กองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ (Disaster Response for the Elderly Fund)

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที
ระยะเวลาโครงการ 01 พ.ย. 2565 ถึง 01 พ.ย. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดเชียงราย , จังหวัดแม่ฮ่องสอน , จังหวัดลำปาง , จังหวัดลำพูน , จังหวัดกระบี่ , จังหวัดข่อนแก่น
ยอดบริจาคขณะนี้
46,359 บาทเป้าหมาย
1,768,800 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ปัญหาผลกระทบจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรง และส่งผลกระทบในวงกว้าง และกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเป็นลำดับแรกคือที่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ เด็ก ที่ต้องการช่วยเหลือเฉพาะด้าน ในระยะ 5 ปีมานี้ มีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยและเกิดขึ้นเป็นวงกว้างสามารถแบ่งภัย ที่ต้องเผชิญ มีความเสี่ยงตามฤดูกาล ได้แก่
- ภาคเหนือ มักจะเกิดไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ภัยหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
- ภาคกลาง มักจะเกิดฝุ่นควันจากบริบทสังคมเมือง ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน
- ภาคอีสาน มักจะเกิดภัยแล้ง ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ภัยหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
- ภาคใต้ มักจะเกิด มรสุม สึนามิ น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน
ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมักจะสร้างความเสียหายให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สิน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย หรือบางรายจะต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปจากภัยที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุ และครอบครัวมีภาระหนี้สิ้นเพิ่มขึ้น และทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา มีภาวะเครียด ซึมเศร้า ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยมีสุขภาพจิตที่แย่ลง กลายเป็นวงจรแห่งความเลวร้ายของผู้สูงอายุ ต้องการความช่วยเหลือ และเยี่ยวยาด้านจิตใจเป็นอย่างมาก
จากประสบการณ์ทำงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุที่ทำงานพัฒนาศักยภาพ การทำงานด้านสิทธิผู้สูงอายุ การสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ช่วยเหลือผู้สูงอายุด้อยโอกาส และดำเนินโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม และที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ตั้งรับช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากภัยฉุกเฉินในฤดูกาลของภัยในพื้นที่ จำนวน 5,000 คน เช่นกรณีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ไฟป่า ฝุ่นควัน COVOD-19 จึงทำให้มีแนวคิดในการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ และการช่วยเหลือฉุกเฉินให้ทันทุกฤดูกาลให้แก่ผู้สูงอายุในพื้นที่เสี่ยง ผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 27 พื้นที่เสี่ยงภัยและเป็นพื้นที่ดำเนินงานของมูลนิธิฯทั่วประเทศ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินได้ทันที โดยกระบวนการทำงานร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
โดยแบ่งระยะการช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 คือระยะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน โดยการการมอบถุงยังชีพสำหรับตามฤดูกาล เช่น อาหาร ยารักษาโรค ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หน้ากากกรองฝุ่น PM 2.5 ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และระยะที่ 2 คือระยะฟื้นฟู โดยการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า การรวมของอาสาสมัครในทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ และรวมถึงการเยี่ยวยาสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ โดยการให้กำลังใจ และการประเมินสภาพจิตใจโดยสหวิชาชีพ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1.ระยะฉุกเฉิน/เร่งด่วน
1.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ประชุม วางแผนและสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
1.2 ระดมจัดซื้อของ สิ่งของใช้จำเป็นอย่างเร่งด่วน พร้อมจัดถุงยังชีพตามฤดูกาลให้กับผู้สูงอายุที่ประสบภัย
1.3 ลงพื้นที่มอบของช่วยเหลือผู้สูงอายุ ของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ (หรือบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงได้ ให้อาสาสมัครดูำเนินงานในพื้นที่)
2. ระยะฟื้นฟู
2.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ประชุมร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ วางแผนและสำรวจพื้นที่บ้านผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติ
2.2 ระดมจัดซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 ลงพื้นที่ฟื้นฟู ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ โดยการรวมกลุ่มของอาสาสมัคร
2.4 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ พร้อมกับนักจิตวิทยา สหวิชาชีพ ประเมินสภาพจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ และให้กำลังใจผู้สูงอายุ
2.5 ติดตาม ประเมินหลังจากการได้รับการฟืนฟู และประชุมสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัคร รายงานจำนวนที่ช่วยเหลือ สะท้อนผลการทำงาน เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉิน และวางแผนต่อไปในระยะฟื้นฟู
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายทศวรรษ บุญมา
น.ส.เกษริน กันทะอินทร์
นายวีรภัทร วีไลศิลปดีเลิศ

Facebook: ้https://www.facebook.com/FOPDEV.CSO/
Website: http://fopdev.or.th/
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าถุงยังชีพตามสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น อาหาร ยารักษาโรค เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ อุปกรณ์ทำความสะอาดหลังเกิดภัยพิบัติ ชุดละ 300 บาท | 5000 ชุด | 1,500,000.00 |
2 | ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าเช่ารถลงพื้นที่ ให้กับอาสาสมัครฯ ลงพื้นที่ พื้นที่ละ 4,000 บาท | 27 พื้นที่ | 108,000.00 |