project สัตว์

รถพยาบาลสัตว์น้ำ

ระดมทุนสร้างรถพยาบาลสัตว์น้ำเพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติงานภาคสนามเคลื่อนที่ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมสัตวแพทย์ในการช่วยชีวิตสัตว์น้ำให้สืบอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติและท้องทะเลไทยต่อไป

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ไทย

ยอดบริจาคขณะนี้

1,586,662 บาท

เป้าหมาย

2,755,500 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 58%
จำนวนผู้บริจาค 2,579

สำเร็จแล้ว

คนเจ็บต้องไปโรงพยาบาล...

ช้างเจ็บต้องไปโรงพยาบาลช้าง...

คนและสัตว์บกมีรถพยาบาลกันแล้ว...

หากแต่เป็นสัตว์น้ำ หรือสัตว์ทะเลที่ได้รับบาดเจ็บ แม้เราจะมีหลายหน่วยงานที่ช่วยกันดูแลสัตว์น้ำเหล่านี้ แต่ก็ขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่จะทำการรักษา การเคลื่อนย้ายและส่งต่อก็ลำบาก หากสัตว์ขาดน้ำก็จะเสียชีวิต การแก้ปัญหาด้วยการนำสัตว์ทะเลมาพักฟื้นที่บ่อ และเติมน้ำฝน ก็ทำให้สัตว์น้ำช็อคตายได้

ดังกรณีเคสโรซี่ปลาโรนินเพศเมีย สัตว์น้ำหายากที่ได้รับบาดเจ็บและถูกช่วยเหลือโดยทีมสัตวแพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หลังจากการรักษาเบื้องต้นอาการของโรซี่ดีขึ้นมาก พักฟื้นรอวันที่จะปล่อยคืนสู่ท้องทะเลเพื่อเป็นแม่พันธุ์ปลาโรนินที่เหลืออยู่น้อยมากในธรรมชาติ

แต่ทว่าสองวันถัดมา ช่วงเช้ามืดของวันแม่ เรากลับต้องสูญเสียโรซี่ไปตลอดกาล ผลจากการชันสูตรพบว่าเธอตายจากอาการช็อค เพราะความเค็มของน้ำในบ่อพักฟื้นเปลี่ยนไป เนื่องจากวันก่อนมีฝนตกหนัก บ่อพักฟื้นชั่วคราวที่หาได้ในยามฉุกเฉิน ไม่พร้อมรับมือน้ำฝนที่กระหน่ำลงมาได้

วันนี้เราเจอสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลและปลาหายาก อาทิ พะยูน โลมา หรือแม้กระทั่ง เต่าทะเล ที่ได้รับบาดเจ็บมากขึ้นทุกวัน ในฐานะมนุษย์เราควรต้องตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาธรรมชาติ ด้วยการลด ละ และเลิกพฤติกรรมที่กระทบต่อระบบนิเวศ


(รูปภาพจาก : Facebook : ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ - VMARC )

ขณะเดียวกัน หากทีมสัตวแพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Veterinary Medical Aquatic animal Research Center (VMARC)] หนึ่งในหน่วยงานสำคัญที่ออกลงพื้นที่รักษากู้ชีวิตสัตว์น้ำต่างๆ รวมไปถึงสัตว์ทะเลหายากอย่างเช่น ปลาโรนิน เต่า โลมา วาฬ พะยูน ปลากระเบนเจ้าพระยา เป็นต้น หากทีมช่วยเหลือมีเครื่องมือช่วยชีวิตสัตว์น้ำเหล่านี้ได้ทันท่วงทีก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี


(รูปภาพจาก : Facebook : ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ - VMARC )

เราจึงอยากทำโรงพยาบาลเคลื่อนที่สำหรับสัตว์น้ำ ซึ่งจะประกอบด้วยสระที่ถอดประกอบได้, เต็นท์คลุม, ปั๊มอากาศ/ออกซิเจน, ปั๊มน้ำ, เครื่องกรองน้ำ และเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาล โดยอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถพกพาเพื่อออกนอกสถานที่ได้โดยสะดวก รถดังกล่าวประกอบด้วย Air generator, Body temperature reader, Water pump, portable pool  + Cover , Water filtration ,  Heat exchanger, Underwater stethoscope 


ก่อนหน้านี้เราเคยระดมทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์บางส่วนเมื่อ 3 ปีที่ผ่าน ในโครงการ “โรงพยาบาลสัตว์น้ำเคลื่อนที่” โดยระดมซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น water filtration /salt pool/water pump/temp reader/ air pump เป็นต้น   แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อสถานการณ์จริง ยังขาดอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการประเมินอาการเจ็บป่วยของสัตว์น้ำ

ดังนั้นเพื่อให้ทีมสัตวแพทย์สัตว์น้ำมีรถพยาบาลเคลื่อนที่เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของสัตว์น้ำเหล่านี้ ให้ดำรงอยู่สืบไปในท้องทะเลไทย

สมาชิกภายในทีม

ทีมสัตว์แพทย์จากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Veterinary Medical Aquatic animal Research Center (VMARC)]

เทใจดอทคอม ขออนุญาตหักค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

รายการบาท
1.รถพยาบาลเคลื่อนที่ 1 คัน1,500,000
2.Air generator 40,000
3.Body temperature reader  30,000
4.Water pump  2 ตัวๆละ 15,000 บาท30,000
5.portable pool  + cover95,000
6.Water filtration  3 เครื่องๆละ 20,000 บาท60,000
7.Heat exchanger 30,000
8.Underwater stethoscope 20,000
9.อุปกรณ์ตรวจคุณภาพน้ำ   250,000 
10.Blood chemistry machine   450,000 
11.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
250,500
รวม2,755,500

หมายเหตุ: ราคาดังกล่าว มาจากการสำรวจราคาโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้