project ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม

ส่งต่อความสุข สู้ความหิว ลดอาหารส่วนเกิน Food Rescue Program

ภารกิจส่งต่อมื้ออาหารคุณภาพดีถูกหลักโภชนาการจากมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ให้แก่ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพ ฯ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต

ระยะเวลาโครงการ ตลอดปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

955,630 บาท

เป้าหมาย

3,300,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 29%
250 วัน จำนวนผู้บริจาค 273

ความคืบหน้าโครงการ

ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค ปี 2566

22 มกราคม 2024

ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 4 ภูมิภาคในประเทศไทย รวมถึงชุมชนในจังหวัดอื่นๆ ที่มูลนิธิฯ มีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 47 จังหวัดอีกด้วย โดยมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 3,200 ชุมชน ในระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 จนถึงเดือนธันวาคม 2566 ทั้งนี้ความช่วยเหลือในรูปแบบของการระดมทุนนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ทำให้ทางมูลนิธิฯ สามารถซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมในการประกอบอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการมากยิ่งขึ้น และทำให้กลุ่มผู้เปราะบางในชุมชนสามารถ เข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลาย

  1. ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 300 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  2. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 300 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  3. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 150 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
  4. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดภูเก็ต (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 150 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์

ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือชุมชน 4 ภูมิภาคตลอดแคมเปญ

รายชื่อครัวรักษ์อาหารมื้ออาหารรวม
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล43,970
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์10,147
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่6,764
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดภูเก็ต6,764
มื้ออาหารรวม67,645

รวมทั้งสิ้นมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค ทั้งหมด 67,645 มื้อ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

โครงการรักษ์อาหารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
“ ในปัจจุบัน ชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 ได้เข้าร่วมเป็นผู้รับโครงการของมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (มูลนิธิเอสโอเอส) มาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน โดยได้เข้าร่วมโครงการครัวรักษณ์อาหาร (Food Rescue Program) ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเอสโอเอสนำส่งอาหารและวัตถุดิบส่วนเกินที่กอบกู้มาให้แก่ชุมชนโดยตรงในอันดับแรก และเนื่องจากชุมชน บ้านมั่นคงบางบอน 133 มีความพร้อมและพื้นที่ในการทำครัว จึงได้ต่อยอดนำเอาวัตถุดิบดังกว่าวมาเป็นอีกหนึ่งโครงการของมูลนิธิฯ ซึ่งมีชื่อว่าโครงการครัวรักษ์อาหาร (Rescue Kitchen Program) โดยเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเอสโอเอสสนันสนุนวัตถุดิบส่วนเกิน ที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับครัวชุมชนได้ประกอบอาหาร หลังจากนั้นทางชุมชนจะทำการส่งต่อมื้ออาหารให้กับกลุ่มผู้เดือดร้อน และผู้ที่มีความต้องการด้านอาหารได้อิ่มท้อง ทีมแม่ครัวอิ่มบุญ อิ่มใจในการส่งต่ออาหาร การเข้าร่วมทั้งสองโครงการของมูลนิธิเอสโอเอส ซึ่งได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่กลุ่มเปราะบางถือเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 ที่ได้ร่วมทำงานกับมูลนิธิฯ ในการส่งต่อเรื่องราวดีๆ อีกทั้งชุมชนยังสามารถพัฒนาศักยภาพในการทำครัวชุมชนได้มากขึ้น ผู้คนในชุมชนต่างมีส่วนร่วมในการรังสรรค์เมนู อาหาร เกิดการพูดคุยร่วมกัน และเอื้ออาทรซึ่งกันและกันอีกด้วย ทั้งนี้ขอขอบคุณทางทีมมูลนิธิเอสโอเอส และผู้ใจบุญที่ร่วมบริจาควัตถุดิบ ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้คนในชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน อยากให้มูลนิธิทำสิ่งนี้ต่อไปเรื่อยๆ และชุมชนจะพยายามสานต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้ จะไม่ปล่อยมือให้คนในชุมชนต้องอดอยาก ” คุณรัชนีกร จันทร์บริบูรณ์ - ชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 เขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพฯ

โครงการรักษ์อาหารในประจวบคีรีขันธ์
“ ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อได้เข้าร่วมเป็นผู้รับกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาหัวหินเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน ซึ่งเป็นชุมชนในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตั้งอยู่ติดชายแดนประเทศเมียนมาร์ ห่างจากตัวเมืองหัวหินประมาณ 50 กิโลเมตร และมีประชากรรวมทั้งสิ้น 700 คน โดยชุมชนบ้านแพรกตะคร้อมีความหลากหลายทางเชื้อ มีทั้งชาวไทย กระเหรี่ยง เมียนมาร์ และชาวมอญ โดยผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป บางครอบครัวยังมีรายได้ไม่เพียงพอในการบริโภค และเข้าถึงแหล่งอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแหล่งโปรตีนแลคุณค่าทางอาหารสูงสำหรับเด็ก เช่น ข้าวสาร เนื้อสัตว์ และนม มูลนิธิเอสโอเอสหัวหินได้สนับสนับสนุนข้าวสาร นม วัตถุดิบสด และอาหารต่างๆ ที่จำเป็นให้แก่ชุมชน ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนเข้าถึงอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทางชุมชนขอขอบคุณทางมูลนิธิเอสโอเอสที่ให้การช่วยเหลือตลอดมา และร่วมกันทำอาหารที่สด สะอาด อร่อย และสารอาหารครบถ้วน ทางชุนชนรู้สึกมีความสุขและอิ่มเอมทั้งทางกายและทางใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ ” คุณจิรวดี ชูยิ้ม - ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อ ตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โครงการรักษ์อาหารในเชียงใหม่
“ ทางชุมชนตำบลช้างเผือก ได้เข้าร่วมเป็นผู้รับกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาเชียงใหม่เป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน โดยทางชุมชนได้รับทั้งผักสด เบเกอร์รี และอาหารปรุงสุก ให้แก่กลุ่มผู้เปราะบาง ทางกลุ่มผู้เปราะบางได้รับประทานขนมอร่อยๆ และอาหารดีๆ ชาวชุมชนตำบลช้างเผือกขอขอบคุณมูลนิธิเอสโอเอสมากๆ ค่ะ ที่มามอบสิ่งดีๆ ให้กับพวกเรา และทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดมาค่ะ ” คุณสุกัญญา เพลาแก้ว - ชุนชนตำบลช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โครงการรักษ์อาหารในภูเก็ต
“ ชุมชนแหลมตุ๊กแกทำงานร่วมกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาภูเก็ตมาเป็นระยะเวลานานประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 - ปัจจุบัน โดยชุมชนอยากชอบแนวคิดและพันธกิจของมูลนิธิเอสโอเอสมากๆ อยากให้องค์กรอื่นๆ หันมาสนใจปัญหาเรื่องขยะอาหาร สิ่งแวดล้อม และความหิวโหยกันมากยิ่งขึ้น ชุมชนแหลมตุ๊กแกเป็นชุมชนรายได้น้อยที่บางครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ครบ 3 มื้อ และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลายได้ การที่มูลนิธิเอสโอเอสได้ส่งต่ออาหารปรุงสุก วัตถุดิบ และแหล่งอาหารใหม่ๆ ทำให้กลุ่มเปราะบางในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่หลากหลาย รวมถึงอาหารที่ไม่เคยรับประทานมากยิ่งขึ้น ทางชุมชนขอขอบคุณ ทางมูลนิธิเอสโอเอสที่ส่งมอบโอกาสดีๆ และหวังว่าจะพัฒนาโครงการดีๆ ให้สืบต่อไปนานๆ ค่ะ ” คุณจันทร์แรม ธรรมประเสริฐ - ชุมชนแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กลุ่มคนเปราะบางกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดภูเก็ต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเชียงใหม่ และรวมไปถึงจังหวัดต่างๆ ที่ทางมูลนิธิฯ มีเครือข่ายความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากกว่า 47 จังหวัดทั่วประเทศอีกด้วย              3,200 ชุมชนช่วยเหลือชุมชนที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าเส้นความยากจน ชุมชนแออัด ชุมชนที่ตกงานหรือชุมชนที่สูญเสียงานประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการลด รายจ่ายค่าอาหาร และช่วยเหลือชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ ซึ่งการส่งอาหารปรุงสุกใหม่ผ่านโครงการของครัวรักษ์อาหารในช่วงเศรษฐกิจซบเซาในขณะนี้ และการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ยังสามารถเปิดโอกาสให้ชุมชนนำรายจ่ายค่าอาหารไปเป็นทุนในการต่อยอดหรือใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

วิกฤตการณ์อาหารเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมในประเทศไทย ครัวเรือนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ภายใต้เส้นความยากจนยังคงเผชิญกับความท้าทายในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ที่ดีของ เนื่องจากไม่สามารถเอื้อมมือถึงอาหารเหล่านั้นได้ ในทางตรงกันข้ามอาหารที่กินได้จำนวนมากถูกทิ้งอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยไม่ได้ถูกนำไปรับประทาน หรือแปรรูปให้เกิดประโยชน์ ปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดการขยะของประเทศไทยมีส่วนทำให้เกิดปัญหาขยะอาหารจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดการฝังกลบขยะอาหารจำนวนมาก นำไปสู่มลพิษและภาวะโลกร้อน สิ่งเหล่านี้กระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต่อคนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชน

แนวทางการแก้ เเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ SOS รับรองว่าอาหารส่วนเกินทั้งหมดจะถูกนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารทั้งหมดถูกนำส่งไปถึงชุมชนท้องถิ่น และลดขยะอาหารที่อาจจบลงด้วยการฝังกลบ ซึ่งป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในภูมิภาค

ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ด้านสังคม

1. บรรเทา เยียวยา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงอาหารที่ดีและถูกหลักโภชนาการอย่างเท่าเทียม

2. การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารแก่กลุ่มผู้ขาดแคลน

ด้านสิ่งแวดล้อม

1. ลดปัญหาขยะอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารในประเทศไทย

2. การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากอาหารส่วนเกิน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุก ๆ วันโดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ  

1.ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ  

2.ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกินดังภาพข้างต้น ในส่วนของโครงการรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากระบบการทำงานข้างต้นโดยจะเป็นส่วนที่อยู่ก่อนการบริจาคอาหารให้แก่ชุมชนโดยตรง ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกวัน

ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงานของครัวรักษ์อาหารจึงมีดังนี้

1.ติดต่อหัวหน้าชุมชนที่เป็นผู้รับบริจาคอาหารจากทางมูลนิธิ ฯ อยู่แล้ว และมีความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินเป็นอย่างดี เพื่อแนะนำและช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่

2.ตรวจสอบความพร้อมของชุมชนว่ามีสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดตั้งจุดแจกจ่ายอาหารชุมชนครบครันหรือไม่ หากมีความพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางอาหารของมูลนิธิ ฯ จะเข้าไปแนะนำการจัดตั้ง และความปลอดภัยให้กับชุมชน

3.ประสานงานกับทีมรถรับบริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำวัตถุดิบแบ่งออกเป็นสามส่วน

  • ส่วนที่หนึ่งส่งให้หัวหน้าชุมชน เพื่อเตรียมนำไปแจกจ่ายต่อกับผู้อาศัยในชุมชน
  • ส่วนที่สองมาส่งให้กับครัว เพื่อนำวัสถุดิบไปทำอาหารแล้วแจกจ่ายให้ชุมชนอื่น
  • ส่วนที่สามนำอาหารแห้งไปแจกจ่ายให้แก่ชุมชนห่างไกล

    4.ประสานงานกับหัวหน้าชุมชนเพื่อจัดเตรียมจำนวนผู้รับอาหารที่มีความเดือนร้อน และจัดเตรียมด้านการสื่อสาร

    5.เมื่อถึงวันนัดหมาย หัวหน้าชุมชนจะมารับอาหารตามจุดนัดหมายเพื่อรอแจกจ่าย

    ผู้รับผิดชอบโครงการ

    ดำเนินโครงการโดยมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทยโดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่น อาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันหมดอายุ) จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้ต่ำที่มีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวัน


    ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค ปี 2566

    22 มกราคม 2024

    ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 4 ภูมิภาคในประเทศไทย รวมถึงชุมชนในจังหวัดอื่นๆ ที่มูลนิธิฯ มีเครือข่ายครอบคลุมกว่า 47 จังหวัดอีกด้วย โดยมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 3,200 ชุมชน ในระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 จนถึงเดือนธันวาคม 2566 ทั้งนี้ความช่วยเหลือในรูปแบบของการระดมทุนนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ทำให้ทางมูลนิธิฯ สามารถซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมในการประกอบอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการมากยิ่งขึ้น และทำให้กลุ่มผู้เปราะบางในชุมชนสามารถ เข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลาย

    1. ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 300 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
    2. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 300 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
    3. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 150 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์
    4. ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดภูเก็ต (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 150 คน) จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์

    ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือชุมชน 4 ภูมิภาคตลอดแคมเปญ

    รายชื่อครัวรักษ์อาหารมื้ออาหารรวม
    ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล43,970
    ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์10,147
    ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่6,764
    ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดภูเก็ต6,764
    มื้ออาหารรวม67,645

    รวมทั้งสิ้นมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค ทั้งหมด 67,645 มื้อ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

    ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

    โครงการรักษ์อาหารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    “ ในปัจจุบัน ชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 ได้เข้าร่วมเป็นผู้รับโครงการของมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (มูลนิธิเอสโอเอส) มาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน โดยได้เข้าร่วมโครงการครัวรักษณ์อาหาร (Food Rescue Program) ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเอสโอเอสนำส่งอาหารและวัตถุดิบส่วนเกินที่กอบกู้มาให้แก่ชุมชนโดยตรงในอันดับแรก และเนื่องจากชุมชน บ้านมั่นคงบางบอน 133 มีความพร้อมและพื้นที่ในการทำครัว จึงได้ต่อยอดนำเอาวัตถุดิบดังกว่าวมาเป็นอีกหนึ่งโครงการของมูลนิธิฯ ซึ่งมีชื่อว่าโครงการครัวรักษ์อาหาร (Rescue Kitchen Program) โดยเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเอสโอเอสสนันสนุนวัตถุดิบส่วนเกิน ที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้กับครัวชุมชนได้ประกอบอาหาร หลังจากนั้นทางชุมชนจะทำการส่งต่อมื้ออาหารให้กับกลุ่มผู้เดือดร้อน และผู้ที่มีความต้องการด้านอาหารได้อิ่มท้อง ทีมแม่ครัวอิ่มบุญ อิ่มใจในการส่งต่ออาหาร การเข้าร่วมทั้งสองโครงการของมูลนิธิเอสโอเอส ซึ่งได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่กลุ่มเปราะบางถือเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 ที่ได้ร่วมทำงานกับมูลนิธิฯ ในการส่งต่อเรื่องราวดีๆ อีกทั้งชุมชนยังสามารถพัฒนาศักยภาพในการทำครัวชุมชนได้มากขึ้น ผู้คนในชุมชนต่างมีส่วนร่วมในการรังสรรค์เมนู อาหาร เกิดการพูดคุยร่วมกัน และเอื้ออาทรซึ่งกันและกันอีกด้วย ทั้งนี้ขอขอบคุณทางทีมมูลนิธิเอสโอเอส และผู้ใจบุญที่ร่วมบริจาควัตถุดิบ ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้คนในชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน อยากให้มูลนิธิทำสิ่งนี้ต่อไปเรื่อยๆ และชุมชนจะพยายามสานต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้ จะไม่ปล่อยมือให้คนในชุมชนต้องอดอยาก ” คุณรัชนีกร จันทร์บริบูรณ์ - ชุมชนบ้านมั่นคงบางบอน 133 เขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพฯ

    โครงการรักษ์อาหารในประจวบคีรีขันธ์
    “ ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อได้เข้าร่วมเป็นผู้รับกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาหัวหินเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน ซึ่งเป็นชุมชนในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตั้งอยู่ติดชายแดนประเทศเมียนมาร์ ห่างจากตัวเมืองหัวหินประมาณ 50 กิโลเมตร และมีประชากรรวมทั้งสิ้น 700 คน โดยชุมชนบ้านแพรกตะคร้อมีความหลากหลายทางเชื้อ มีทั้งชาวไทย กระเหรี่ยง เมียนมาร์ และชาวมอญ โดยผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป บางครอบครัวยังมีรายได้ไม่เพียงพอในการบริโภค และเข้าถึงแหล่งอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารที่มีแหล่งโปรตีนแลคุณค่าทางอาหารสูงสำหรับเด็ก เช่น ข้าวสาร เนื้อสัตว์ และนม มูลนิธิเอสโอเอสหัวหินได้สนับสนับสนุนข้าวสาร นม วัตถุดิบสด และอาหารต่างๆ ที่จำเป็นให้แก่ชุมชน ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนเข้าถึงอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทางชุมชนขอขอบคุณทางมูลนิธิเอสโอเอสที่ให้การช่วยเหลือตลอดมา และร่วมกันทำอาหารที่สด สะอาด อร่อย และสารอาหารครบถ้วน ทางชุนชนรู้สึกมีความสุขและอิ่มเอมทั้งทางกายและทางใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ ” คุณจิรวดี ชูยิ้ม - ชุมชนบ้านแพรกตะคร้อ ตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    โครงการรักษ์อาหารในเชียงใหม่
    “ ทางชุมชนตำบลช้างเผือก ได้เข้าร่วมเป็นผู้รับกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาเชียงใหม่เป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่ปี 2565 - ปัจจุบัน โดยทางชุมชนได้รับทั้งผักสด เบเกอร์รี และอาหารปรุงสุก ให้แก่กลุ่มผู้เปราะบาง ทางกลุ่มผู้เปราะบางได้รับประทานขนมอร่อยๆ และอาหารดีๆ ชาวชุมชนตำบลช้างเผือกขอขอบคุณมูลนิธิเอสโอเอสมากๆ ค่ะ ที่มามอบสิ่งดีๆ ให้กับพวกเรา และทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดมาค่ะ ” คุณสุกัญญา เพลาแก้ว - ชุนชนตำบลช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    โครงการรักษ์อาหารในภูเก็ต
    “ ชุมชนแหลมตุ๊กแกทำงานร่วมกับมูลนิธิเอสโอเอสสาขาภูเก็ตมาเป็นระยะเวลานานประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 - ปัจจุบัน โดยชุมชนอยากชอบแนวคิดและพันธกิจของมูลนิธิเอสโอเอสมากๆ อยากให้องค์กรอื่นๆ หันมาสนใจปัญหาเรื่องขยะอาหาร สิ่งแวดล้อม และความหิวโหยกันมากยิ่งขึ้น ชุมชนแหลมตุ๊กแกเป็นชุมชนรายได้น้อยที่บางครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ครบ 3 มื้อ และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลายได้ การที่มูลนิธิเอสโอเอสได้ส่งต่ออาหารปรุงสุก วัตถุดิบ และแหล่งอาหารใหม่ๆ ทำให้กลุ่มเปราะบางในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่หลากหลาย รวมถึงอาหารที่ไม่เคยรับประทานมากยิ่งขึ้น ทางชุมชนขอขอบคุณ ทางมูลนิธิเอสโอเอสที่ส่งมอบโอกาสดีๆ และหวังว่าจะพัฒนาโครงการดีๆ ให้สืบต่อไปนานๆ ค่ะ ” คุณจันทร์แรม ธรรมประเสริฐ - ชุมชนแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
    กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
    กลุ่มคนเปราะบางกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดภูเก็ต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเชียงใหม่ และรวมไปถึงจังหวัดต่างๆ ที่ทางมูลนิธิฯ มีเครือข่ายความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากกว่า 47 จังหวัดทั่วประเทศอีกด้วย              3,200 ชุมชนช่วยเหลือชุมชนที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าเส้นความยากจน ชุมชนแออัด ชุมชนที่ตกงานหรือชุมชนที่สูญเสียงานประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการลด รายจ่ายค่าอาหาร และช่วยเหลือชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ ซึ่งการส่งอาหารปรุงสุกใหม่ผ่านโครงการของครัวรักษ์อาหารในช่วงเศรษฐกิจซบเซาในขณะนี้ และการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ยังสามารถเปิดโอกาสให้ชุมชนนำรายจ่ายค่าอาหารไปเป็นทุนในการต่อยอดหรือใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย
    รูปภาพการดำเนินกิจกรรม



    แผนการใช้เงิน

    ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
    1 ค่าดำเนินการส่งต่ออาหาร (5 บาทต่อมื้อ) 600,000 3,000,000.00
    รวมเป็นเงินทั้งหมด
    3,000,000.00
    ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
    300,000.00

    ยอดระดมทุน
    3,300,000.00

    บริจาคให้
    ส่งต่อความสุข สู้ความหิว ลดอาหารส่วนเกิน Food Rescue Program

    เลือกการบริจาค

    จำนวนเงิน
    ช่องทางการชำระเงิน

    ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

    คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

    ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

    การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
    ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
    ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

    สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


    ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

    ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน