี่จิ (บ้านพักสานฝันเด็ก)
Current donation amount
60,009 THBTarget
280,335 THBสำเร็จแล้ว
Project updates
มอบอุปกรณ์การเรียนแก่ให้เด็กด้อยโอกาส จำนวน 50 คน
การดำเนินกิจกรรม
- 12 เมษายน 2566 ได้รับงบสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้เด็กด้อยโอกาสจากโครงการเทใจ จำนวน 54,008 บาท
- 21 เมษายน 2566 ไปจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้เด็กด้อยโอกาส
- 24-25 เมษายน 2566 จัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนเป็นชุด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กด้อยโอกาส
- 2-12 พฤษภาคม 2566 ทยอยแจกจ่ายอุปกรการณ์การเรียนให้กับเด็กด้อยโอกาส
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
" ก่อนหน้านี้พวกผมต้องรอการบริจาคจากโรงเรียนอื่นและผู้คนภายนอก แต่พอมีโครงการนี้ขึ้นมาก็ได้รับอุปกรณ์การเรียนที่ครบถ้วนและทั่วถึงทุกคนครับ ขอบคุณที่ให้การสนับสนุนพวกผมครับ " เด็กชายธีรกิจ พันธกิจ ชื่อเล่น ธีรเดช
" ก่อนหน้านี้พวกหนูใช้ของที่ได้รับบริจาคมา ซึ่งมีบางอย่างที่ไม่ครบแต่ก็ต้องใช้ในการเรียนอยู่เป็นประจำทุกวัน พอมีโครงการนี้ขึ้นมาก็ได้รับอุปกรณ์การเรียนที่ครบค่ะ " เด็กหญิงมินรญา พันธกิจ ชื่อเล่น มิน
" ก่อนหน้านี้พวกหนูมีอุปกรณ์การเรียนที่ไม่เพียงพอค่ะ ขอบคุณที่มีโครงการดีๆ ช่วยสนับสนุนให้เด็กด้อยโอกาสอย่างพวกหนูนะคะ " เด็กหญิงขวัญฤดี ลาหู่นะ ชื่อเล่น เบบี๋
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน | เด็กในมูลนิธิ ฯ | 10 คน | เด็กได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนที่ครบถ้วนและได้เพิ่มประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับทางมูลนิธิฯ |
กลุ่มคนเปราะบาง | เด็กที่อยู่ใกล้ชุมชน | 20 คน | เด็กได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนที่ได้มาตรฐานและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนอย่างสูงสุด ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆให้กับผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง |
เด็กและเยาวชน | ศูนย์การเรียนบ้านนานา | 20 คน | เด็กได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับทางศูนย์การเรียน |
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : แจกอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กศูนย์การเรียนบ้านนานา เด็กๆดีใจและมีความสุขมาก
ภาพ : แจกอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสในชุมชนใกล้เคียง
ภาพ : แจกอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กเปราะบางในชุมชนใกล้เคียง
Read more »ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
สถานการณ์ เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาและครอบครัว มีการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น ทำให้เด็กไม่เข้าสู่ระบบโรงเรียน เด็กบางส่วนเรียนไม่สำเร็จตามหลักสูตรต้องออกกลางคันนอกจากนี้เด็กด้อยโอกาสจำนวนมากเมื่อกลับเข้ามาใหม่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ทำให้ต้องยุติการสึกษาลง อีกทั้งโรงเรียนและครูยังขาด ความพร้อม ขาดความรู้ความเข้าใจและขาดหลักสูตร ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่เหมาะสมทำให้เด็กไม่สามารถเรียนต่อไปได้ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทำให้ปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษายังมีอยู่และเพิ่มขึันทุกปี
‘ปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา: สถานการณ์ความไม่เสมอภาคในสังคมไทย’ ของ ดำรงค์ ตุ้มทอง และคณะ ระบุว่าจำนวนเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ในปี 2555 ว่ามีจำนวนมากถึง 4,323,142 ส่วนใหญ่ เป็นเด็กยากจนมากที่สุดถึง 4,144,783 คน คิดเป็นร้อยละ 95.78 รอง ลงมาเป็นเด็กด้อยโอกาสประเภทอื่นๆ จำนวน 75,118 คิดเป็นร้อยละ 1.7 และน้อยที่สุดเป็นเด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 0.001 โดยพบว่าเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ เป็นกลุ่มแรงงานขั้นตำมีจำนวนถึง 13.8 ล้านคน กลุ่มเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้ ได้แก่
- อยู่นอกระบบการศึกษา
- เด็กพิการและมีปัญหาการเจริญเติบโต ของสมอง
- เด็กในชนบทห่างไกล
- เด็กเยาวชนที่ต้องคดีซึ่งเด็ก
ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนทางเลือ ตาม พรบ. การศึกษา มาตรา 12 วรรค 3 เพื่อขยายโอกาสให้เด็กได้รับการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ศูนย์การเรียนบ้านนาได้เปิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนที่รัฐบาลจัดตั้งไว้เพราะมีข้อจำกัด
- ค่าใช้จ่ายชุดนักเรียนในระบบการศึกษา
- การเดินทางไปโรงเรียน มีระยะทางที่ไกล
- ข้อจำกัดภาษาเพราะเด็กๆ กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถสื่อสารและพูดภาษาไทยได้ในช่วงแรก เพราะเด็กมีหลากหลายชนเผ่า
จึงได้จดทะเบียนจัดตั้งสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนทางเลือกภายใต้มูลนิธิพันธกิจเด็กและชุมชน (บ้านนานา) กลุ่มเด็กดังกล่าวพักอาศัยอยู่ในมูลนิธิพันธกิจเด็กและชุมชน (บ้านนานา) แต่ในขณะเดียวกันศูนย์การเรียนไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐทางศูนย์การเรียนจะต้องเป็นผู้จัดหาสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์การเรียนทั้งหมดรวมถึงจัดจ้างครูผู้สอนเข้ามาทำให้ศูนย์การเรียนประสบปัญหาขาดแคลนสื่อการเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนเป็นจำนวนมากเช่น
1. กระเป๋า 2. ดินสอ 3. ปากา 4. ปากกาไวท์บอร์ด 5. เทปกาว 2 หน้า 6. กาวลาเท็กซ์ 7. ยางลบ 8. ไม้บรรทัด 9. สีไม้ 10. สีน้ำ 11. พู่กัน 12. หนังสือเรียน และสื่อการเรียนต่างๆ 13. สมุด ฯลฯ
จึงขอระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเด็กนักเรียนจำนวน 300 คนจำนวนเด็ก 300 คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษา จำนวน 130 คน
กลุ่มที่ 2 เด็กเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ กศน. และเรียนควบคู่กับอาชีพ จำนวน170 คน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. ประชุมวางแผนกับทีมงานเพื่อลงพื้นที่ในชุมชนหมู่บ้านที่มีฐานะยากจน
2. ลงพื้นที่หมู่บ้านที่ได้รับเลือก เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา
3. เขียนโครงการผ่าน เทใจเพื่อ ขอรับบริจาคงบประมาณในการจัดซื้ออุปรณ์การเรียน
4. ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กกำพร้าและ เด็กยากไร้
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.มุลนิธิพัฒกิจเด็กและชุมชนและศูนย์การเรียนบ้านนานา

มอบอุปกรณ์การเรียนแก่ให้เด็กด้อยโอกาส จำนวน 50 คน
การดำเนินกิจกรรม
- 12 เมษายน 2566 ได้รับงบสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้เด็กด้อยโอกาสจากโครงการเทใจ จำนวน 54,008 บาท
- 21 เมษายน 2566 ไปจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้เด็กด้อยโอกาส
- 24-25 เมษายน 2566 จัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนเป็นชุด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กด้อยโอกาส
- 2-12 พฤษภาคม 2566 ทยอยแจกจ่ายอุปกรการณ์การเรียนให้กับเด็กด้อยโอกาส
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
" ก่อนหน้านี้พวกผมต้องรอการบริจาคจากโรงเรียนอื่นและผู้คนภายนอก แต่พอมีโครงการนี้ขึ้นมาก็ได้รับอุปกรณ์การเรียนที่ครบถ้วนและทั่วถึงทุกคนครับ ขอบคุณที่ให้การสนับสนุนพวกผมครับ " เด็กชายธีรกิจ พันธกิจ ชื่อเล่น ธีรเดช
" ก่อนหน้านี้พวกหนูใช้ของที่ได้รับบริจาคมา ซึ่งมีบางอย่างที่ไม่ครบแต่ก็ต้องใช้ในการเรียนอยู่เป็นประจำทุกวัน พอมีโครงการนี้ขึ้นมาก็ได้รับอุปกรณ์การเรียนที่ครบค่ะ " เด็กหญิงมินรญา พันธกิจ ชื่อเล่น มิน
" ก่อนหน้านี้พวกหนูมีอุปกรณ์การเรียนที่ไม่เพียงพอค่ะ ขอบคุณที่มีโครงการดีๆ ช่วยสนับสนุนให้เด็กด้อยโอกาสอย่างพวกหนูนะคะ " เด็กหญิงขวัญฤดี ลาหู่นะ ชื่อเล่น เบบี๋
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
เด็กและเยาวชน | เด็กในมูลนิธิ ฯ | 10 คน | เด็กได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนที่ครบถ้วนและได้เพิ่มประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับทางมูลนิธิฯ |
กลุ่มคนเปราะบาง | เด็กที่อยู่ใกล้ชุมชน | 20 คน | เด็กได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนที่ได้มาตรฐานและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนอย่างสูงสุด ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆให้กับผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง |
เด็กและเยาวชน | ศูนย์การเรียนบ้านนานา | 20 คน | เด็กได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระและประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับทางศูนย์การเรียน |
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : แจกอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กศูนย์การเรียนบ้านนานา เด็กๆดีใจและมีความสุขมาก
ภาพ : แจกอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสในชุมชนใกล้เคียง
ภาพ : แจกอุปกรณ์การเรียนให้กับเด็กเปราะบางในชุมชนใกล้เคียง
Budget plan
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าอุปกรณ์การศึกษา สำหรับระดับชั้น ช่วงอายุเด็กนักเรียนตั้งแต่ 4 ขวบ ถึง 13 ปี -อนุบาล -ป.1-ป.6 คนละ 1,045 บาทประกอบด้วย ชุดกระเป๋า ดินสอ ปากา ปากาไวท์บอร์ด เทปกาว 2 หน้า กาวลาเท็ก ยางลบ ไม้บรรทัด สีไม้ สีน้ำ พู่กัน แฟ้มงาน กบเหลาดินสอแบบตั้งโต๊ะ โต๊ะ เก้าอี้ ดินน้ำมัน ชุดสมุด หนังสือเรียน แบบฝึกหัด จำนวน 130 คน *กลุ่มเด็กกำลังศึกษาอยู่ในศูยน์การเรียนบ้านนานา ไม่ได้รับสนับสนุน งบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ ทางกระทรวงศึกษา* |
130คน | 135,850.00 |
2 | ค่าอุปกรณ์การศึกษา สำหรับเด็กระบบ (กศน) ชั้น ม.1-ม.6อายุเด็กนักเรียนตั้งแต่ 14 ถึง 19 ปี เฉลี่ยคนละ 700 บาท ประกอบด้วย กระเป๋า ปากกา ปากาไวท์บอร์ด ไม้บรรทัด เทปกาว 2 หน้า กาวลาเท็ก สีไม้ สีน้ำ พู่กัน
1 โต๊ะ เก้าอี้ สมุด สมุดวาดรูป กระดาษ A4 หนังสือเรียน แบบฝึกหัด |
170คน | 119,000.00 |