project การศึกษา เด็กและเยาวชน

ผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ทีมนักวิจัยคนไทย NECTEC ออกแบบ และผลิต สื่อการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนระดับชั้น ม.3 และ ม.5 จำนวน 7 โรงเรียน เพื่อช่วยเสริมสร้างจินตนาการ กระบวนการคิด ตลอดจนสร้างโอกาสในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์

Duration 6 เดือน Area โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร, ผักไห่ สุทธาประมุข, ลาดชะโดสามัคคี, นครหลวง อุดมรัชต์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ โรงเรียนชัยสิทธาวาส "พัฒน์สายบำรุง, สุนทโรเมตตาประชาสรรค์, ปทุมธานี นันทมุนีบำรุง จังหวัดปทุมธานี

Current donation amount

26,534 THB

Target

93,940 THB
ดำเนินการไปแล้ว 28%
จำนวนผู้บริจาค 38

สำเร็จแล้ว

Project updates

มอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ จำนวน 5 ชุด ให้โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี

23 June 2022

ในวันที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 9.30 น. – 12.30 น. ทีมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ ได้ส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ จำนวน 5 ชุด ให้แก่โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี ณ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยมี ครู และนักเรียน เป็นผู้รับมอบ และได้มีการสาธิตการใช้งานเบื้องต้น รวมถึง หารือเพื่อวางแนวทางจัดกิจกรรอบรมการใช้งานต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงภาคเรียนที่สองของปีการศึกษา 2565 หรือภาคเรียนที่หนึ่งของปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป

ภาพประกอบ

ชุดสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ที่พร้อมใช้งานและส่งมอบโรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จำนวน 5 ชุด

ส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ ให้แก่นักเรียน และครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ณ โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 5 ชุด

บรรยากาศการสาธิตการใช้งานสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ เบื้องต้น

 ชี้แจงถึงจุดประสงค์ของโครงการและหารือกับครูของโรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จ.พระนครศรีอยุธยา 

ความประทับใจจากครูและนักเรียนที่ได้รับสื่อเรียนรู้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ


Read more »
See all project updates

วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นองค์ความรู้ที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผล การเข้าใจเนื้อหาวิชานี้จึงต้องใช้ความพยายามและจินตนาการของผู้เรียนอย่างสูง

วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน มีความทันสมัย จนทำให้โรงเรียนหลายแห่งขาดแคลนอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการ อันเนื่องมาจากอุปกรณ์วิทยาศาสตร์มีราคาแพงและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว นักเรียนจึงเข้าถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่เข้าใจได้น้อย ไม่ทันสมัย และถูกจำกัดการเรียนรู้แค่ในตำราเรียน ซึ่งนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนที่ลดลง หรือนักเรียนไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

นักวิจัยกลุ่มอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนาเครื่อง ZpecSen (สเปกเซ้น): สื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ในเรื่องแสง เพื่อเสริมสร้าง จินตนาการ ประสบการณ์ กระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ให้แก่นักเรียน โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ราคาถูก ที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ในชื่อของ ZpecSen ซึ่งถูกออกแบบใช้งานง่ายผ่าน Mobile Application และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 

ZpecSen ถูกออกแบบให้ใช้งานร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงกับหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในเรื่องของแสง ที่ได้เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ มัธยมศึกษาปีที่ 5

ZpecSen ยังช่วยให้ ครูหรืออาจารย์สามารถสร้างกิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร หรือพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่ เพื่อใช้เสริมความรู้และความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแสงให้แก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น

คณะทำงานจึงจัดทำและแจกจ่ายเครื่อง ZpecSen ให้เป็นสื่อเรียนการสอนทางด้านแสง แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนเครื่องมือ โดยตั้งเป้าหมายการแจกจ่ายเครื่อง ZpecSen ที่จำนวน 35 เครื่อง ให้แก่ โรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ในจังหวัดภาคกลาง (ประมาณ 5 เครื่องต่อโรงเรียน) พร้อมกับการสอนการใช้งานที่ถูกต้อง และใบงานกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 และ ปีที่ 5 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนหรือพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ให้กับครูหรืออาจารย์ต่อไป

ขั้นตอนการทำโครงการ

  1. ระดมทุน Crowdfunding และ ประชาสัมพันธ์
  2. เตรียมการผลิต และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
  3. ผลิตต้นแบบ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  4. ส่งมอบต้นแบบ และจัดกิจกรรม/อบรมการใช้งานให้แก่นักเรียนและครู
  5. ติดตาม รวบรวม และวิเคราะห์ผลการใช้งานต้นแบบจากโรงเรียนที่ส่งมอบ
  6. สรุปและทำรายงานผลการดำเนินงาน

ประโยชน์

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และความเข้าใจในด้านวิทยาศาสตร์เชิงแสงของนักเรียน
  2. เสริมสร้าง จินตนาการ กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา ให้แก่นักเรียน
  3. สร้างความสนใจและความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน
  4. ลดภาระในการเตรียมการสอนของครู-อาจารย์
  5. เพิ่มประสิทธิภาพสอนให้แก่ครู-อาจารย์
  6. ช่วยให้ครู-อาจารย์สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้นอกหลักสูตร หรือพัฒนารูปแบบการสอนแบบใหม่
  7. สามารถประยุกต์หรือต่อยอดเพื่อพัฒนาผลงานวิชาการทางวิทยาศาสตร์เชิงแสงได้
  8. สามารถจัดหาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ให้เพียงพอต่อความต้องการได้
  9. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของโรงเรียน
  10. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่นเยาวชนในประเทศ

ทีมงาน

กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ 
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)


มอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ (ZpecSen) ให้โรงเรียนนครหลวง 5 ชุด

1 April 2022

ทีมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ได้สร้างเครื่องสเปกเซ้นส์แล้วเสร็จจำนวน 10 ชุด (ตามงบประมาณ 23,880.60 บาท ที่ได้รับบริจาค) ภายในเดือน กันยายน 2564 


ชุดสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ที่พร้อมใช้งานและพร้อมส่งมอบให้แก่ โรงเรียนนครหลวง (อุดมรัชต์วิทยา) และโรงเรียนลาดชะโดสามัคคี รวมจำนวน 10 ชุด 

กิจกรรมการส่งมอบ สื่อการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียน

ทีมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ ได้มีแผนจะส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ และจัดกิจกรรมอบรมการใช้งานเครื่องสเปกเซ้นส์ให้แก่โรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนนครหลวง (อุดมรัชต์วิทยา) และโรงเรียนลาดชะโดสามัคคี ภายในเดือน พฤศจิกายน 2564 แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงยังไม่เหมาะสมที่จะส่งมอบหรือจัดกิจกรรม ฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากโรงเรียนมีการสอนแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และเกรงว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องเลื่อนการส่งมอบและจัดกิจกรรม ฯ ไปก่อน

ในการนี้ เพื่อให้ผู้บริจาคได้เห็นความก้าวหน้าของโครงการ ทีมพัฒนาฯ จึงได้วางแผนที่จะส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ให้แก่โรงเรียน และการจัดกิจกรรมการใช้งานฯ ในภายหลังหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลงแล้ว ซึ่งโรงเรียนทั้งสองโรงเรียนเห็นด้วยและยินดีที่จะรับมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ไว้ก่อนตามแผนที่วางไว้

ในวันที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 9.30 น. – 12.30 น. ทีมพัฒนา ฯ จึงได้ส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ จำนวน 5 ชุด ให้แก่โรงเรียนนครหลวง (อุดมรัชต์วิทยา) ณ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยมี รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และนักเรียน เป็นผู้รับมอบ และได้มีการสาธิตการใช้งานเบื้องต้น รวมถึง หารือเพื่อวางแนวทางจัดกิจกรรอบรมการใช้งานต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงภาคเรียนที่สอง ของปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป 

ทั้งนี้ สำหรับการส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี ทีมพัฒนา ฯ ได้หารือและกำหนดวันส่งมอบเป็นวันช่วง วันที่ 21 – 25 มีนาคม 2565 ไว้แล้ว แต่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จำเป็นต้องปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ก่อนช่วงเวลาดังกล่าว จึงทำให้ไม่สามารถส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์โรงเรียนลาดชะโดสามัคคีได้


ความประทับใจจากครูและนักเรียนที่ได้ใช้เครื่องสเปกเซ้นส์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ

มอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ จำนวน 5 ชุด ให้โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี

23 June 2022

ในวันที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 9.30 น. – 12.30 น. ทีมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ ได้ส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ จำนวน 5 ชุด ให้แก่โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี ณ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยมี ครู และนักเรียน เป็นผู้รับมอบ และได้มีการสาธิตการใช้งานเบื้องต้น รวมถึง หารือเพื่อวางแนวทางจัดกิจกรรอบรมการใช้งานต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงภาคเรียนที่สองของปีการศึกษา 2565 หรือภาคเรียนที่หนึ่งของปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป

ภาพประกอบ

ชุดสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ที่พร้อมใช้งานและส่งมอบโรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จำนวน 5 ชุด

ส่งมอบสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ ให้แก่นักเรียน และครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ณ โรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 5 ชุด

บรรยากาศการสาธิตการใช้งานสื่อการเรียนรู้ทางด้านแสงสเปกเซ้นส์ เบื้องต้น

 ชี้แจงถึงจุดประสงค์ของโครงการและหารือกับครูของโรงเรียนลาดชะโดสามัคคี จ.พระนครศรีอยุธยา 

ความประทับใจจากครูและนักเรียนที่ได้รับสื่อเรียนรู้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ


Budget plan

รายการจำนวนจำนวนเงิน(บาท)

1. ค่าต้นทุนการผลิตเครื่อง ZpecSen ต่อ 1 ชุด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
• ค่าวัสดุ ~ 800 บาท
• ค่าแรงในการผลิต ~ 700 บาท
• ค่า packaging ~ 200 บาท
• ค่าอุปกรณ์เสริม ~ 100 บาท
รวม 1,800 บาทต่อชุด* 

*เป็นราคาต้นทุนที่ไม่มีการคิดผลกำไร 



35 เครื่อง



 63,000

2. ค่าออกแบบและผลิตใบงานการเรียนรู้ 14 ชุด4,900 
3. ค่าดำเนินการจัดอบรมและกิจกรรม ค่าเดินทาง และ ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ประสานงาน 7 โรงเรียน17,500
4. ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

8,540
รวม
93,940