ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 3 ภูมิภาคในประเทศไทย

ครัวรักษ์อาหาร เป็นครัวชุมชนเพื่อชุมชนที่รับวัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากระบบตลาด แต่ยังมีคุณภาพดี สามารถรับประทานได้ แทนที่จะถูกนำไปทิ้ง เรากลับนำมาปรุงสุกใหม่ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากโควิด-19 กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำ ทั้งนี้ครัวรักษ์อาหารได้ให้ความช่วยเหลือผู้เปราะบางในชุมชนต่างๆ ไปแล้วกว่า 150 ชุมชนทั่วประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประชากรกว่า 600,000 คน ด้วยปริมาณมื้ออาหารจำนวนกว่า 1.6 ล้านมื้อ โดยโครงการครัวรักษ์อาหารในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในทั้ง 3 ภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯและปริมณฑล ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่ โดยจะมีประชากรผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 30,000 คนต่อเดือน และได้รับการสนับสนุนอาหารอย่างน้อย 1 มื้อตลอดโครงการ
ระยะเวลาโครงการ 20 พ.ค. 2565 ถึง 31 ม.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล , เชียงใหม่ , ประจวบคีรีขันธ์
ยอดบริจาคขณะนี้
81,380 บาทเป้าหมาย
1,188,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 3 ภูมิภาค จำนวน 12,117 มื้อ
ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 3 ภูมิภาคในประเทศไทย มีผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 12,117 คน ในระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงเดือนมกราคม 2566
- ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 600 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
- ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 500 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน
- ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 400 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน
ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือชุมชน 3 ภูมิภาคตลอดแคมเปญ
รายชื่อครัวรักษ์อาหาร | มื้ออาหารรวม |
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล | 5,367 |
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 3,680 |
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ | 3,070 |
มื้ออาหารรวม | 12,117 |
รวมทั้งสิ้นมูลนิธิ ฯ ได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 3 ภูมิภาค ทั้งหมด 12,117 มื้อ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล
นางสุนันทา สุนทรสมัย (อุ้ย) แกนนำจัดตั้งครัวรักษ์อาหารบางพลัด
ครัวรักษ์อาหารบางพลัด ร่วมกับมูลนิธิเอสโอเอสมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งเเต่สถานการณ์โควิดจนปัจจุบัน เพื่อปรุงอาหารจากวัตถุดิบที่ได้รับจากมูลนิธิ เป็นมื้ออาหาร "1 อิ่ม 1 มื้อ" ให้กับคนในชุมชนผู้มีรายได้น้อย ในเขตบางพลัดจำนวน 22 ชุมชน ประมาณ ทั้งหมด 1,110 ครอบครัว โดยมีทีมเเม่ครัวอาสา 8 คน และทีมงานอาสาสมัครช่วยกระกระจายอาหาร รวม 12 คน
ความประทับใจที่ได้ร่วมโครงการ คือ ก่อนทราบจาก พอช. CODI ว่ามูลนิธิ ฯ มีการบริจาคอาหารผักสด และอาหารต่าง ๆ เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระ ช่วยเหลือชาวบ้านผู้ยากไร้ พอได้เข้าร่วม ก็รู้สึกว่า ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ช่วยเหลือ คนมีรายได้น้อย แล้วทำให้รู้สึกว่าอาหารที่ได้รับมีคุณค่ากับคนในชุมชน บางครั้งอาหารที่ได้มา บางคนไม่เคยกิน เพราะปกติมีรายได้ไม่เพียงพอ ที่จะซื้อกินอยู่แล้ว คุณภาพชีวิตที่ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว มีอาหารดีๆกิน ในช่วงโควิดเป็นภาวะที่ลำบากมาก การจัดการในชุมชนก็ลำบาก พอได้อาหารที่ได้รับก็ได้แบ่งปันให้กับผู้มีรายได้น้อย บ้านเช่า ชุมชนแออัด คนไร้บ้าน กลุ่มเปราะบาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอาหารจากครัวรักษ์อาหารบางพลัด อาหารช่วยเติมใจให้เขาอิ่มหนึ่งมื้อ แต่ละมื้อคือความสุขของคนที่ได้รับ เวลาที่ไปแจกเขากินตรงนั้นเลย สุดยอดของความอร่อย รอยยิ้มคือรางวัลที่มีค่าที่สุด ที่เป็นแรงผลักดันให้ไม่หยุดในการทำครัวรักษ์อาหาร
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายบรรลือศักดิ์ สงกา (ป๋อม) ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
อาหาร ที่ทางมูลนิธิ SOS หัวหิน มาส่งให้ ซึ่งเป็นอาหารที่มาจากห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ได้ช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนตำบลบึงนคร ได้แก่ ผู้ที่มีรายได้น้อย กลุ่มคนในตำบลที่ตกงาน และได้รับผลกระทบระยะยาวจากโรคระบาด กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้ที่มีรายได้ต่ำเนื่องจากมีอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ เด็กนักเรียน รวมถึงผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในพื้นที่ด้วย
นอกจากนี้ ในการรับการสนับสนุนในโครงการครัวรักษ์อาหาร ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร สามารถนำวัตถุดิบมาประกอบอาหาร นอกจากจะสามารถช่วยลดภาระและความกังวลในการจัดการค่าใช้จ่ายแล้ว วัตถุดิบที่ได้รับบริจาคนั้นยังมีคุณภาพดี ทำให้ชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และคุณภาพดีเช่นกันอีกด้วย
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่
นางสุกัญญา เพลาแก้ว (อ้อย) แพทย์ประจำ โรงพยาบาลประจำตำบลบ้านเจ็ดยอด อำเภอเมือง เชียงใหม่
ความรู้สึกก่อนร่วมโครงการ ตอนที่ผู้ประสานติดต่อเข้ามา (คุณเอิร์ธ) ก็คิดว่าเป็นโครงการที่ดีที่จะนำอาหารมามอบให้ชุมชน แต่ก็ยังไม่เห็นภาพว่าจะเป็นแบบไหน แต่พอหลังจากร่วมโครงการรู้สึกดีใจที่ SOS (คุณบอมบ์และทีมเชียงใหม่) ได้นำอาหารมามอบให้ชุมชน ขอบคุณมาก ๆ ที่ทำให้คนในชุมชนได้รับอาหารดีๆ มีขนมทาน ได้ทานผักผลไม้ดี ถึงจะเป็นอาหารที่รอจำหน่ายออก แต่ก็เป็นอาหารที่สามารถทานได้ และยังเป็นอาหารที่หลาย ๆ คน รอคอย ขอบคุณ SOS ที่นำสิ่งดี ๆ มามอบให้คนในชุมชน สิ่งที่ได้รับมากกว่าอาหารคือ เราได้กัลยาณมิตร
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
กลุ่มคนเปราะบาง | กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเชียงใหม่ | 12,117 | ช่วยเหลือชุมชนรายได้น้อย ชุมชนที่ตกงานหรือชุมชนที่สูญเสียงานประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการลดรายจ่ายค่าอาหาร และช่วยเหลือชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ โดยการส่งอาหารปรุงสุกใหม่ผ่านโครงการของครัวรักษ์อาหารในช่วงเศรษฐกิจซบเซาในขณะนี้ |
รูปภาพกิจกรรม
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล
ภาพ : หัวหน้าอาสาสมัครพัฒนาชุมชนเขตบางกอกน้อยและอาสาสมัครร่วมกันขนอาหารปรุงสุกเพื่อเตรียมนำแจกให้กับชาวบ้านชุมชนวัดรวก
ภาพ : อาสาสมัครชุมชนนางเลิ้งกำลังสอนอาสาสมัครจากประเทศฟิลิปปินส์ประกอบอาหารปรุงสุกในเมนูแกงส้ม เผยแพร่ตำรับอาหารไทยจากวัตถุดิบส่วนเกินให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาพ : SOS สาขาหัวหินสนับสนุนวัตถุดิบส่วนเกินและร่วมประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายชาวบ้านในตำบลหินเหล็กไฟ
ภาพ : วัตถุดิบส่วนเกินจำนวนมาก อาทิ ข้าวสาร ปลากระป๋อง และกะทิ ได้ถูกนำไปประกอบอาหารปรุงสุกแจกจ่ายให้กับคุณครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินพยอม
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่
ภาพ : SOS สาขาเชียงใหม่ ร่วมประกอบอาหารกับกลุ่ม Food Not Bombs เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับคนไร้บ้านบริเวณริมทางรถไฟ
ภาพ : ครัวรักษ์อาหารในพื้นที่ห่างไกลที่ชุมชนบ้านหนองปิด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ความขาดแคลนอาหารช่วงวิกฤตโควิด-19 และปัญหาขยะอาหาร
สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดผลกระทบอย่างยาวนานมาตั้งแต่ปี 2019 มาจนถึงปัจจุบัน และยังมีทีท่าว่าสถานการณ์จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจไม่มีความรุนแรงเท่าเดิม แต่ยังคงไม่หายไปในเร็ววันอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกลุ่มชุมชนเปราะบางหรือรายได้น้อย ที่อาจต้องกักตัวเนื่องจากสภาวะการระบาดในแต่ละรอบ และอยู่ในสถานะที่ยังไม่สามารถหารายได้เลี้ยงชีพและครอบครัวตามปกติได้ กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อการขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากการขาดรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว
อีกทั้งเราพบว่าร้อยละ 64 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อปีนั้นคือขยะอาหาร ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยอาหารส่วนเกินจำนวนมากที่ภาคธุรกิจไม่สามารถนำมาขายได้แล้วถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย และกลายเป็นขยะอาหารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งที่จริงแล้วอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ เพียงแต่เป็นปริมาณส่วนเกินในระบบตลาดเท่านั้น ในขณะเดียวกันยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามาถเข้าถึงอาหารคุณภาพดีเหล่านี้ได้ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้เปราะบางที่กล่าวไปข้างต้น
แนวทางการแก้ไข
โครงการครัวรักษ์อาหาร เป็นหนึ่งในโครงการของทางมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ที่ให้อาสาสมัครจากชุมชน และอาสาสมัครภายนอก มาร่วมกันปรุงอาหารจากอาหารส่วนเกินที่ได้รับบริจาคมาให้เป็นเมนูอาหารใหม่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และถูกหลักอนามัย เพื่อส่งต่อให้กับคนในชุมชนที่ขาดแคลนอาหารตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้อาหารส่วนเกินทุกชนิด ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของอาสาสมัคร ให้เป็นเมนูอาหารที่ชุมชนคุ้นเคย โดยนอกจากคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังคำนึงถึงรสชาติเพื่อเพิ่มความสุขให้กลุ่มผู้ที่ได้รับอาหารอีกด้วย
ที่ผ่านมาครัวรักษ์อาหารได้ให้ความช่วยเหลือผู้เปราะบางในชุมชนต่างๆ ไปแล้วกว่า 150 ชุมชนทั่วประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประชากรกว่า 600,000 คน ด้วยปริมาณมื้ออาหารจำนวนกว่า 1.6 ล้านมื้อ
เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมลดปัญหาขยะอาหารจากอาหารส่วนเกิน โครงการครัวรักษ์อาหารของมูลนิธิฯ จึงเกิดขึ้น โดยการสร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกินซึ่งก็คือ “อาหารส่วนที่เกินจากความต้องการของตลาด” ไปยังกลุ่มผู้เปราะบางต่างๆ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผ่านการวางแผนระบบการขนส่งอาหารจากกลุ่มผู้บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารในระบบตลาดไปยังครัวชุมชนรอบจังหวัดกรุงเทพฯและปริมณฑล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปประกอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และท้ายที่สุดนำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร
ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ด้านสังคม
- บรรเทา เยียวยา คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเปราะบางในการเข้าถึงอาหารที่ดี ถูกหลักโภชนาการอย่างเท่าเทียม
- การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารแก่กลุ่มผู้ขาดแคลน
- สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในสภาวะเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
ด้านสิ่งแวดล้อม
- ลดปัญหาขยะอาหารในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารในประเทศไทย
- การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากอาหารส่วนเกิน
แนวการต่อยอดโครงการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการรักษ์อาหารไปได้อย่างต่อเนื่อง ทางมูลนิธิฯจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการรับและการบริจาคอาหาร รวมไปถึงการได้รับเงินสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่างๆซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะชี้วัดการดำรงอยู่ของโครงการให้คงอยู่ต่อไป
แนวทางการต่อยอดโครงการในอนาคตนั้นจะเกิดเป็นรูปแบบการเปิดรับอาสาสมัครจากภาคองค์กรเอกชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และได้ทำความเข้าใจชุมชนมากขึ้น
นอกจากนี้เพื่อหาโอกาสขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับบริจาคสินค้าอาหารส่วนเกินมากขึ้น และการเปิดรับบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการมากขึ้น เพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุก ๆ วันโดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
- ระบบจัดการผู้รับบริจาคอาหาร หรือชุมชนผู้รับ
- ระบบการรับบริจาคอาหารส่วนเกิน ในส่วนของโครงการครัวรักษ์อาหารนั้นเป็นโครงการส่วนขยายจากโครงการรักษ์อาหาร ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินงานของครัวรักษ์อาหารจึงมีดังนี้
- ติดต่อหัวหน้าชุมชนที่เป็นผู้รับบริจาคอาหารจากทางมูลนิธิฯอยู่แล้ว และมีความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินเป็นอย่างดี เพื่อแนะนำให้เปิดครัวชุมชนเพื่อช่วยเหลือชุมชนในพื้นที
- ตรวจสอบความพร้อมของชุมชนว่ามีสถานที่ และอุปกรณ์ในการจัดตั้งครัวชุมชนครบครันหรือไม่ หากมีความพร้อมเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทางอาหารของมูลนิธิฯจะเข้าไปแนะนำการจัดตั้ง และความปลอดภัยให้กับชุมชน
- ประสานงานกับทีมรถรับบริจาคอาหารส่วนเกินเพื่อนำวัตถุดิบส่วนหนึ่งมาส่งให้กับครัวในวันที่นัดหมายไว้
- รวบรวมอาสาสมัครทั้งภายในชุมชน และบุคคลภายนอกเพื่อจัดเตรียมการทำครัว
- ประสานงานกับหัวหน้าชุมชนเพื่อจัดเตรียมจำนวนผู้รับอาหารที่มีความเดือนร้อน และจัดเตรียมด้านการสื่อสาร
- เมื่อถึงวันนัดหมาย อาสาสมัครร่วมทำอาหารด้วยกัน
- เมื่อทำอาหารเสร็จแล้วอาสาสมัครจึงลงพื้นที่นำไปแจกจ่ายให้กับชุมชน
- อาสาสมัครกลับมาที่ครัวเพื่อช่วยกันจัดเก็บ ทำความสะอาดครัวด้วยกัน
ครัวรักษ์อาหารดูแลกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ภายในกรุงเทพฯและปริมณฑล ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่ รวมประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งหมด 30,000 คน ต่อเดือน คนในชุมชมเหล่านี้ บางส่วนนอกจากจะมีรายได้น้อยแล้ว ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แม่และเด็ก ผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือถึงแม้ว่ากลุ่มคนบางกลุ่มจะยังมีงานทำแต่ก็ถูกลดเงินเดือนลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนปกติ
มูลนิธิฯจึงต้องการเข้าไปสนับสนุนการทำครัวของชุมชนและจัดตั้งเป็นครัวรักษ์อาหาร ทำให้ชุมชนมีวัตถุดิบในการปรุงอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และเป็นช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของคนในชุมชน มีโอกาสได้ใช้ “อาหาร” เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงคนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และหน่วยงานเข้าด้วยกัน กลุ่มอาสาในชุมชนส่วนใหญ่มีภูมิปัญญาและทักษะการทำอาหาร ครัวรักษ์อาหารเปิดโอกาสให้วัฒนธรรมด้านอาหารเป็นเครื่องมือที่ชักชวนคนในชุมชน ผู้สูงอายุ และครูภูมิปัญญา มาร่วมกันทำอาหาร ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ โดยการได้พบปะสังสรรค์ และรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่ได้รับการบริจาคมาด้วยกัน
สร้างการมีส่วนร่วมให้การส่งต่ออาหารอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีอาหารเพียงพอเพื่อให้เกิดการลดรายจ่าย เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของชุมชน และให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง
ครัวรักษ์อาหาร จะมีจำนวนครั้งของการทำอาหารเพื่อมอบอาหาร 1 มื้อ/คน/ครั้งดังนี้
- กรุงเทพมหานคร (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 6,000 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
- ปริมณฑล (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 3,000 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
- เชียงใหม่ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 500 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
- ประจวบคีรีขันธ์ (มีประชากรได้รับความช่วยเหลือ 500 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
รวมทั้งสิ้น 10,000 คน หรือ 30,000 มื้อ/เดือน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ดำเนินโครงการโดยมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร และสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหารภายในประเทศไทยโดยการใช้ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเข้าไปรับอาหารส่วนเกิน (อาหารไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว เช่น อาหารหน้าตาไม่สวย หรือใกล้ถึงวันหมดอายุ) จากซูเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม ร้านอาหาร หรือโรงงานผลิตอาหาร เพื่อนำไปส่งต่อให้กับชุมชนรายได้ต่ำที่มีข้อจำกัดในการได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอในแต่ละวัน
ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายจิตอาสาในชุมชน และภาคีผู้บริจาคอาหารมากกว่า 400 แห่ง ยกตัวอย่างเช่น Lotus, Tops Supermarket, Central Food Hall, BigC, โรงแรมในเครือ Hilton, โรงแรมในเครือ Marriott, โรงงานผลิตอาหาร, และผู้ประกอบการด้านอาหารอีกมากมาย

Facebook: https://web.facebook.com/sosfoundationthai
Website: https://th.scholarsofsustenance.org/
ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 3 ภูมิภาค จำนวน 12,117 มื้อ
ครัวรักษ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือชุมชน ทั้ง 3 ภูมิภาคในประเทศไทย มีผู้ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น 12,117 คน ในระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงเดือนมกราคม 2566
- ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 600 คน) จำนวน 3 ครั้ง/เดือน
- ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 500 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน
- ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ (ประชากรที่ได้รับความช่วยเหลือ 400 คน) จำนวน 2 ครั้ง/เดือน
ตารางแสดงจำนวนมื้ออาหารที่ช่วยเหลือชุมชน 3 ภูมิภาคตลอดแคมเปญ
รายชื่อครัวรักษ์อาหาร | มื้ออาหารรวม |
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล | 5,367 |
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | 3,680 |
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่ | 3,070 |
มื้ออาหารรวม | 12,117 |
รวมทั้งสิ้นมูลนิธิ ฯ ได้ส่งต่อมื้ออาหารให้แก่ชุมชนทั้ง 3 ภูมิภาค ทั้งหมด 12,117 มื้อ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล
นางสุนันทา สุนทรสมัย (อุ้ย) แกนนำจัดตั้งครัวรักษ์อาหารบางพลัด
ครัวรักษ์อาหารบางพลัด ร่วมกับมูลนิธิเอสโอเอสมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งเเต่สถานการณ์โควิดจนปัจจุบัน เพื่อปรุงอาหารจากวัตถุดิบที่ได้รับจากมูลนิธิ เป็นมื้ออาหาร "1 อิ่ม 1 มื้อ" ให้กับคนในชุมชนผู้มีรายได้น้อย ในเขตบางพลัดจำนวน 22 ชุมชน ประมาณ ทั้งหมด 1,110 ครอบครัว โดยมีทีมเเม่ครัวอาสา 8 คน และทีมงานอาสาสมัครช่วยกระกระจายอาหาร รวม 12 คน
ความประทับใจที่ได้ร่วมโครงการ คือ ก่อนทราบจาก พอช. CODI ว่ามูลนิธิ ฯ มีการบริจาคอาหารผักสด และอาหารต่าง ๆ เพื่อที่จะแบ่งเบาภาระ ช่วยเหลือชาวบ้านผู้ยากไร้ พอได้เข้าร่วม ก็รู้สึกว่า ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ช่วยเหลือ คนมีรายได้น้อย แล้วทำให้รู้สึกว่าอาหารที่ได้รับมีคุณค่ากับคนในชุมชน บางครั้งอาหารที่ได้มา บางคนไม่เคยกิน เพราะปกติมีรายได้ไม่เพียงพอ ที่จะซื้อกินอยู่แล้ว คุณภาพชีวิตที่ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว มีอาหารดีๆกิน ในช่วงโควิดเป็นภาวะที่ลำบากมาก การจัดการในชุมชนก็ลำบาก พอได้อาหารที่ได้รับก็ได้แบ่งปันให้กับผู้มีรายได้น้อย บ้านเช่า ชุมชนแออัด คนไร้บ้าน กลุ่มเปราะบาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอาหารจากครัวรักษ์อาหารบางพลัด อาหารช่วยเติมใจให้เขาอิ่มหนึ่งมื้อ แต่ละมื้อคือความสุขของคนที่ได้รับ เวลาที่ไปแจกเขากินตรงนั้นเลย สุดยอดของความอร่อย รอยยิ้มคือรางวัลที่มีค่าที่สุด ที่เป็นแรงผลักดันให้ไม่หยุดในการทำครัวรักษ์อาหาร
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายบรรลือศักดิ์ สงกา (ป๋อม) ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร
อาหาร ที่ทางมูลนิธิ SOS หัวหิน มาส่งให้ ซึ่งเป็นอาหารที่มาจากห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ได้ช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนตำบลบึงนคร ได้แก่ ผู้ที่มีรายได้น้อย กลุ่มคนในตำบลที่ตกงาน และได้รับผลกระทบระยะยาวจากโรคระบาด กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้ที่มีรายได้ต่ำเนื่องจากมีอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ เด็กนักเรียน รวมถึงผู้ปกครองของเด็กนักเรียนในพื้นที่ด้วย
นอกจากนี้ ในการรับการสนับสนุนในโครงการครัวรักษ์อาหาร ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบึงนคร สามารถนำวัตถุดิบมาประกอบอาหาร นอกจากจะสามารถช่วยลดภาระและความกังวลในการจัดการค่าใช้จ่ายแล้ว วัตถุดิบที่ได้รับบริจาคนั้นยังมีคุณภาพดี ทำให้ชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และคุณภาพดีเช่นกันอีกด้วย
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่
นางสุกัญญา เพลาแก้ว (อ้อย) แพทย์ประจำ โรงพยาบาลประจำตำบลบ้านเจ็ดยอด อำเภอเมือง เชียงใหม่
ความรู้สึกก่อนร่วมโครงการ ตอนที่ผู้ประสานติดต่อเข้ามา (คุณเอิร์ธ) ก็คิดว่าเป็นโครงการที่ดีที่จะนำอาหารมามอบให้ชุมชน แต่ก็ยังไม่เห็นภาพว่าจะเป็นแบบไหน แต่พอหลังจากร่วมโครงการรู้สึกดีใจที่ SOS (คุณบอมบ์และทีมเชียงใหม่) ได้นำอาหารมามอบให้ชุมชน ขอบคุณมาก ๆ ที่ทำให้คนในชุมชนได้รับอาหารดีๆ มีขนมทาน ได้ทานผักผลไม้ดี ถึงจะเป็นอาหารที่รอจำหน่ายออก แต่ก็เป็นอาหารที่สามารถทานได้ และยังเป็นอาหารที่หลาย ๆ คน รอคอย ขอบคุณ SOS ที่นำสิ่งดี ๆ มามอบให้คนในชุมชน สิ่งที่ได้รับมากกว่าอาหารคือ เราได้กัลยาณมิตร
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
กลุ่มคนเปราะบาง | กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชนรายได้ต่ำที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเชียงใหม่ | 12,117 | ช่วยเหลือชุมชนรายได้น้อย ชุมชนที่ตกงานหรือชุมชนที่สูญเสียงานประจำ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการลดรายจ่ายค่าอาหาร และช่วยเหลือชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ โดยการส่งอาหารปรุงสุกใหม่ผ่านโครงการของครัวรักษ์อาหารในช่วงเศรษฐกิจซบเซาในขณะนี้ |
รูปภาพกิจกรรม
ครัวรักษ์อาหารในกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล
ภาพ : หัวหน้าอาสาสมัครพัฒนาชุมชนเขตบางกอกน้อยและอาสาสมัครร่วมกันขนอาหารปรุงสุกเพื่อเตรียมนำแจกให้กับชาวบ้านชุมชนวัดรวก
ภาพ : อาสาสมัครชุมชนนางเลิ้งกำลังสอนอาสาสมัครจากประเทศฟิลิปปินส์ประกอบอาหารปรุงสุกในเมนูแกงส้ม เผยแพร่ตำรับอาหารไทยจากวัตถุดิบส่วนเกินให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาพ : SOS สาขาหัวหินสนับสนุนวัตถุดิบส่วนเกินและร่วมประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายชาวบ้านในตำบลหินเหล็กไฟ
ภาพ : วัตถุดิบส่วนเกินจำนวนมาก อาทิ ข้าวสาร ปลากระป๋อง และกะทิ ได้ถูกนำไปประกอบอาหารปรุงสุกแจกจ่ายให้กับคุณครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินพยอม
ครัวรักษ์อาหารในจังหวัดเชียงใหม่
ภาพ : SOS สาขาเชียงใหม่ ร่วมประกอบอาหารกับกลุ่ม Food Not Bombs เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับคนไร้บ้านบริเวณริมทางรถไฟ
ภาพ : ครัวรักษ์อาหารในพื้นที่ห่างไกลที่ชุมชนบ้านหนองปิด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | การประกอบอาหารในครัวรักษ์อาหารจำนวนเดือนละ 30,000 มื้อ (ต้นทุน 6 บาทต่อมื้อ) | 180,000 มื้อ | 1,080,000.00 |