project ภัยพิบัติ

โครงการแบ่งปันน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยพิบัติโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก

ระดมทุนช่วยเหลือ เครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัยชั่วคราว และซ่อมแซมที่พักให้กับประชาชนที่กำลังประสบน้ำท่วมหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง ทำให้มี 21 จังหวัดได้รับความเสียหาย ชาวบ้านกว่า 27,000 ครัวเรือน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือนทันที มาพักค้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว ริมถนนที่เป็นพื้นที่สูง ศาลาวัด หรือศูนย์ประสานงานชั่วคราว

Duration 09 ต.ค. 2565 ถึง 31 มี.ค. 2566 Area ภาคเหนือ , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร

Current donation amount

126,105 THB

Target

1,650,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 8%
จำนวนผู้บริจาค 166

สำเร็จแล้ว

Project updates

พอช. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 398 ครัวเรือน และซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 1 ครัวเรือน

11 April 2023

จากงบประมาณที่ได้รับ จำนวนเงิน 113,495 บาท คณะทำงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้จัดประชุมเพื่อส่งมอบการให้ความช่วยเหลือ โดยมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบด้วย 2 แผนงาน ดังนี้

แผนกิจกรรมงบประมาณ (บาท)
1. จัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค จัดทำครัวกลางในการดำรงชีพเฉพาะหน้า จ.นราธิวาส จำนวน 10 ตำบล 59 หมู่บ้าน
73,495
2. การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์ จำนวน 1 ครัวเรือน (สมาชิก 6 คน)40,000
รวม

113,495

1. การจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค จัดทำครัวกลางในการดำรงชีพเฉพาะหน้า

สภาองค์กรชุมชนตำบล เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนราธิวาส และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภายใต้โครงการแบ่งปันน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยพิบัติโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนเป็นแกรหลัก ในพื้นที่อำเภอตากใบ 4 ตำบล จำนวน 134 ครัวเรือน กลุ่ม 4 อาชีพ 263 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 397 ครัวเรือน

สรุปข้อมูลการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม

ที่ตำบล(1)ผู้ประสบภัยน้ำท่วม(2)ผู้ประสบภัยตามประเภทกลุ่มอาชีพรวมครัวเรือน
1ตำบลมูโน๊ะ20-20
2ตำบลนานาค23
  • กลุ่มเลี้ยงเป็ด 15 ครัวเรือน
  • กลุ่มปลูกผัก 8 ครัวเรือน
รวม 23 ครัวเรือน

46
3ตำบลพร่อน30-30
4ตำบลโฆษิต61
  • กลุ่มเลี้ยงสัตว์ 200 ครัวเรือน
  • กลุ่มเยาวชน 40 ครัวเรือน
รวม 240 ครัวเรือน

301

รวม134 4 กลุ่ม 263 ครัวเรือน 397

ภาพประกอบ

 
ภาพ : ประชุมหารือวางแผนการให้การช่วยเหลือ

 
 
ภาพ : สถานการณ์น้ำท่วมและพายุ

 
ภาพ : มอบเครื่องอุปโภค บริโภค จัดทำครัวกลางให้กับผู้ประสบภัย

ผลการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม

  1. เกิดการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยการมอบสิ่งที่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในพื้นที่อำเภอตากใบ จำนวน 134 ครัวเรือน 4 กลุ่มอาชีพ (263 ครัวเรือน)
  2. เกิดการเยียวยาให้กำลังใจผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ยากจนที่ประสบภัยให้มีกำลังใจและฟื้นคืนเป็นปกติ
  3. เกิดการช่วยฟื้นฟูอาชีพให้กลุ่มอาชีพปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ให้สามารถเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ
  4. เกิดความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำบล อำเภอตากใบ กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาชุมชนอำเภอ นายอำเภอ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการฟื้นฟูป้องกันภัยพิบัติอำเภอตากใบ
  5. เกิดแผนการป้องกันภัยพิบัติในชุมชน โดยเฉพาะการเสนอแผนการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
  6. เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอตากใบ


2. การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์

ชื่อครอบครัวผู้มีรายได้น้อย/กลุ่มเปราะบาง ที่เครือข่ายภัยพิบัติเมืองวารินชำราบ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และหน่วยงานภาคีในพื้นที่เมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้การช่วยเหลือหลังจากประสบภัยน้ำท่วม คือ ครอบครัวของนางคำพันธ์ อายุ 75 ปี เนื่องจากบ้านและที่ดินไม่มั่นคงอยู่ในที่ดินการรถไฟ สภาพบ้านพักเก่า ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก

นางคำพันธ์ มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 6 คน นายอนุชา อายุ 47 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป ลูกเขยเป็นคนบกพร่องทางสมอง ลูกสาวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ออกจากงานมารักษาตัวเอง มีลูก 2 คน หญิง 1 ชาย 1 กำลังเรียนหนังสือ 

เมื่อประมาณปลายเดือนมกราคม ได้ดำเนินการมอบเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อการดำรงชีพเฉพาะหน้าให้กับครอบครัวนางคำพันธ์ ชุมชนลับแล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ครัวเรือน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน โดยวางแผนจะปรับปรุงซ่อมแซมให้แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2566 

ภาพประกอบ

 

 
ภาพ : สภาพบ้านที่ใช้อยู่อาศัยก่อนการปรับปรุง

 
ภาพ : มอบเครื่องอุปโภค บริโภคให้ผู้ประสบภัย

 
ภาพ : ถอดแปลนบ้านเพื่อเตรียมปรับปรุง ซ่อมแซม

Read more »
See all project updates

ระดมทุนช่วยเหลือ เครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัยชั่วคราว และซ่อมแซ่มที่พักให้กับประชาชนที่กำลังประสบน้ำท่วมหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้มี 21 จังหวัดได้รับความเสียหาย ชาวบ้านกว่า 27,000 ครัวเรือน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือนทันที มาพักค้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว ริมถนนที่เป็นพื้นที่สูง ศาลาวัด หรือศูนย์ประสานงานชั่วคราว

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมในปัจจุบัน ส่งผลครอบคลุมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ที่อยู่อาศัย ทรัพย์สิน และพื้นที่ทำการเกษตรอย่างรุนแรง  การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาภายหลังจากเกิดภัยพิบัติ แม้จะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และเครือข่ายองค์กรชุมชนได้ระดมความช่วยเหลือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางส่วน แต่การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น การมีภารกิจเฉพาะหน้า และแนวทางการทำงานของหน่วยงานไม่สามารถครอบคลุมปัญหาชุมชน และพื้นที่ที่ประสบภัยได้ทั้งหมด รวมถึงการลงไปปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ขาดการเชื่อมโยงประสานการทำงานร่วมกัน หน่วยงานพื้นที่ทั้งในส่วนของจังหวัด อำเภอ ตำบล ฯลฯ ต่างก็มีภารกิจมากเกินกว่าจะประสานเชื่อมโยงหน่วยงาน ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ ทำให้การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่ต่อเนื่อง บางครั้งไม่ตรงกับปัญหาความต้องการของชุมชน รวมทั้งปัญหาขั้นตอน ระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานทำให้การให้ความช่วยเหลือไม่รวดเร็วเท่าที่ควร ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายไม่ใช่เฉพาะชีวิต ทรัพย์สิน แต่รวมถึงทุนพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพ ที่ทำกิน ซึ่งมีผลต่อการสูญเสียรายได้ วิถีชีวิต ระบบนิเวศน์ การทำมาหากินของผู้คน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 จังหวัด 33 ชุมชน 3,500 ครัวเรือน ภาคเหนือ 6 จังหวัด 67 ตำบล 18,747 ครัวเรือน ภาคกลางและตะวันตก จำนวน 10 จังหวัด 166 ตำบล 39 อำเภอ 5,000 ครัวเรือน ที่ทำให้ประชาชนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนทันที มาพักค้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว ริมถนนที่เป็นพื้นที่สูง ศาลาวัด หรือศูนย์ประสานงานชั่วคราว และนอกจากนั้น ที่นา ที่ดินทำกินได้ถูกน้ำท่วมทำให้ข้าว พืชผัก ไม้ผลเสียหาย สัตว์เลี้ยงขาดอาหาร ขาดที่อยู่ รวมถึงไม่สามารถทำอาชีพได้ และทำให้ขาดรายได้ตามมา

สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเหล่านี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และเครือข่ายกลุ่มองค์กรชุมชน ผู้นำชุมชน รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ระดมกำลังระดมสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภคช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ซึ่งจากการดำเนินงานในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่ครอบคลุมครัวเรือนในพื้นที่ได้ทั้งหมด ด้วยกำลังคนและกำลังงบประมาณที่ต้องการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งในด้านการช่วยเหลือเฉพาะหน้าแบบเร่งด่วน และการช่วยเหลือในระยะฟื้นฟูหลังจากน้ำลด ซึ่งคาดการณ์ว่าปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมนี้ จะส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ใช้กระบวนการช่วยเหลือ และฟื้นฟูในเรื่องต่าง ๆ โดยองค์กรชุมชนในพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เชื่อมโยงประสานองค์กร ภาคีให้เข้ามาทำงานร่วมกัน เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำไปสู่การสร้างระบบการตัดสินใจร่วมกันของชุมชน และเกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

2. ใช้กระบวนการสำรวจความเสียหาย และวางแผนที่ครอบคลุม สอดคล้องกับปัญหาความหลากหลายของผู้ประสบภัย โดยการพัฒนาคนควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหา การพัฒนาอาชีพ การอยู่ร่วมกันในระบบชุมชน ฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และสามารถทำให้แผนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาร่วมของระบบท้องถิ่น

3. ใช้กระบวนการทำงานที่ชุมชนเป็นแกนหลัก มีแผนของชุมชน เชื่อมโยงการทำงานกับระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น โครงการของรัฐบาลในระดับจังหวัดและท้องถิ่นให้ได้

แผนปฏิบัติการ ในการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

 ระยะเร่งด่วน

  1.  สำรวจและจัดทำข้อมูลความเสียหาย ความต้องการของผู้ประสบภัย โดยเครือข่ายชุมชนร่วมกับผู้ประสบภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าตามความจำเป็นเร่งด่วนของผู้ประสบภัย เช่น เครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัยชั่วคราว และทุนในการดำรงชีพเฉพาะหน้า เป็นต้น

ระยะฟื้นฟูพัฒนา

  1. การฟื้นฟูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน โดยสนับสนุนการวางแผนการฟื้นฟูของชุมชนผู้ประสบภัย
  2. การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย เช่น การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย การอพยพย้ายที่อยู่อาศัยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในกรณีที่จำเป็น โดยให้ผู้ประสบภัยได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน การฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นของหมู่บ้าน เช่น ระบบน้ำอุปโภคบริโภค ไฟฟ้า ถนน สะพาน เป็นต้น
  3. การจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย และระบบการเฝ้าระวัง เตือนภัยโดยขบวนองค์กรชุมชนในพื้นที่
  4. กิจกรรมการพัฒนาชุมชน โดยองค์กรชุมชนเป็นหลัก เช่น การพัฒนาอาชีพ การจัดสวัสดิการ การฟื้นฟูทรัพยากร การจัดระบบป้องกัน และเฝ้าระวังของชุมชน


ผู้รับผิดชอบโครงการ

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  1. ผู้ประสานงาน นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
  2. นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
  3. นายสามารถ สุขบรรจง หัวหน้าสำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง 

พอช. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 398 ครัวเรือน และซ่อมแซมที่อยู่อาศัย 1 ครัวเรือน

11 April 2023

จากงบประมาณที่ได้รับ จำนวนเงิน 113,495 บาท คณะทำงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้จัดประชุมเพื่อส่งมอบการให้ความช่วยเหลือ โดยมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบด้วย 2 แผนงาน ดังนี้

แผนกิจกรรมงบประมาณ (บาท)
1. จัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค จัดทำครัวกลางในการดำรงชีพเฉพาะหน้า จ.นราธิวาส จำนวน 10 ตำบล 59 หมู่บ้าน
73,495
2. การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์ จำนวน 1 ครัวเรือน (สมาชิก 6 คน)40,000
รวม

113,495

1. การจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค จัดทำครัวกลางในการดำรงชีพเฉพาะหน้า

สภาองค์กรชุมชนตำบล เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนราธิวาส และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภายใต้โครงการแบ่งปันน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยพิบัติโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนเป็นแกรหลัก ในพื้นที่อำเภอตากใบ 4 ตำบล จำนวน 134 ครัวเรือน กลุ่ม 4 อาชีพ 263 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 397 ครัวเรือน

สรุปข้อมูลการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม

ที่ตำบล(1)ผู้ประสบภัยน้ำท่วม(2)ผู้ประสบภัยตามประเภทกลุ่มอาชีพรวมครัวเรือน
1ตำบลมูโน๊ะ20-20
2ตำบลนานาค23
  • กลุ่มเลี้ยงเป็ด 15 ครัวเรือน
  • กลุ่มปลูกผัก 8 ครัวเรือน
รวม 23 ครัวเรือน

46
3ตำบลพร่อน30-30
4ตำบลโฆษิต61
  • กลุ่มเลี้ยงสัตว์ 200 ครัวเรือน
  • กลุ่มเยาวชน 40 ครัวเรือน
รวม 240 ครัวเรือน

301

รวม134 4 กลุ่ม 263 ครัวเรือน 397

ภาพประกอบ

 
ภาพ : ประชุมหารือวางแผนการให้การช่วยเหลือ

 
 
ภาพ : สถานการณ์น้ำท่วมและพายุ

 
ภาพ : มอบเครื่องอุปโภค บริโภค จัดทำครัวกลางให้กับผู้ประสบภัย

ผลการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม

  1. เกิดการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยการมอบสิ่งที่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในพื้นที่อำเภอตากใบ จำนวน 134 ครัวเรือน 4 กลุ่มอาชีพ (263 ครัวเรือน)
  2. เกิดการเยียวยาให้กำลังใจผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ยากจนที่ประสบภัยให้มีกำลังใจและฟื้นคืนเป็นปกติ
  3. เกิดการช่วยฟื้นฟูอาชีพให้กลุ่มอาชีพปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ให้สามารถเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ
  4. เกิดความร่วมมือระหว่างสภาองค์กรชุมชนตำบล อำเภอตากใบ กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาชุมชนอำเภอ นายอำเภอ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการฟื้นฟูป้องกันภัยพิบัติอำเภอตากใบ
  5. เกิดแผนการป้องกันภัยพิบัติในชุมชน โดยเฉพาะการเสนอแผนการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
  6. เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอตากใบ


2. การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์

ชื่อครอบครัวผู้มีรายได้น้อย/กลุ่มเปราะบาง ที่เครือข่ายภัยพิบัติเมืองวารินชำราบ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และหน่วยงานภาคีในพื้นที่เมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้การช่วยเหลือหลังจากประสบภัยน้ำท่วม คือ ครอบครัวของนางคำพันธ์ อายุ 75 ปี เนื่องจากบ้านและที่ดินไม่มั่นคงอยู่ในที่ดินการรถไฟ สภาพบ้านพักเก่า ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก

นางคำพันธ์ มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 6 คน นายอนุชา อายุ 47 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป ลูกเขยเป็นคนบกพร่องทางสมอง ลูกสาวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ออกจากงานมารักษาตัวเอง มีลูก 2 คน หญิง 1 ชาย 1 กำลังเรียนหนังสือ 

เมื่อประมาณปลายเดือนมกราคม ได้ดำเนินการมอบเครื่องอุปโภค บริโภค เพื่อการดำรงชีพเฉพาะหน้าให้กับครอบครัวนางคำพันธ์ ชุมชนลับแล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ครัวเรือน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน โดยวางแผนจะปรับปรุงซ่อมแซมให้แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2566 

ภาพประกอบ

 

 
ภาพ : สภาพบ้านที่ใช้อยู่อาศัยก่อนการปรับปรุง

 
ภาพ : มอบเครื่องอุปโภค บริโภคให้ผู้ประสบภัย

 
ภาพ : ถอดแปลนบ้านเพื่อเตรียมปรับปรุง ซ่อมแซม

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค ที่พักอาศัยชั่วคราว และทุนในการดำรงชีพเฉพาะหน้า 50 ตำบล ตำบลละ 20,000 บาท 50 ตำบล 1,000,000.00
2 ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซม ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยที่อยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์ 100 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 5,000 บาท 100 ครัวเรือน 500,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,500,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
150,000.00

ยอดระดมทุน
1,650,000.00