project โควิด-19 เทคโนโลยี กลุ่มคนเปราะบาง

กองทุนนวัตกรรมเพื่อวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาไวรัสโควิด19 และไวรัสอื่นๆในอนาคต

กองทุนเพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่มีไอเดียที่จะทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์เพื่อสู้ภัยโควิด19 หรือไวรัสตัวอื่นๆในอนาคตได้มีเงินทุนในการริเริ่มค้นคว้า 5 อันดับแรกจะได้รับเงินทีมละ 200,000 บาทไปพัฒนานวัตกรรม

ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ไทย

ยอดบริจาคขณะนี้

237,116 บาท

เป้าหมาย

1,100,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 22%
จำนวนผู้บริจาค 43

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบทุนสนับสนุน นวัตกรผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2

5 พฤศจิกายน 2020

จากการระดมทุน โครงการกองทุนนวัตกรรมเพื่อวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาไวรัสโควิด19 และไวรัสอื่นๆ ในอนาคต ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ ได้คัดเลือกการสนับสนุนนวัตกร จำนวน 1 ราย คือ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งจัดทำโครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทย

ปัญหาและที่มา

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ทำให้เกิดการล็อคดาวน์ในประเทศขึ้น ทำให้สถานการณ์ในประเทศไทยดีขึ้นไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศกว่า 100 วัน แต่อย่างไรก็ตามช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเกิดขึ้นทำให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในสังคมอีกครั้ง

จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้โดยตรง และถึงแม้จะมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าประเทศไทยจะได้รับวัคซีนเมื่อใด

ประเทศไทยยังไม่มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศมาก่อน แต่การพัฒนาวัคซีนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการต่อยอดวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของระบบสาธารณสุขของประเทศได้

แนวทางการแก้ปัญหา

เพื่อเป็นการทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องสามารถพัฒนาองค์ความรู้และสร้างระบบที่เอื้ออำนวยส่งเสริมให้นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเองได้แทนการพัฒนาต่อยอดวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศ

รูปแบบของโครงการ

โครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทยโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เริ่มทำการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มาตั้งแต่เดือนมีนาคม นับตั้งแต่เชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ระบาด โดยการถอดรหัสข้อมูลพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 และผลิตโดยใช้พืช จากนั้นจะดำเนินการทดลองในสัตว์ทดลองเพื่อดูว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันตอบสนองหรือไม่ ก่อนเข้าทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป

การดำเนินการ


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เนื่องจากสถานการ์ไวรัสร้ายโควิด19 ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากมาย และอุปกรณ์ที่ไว้ป้องกันมีราคาสูงมาก จนทำให้โรงพยาบาลและผู้ป่วยไม่สามารถที่จะซื้อได้อย่างพอเพียง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยมีแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ หรือ บุคลการที่มีความสามารถและเป็นนวัตรกรของประเทศไทย แต่การที่จะเริ่มวิจัยเทคโนโลยีการแพทย์ ต้องอาศัยเงินทุนในการริเริ่ม ซึ่งกองทุนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ประเทศไทย ได้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการแพทย์ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด19 และตัวอื่นๆในอนาคต

กองทุนนี้เริ่มต้นจากความคิดของ รศ.นพ. ปรัญญา สากิยลักษณ์ ศัลยแพทย์ หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาตร์ รพ.ศิริราช และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโควิด คนหนึ่งของประเทศไทย ที่มีผลงานทางวิชาการ และเพื่อนๆที่เป็นวิศวกร จาก บริษัทชื่อดัง ที่เห็นถึงปัญหาของนวัตกร และพร้อมที่จะเป็นแรงผลักดันในการคิดค้นและวิจับ โดยมี แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บ.กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เป็นคนที่ผลักดันและเป็นคณะกรรมการพิจารณาสนับสนุนให้กับแต่ละนวัตกรที่เสนอโครงการมา

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

กองทุนจะให้การสนับสนุนจำนวน 5 โครงการๆละไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในค้นคว้าและวิจัย โดยกองทุนมีระยะเวลาดังต่อไปนี้
  1. เปิดให้นวัตกรเสนอโครงการ 1 พ.ค.63 – 31 ต.ค.63
  2. ทีมนำเสนอโปรเจค ทุกๆวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน ตั้งแต่ เดือน พ.ค. 63 เป็นต้นไป จนกว่าจะสนับสนุนครบ 5 โครงการ
  3. ประกาศทีมสนับสนุนทุกๆวันที่ 5 ของเดือนตั้งแต่ มิ.ย. 63 เป็นต้นไป

*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ระดมได้*

ประโยชน์ของโครงการ

ประเทศไทยจะได้ 5 โครงการสำหรับเทคโนโลยีการแพทย์ที่สู้ภัยกับไวรัสโควิด19 และตัวอื่นๆในอนาคต

สมาชิกภายในทีม

1. แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บ.กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ประธานกรรมการ

2. รศ.นพ. ปรัญญา สากิยลักษณ์ ศัลยแพทย์ หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาตร์ รพ.ศิริราช FB: Pranya Sakiyalak

3. นพ สิชน ลือฤทธิพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม Value Driven Care unit สังกัด สำนักงานผู้อำนวยการ 

4.รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย

5. กัมปนาท วิมลโนท Head of Investment and Strategic Partnership บ.กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เลขาคณะกรรมการ kampanat.vi@gmail.com

มอบทุนสนับสนุน นวัตกรผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2

5 พฤศจิกายน 2020

จากการระดมทุน โครงการกองทุนนวัตกรรมเพื่อวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการรักษาไวรัสโควิด19 และไวรัสอื่นๆ ในอนาคต ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ ได้คัดเลือกการสนับสนุนนวัตกร จำนวน 1 ราย คือ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งจัดทำโครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทย

ปัญหาและที่มา

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ทำให้เกิดการล็อคดาวน์ในประเทศขึ้น ทำให้สถานการณ์ในประเทศไทยดีขึ้นไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศกว่า 100 วัน แต่อย่างไรก็ตามช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเกิดขึ้นทำให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในสังคมอีกครั้ง

จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้โดยตรง และถึงแม้จะมีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ได้ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าประเทศไทยจะได้รับวัคซีนเมื่อใด

ประเทศไทยยังไม่มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศมาก่อน แต่การพัฒนาวัคซีนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการต่อยอดวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของระบบสาธารณสุขของประเทศได้

แนวทางการแก้ปัญหา

เพื่อเป็นการทำให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องสามารถพัฒนาองค์ความรู้และสร้างระบบที่เอื้ออำนวยส่งเสริมให้นักวิจัยไทยพัฒนาวัคซีนขึ้นมาเองได้แทนการพัฒนาต่อยอดวัคซีนต้นแบบจากต่างประเทศ

รูปแบบของโครงการ

โครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ตั้งแต่ต้นน้ำในประเทศไทยโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เริ่มทำการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 มาตั้งแต่เดือนมีนาคม นับตั้งแต่เชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ระบาด โดยการถอดรหัสข้อมูลพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 และผลิตโดยใช้พืช จากนั้นจะดำเนินการทดลองในสัตว์ทดลองเพื่อดูว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันตอบสนองหรือไม่ ก่อนเข้าทำการทดสอบในมนุษย์ต่อไป

การดำเนินการ


แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนบาท
1.เงินสนับสนุนการทำนวัตกรรม51,000,000
2.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

100,000
รวม
1,100,000