project สุขภาพ เด็กและเยาวชน

มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย

เด็กในครอบครัวที่มีฐานะยากจนไม่มีโอกาสได้รับอาหารที่เพียงพอตามหลักโภชนาการ หรือบางครั้งต้องอดบางมื้อไป เครือข่ายปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชน ลงพื้นที่มอบมื้ออาหารที่เต็มเปี่ยมด้วยโภชนาการให้เด็ก 100 คน ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ : 100 มื้อ:100 วัน

ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน (100 วัน) พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์

ยอดบริจาคขณะนี้

253,039 บาท

เป้าหมาย

250,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 207

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ผลการดำเนินงานใน 2 โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน จ.เพชรบูรณ์

16 พฤศจิกายน 2022

การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เริ่มต้นใน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

วิธีการดำเนินงาน:

1. รูปแบบการจัดการครัวและจัดการอาหารสด โดยทำการให้องค์ความรู้ในการจัดซื้อ การจัดเก็บและการจัดการเมนูตามหลักโภชนาการ 

วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้ได้วัตถุดิบมาประกอบอาหารเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการได้รับอาหารมากขึ้น
  2. เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารตามหลักโภชนาการมากขึ้น

ผลลัพธ์:

  1.  จัดเมนู ล่วงหน้า 5 วัน ให้ได้มาตรฐานหลักโภชนาการ
  2.  ปรับเมนูตามวัตถุดิบที่เหลือได้อย่างคุ้มค่า
  3.  ซื้อเตาแก๊สพร้อมถังแก๊ส เพิ่มอีกชุด1 ชุด(เดิม มีแค่ 1 ชุด)

2. รูปแบบการผลิตวัตถุดิบการเกษตร โดยการจัดให้มีแปลงเกษตรอินทรีย์ และการจัดทำปุ๋ย/สารไล่แมลง ฯ 

วัตถุประสงค์:

  1.  เพื่อจัดการแปลงเกษตร
  2.  เพื่อลดต้นทุนและให้โรงเรียนมีความยั่งยืนด้วยการผลิตด้วยตนเอง

ผลลัพธ์:

  1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกผักเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เช่น ผักบุ้งจีน มะเขือเปราะ ผักกาดขาว
  2. หาพันธุ์ปลา นิล จำนวน 500 ตัว มาเลี้ยง สระหลังโรงเรียน และผลิตอาหารปลาเอง
  3. ปลูกกล้วยน้ำว้า มะละกอ ตะไคร้ กะเพรา รอบสระหลังโรงเรียน


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด
25 บาทต่อมื้อ ให้เด็กยากจนได้กินอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย

โครงการ มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย  เป็นโครงการการพัฒนาต้นแบบการสนับสนุนเด็กยากจนได้รับอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยที่เครือข่ายปฏิรูปโรงพยาบาลชุมชน 6 พื้นที่ ได้แก่ (1) โรงพยาบาลอุบลรัตน์ (2) โรงพยาบาลท่าวุ้ง (3) โรงพยาบาลน้ำพอง (4) โรงพยาบาลยะหริ่ง (5) โรงพยาบาลขุนหาญ (6) โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

ในช่วงระบาดของโรค Covid-19สิ่งที่โรงพยาบาลเห็น คือ มีเด็กจำนวนมาก ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนด้านอาหาร เด็กยากจนต้องอดมื้อกินมื้อ ดังนั้นจึงมีแนวคิดอยากให้เด็กยากจนได้รับอาหารที่เพียงพอมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้เด็กบางครอบครัวที่ขาดแคลนอาหาร ไม่มีปัจจัยทางด้านการเงินไม่สามารถได้รับอาหารที่ครบตามหลักโภชนาการ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อร่างกาย รวมทั้งระบบสมอง สมาธิ และสติปัญญาในการเรียน ดังนั้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน ถึงกันยายน เราจึงจัดโครงการ "มื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย"โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งมอบอาหารด้วยตัวเองทุกวัน ผลลัพธ์ที่ผ่านมาเด็กมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินโครงการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และมีความพร้อม ในการทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น 

ภาพประกอบ : อาสาสมัครโรงพยาบาลขุนหาญส่งมอบอาหารให้กับเด็กยากจน โดยใช้กล่องกระดาษและถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การลงพื้นที่ในทุกๆ วัน เรายังเจอเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน, เด็กที่พ่อแม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 และเด็กกำพร้า เราจึงขอชวนทุกคนมาร่วมขยายผลในระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการให้ยั่งยืนมากขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างโอกาสให้เด็กที่มีภาวะยากจนมีสุขภาพด้านร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีสุขภาพจิตดี ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ตามหลักโภชนาการเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตทางสังคมที่ดีสืบไป โดยใช้พื้นที่ในเครือข่ายปฏิรูป รพช. 6 พื้นที่ต้นแบบที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยขยายระยะเวลาเพิ่ม 100 วัน (เดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม) จำนวนเด็กทั้งหมด 600 คน คนละ 100 มื้อ ในระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563 

ภาพประกอบ : อาสาสมัครโรงพยาบาลน้ำพองส่งมอบอาหารให้กับเด็กยากจน โดยใช้กล่องเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. โรงพยาบาลกำหนดพื้นที่เป้าหมาย
  2. สำรวจและขึ้นทะเบียนรายชื่อเด็กยากจน
  3. กำหนดเมนูอาหารในแต่ละวัน โดยนักโภชนาการ เช่น ชนิด ปริมาณ วัตถุดิบ
  4. ผลิตอาหาร (โรงพยาบาลผลิตเองในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยจับคู่กับโครงการคนพิการ, นักบริบาล และเกษตรอินทรีย์ หรือ  ทำการจัดจ้างร้านค้า หรือ บริษัท โดยโรงพยาบาลคุมคุณภาพ)
  5. การส่งมอบอาหาร ดำเนินการโดยประสานงานหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ รพสต., อสม. และ อปท. เป็นผู้ส่งมอบถึงมือเด็ก
  6. บันทึกการได้รับอาหารของเด็กแต่ละคน พร้อมติดตามผลการเปลี่ยนแปลงเพื่อรายงานผลให้ผู้บริจาค
  7. โรงพยาบาลมีการคัดเลือกเด็กใหม่ทุก 3 เดือน เพื่อให้เกิดการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ครอบคลุมเด็กที่ได้รับความลำบากจริงๆ

ภาพประกอบ : อาสาสมัครโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ส่งมอบอาหารให้กับเด็กยากจน

ประโยชน์ของโครงการ 

  • เด็กยากจนที่เข้าร่วมโครงการได้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ
  • เด็กยากจนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการดูแลสุขภาพจากโรงพยาบาลพื้นที่ต้นแบบทั้ง 6 พื้นที่ และมีพัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโตสมวัยตามเกณฑ์
  • โครงการได้รับการส่งเสริมขยายผลในระยะยาวต่อไป

เกณฑ์การคัดเลือกเด็กที่เข้าร่วมโครงการ 

  1. เด็กยากจน
  2. อายุระหว่างเด็กปฐมวัย ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 
  3. เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน
  4. กำพร้า หรือ พ่อแม่ตกงานเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ

เจ้าของโครงการ

มูลนิธิแพทย์ชนบท 

นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าวุ้ง  

พญ.ดวงดาว ศรียากุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

ความคืบหน้าใน 2 โรงเรียนของโครงการมื้ออิ่มเพื่อเด็กน้อย

1 สิงหาคม 2022

 ปี 2564สถานการณ์โควิด ทำให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ จวบจนปัจจุบันทางคณะทำงานจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ได้เริ่มตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาโดยลงพื้นที่พูดคุยวางแผนรายละเอียดกับทางโรงเรียนทุ่งหินปูนและโรงเรียนบุฉนวน และโรงเรียนทุ่งหินปูน

สถานการณ์โรงเรียนทุ่งหินปูน ปัจจุบันทางโรงเรียนได้ค่าอาหาร 21 ต่อคนนักเรียนมีทั้งหมด 84 คน รวมทั้งสิ้นต่อมื้อคือ 1,764 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้โรงเรียนใช้ทั้งซื้อวัตถุดิบอาหาร และค่าแก๊ส ทำให้เด็กไม่ค่อยได้รับประทานผลไม้หรือขนมหวาน เงินที่ได้รับจึงจะนำไปซื้อผลไม้และวัตถุดิบทำขนมหวานเพื่อให้เด็กได้กินหลังเลิกเรียนและนำเงินบางส่วนไปซื้อหัวแก๊สเพิ่มเพื่อให้แม่ครัวทำอาหารได้สะดวกมากขึ้น โดย

ด้านโรงเรียนบ้านบุฉนวน พบว่า โรงเรียนได้มีการวางแผนโภชนาการอาหารกลางวันได้ดีอยู่แล้วเ เด็กไม่ค่อยมีภาวะโภชนาการที่บกพร่อง เงินที่ได้รับมอบให้ไปเพิ่มในส่วนของกับข้าว นม ผลไม้เพิ่มให้เด็ก

คณะ FOOD FOR GOOD  และ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565

หารือเกี่ยวกับตัวแทนโรงเรียนทุ่งหินปูนเพื่อรับฟังปัญหาและแนวทางที่อยากแก้ไข

ประชุมร่วมกับโรงเรียนบุฉนวนถึงแนวทางการจัดอาหารและโภชนาการในโรงเรียน 


ผลการดำเนินงานใน 2 โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน จ.เพชรบูรณ์

16 พฤศจิกายน 2022

การดำเนินงานที่ผ่านมาได้เริ่มต้นใน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งหินปูน และโรงเรียนบ้านบุฉนวน ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

วิธีการดำเนินงาน:

1. รูปแบบการจัดการครัวและจัดการอาหารสด โดยทำการให้องค์ความรู้ในการจัดซื้อ การจัดเก็บและการจัดการเมนูตามหลักโภชนาการ 

วัตถุประสงค์:

  1. เพื่อลดต้นทุนการผลิตทำให้ได้วัตถุดิบมาประกอบอาหารเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการได้รับอาหารมากขึ้น
  2. เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารตามหลักโภชนาการมากขึ้น

ผลลัพธ์:

  1.  จัดเมนู ล่วงหน้า 5 วัน ให้ได้มาตรฐานหลักโภชนาการ
  2.  ปรับเมนูตามวัตถุดิบที่เหลือได้อย่างคุ้มค่า
  3.  ซื้อเตาแก๊สพร้อมถังแก๊ส เพิ่มอีกชุด1 ชุด(เดิม มีแค่ 1 ชุด)

2. รูปแบบการผลิตวัตถุดิบการเกษตร โดยการจัดให้มีแปลงเกษตรอินทรีย์ และการจัดทำปุ๋ย/สารไล่แมลง ฯ 

วัตถุประสงค์:

  1.  เพื่อจัดการแปลงเกษตร
  2.  เพื่อลดต้นทุนและให้โรงเรียนมีความยั่งยืนด้วยการผลิตด้วยตนเอง

ผลลัพธ์:

  1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการปลูกผักเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เช่น ผักบุ้งจีน มะเขือเปราะ ผักกาดขาว
  2. หาพันธุ์ปลา นิล จำนวน 500 ตัว มาเลี้ยง สระหลังโรงเรียน และผลิตอาหารปลาเอง
  3. ปลูกกล้วยน้ำว้า มะละกอ ตะไคร้ กะเพรา รอบสระหลังโรงเรียน


แผนการใช้เงิน


รายการบาท
1. ค่าอาหารเด็ก 100 มื้อ  x 100คน x 25 บาท250,000
รวม250,000

โครงการนี้รวมค่าธรรมเนียมเทใจ 10% แล้ว

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

*ทางโครงการสนับสนุนมื้ออาหารเพื่อเด็กน้อย ที่อยู่ในพื้นที่การดูแลของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ ตลอดโครงการ