project สัตว์

พาพญาแร้งที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนป่าเมืองไทย

เกือบ 30 ปี ที่พญาแร้งหายไปจากป่าเมืองไทย ในวันนี้พวกเราพยายามวางแผนเพาะพันธุ์พญาแร้งที่เหลืออยู่ในกรงเลี้ยงจำนวน 6 ตัว เพื่อหวังว่าสักวันในผืนป่าประเทศไทยจะมีพญาแร้งโผบินอีกครั้ง แต่โจทย์นี้ไม่ง่าย เพราะการจะทำให้สัตว์ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนมา ยากกว่าการทำให้มันหายไป

Duration 01 ก.พ. 2566 ถึง 31 มี.ค. 2567 Area ระบุพื้นที่: ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและพื้นที่โดยรอบ), ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา (สวนสัตว์นครราชสีมา)

Current donation amount

109,022 THB

Target

299,200 THB
ดำเนินการไปแล้ว 36%
จำนวนผู้บริจาค 300

สำเร็จแล้ว

Project updates

กิจกรรมโครงการพญาแร้งคืนถิ่น

17 April 2024

กิจกรรมที่ 1 ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร
โครงการพญาแร้งคืนถิ่น จัดการการขนส่งอาหารสำหรับพญาแร้งสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการฯ เพื่อใช้ในการขนส่งอาหารไปยังกรงพญาแร้งที่ตั้งอยู่หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 12 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะขยายพันธุ์พญาแร้งในสภาพกรงฟื้นฟู ในเรื่องอาหารให้เหมาะสมและเก็บข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับคู่สร้างรังวางไข่ ในการดำเนินงานที่ผ่านมา พญาแร้งมีสุขภาพสมบูรณ์และสามารถวางไข่ในธรรมชาติได้สำเร็จ และเป็นไข่ใบแรกที่เกิดในถิ่นอาศัยเดิมตามธรรมชาติ

กิจกรรมที่ 2 ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 ป๊อก-มิ่ง พญาแร้งที่กรงฟื้นฟู หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ขสป.ห้วยขาแข้ง ได้วางไข่พญาแร้งใบแรก ทั้งนี้ทีมผู้ดูแลได้เตรียมความพร้อมสำหรับไข่พญาแร้ง โดยการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับฟักขาพญาแร้งจำนวน 1 ชุด ประจำที่กรงฟื้นฟู หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ขสป.ห้วยขาแข้ง หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกรณีพ่อแม่นกไม่ยอมฟักไข่ต่อ

กิจกรรมที่ 3 ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง
จัดทำประกันชีสิตให้กับผู้ดูแลพญาแร้ง เนื่องจากพญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่และมีกรงเล็ก รวมถึงปากที่แข็งแรงอีกทั้งเป็นการฟื้นฟูในธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นในการทำประกันชีวิตเพื่อความปลอดภัยของผู้ดูแลพญาแร้ง

กิจกรรมที่ 4 ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง
มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมเนื่องจากงบประมาณไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยสื่อสารเรื่องราวพญาแร้งผ่านการออกบูธจัดกิจกรรมในงานต่างๆ เช่น
วันที่ 29 เมษายน 2566 ร่วมกิจกรรมปฎิบัติการสำรวจธรรมชาติในเมือง 2566 กับองค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม พาเหรดมาเสิร์ฟความรู้ และกิจกรรมสนุกๆ มากมาย ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน หลังทำกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้เห็นพัฒนาการของลูกพญาแร้งในแต่ละช่วงวัย
วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2566 ร่วมกิจกรรมงาน 18th Thailand Bird Fair 202 เทศกาลนกเมืองไทยครั้งที่ 18 ภายใต้หัวข้อ “Living in harmony : Birds and Human Co-Existence” คนกับนกอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมที่ 5 เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง
สนับสนุนค่าน้ำมันให้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในการใช้รถไถและเครื่องเป่าลม เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงบริเวณรอบกรงฟื้นฟูพญาแร้ง

กิจกรรมที่ 6 ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง
หลังจากสร้างกรงฟื้นฟูพญาแร้งที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสร็จสิ้นเมื่อปี 2565 และได้นำพญาแร้งจำนวน 1 คู่ ไปฟื้นฟูในกรงดังกล่าว ช่วงเดือนกันยายนกรงฟื้นฟูพญาแร้งมีส่วนชำรุดเสียหายจากสัตว์ป่าที่เข้ามากินซากสัตว์ที่เหลือจากอาหารแร้ง และจากอายุการใช้งาน จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงกรงฟื้นฟูพญาแร้งอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 25-30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 40,635 บาท ปัจจุบันไม่มีสัตว์เข้าไปรบกวนพญาแร้งในกรงฟื้นฟู

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์พญาแร้งในกรงเลี้ยงที่สวนสัตว์โคราชและกรงฟื้นฟูเขขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง8 ตัวพญาแร้ง จำนวน 2 คู่ มีความพร้อมในการจับคู่ผสมพันธุ์ โดยทั้ง 2 คู่ ให้ไข่คู่ละ 1 ฟอง และฟักเป็นตัวในธรรมชาติ 1 ตัว อีก 1 ฟองอยู่ระหว่างการฟักในตู้กกไข่
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






Read more »
See all project updates

เกือบ 30 ปี ที่พญาแร้งหายไปจากป่าเมืองไทย ในวันนี้พวกเราพยายามวางแผนเพาะพันธุ์พญาแร้งที่เหลืออยู่ในกรงเลี้ยงจำนวน 6 ตัว เพื่อหวังว่าสักวันในผืนป่าประเทศไทยจะมีพญาแร้งโผบินอีกครั้ง แต่โจทย์นี้ไม่ง่าย เพราะการจะทำให้สัตว์ที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติกลับคืนมา ยากกว่าการทำให้มันหายไป

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ

14 กุมภาพันธ์ 2535 กลางป่าห้วยขาแข้ง พญาแร้งฝูงหนึ่งกำลังจิกทึ้งกินซากเก้ง โดยที่พวกมันไม่รู้เลยว่านั่นคืออาหารมื้อสุดท้ายในชีวิต เนื่องจาพรานกลุ่มหนึ่งวางยาเบื่อในซากเก้ง เพื่อหวังว่าให้เสือโคร่งมากิน ซึ่งนับเป็นโชคร้ายของพญาแร้งที่ลงมากินทำให้พวกมันตายยกฝูง และส่งผลให้สายพันธุ์ของพวกมัน ‘สูญพันธุ์จากธรรมชาติ ’ 


สิ่งที่หายไปไม่ใช่เพียงแค่นกหนึ่งชนิด แต่คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเทศบาลและกองควบคุมโรคของผืนป่า

ความพยายามที่จะให้พญาแร้งให้กลับมาโบยบิน

หลายภาคส่วนช่วยกันฟื้นฟูประชากรพญาแร้งและเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์กินซาก (Scavenger) ทำให้เกิดการหมุนเวียนของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญในระบบนิเวศซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสมดุลของระบบนิเวศผืนป่ามรดกโลก โดยบูรณาการองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยง การฟื้นฟูถิ่นอาศัย การสำรวจและวิจัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่เพื่อเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในพื้นที่ธรรมชาติ

ปัจจุบันประเทศไทยมีพญาแร้งในกรงเลี้ยงที่ได้มาจากการพลัดหลงจากการอพยพผ่านประเทศไทยทั้งหมด 6 ตัว นำมาดูแลเพื่อฟื้นฟูสภาพที่สวนสัตว์นครราชสีมา จำนวน 4 ตัว (2 คู่) และอยู่ในกรงฟื้นฟูขนาด 20 x 40 เมตร สูง 20 เมตร บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 2 ตัว (1 คู่) ถือเป็นโอกาสดีในการที่จะฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในธรรมชาติถิ่นอาศัยเดิมในผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง (หากพญาแร้งคู่นี้ไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ได้จะมีการนำพญาแร้งจากสวนสัตว์นครราชสีมาเข้าคู่แทน) 

ถ้าพญาแร้งวางไข่และฟักเป็นตัวสำเร็จ ลูกนกจะถูกฝึกที่กรงฟื้นฟูที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยฝึกเรื่องอาหารให้เขารู้ว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ ให้รู้ว่ามีอาหารอะไรในธรรมชาติบ้าง ฝึกกล้ามเนื้อในการบิน จนกระทั่งพร้อมปล่อยออกจากกรงฟื้นฟู พร้อมติดตั้งระบบติดตามด้วยสัญญาณวิทยุหรือดาวเทียม เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับอนาคต

ซึ่งการเตรียมการทั้งหมดนี้ ถ้าปัจจัยที่ทำให้พญาแร้งสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติคือมนุษย์ การที่จะปล่อยพญาแร้งกลับไปโดยที่ยังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ ก็อาจมีค่าเท่ากับการปล่อยพญาแร้งกลับไปตายเหมือนเดิม “มูลนิธิสืบนาคะเสถียร" จึงได้เข้ามามีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการเรียนรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชนและผู้คนในท้องที่ รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง สร้างเครือข่ายอนุรักษ์และอาสาสมัครดูแลพญาแร้งก่อนปล่อย และงานระดมทุน เพื่อช่วยให้โครงการสามารถดำเนินงานตามแผน อีกทั้งยังต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะพญาแร้งแต่ละตัวมีอายุ 20 ปีขึ้น 

การเรียนรู้และความตระหนักเป็นอีกส่วนสำคัญในการอนุรักษ์พญาแร้ง

การจัดค่ายให้กับเยาวชนจากชุมชนโดยรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (กลุ่มเป้าหมาย 10 โรงเรียน) ถือเป็นการเตรียมพร้อม เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ปลูกจิตสำนึกให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อพญาแร้ง ไม่ใช่มองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความตายอย่างที่ผ่านมา อีกทั้งเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูประชากรพญาแร้ง ให้ได้กลับมาโบยบินอย่างอิสระบนท้องฟ้าไทย และเพื่อเติมเต็มจิ๊กซอว์ของบทบาททางนิเวศที่หายไปจากผืนป่าตะวันตก

อย่างไรก็ดี โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” ยังต้องการเงินสนับสนุนโครงการอยู่มาก ซึ่งทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมเพื่อให้โครงการฯ บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ โดยการบริจาคให้กับโครงการฯ นั้นจะผลต่อพญาแร้งทั้ง 6 ตัวโดยตรงและกิจกรรมปลูกฝังการอนุรักษ์พญาแร้งให้กับเยาวชน

ค่าใช้จ่ายในการดูแลพญาแร้ง 6 ตัว และกิจกรรมอื่นๆ

  • ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก เฉลี่ย 10,000 บาท/ตัว
  • ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร เฉลี่ย 3,000 บาท/เดือน
  • ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง 6,000/ปี
  • ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง 50,000 บาท/ปี
  • เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง 20,000 บาท/ปี 
  • ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง เฉลี่ย 10,000 บาท/โรงเรียน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2568 โดยแบ่งช่วงการดำเนินการเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563) ดำเนินการประชุมวางแผนจัดทำโครงการ (ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

ระยะที่ 2 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี 9 เดือน (วันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 กันยายน 2566) อยู่ระหว่างดำเนินการ

  1. ศึกษาพฤติกรรมและเก็บข้อมูลอื่นๆ ของพญาแร้งในกรงเลี้ยง
  2. จับคู่ผสมพันธุ์ ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินผล
  3. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และผลิตสื่อความรู้เกี่ยวกับพญาแร้ง
  4. จัดกิจกรรมด้านการศึกษา เช่น จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนพญาแร้งคืนถิ่นให้กับโรงเรียนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นิทรรศการพญาแร้งให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามาเยี่ยมชม 
  5. สำรวจประชากรนกกลุ่มแร้ง โดยเน้นชนิดเป้าหมาย 2 ชนิด คือพญาแร้ง และแร้งเทาหลังขาว บริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์กลุ่มป่าพนมดงรัก – ผาแต้ม ประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาพระวิหาร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุญฑริก-ยอดมน อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย 

ระยะที่ 3 ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (วันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2568) อยู่ระหว่างดำเนินการ

  1. ฝึกเตรียมการปล่อยพญาแร้งคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลหลังการปล่อย 

หมายเหตุ: เงินที่ได้รับสนับสนุนในครั้งนี้จะถูกใช้ในการดำเนินงานระยะที่ 2-3 ของโครงการ

สามารถติดตามความเคลื่อไหวของโครงการได้ที่

เฟซบุ๊ค โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” 

http://www.facebook.com/profile.php?id=100064448301835

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

140 ถ.ติวานนท์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000

อีเมล :snf@seub.or.th

โทรศัพท์ :0-2580-4381

กิจกรรมโครงการพญาแร้งคืนถิ่น

17 April 2024

กิจกรรมที่ 1 ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร
โครงการพญาแร้งคืนถิ่น จัดการการขนส่งอาหารสำหรับพญาแร้งสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการฯ เพื่อใช้ในการขนส่งอาหารไปยังกรงพญาแร้งที่ตั้งอยู่หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จำนวน 12 เดือน ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะขยายพันธุ์พญาแร้งในสภาพกรงฟื้นฟู ในเรื่องอาหารให้เหมาะสมและเก็บข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับคู่สร้างรังวางไข่ ในการดำเนินงานที่ผ่านมา พญาแร้งมีสุขภาพสมบูรณ์และสามารถวางไข่ในธรรมชาติได้สำเร็จ และเป็นไข่ใบแรกที่เกิดในถิ่นอาศัยเดิมตามธรรมชาติ

กิจกรรมที่ 2 ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 ป๊อก-มิ่ง พญาแร้งที่กรงฟื้นฟู หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ขสป.ห้วยขาแข้ง ได้วางไข่พญาแร้งใบแรก ทั้งนี้ทีมผู้ดูแลได้เตรียมความพร้อมสำหรับไข่พญาแร้ง โดยการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับฟักขาพญาแร้งจำนวน 1 ชุด ประจำที่กรงฟื้นฟู หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า ขสป.ห้วยขาแข้ง หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินกรณีพ่อแม่นกไม่ยอมฟักไข่ต่อ

กิจกรรมที่ 3 ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง
จัดทำประกันชีสิตให้กับผู้ดูแลพญาแร้ง เนื่องจากพญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่และมีกรงเล็ก รวมถึงปากที่แข็งแรงอีกทั้งเป็นการฟื้นฟูในธรรมชาติ จึงมีความจำเป็นในการทำประกันชีวิตเพื่อความปลอดภัยของผู้ดูแลพญาแร้ง

กิจกรรมที่ 4 ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง
มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมเนื่องจากงบประมาณไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยสื่อสารเรื่องราวพญาแร้งผ่านการออกบูธจัดกิจกรรมในงานต่างๆ เช่น
วันที่ 29 เมษายน 2566 ร่วมกิจกรรมปฎิบัติการสำรวจธรรมชาติในเมือง 2566 กับองค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม พาเหรดมาเสิร์ฟความรู้ และกิจกรรมสนุกๆ มากมาย ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน หลังทำกิจกรรมผู้เข้าร่วมได้เห็นพัฒนาการของลูกพญาแร้งในแต่ละช่วงวัย
วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2566 ร่วมกิจกรรมงาน 18th Thailand Bird Fair 202 เทศกาลนกเมืองไทยครั้งที่ 18 ภายใต้หัวข้อ “Living in harmony : Birds and Human Co-Existence” คนกับนกอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมที่ 5 เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง
สนับสนุนค่าน้ำมันให้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในการใช้รถไถและเครื่องเป่าลม เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงบริเวณรอบกรงฟื้นฟูพญาแร้ง

กิจกรรมที่ 6 ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง
หลังจากสร้างกรงฟื้นฟูพญาแร้งที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสร็จสิ้นเมื่อปี 2565 และได้นำพญาแร้งจำนวน 1 คู่ ไปฟื้นฟูในกรงดังกล่าว ช่วงเดือนกันยายนกรงฟื้นฟูพญาแร้งมีส่วนชำรุดเสียหายจากสัตว์ป่าที่เข้ามากินซากสัตว์ที่เหลือจากอาหารแร้ง และจากอายุการใช้งาน จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงกรงฟื้นฟูพญาแร้งอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 25-30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 40,635 บาท ปัจจุบันไม่มีสัตว์เข้าไปรบกวนพญาแร้งในกรงฟื้นฟู

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์พญาแร้งในกรงเลี้ยงที่สวนสัตว์โคราชและกรงฟื้นฟูเขขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง8 ตัวพญาแร้ง จำนวน 2 คู่ มีความพร้อมในการจับคู่ผสมพันธุ์ โดยทั้ง 2 คู่ ให้ไข่คู่ละ 1 ฟอง และฟักเป็นตัวในธรรมชาติ 1 ตัว อีก 1 ฟองอยู่ระหว่างการฟักในตู้กกไข่
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหาร/ค่าขนส่งอาหาร เฉลี่ย 3,000 บาท : เดือน : ตัว จำนวน 6 ตัว 12 เดือน 36,000.00
2 ค่าอุปกรณ์รักษาและดูแลนก เฉลี่ย 10,000 บาท : ตัวปี จำนวน 6 ตัว 12 เดือน 60,000.00
3 ค่าประอุบัติเหตุผู้ดูแลพญาแร้ง 12 เดือน 6,000.00
4 ค่ายเยาวชนร่วมกับครูและนักเรียนในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายรอบห้วยขาแข้ง 10 โรงเรียน 100,000.00
5 เคลียร์แนวกันไฟรอบพื้นที่กรงฟื้นฟูพญาแร้ง 1 ครั้ง 20,000.00
6 ซ่อมแซมกรงพญาแร้ง 1 ครั้ง 50,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
272,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
27,200.00

ยอดระดมทุน
299,200.00