project เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง

โครงการพ่อแม่นักเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกสมวัย

การเล่นเป็นกิจกรรมหลักที่สามารถเสริมพัฒนาการเด็กสมวัยได้ ในประเทศไทยมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าที่สูงถึงร้อยละ 25 - 30  สาเหตุหนึ่งเพราะพ่อแม่หลายคนขาดทักษะและวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ลูก โครงการนี้จึงต้องการชวนพ่อแม่ 15 ครอบครัวที่มีลูกเล็กมาเข้าคอร์สเพื่อเรียนรู้ทักษะส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกผ่านการเล่น และตั้งเป้าหมายทำให้เกิด 30 กิจกรรมการเล่นต้นแบบ เพื่อนำไปแชร์ต่อยอดผ่านLINE@lukthamdai และสื่อออนไลน์ที่มีการเข้าถึงมากกว่า 5,000 ครอบครัว

ระยะเวลาโครงการ 01 ก.พ. 2566 ถึง 28 ก.พ. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จังหวัดสมุทรปราการ (ชุมชนบางกระเจ้า)

ยอดบริจาคขณะนี้

83,480 บาท

เป้าหมาย

82,500 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 33

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมเชิงปฎิบัติการกับพ่อแม่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูก จำนวน 15 ครอบครัว

26 เมษายน 2023

พ่อแม่เป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็ก ช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร และความสามารถของเด็ก ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย และได้รับความปลอดภัยในระหว่างการเล่น ผ่านกิจกรรมการเล่นจำนวน 30 กิจกรรม

เพื่อเป็นกิจกรรมการเล่นต้นแบบเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผ่านทางบริการบนแพลทฟอร์ม Line@lukthadmai ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้า) 

รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบการอบรมเชิงปฎิบัติการ ให้กับพ่อแม่กลุ่มเป้าหมาย มีจำนวน 3 ครั้ง 

  1. กิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 9.00 -12.00 ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้า) ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการบรรยายและการจัดกิจกรรมเชิงปฎิบัติการให้พ่อแม่ได้ฝึกทักษะการส่งเสริมพัฒนาการด้วยการเล่น เช่น การเก็บของเล่น การใส่เสื้อผ้า การอ่านนิทาน เป็นต้น โดยทีมงานของลูกทำได้ ดำเนินกิจกรรมตามลำดับดังนี้
    ● การบรรยายในหัวข้อ “ ความสำคัญของบทบาทของพ่อแม่ที่มีต่อการติดตามพัฒนาการเด็กในช่วงวัยแรกเกิดถึง 7 ปี ” โดยคุณ ปรียสรณ์ อาศรัยราษฎร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ลูกทำได้ จำกัด 
    ● กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ แบ่งกลุ่มพ่อแม่ตามช่วงวัยของลูก เพื่อฝึกทักษะการเล่นกับลูกผ่านทางกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัย 

    ตัวอย่างกิจกรรมการฝึกทักษะ 

  2. กิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผ่านทาง Zoom Application ซึ่งเป็นการติดตามผลการนำทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า
    ● พ่อแม่มีความเข้าใจถึงความสำคัญของกิจกรรมในแต่ละวันว่ามีความสอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างไร
    ● ปัญหาที่พบคือพ่อแม่รู้สึกขัดเขินในการพูดขื่นชม และยังมีส่วนชี้นำในการเล่นของลูกมากเกินไป แนวทางแก้ปัญหา 
    ● แสดงความชื่นชม และให้กำลังใจในทักษะที่พ่อแม่ทำได้ดี
    ● ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเทคนิคในการชื่นชม 
  3. กิจกรรมครั้งที่ 3 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผ่านทาง Zoom Application เวลา 9.00 - 10.30 น. โดยดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ
    ● กิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ “การสื่อสารในเชิงบวก” โดยคุณปรียสรณ์ อาศรัยราษฎร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ลูกทำได้ จำกัด ซึ่งการเลือกหัวข้อในการบรรยายในครั้งนี้เป็นการปรับหัวข้อตามความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีเนื้อหาหลัก ดังนี้ 

    ● กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อให้พ่อแม่ได้ฝึกทักษะการคุยกับลูกเชิงบวก

    ผลลัพธ์จากกิจกรรม : พ่อแม่ได้รับแนวทางและการฝึกทักษะในการสื่อสารเชิงบวก เพื่อช่วยให้การทำกิจกรรมกับลูกได้รับความร่วมมือมากขึ้น
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ ปกติไม่ได้สนใจเรื่องพัฒนาการลูกเท่าไหร่ ก็ดูเทียบๆกับเด็กแถวบ้านว่ามีอะไรที่ทำได้แล้วบ้าง แต่พอลองมาร่วมกิจกรรมก็เข้าใจมากขึ้นว่าต้องตามพัฒนาการลูกทั้ง 5 ด้าน ต้องดูให้ครบทุกด้าน เช่นก่อนหน้านี้ไม่เข้าใจอารมณ์ลูก ก็รู้สึกว่าเค้างอแงเยอะ แต่ตอนนี้ก็เข้าใจมากขึ้น ก็พยายามลองทำตามวิธีการส่งเสริมพัฒนาการลูกให้บ่อยขึ้นค่ะ ” คุณส้ม ลูกอายุ ช่วงวัย 2 -3 ปี 

“ ลูกยิ่งโตก็ยิ่งเข้าใจยากขึ้น บางทีเราดุเค้าบ่อย ยิ่งดุลูกก็ยิ่งงอแง ตอนคุณครูมาชวนแม่ให้ร่วมกิจกรรมก็เลยสนใจนะคะ เพราะไม่รู้จะสอนลูกอย่างไง พอไปเข้าร่วมกิจกรรมก็ไม่ผิดหวังค่ะ ชอบตรงที่ให้แม่ได้ลงมือทำด้วย ไม่ใช้มานั่งฟังอย่างเดียว ถ้ามีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ ก็น่าจะดี แม่จะได้มีแนวทางเพิ่มขึ้น อย่างตอนนี้ก็ลองใช้วิธีเล่นไม่ใช่สอน ลูกก็ดูเหมือนจะให้ความร่วมมือดีขึ้น ส่วนสิ่งที่อยากให้ปรับปรุงคือ อยากให้มีตัวอย่างหลากหลายขึ้น เพราะเด็กๆแต่ละบ้านก็ไม่เหมือนกัน ” คุณแม่ไยใหม ลูกอายุ ช่วงวัย 5 ปี

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ผลลัพธ์ที่ได้รับ
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงวัย 2 - 7 ขวบ 15 ครอบครัว 
  1. สนับสนุนให้พ่อแม่ได้รู้จักเครื่องมือในการวัดระดับพัฒนาการของลูกได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  2. พ่อแม่เกิดความเข้าใจถึงบทบาทความสำคัญของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กต่อการมีพัฒนาการสมวัยของเด็ก
  3. พ่อแม่เกิดทักษะความสามารถในการต่อยอดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการลูกสมวัยผ่านทางการเล่นในชีวิตประจำวันได้
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กทั่วประเทศพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กที่ลงทะเบียนใช้บริการ Line@lukthamdai 84 users
  1. ทดลองวิธีในการส่งเสริมพัฒนาการลูกให้สมวัยผ่านทางกิจกรรมการเล่นในชีวิตประจำวัน ในรูปแบบข้อความผ่านทาง Line@lukthamdai 
รูปภาพกิจกรรม




อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

การเล่นเป็นกิจกรรมหลักที่สามารถเสริมพัฒนาการเด็กสมวัยได้ ในประเทศไทยมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าที่สูงถึงร้อยละ 25 - 30  สาเหตุหนึ่งเพราะพ่อแม่หลายคนขาดทักษะและวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ลูก โครงการนี้จึงต้องการชวนพ่อแม่ 15 ครอบครัวที่มีลูกเล็กมาเข้าคอร์สเพื่อเรียนรู้ทักษะส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกผ่านการเล่น และตั้งเป้าหมายทำให้เกิด 30 กิจกรรมการเล่นต้นแบบ เพื่อนำไปแชร์ต่อยอดผ่านLINE@lukthamdai และสื่อออนไลน์ที่มีการเข้าถึงมากกว่า 5,000 ครอบครัว

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาเด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าที่สูงถึงร้อยละ 25 - 30 จากจำนวนเด็กไทยในช่วงวัยแรกเกิดถึงสามขวบ

จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนเด็กที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการเพียงร้อยละ 69.94 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 90 และมีเด็กที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการทันทีที่มีภาวะเสี่ยงพัฒนาการเพียงร้อยละ 14..43

 จากการศึกษาข้อมูลในเชิงพฤติกรรมของกลุ่มพ่อแม่ ทั่วประเทศ ลูกทำได้พบว่า สาเหตุพื้นฐานของการที่เด็กได้รับการคัดกรองต่ำกว่าเป้าหมายมาจากการที่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กขาดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคัดกรอง และขาดทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเมื่อมีภาวะเสี่ยงพัฒนาการล่าช้า ทำให้เด็กพลาดช่วงโอกาสทองของชีวิตในการมีคุณภาพชีวิตจากการมีพัฒนาการสมวัยไปอย่างน่าเสียดาย

ซึ่งจากผลงานวิจัยมากมายที่ยืนยันถึงความสำคัญของประสิทธิผลในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดภายในช่วงแรกเริ่มของชีวิต ลูกทำได้ จึงให้ความสำคัญกับเป้าหมายในการให้บริการเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนให้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้ที่มีทักษะในการจัดการส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการสมวัยได้ โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย พ่อแม่ผู้เลี้ยงเด็ก ในพื้นที่จังหวัดบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

กลุ่มเป้าหมาย พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี มีลูกคนแรก และมีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน 15,000 บาท ในพื้นที่บางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ

บริษัท ลูกทำได้ จำกัด ร่วมกับกลุ่มชุมชนบางกระเจ้า จ. สมุทรปราการ ในการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อสร้างพ่อแม่นักเล่น เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่มีทักษะในการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูกสมวัย

จากที่ลูกทำได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจพฤติกรรมของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กถึงความสัมพันธ์ในการเกิดภาวะเสี่ยงพัฒนาการล่าช้าในเด็ก เราพบว่าพ่อแม่ต้องการทักษะเพิ่มในการเล่นกับลูกอย่างไรให้เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้ง 5 ด้าน โดยยึดลูกเป็นศูนย์กลางของกระบวนการการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย

โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอด เพื่อนำเนื้อหากิจกรรม 30 กิจกรรมที่ได้จากการทำงานร่วมกับพ่อแมในพื้นที่ชุมชนบางกระเจ้า จ.สมุทรปราการไปสร้างเป็นนวัตกรรมทางด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดทักษะการเป็นพ่อแม่นักเล่น สร้างพัฒนาการลูกสมวัย ผ่านทางแอพพลิเคชั่น LINE@lukthamdai ที่มีฐานผู้ใช้ในปัจจุบัน 1,800 คน และการเข้าถึงบริการผ่านทางสื่อออนไลน์อีก 3,200 คน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

โครงการพ่อแม่นักเล่น มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่มีทักษะในการเล่นโดยยึดลูกเป็นศูนย์กลาง ที่พ่อแม่เป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็ก ช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร และความสามารถของเด็ก ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย และได้รับความปลอดภัยในระหว่างการเล่น

รูปแบบกิจกรรม: แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 1) การอบรมเชิงปฎิบัติการ 30 กิจกรรม สร้างทักษะพ่อแม่นักเล่น ให้กับพ่อแม่จำนวน 15 ครอบครัว และ 2) การต่อยอด โครงการพ่อแม่นักเล่น โดยนำเนื้อหา 30 กิจกรรมที่ได้ผ่านการอบรมเชิงปฎิบัติการกับพ่อแม่กลุ่มเป้าหมาย ไปให้บริการกับกลุ่มพ่อแม่จากทั่วประเทศผ่านทาง LINE@lukthamdai จำนวน 5,000 ครอบครัว

กิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้ 

  1. การจัดการอบรมเชิงปฎิบัติการ ให้กับพ่อแม่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 ครั้ง โดยแบ่งเป็นการจัดกิจกรรมแบบ On site 1 ครั้ง และการจัดกิจกรรมแบบ online 2 ครั้ง สำหรับพ่อแม่จำนวน 15 ครอบครัว

ขั้นตอนของกิจกรรมครั้งที่ 1 แบบ Onsite ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

  • ทำความรู้จัก  และทดสอบความรู้ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมก่อนเริ่มการอบรม 
  • ระดมความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนมุมมองของการเล่นคืออะไร  เด็กในชุมชนชอบเล่นอะไร การเล่นกับกิจกรรมต่างกันตรงไหน ชวนพูดคุยการนำของในพื้นที่ / ในบ้าน มาเป็นสื่อการเล่น 
  • การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยและการพัฒนาสมอง “สายใยพัฒนาการเด็ก” ออกแบบการเล่นให้เหมาะสมแก่เด็กแต่ละช่วงวัยโดยออกแบบจากผืนผ้าหลากสี ว่าจะสามารถออกแบบการเล่นให้เหมาะสมแก่เด็กแต่ละช่วงวัยไปในทิศทางและแนวทางใด
  • ลงมือปฎิบัติ โดยการทดลองเล่นกับลูกตามแนวคิดการเล่นเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการสมวัย

ขั้นตอนของกิจกรรมครั้งที่ 2 แบบ Online 

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองออกแบบการเล่น และถ่ายวิดีโอการเล่นในระหว่างอาทิตย์ ส่งให้ตามช่องทางที่ตกลงร่วมกัน
  • ผู้ดำเนินกิจกรรมทำการสะท้อนรูปแบบและกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละบ้านส่งข้อมูลมา เพื่อการให้ข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับพ่อแม่
  • กิจกรรมทำเป็นรายครอบครัว ใช้เวลาครอบครัวละ 15 นาที 

ขั้นตอนของกิจกรรมครั้งที่ 3 แบบ Online 

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมกิจกรรมแบบกลุ่มผ่านทางช่องทางออนไลน์  โดยให้แต่ละครอบครัวสะท้อนถึงรูปแบบการเล่นที่แต่ละบ้านไปทดลองฝึก
  • ผู้ดำเนินกิจกรรมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกทักษะ
  • วัดผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมถึงผลลัพธ์จากการได้ฝึกประสบการณ์กระบวนการพัฒนาทักษะพ่อแม่นักเล่นเพื่อนำไปใช้ต่อในครอบครัว

กิจกรรมช่วงที่ 2: การต่อยอด โครงการพ่อแม่นักเล่น 

นำเนื้อหา 30 กิจกรรมที่ได้ผ่านการอบรมเชิงปฎิบัติการกับพ่อแม่กลุ่มเป้าหมาย ไปให้บริการกับกลุ่มพ่อแม่จากทั่วประเทศผ่านทาง LINE@lukthamdai จำนวน 5,000 ครอบครัว  เพื่อเป็นการสร้างทักษะการเป็นพ่อแม่นักเล่น เพื่อพัฒนาการลูกสมวัย 

ผู้รับผิดชอบโครงการ


กิจกรรมเชิงปฎิบัติการกับพ่อแม่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการลูก จำนวน 15 ครอบครัว

26 เมษายน 2023

พ่อแม่เป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็ก ช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร และความสามารถของเด็ก ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย และได้รับความปลอดภัยในระหว่างการเล่น ผ่านกิจกรรมการเล่นจำนวน 30 กิจกรรม

เพื่อเป็นกิจกรรมการเล่นต้นแบบเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผ่านทางบริการบนแพลทฟอร์ม Line@lukthadmai ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้า) 

รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบการอบรมเชิงปฎิบัติการ ให้กับพ่อแม่กลุ่มเป้าหมาย มีจำนวน 3 ครั้ง 

  1. กิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 9.00 -12.00 ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลบางยอ (วัดบางกะเจ้า) ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการบรรยายและการจัดกิจกรรมเชิงปฎิบัติการให้พ่อแม่ได้ฝึกทักษะการส่งเสริมพัฒนาการด้วยการเล่น เช่น การเก็บของเล่น การใส่เสื้อผ้า การอ่านนิทาน เป็นต้น โดยทีมงานของลูกทำได้ ดำเนินกิจกรรมตามลำดับดังนี้
    ● การบรรยายในหัวข้อ “ ความสำคัญของบทบาทของพ่อแม่ที่มีต่อการติดตามพัฒนาการเด็กในช่วงวัยแรกเกิดถึง 7 ปี ” โดยคุณ ปรียสรณ์ อาศรัยราษฎร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ลูกทำได้ จำกัด 
    ● กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ แบ่งกลุ่มพ่อแม่ตามช่วงวัยของลูก เพื่อฝึกทักษะการเล่นกับลูกผ่านทางกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัย 

    ตัวอย่างกิจกรรมการฝึกทักษะ 

  2. กิจกรรมครั้งที่ 2 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผ่านทาง Zoom Application ซึ่งเป็นการติดตามผลการนำทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า
    ● พ่อแม่มีความเข้าใจถึงความสำคัญของกิจกรรมในแต่ละวันว่ามีความสอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างไร
    ● ปัญหาที่พบคือพ่อแม่รู้สึกขัดเขินในการพูดขื่นชม และยังมีส่วนชี้นำในการเล่นของลูกมากเกินไป แนวทางแก้ปัญหา 
    ● แสดงความชื่นชม และให้กำลังใจในทักษะที่พ่อแม่ทำได้ดี
    ● ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเทคนิคในการชื่นชม 
  3. กิจกรรมครั้งที่ 3 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผ่านทาง Zoom Application เวลา 9.00 - 10.30 น. โดยดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ
    ● กิจกรรมการบรรยายในหัวข้อ “การสื่อสารในเชิงบวก” โดยคุณปรียสรณ์ อาศรัยราษฎร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ลูกทำได้ จำกัด ซึ่งการเลือกหัวข้อในการบรรยายในครั้งนี้เป็นการปรับหัวข้อตามความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีเนื้อหาหลัก ดังนี้ 

    ● กิจกรรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อให้พ่อแม่ได้ฝึกทักษะการคุยกับลูกเชิงบวก

    ผลลัพธ์จากกิจกรรม : พ่อแม่ได้รับแนวทางและการฝึกทักษะในการสื่อสารเชิงบวก เพื่อช่วยให้การทำกิจกรรมกับลูกได้รับความร่วมมือมากขึ้น
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ ปกติไม่ได้สนใจเรื่องพัฒนาการลูกเท่าไหร่ ก็ดูเทียบๆกับเด็กแถวบ้านว่ามีอะไรที่ทำได้แล้วบ้าง แต่พอลองมาร่วมกิจกรรมก็เข้าใจมากขึ้นว่าต้องตามพัฒนาการลูกทั้ง 5 ด้าน ต้องดูให้ครบทุกด้าน เช่นก่อนหน้านี้ไม่เข้าใจอารมณ์ลูก ก็รู้สึกว่าเค้างอแงเยอะ แต่ตอนนี้ก็เข้าใจมากขึ้น ก็พยายามลองทำตามวิธีการส่งเสริมพัฒนาการลูกให้บ่อยขึ้นค่ะ ” คุณส้ม ลูกอายุ ช่วงวัย 2 -3 ปี 

“ ลูกยิ่งโตก็ยิ่งเข้าใจยากขึ้น บางทีเราดุเค้าบ่อย ยิ่งดุลูกก็ยิ่งงอแง ตอนคุณครูมาชวนแม่ให้ร่วมกิจกรรมก็เลยสนใจนะคะ เพราะไม่รู้จะสอนลูกอย่างไง พอไปเข้าร่วมกิจกรรมก็ไม่ผิดหวังค่ะ ชอบตรงที่ให้แม่ได้ลงมือทำด้วย ไม่ใช้มานั่งฟังอย่างเดียว ถ้ามีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ ก็น่าจะดี แม่จะได้มีแนวทางเพิ่มขึ้น อย่างตอนนี้ก็ลองใช้วิธีเล่นไม่ใช่สอน ลูกก็ดูเหมือนจะให้ความร่วมมือดีขึ้น ส่วนสิ่งที่อยากให้ปรับปรุงคือ อยากให้มีตัวอย่างหลากหลายขึ้น เพราะเด็กๆแต่ละบ้านก็ไม่เหมือนกัน ” คุณแม่ไยใหม ลูกอายุ ช่วงวัย 5 ปี

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ผลลัพธ์ที่ได้รับ
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงวัย 2 - 7 ขวบ 15 ครอบครัว 
  1. สนับสนุนให้พ่อแม่ได้รู้จักเครื่องมือในการวัดระดับพัฒนาการของลูกได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
  2. พ่อแม่เกิดความเข้าใจถึงบทบาทความสำคัญของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กต่อการมีพัฒนาการสมวัยของเด็ก
  3. พ่อแม่เกิดทักษะความสามารถในการต่อยอดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการลูกสมวัยผ่านทางการเล่นในชีวิตประจำวันได้
พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กทั่วประเทศพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กที่ลงทะเบียนใช้บริการ Line@lukthamdai 84 users
  1. ทดลองวิธีในการส่งเสริมพัฒนาการลูกให้สมวัยผ่านทางกิจกรรมการเล่นในชีวิตประจำวัน ในรูปแบบข้อความผ่านทาง Line@lukthamdai 
รูปภาพกิจกรรม




แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม 30 กิจกรรมการเล่นต้นแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก 30 กิจกรรม 30,000.00
2 ค่าใช้จ่ายในการใช้สถานที่ อาหารว่าง และสื่อการเรียนการสอน สำหรับพ่อแม่และเด็กจำนวน 15 ครอบครัว 15 ครอบครัว 20,000.00
3 ค่าใช้จ่ายในการถ่ายวิดีโอและตัดต่อเพื่อนำมาขยายผลการเข้าถึงบริการผ่านแอพพลิเคชั่น Line@lukthamdai 1 ทีม 25,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
75,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
7,500.00

ยอดระดมทุน
82,500.00