project กลุ่มคนเปราะบาง อื่นๆ

ช่วยพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษให้องค์กรภาคสังคมไทย เพื่อเพิ่มพูนโอกาสในการแข่งขันและขยายผลกระทบในระดับนานาชาติ

องค์กรภาคสังคมของไทยเป็นภาคส่วนที่ทำงานอย่างแข็งขันและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมในหลากหลายมิติ แต่องค์กรเหล่านี้มักถูกจำกัดการเข้าถึงโอกาสทางทรัพยากรทุนและการสร้างพันธมิตรด้วยข้อจำกัดทางภาษาอังกฤษ เช่น ไม่ได้รับเลือกให้ไปงานประชุมที่ต่างประเทศ, ไม่ได้รับเข้าเลือกอบรม, ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน ด้วยเหตุผลเรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษ ผู้ดูแลโครงการมีความเชื่อว่า เราไม่ควรให้ข้อจำกัดทางภาษามาเป็นอุปสรรคในการที่องค์กรภาคสังคมไทยจะประสบความสำเร็จ เราจึงต้องการสร้างเสริมศักยภาพขององค์กรภาคสังคมไทยให้เข้าถึงโอกาสได้มากขึ้น โดยการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สอนโดยครูชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญ เน้นการพัฒนาทักษะการพูดเพื่อแนะนำองค์กร ปัญหาที่กำลังแก้ไข แนวทางการแก้ปัญหา ผลกระทบขององค์กร เป็นต้น

ระยะเวลาโครงการ 05 เม.ย. 2565 ถึง 20 พ.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

38,600 บาท

เป้าหมาย

28,600 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 135%
จำนวนผู้บริจาค 22

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

พัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษให้ 13 คน จาก 8 องค์กรภาคสังคมไทย

4 ตุลาคม 2022

โครงการได้จัดการเรียนภาษาอังกฤษขั้น ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน – 13 พฤษภาคม รวมแล้วทั้งสิ้น 10 ครั้ง เป็นเวลา 20 ชั่วโมง โดยมีผู้เข้าร่วมเรียนทั้งหมด 13 คน จาก 8 องค์กรได้แก่

  1. มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  2. มูลนิธิกระจกเงา
  3.  กลุ่มลูกเหรียง
  4. Hear and Found
  5. HAND Social Enterprise
  6. มูลนิธิหัวใจอาสา
  7. มูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
  8. เทใจดอทคอม

ผู้เข้าร่วมได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรก คุณครูได้ออกแบบการเรียนรู้เป็นการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับองค์กรของตนเองในลักษณะการ Pitch หรือการนำเสนอ โดยครูจะคอยให้คำแนะนำในการนำเสนอเรื่อยๆ ส่วนกลุ่มที่สอง จะเน้นการผู้พื้นฐานการพูดภาษาอังกฤษ เสริมความมั่นใจในการสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการสนทนากับครูต่างชาติ

ภาพบรรยากาศการเรียนวันแรก

บรรยากาศการนำเสนอโครงการในวัน Graduation


งาน Graduation ของวิชา English for Social Enterprise
ซึ่งนักเรียนได้ออกมานำเสนอเกี่ยวกับองค์กรของตนเองเป็นภาษาอังกฤษต่อหน้าผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้แก่
a. คุณภัทราดา ยมนาค ผู้ก่อตั้ง System Training
b. คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานกรรมการมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย)
c. คุณเอด้า จิรไพศาลกุล กรรมการบริหาร เทใจดอทคอม


ความประทับใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม

“ชอบคอมเมนท์ของครูทำให้เราได้ปรับปรุงได้ตลอดทุกช่วงการเรียน ครูสอนและไกด์มาดีมากๆค่ะ รวมถึงการแนะนำการพรีเซนต์ที่เหมาะสม ทำให้เราได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดการเรียน” - คุณเจ จากมูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย

“รู้สึกประทับใจกับคุณครูที่มาสอนครับ ครูใจดีและมีความตั้งใจมาก โดยครูพยายามช่วยเราปรับปรุงภาษาของผมให้ดีมากยิ่งขึ้นได้อย่างตรงจุดครับ และให้คำแนะนำเทคนิคดีมาก ๆ ครับ นอกจากนี้ก็ชอบบรรยากาศการเรียนและเพื่อนจากองค์กรอื่น ๆ ครับ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนภาษาแล้วยังได้แลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายกับองค์กรอื่น ๆ ด้วยครับ จึงอยากให้มีการจัดอบรมแบบนี้อีกครับ น่าจะเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยต่อไปครับ” - คุณบูม จาก HAND Social Enterprise

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

องค์กรภาคสังคมของไทยเป็นภาคส่วนที่ทำงานอย่างแข็งขันและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมในหลากหลายมิติ แต่องค์กรเหล่านี้มักถูกจำกัดการเข้าถึงโอกาสทางทรัพยากรทุนและการสร้างพันธมิตรด้วยข้อจำกัดทางภาษาอังกฤษ เช่น ไม่ได้รับเลือกให้ไปงานประชุมที่ต่างประเทศ, ไม่ได้รับเข้าเลือกอบรม, ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน ด้วยเหตุผลเรื่องที่ว่า “พวกเขาไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้” ทั้งๆที่ปัญหาที่พวกเขากำลังแก้และผลกระทบที่กำลังสร้างไม่ได้ด้อยไปกว่าองค์กรภาคสังคมอื่นๆทั้งในและต่างประเทศเลย 

ในปัจจุบัน มีองค์กรทุนและองค์กรตัวกลางมากมายที่ทำงานด้านการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรภาคสังคม แต่การเสริมศักยภาพเหล่านั้น แม้จะเป็นสิ่งจำเป็นมากเช่นกันมักเป็นการเสริมศักยภาพในด้านการใช้โมเดลหรือเครื่องมือในการพัฒนาแนวความคิดและวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละองค์กร มากกว่าการเสริมศักยภาพของคนในองค์กรในด้านการสื่อสารและการเข้าถึงโอกาสด้วยการพัฒนาศักยภาพทางการสื่อสาร

ผลกระทบที่ได้การพัฒนาศักยภาพทางภาษาจะไม่ได้เกิดเพียงแต่ตัวบุคคลในองค์กรภาคสังคมเท่านั้น แต่หากความสามารถทางภาษาที่เพิ่มขึ้น ทำให้พวกเขาได้เข้าถึงโอกาสทางแหล่งทุน การศึกษาดูงาน การเข้าร่วมโครงการสร้างเสริมศักยภาพอื่นๆ หรือได้สร้างพันธมิตรที่หลากหลายมากขึ้น ยังสร้างผลกระทบทางอ้อมไปยังกลุ่มเป้าหมายที่องค์กรภาคสังคมนั้นๆต้องการช่วยอีกด้วย ดังนั้นการลงทุนสนับสนุนองค์กรภาคสังคมในมิตินี้ ยังสามารถสร้างผลกระทบทางสังคมได้เช่นกัน

ทางโรงเรียนได้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาใน 2 ทางด้วยกัน

  • ในฐานะที่ปรึกษาองค์กรภาคสังคมระดับภูมิภาคและนานาชาติ - ทำงานร่วมกับองค์กรตัวกลางระดับภูมิภาคและนานาชาติ ในการสร้างความเข้าใจเพื่อให้เปิดโอกาสให้กับองค์กรภาคสังคมท้องถิ่นที่อาจไม่มีทักษะทางภาษาทัดเทียมกับองค์กรอื่นๆ หรือเสนอแนะให้องค์กรต่างๆ จัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดหาล่ามเพื่อให้คนที่มีความสามารถทางภาษาที่หลากหลายเข้าร่วมโครงการได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ด้านหลัง
  • ในฐานะโรงเรียนสอนภาษา - จัดทำโครงการนำร่องคอร์สการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับองค์กรภาคสังคม โดยปรับเนื้อหาให้เป็นประโยชน์สำหรับภาคสังคมโดยเฉพาะ และเชิญชวนองค์กรภาคสังคมที่สนใจเข้าร่วมเรียนด้วย โดยให้ผู้เรียนออกค่าใช้จ่าย 40% และระดมทุนผ่านเทใจอีก 60%

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. สอบถามความต้องการขององค์กรภาคสังคม
  2. ประชุมครูและตั้งวัตถุประสงค์ของเรียน
  3. จัดทำแผนการสอนให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  4. เปิดรับสมัครและคัดเลือกองค์กรภาคสังคมที่ต้องการเข้าร่วมโครงการร่วมกับกับทีมงานเทใจ
  5. เตรียมเอกสาร อุปกรณ์การเรียน สื่อ และช่องทางการเรียนรู้
  6. จัดการเรียนการสอน เป็นเวลา 20 ชั่วโมง
  7. จัดงานจบการศึกษาโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในภาคสังคมมาฟังแต่ละองค์กรนำเสนอเกี่ยวกับองค์กรตนเอง พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม
  8. ประเมินผลโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

วริษฐา นาครทรรพ

Project Manager - System Training

พัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษให้ 13 คน จาก 8 องค์กรภาคสังคมไทย

4 ตุลาคม 2022

โครงการได้จัดการเรียนภาษาอังกฤษขั้น ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน – 13 พฤษภาคม รวมแล้วทั้งสิ้น 10 ครั้ง เป็นเวลา 20 ชั่วโมง โดยมีผู้เข้าร่วมเรียนทั้งหมด 13 คน จาก 8 องค์กรได้แก่

  1. มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  2. มูลนิธิกระจกเงา
  3.  กลุ่มลูกเหรียง
  4. Hear and Found
  5. HAND Social Enterprise
  6. มูลนิธิหัวใจอาสา
  7. มูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
  8. เทใจดอทคอม

ผู้เข้าร่วมได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรก คุณครูได้ออกแบบการเรียนรู้เป็นการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับองค์กรของตนเองในลักษณะการ Pitch หรือการนำเสนอ โดยครูจะคอยให้คำแนะนำในการนำเสนอเรื่อยๆ ส่วนกลุ่มที่สอง จะเน้นการผู้พื้นฐานการพูดภาษาอังกฤษ เสริมความมั่นใจในการสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการสนทนากับครูต่างชาติ

ภาพบรรยากาศการเรียนวันแรก

บรรยากาศการนำเสนอโครงการในวัน Graduation


งาน Graduation ของวิชา English for Social Enterprise
ซึ่งนักเรียนได้ออกมานำเสนอเกี่ยวกับองค์กรของตนเองเป็นภาษาอังกฤษต่อหน้าผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้แก่
a. คุณภัทราดา ยมนาค ผู้ก่อตั้ง System Training
b. คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานกรรมการมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย)
c. คุณเอด้า จิรไพศาลกุล กรรมการบริหาร เทใจดอทคอม


ความประทับใจจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม

“ชอบคอมเมนท์ของครูทำให้เราได้ปรับปรุงได้ตลอดทุกช่วงการเรียน ครูสอนและไกด์มาดีมากๆค่ะ รวมถึงการแนะนำการพรีเซนต์ที่เหมาะสม ทำให้เราได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดการเรียน” - คุณเจ จากมูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย

“รู้สึกประทับใจกับคุณครูที่มาสอนครับ ครูใจดีและมีความตั้งใจมาก โดยครูพยายามช่วยเราปรับปรุงภาษาของผมให้ดีมากยิ่งขึ้นได้อย่างตรงจุดครับ และให้คำแนะนำเทคนิคดีมาก ๆ ครับ นอกจากนี้ก็ชอบบรรยากาศการเรียนและเพื่อนจากองค์กรอื่น ๆ ครับ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนภาษาแล้วยังได้แลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายกับองค์กรอื่น ๆ ด้วยครับ จึงอยากให้มีการจัดอบรมแบบนี้อีกครับ น่าจะเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยต่อไปครับ” - คุณบูม จาก HAND Social Enterprise

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเรียนภาษาอังกฤษ 20 ชม. คิดเป็นค่าใช้จ่าย 2,000 บาท 13 คน 26,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
26,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
2,600.00

ยอดระดมทุน
28,600.00