project เด็กและเยาวชน

ส้วมโรงเรียน โดยมูลนิธิกระจกเงา

ห้องส้วมถือเป็นหนึ่งในอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนที่ต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และเพียงพอต่อการใช้สอยของเด็กนักเรียน ด้วยข้อจำกัดและการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างและซ่อมบำรุง ทำให้โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลจำนวนไม่น้อยมีห้องส้วมที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เด็กชาย/หญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน หลายห้องมีสภาพทรุดโทรม ผุพัง แตกหัก สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เสื่อมสภาพ กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ดังนั้นเราจึงต้องการสร้างและซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะให้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อการใช้งานของเด็ก รวมถึงส่งเสริมสุขนิสัยในการใช้และดูแลรักษาห้องส้วมสาธารณะที่ถูกวิธีให้กับเด็กในโรงเรียนที่ห่างไกลและขาดแคลน ในจังหวัดเชียงราย โดยมีเป้าคือสร้างห้องส้วม 40 ห้อง / ซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ชำรุด 10 โรงเรียน

ระยะเวลาโครงการ 19 พ.ย. 2564 ถึง 30 ธ.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จังหวัดเชียงราย (โรงเรียนที่ขาดแคลนและห่างไกล)

ยอดบริจาคขณะนี้

878,551 บาท

เป้าหมาย

2,130,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 41%
จำนวนผู้บริจาค 897

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สร้างและซ่อมแซมห้องน้ำเพิ่มเติม 8 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงราย

9 มิถุนายน 2023

ด้วยงบประมาณที่ได้รับจากการระดมทุนทางสังคม โครงการได้ดำเนินการสร้างห้องสุขาสำหรับเด็กจำนวน 1 โรงเรียน คือโรงเรียนบ้านห้วยแม่ซ้าย ซึ่งเป็นห้องสุขาสำหรับให้บริการเด็กนักเรียนที่ต้องมาใช้ห้องสมุดและเรียนบางรายวิชาที่ห้องสมุด รวมถึงซ่อมบำรุงห้องสุขาให้กับเด็กนักเรียนในท้องถิ่นห่างไกลอีกจำนวน 10 โรงเรียน คือ

  1. โรงเรียนห้วยแม่ซ้าย
  2. โรงเรียนผาลั้ง
  3. โรงเรียนบ้านร่องก๊อ
  4. โรงเรียนอนุบาลจอมสวรรค์
  5. โรงเรียนอนุบาลศรีค้ำ
  6. โรงเรียนบ้านแม่ลากเนินทอง
  7. โรงเรียนโป่งน้ำร้อน
  8. โรงเรียนบ้านแหลว-นาล้อม
  9. โรงเรียนบ้านป่าบง (หล้าราษฎร์วิทยา)
  10. โรงเรียนธรรมจาริกอุปถัมภ์ 1

ในจำนวน 10 โรงเรียนนี้ ทางโครงการได้ทำการซ่อมบำรุงห้องสุขาให้กับเด็กนักเรียนมากกว่า 20 อาคาร รวมประมาณ 70 ห้อง และขยายปรับปรุงให้มีที่ปัสสวะเพิ่มเติมให้กับเด็กนักเรียนชาย รวมถึงปรับปรุงให้มีจุดสำหรับการล้างมือหลังการใช้ห้องสุขาให้กับเด็ก ๆ มีเด็กนักเรียนได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของโครงการมากกว่า 1,000 คน
โดยการดำเนินโครงการการซ่อมแซมบำรุงห้องสุขา ได้มีการดำเนินการไปแล้ว 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนห้วยแม่ซ้าย และโรงเรียนผาลั้ง ทางมูลนิธิจึงได้ทำการซ่อมสุขาเพิ่มเติมตามโรงเรียนที่เหลือ ดังนี้

โรงเรียนบ้านร่องก๊อ ต.แม่คำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 132 คน ปัญหาที่พบคือห้องสุขาชุดที่นักเรียนมัธยมซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังโตมีความเสื่อมโทรมและไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องน้ำสำหรับเด็กนักเรียนมัธยม 1 จุด จำนวน 6 ห้อง โครงการได้ปรับปรุงและเปลี่ยนระบบนั่งขับถ่ายเป็นแบบนั่งราด เปลี่ยนประตู ปรับระดับและเปลี่ยนพื้น ปรับปรุงที่ปัสสาวะชาย
ก่อนทำการซ่อม หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนอนุบาลจอมสวรรค์ ต.จอมสวรรค์ อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมต้น มีนักเรียนทั้งหมด 121 คน ได้ดำเนินการปรับปรุงและสร้างเพิ่มอีก 1 ห้อง สำหรับเด็กระดับอนุบาล เนื่องเพราะเด็กเล็กมีจำนวนของห้องน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ จัดทำที่ปัสวะของเด็กชายเพิ่ม
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนอนุบาลศรีค้ำ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 3 จนถึงประถม 6 มีนักเรียนทั้งหมด 74 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 2 จุด จำนวนรวม 8 ห้อง รวมถึงปรับปรุงที่ปัสสวะเด็กนักเรียนชายและเพิ่มเติมอ่างล้างมือให้กับเด็ก ๆ
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนบ้านแม่ลากเนินทอง หมู่ที่ 6 บ้านแม่ลาก ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 116 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 4 จุด จำนวนรวม 14 ห้อง
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 11 บ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 228 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 4 จุด จำนวนรวม 12 ห้อง 

โรงเรียนบ้านแหลวนาล้อม หมู่ที่ 6 บ้านแหลว ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 71 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 2 จุด จำนวนรวม 7 ห้อง และปรับปรุงที่ปัสสาวะเด็กชาย
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนบ้านป่าบง (หล้าราษฎร์วิทยา) หมู่ที่ 3 บ้านป่าบงหลวง ตำบลจันจว้าใต้ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 59 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงห้องสุขา 1 จุด จำนวนรวม 2 ห้อง โดยเปลี่ยนที่นั่งขับถ่ายสำหรับเด็กอนุบาล 

โรงเรียนธรรมจาริกอุปถัมภ์ 1 หมู่ที่ 13 บ้านธรรมจาริก ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาส ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 204 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงห้องสุขา โดยเปลี่ยนที่นั่งขับถ่ายสำหรับเด็กจำนวน 13 ห้อง และเพิ่มเติมส่วนของที่ปัสสาวะเด็กชายและอ่างล้างมือ รวม 10 ชุด 


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ห้องส้วมถือเป็นหนึ่งในอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนที่ต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และเพียงพอต่อการใช้สอยของเด็กนักเรียน ด้วยข้อจำกัดและการขาดแคลนงบประมาณในการสร้างและซ่อมบำรุง ทำให้โรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกลจำนวนไม่น้อยมีห้องส้วมที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เด็กชาย/หญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน หลายห้องมีสภาพทรุดโทรม ผุพัง แตกหัก สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เสื่อมสภาพ กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ดังนั้นเราจึงต้องการสร้างและซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะให้มีความปลอดภัยและเพียงพอต่อการใช้งานของเด็ก รวมถึงส่งเสริมสุขนิสัยในการใช้และดูแลรักษาห้องส้วมสาธารณะที่ถูกวิธีให้กับเด็กในโรงเรียนที่ห่างไกลและขาดแคลน ในจังหวัดเชียงราย โดยมีเป้าคือสร้างห้องส้วม 50 ห้อง / ซ่อมบำรุงห้องส้วมที่ชำรุด 20 โรงเรียน และรณรงค์การใช้ 50 โรงเรียน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

    “การเข้าห้องส้วมที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคน” วันที่ 19 พ.ย. ของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้เป็นวัน วันส้วมโลก (World Toilet Day; WTD) ด้วยตระหนักถึงปัญหาด้านสุขาภิบาลของคนทั่วโลก ซึ่งพบว่ามีเกือบ 5,000 ล้านคนที่มีส้วมไม่ได้มาตรฐาน

    ห้องสุขาหรือห้องส้วมสาธารณะไม่ว่าจะเป็นห้องสุขาหรือห้องส้วมในห้างสรรพสินค้า ในตลาด ในปั๊มน้ำมัน หรือแม้แต่ห้องส้วมในโรงเรียน ในแต่ละวันก็มีคนใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าห้องส้วมนั้นไม่ได้รับการดูแลให้มีความสะอาดและความปลอดภัย ผู้ใช้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการที่จะได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นปัญหาเรื่องห้องสุขาหรือห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ทั้งจากเชื้อโรค สัตว์ และมนุษย์เองอีกด้วย

ห้องสุขาหรือห้องส้วมของโรงเรียน ในท้องถิ่นห่างไกล

    ห้องสุขาหรือห้องส้วมถือเป็นหนึ่งในด้านอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนที่ต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และเพียงพอต่อการใช้สอยของเด็กนักเรียน ในขณะที่ปี พ.ศ.2550 ประเทศไทย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับห้องน้ำในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา เทศบาล และกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศ กว่า 10,000 โรงเรียน พบว่า มีห้องน้ำเพียง 15 % ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ในเรื่องของความสะอาด (Heathy) ความเพียงพอ (Accessibility) และความปลอดภัย (Safety)

    จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงสลับกับภูเขา ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศดังกล่าวโรงเรียนและนักเรียนจำนวนไม่น้อยกระจายอยู่ตามโรงเรียนในอำเภอซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกล และจากการทำการศึกษาด้วยการสุ่มสำรวจข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับห้องน้ำในโรงเรียนจำนวน 20 โรงเรียน ในเขตอ.แม่จัน และ กลุ่มโรงเรียนตำบลแม่ยาว/ดอยฮางอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยนำเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ในเรื่องของความสะอาด (Heathy) ความเพียงพอ (Accessibility) และความปลอดภัย (Safety) ของห้องสุขาในโรงเรียนมาพิจารณา จะพบว่า

    • ด้านความเพียงพอ : หลายโรงเรียนมีห้องสุขาที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน จึงไม่สามารถแบ่งแยกการใช้งานได้ ทำให้เด็กชายและหญิงต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน และบางโรงเรียนเด็กเล็กระดับอนุบาลไม่มีห้องน้ำเฉพาะที่เหมาะสมกับวัย ต้องใช้ร่วมกับเด็กโต

    • ด้านความปลอดภัย : หลายโรงเรียนสภาพของห้องสุขามีสภาพที่ทรุดโทรม ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ทั้งในเรื่องของโครงสร้างที่ผุพัง แตกหัก เสียหาย สามารถสร้างอันตรายต่อเด็กได้ สุขภัณฑ์และระบบต่าง ๆ เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ส่งผลต่อการดูแลรักษาความสะอาด ทำให้กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอายุการใช้งานที่ยาวนานของห้องสุขาและไม่ได้รับการซ่อมบำรุงอย่างเหมาะสม ส่วนที่มักพบปัญหาคือหลังคาที่ผุพัง ผนังแตกร้าว และประตูเสียหาย

    • ด้านความสะอาด : ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากอายุการใช้งานของห้องสุขา ซึ่งนอกจากอายุการใช้งานและความเสื่อมโทรมทำให้ยากต่อการดูแลและรักษาความสะอาดแล้ว บางโรงเรียนมีปัญหาเรื่องของระบบน้ำใช้ในจุดห้องสุขา ไม่มีระบบเก็บน้ำสำรองเป็นการเฉพาะส่วน เมื่อเจอปัญหาขาดแคลนน้ำก็นำไปสู่ปัญหาเรื่องของความสะอาด และอีกประเด็นที่สำคัญคือพฤติกรรมการใช้และดูแลห้องสุขาสาธารณะที่ถูกวิธี

    โดยสาเหตุหลักของปัญหาห้องสุขาในโรงเรียนในท้องถิ่นห่างไกล คือ

    1) ขาดแคลนงบประมาณ เพราะโอกาสที่โรงเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดกลางและเล็กในท้องถิ่นห่างไกล จะได้รับงบประมาณในการซ่อมบำรุงอาคารสถานที่น้อยมาก ในแต่ละปีที่มีการเสนอเรื่องไปก็จะมีไม่กี่โรงเรียนที่ได้รับอนุมัติ และแม้นว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณแล้วกว่างบจะมาก็จะมีความล่าช้าข้ามปี และถึงแม้นว่าจะได้งบประมาณมาแต่ก็มีอาคารสถานที่หลายส่วนในโรงเรียนที่ต้องการการซ่อมบำรุงเช่นกัน ดังนั้นแต่ละโรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญในการซ่อมบำรุง และห้องสุขามักจะเป็นลำดับท้าย ๆ ในการปรับปรุง/ซ่อมบำรุงหรือจัดสร้างให้เพียงพอ

    2) พฤติกรรมการใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ นักเรียนจำนวนไม่น้อยในท้องถิ่นห่างไกลยังมีพฤติกรรมการใช้ห้องสุขาโดยเฉพาะห้องสุขาสาธารณะที่ยังไม่ถูกวิธี ขาดความเข้าใจ ใส่ใจ และยังไม่เห็นความสำคัญของสุขอนามัยจากการใช้และร่วมกันดูแลรักษาห้องสุขารวม

    ดังนั้นเพื่อสุขอนามัยที่ดีของเด็กนักเรียนในพื้นที่ชนบทห่างไกล และเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีด้านสุขาภิบาลให้กับเด็กในท้องถิ่นห่างไกล มูลนิธิกระจกเงาจึงได้จัดทำโครงการ “ส้วมโรงเรียน" ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนในท้องถิ่นห่างไกลมีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะใช้อย่างเพียงพอ ปลอดภัย และสะอาด  มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น มีความเข้าใจและตระหนักในเรื่องของสุขภาวะที่ดี จากการใช้ห้องสุขาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ  อีกทั้งยังมุ่งหวังว่าสังคมจะเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขาภิบาลของเด็ก และมีส่วนร่วมในการดูแลและแบ่งปันเพื่อเด็ก ๆ ในท้องถิ่นห่างไกลร่วมกัน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. สำรวจข้อมูลห้องสุขาในโรงเรียน คัดเลือก ประสานงาน/ประสานความร่วมมือ

2. เปิดระดมทุนและระดมอาสาสมัครเข้าร่วมปฏิบัติการซ่อม/สร้างห้องสุขาหรือห้องส้วมให้กับโรงเรียนในโครงการ โดยแบ่งเป็น

    2.1 งานปรับปรุง/ซ่อมบำรุง : ทำการปรับปรุง/ซ่อมแซมห้องน้ำห้องสุขาให้กับโรงเรียนที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีมาตรฐาน มีความปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลรักษาความสะอาด พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณห้องสุขา จำนวน 20 โรงเรียน

    2.2 งานสร้าง : จัดสร้างห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนห้องสุขา หรือมีห้องสุขาที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ พร้อมทั้งจัดให้มีภูมิทัศน์ที่ดีในบริเวณห้องสุขา จำนวน 50 ห้อง

3 จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างและปลูกฝังสุขอนามัยพื้นฐาน สร้างสุขนิสัยที่ดีในการใช้และดูแลรักษาห้องสุขา สร้างจิตสำนึกในการใช้ห้องน้ำที่ดี เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น เพื่อสุขอนามัยที่ดีร่วมกันให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียน 50 โรงเรียน


ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานจังหวัดเชียงราย โดย นส.ประไพ เกสรา 

Facebook มูลนิธิกระจกเงา: https://www.facebook.com/mirrorf
Facebook มูลนิธิกระจกเงา เชียงราย: https://www.facebook.com/ThemirrorCR
Website: www.mirror.or.th - www.bannok.com

สร้างและซ่อมแซมห้องน้ำ 2 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงราย

11 พฤศจิกายน 2022

โครงการได้ดำเนินการสร้างห้องสุขาจำนวน 1 ห้องใน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนห้วยแม่ซ้าย ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย โดยห้องสุขาที่สร้างมีที่นั่งสำหรับการขับถ่าย 1 ชุด / ที่ปัสสวะชาย 2 ชุด / อ่างล้างมือ 1 ชุด อนึ่งโรงเรียนห้วยแม่ซ้าย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กนักเรียนทั้งหมด 133 คน เปิดทำการเรียนตั้งแต่ระดับอบุบาล ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีสถานบริการห้องน้ำ 2 จุด ปัญหาที่พบ คือไม่มีจุดบริการห้องสุขาสำหรับครูและเด็กนักเรียนบริเวณอาคารห้องสมุดซึ่งใช้ประโยชน์ในการเป็นห้องเรียนด้วย และเนื่องจากอาคารห้องสมุดอยู่ไกลจากอาคารเรียนอื่น ๆ จึงทำให้เด็กนักเรียนต้องไปเข้าห้องสุขาที่ไกลมาก โดยเฉพาะในฤดูฝนเด็ก ๆ จะต้องวิ่งตากฝนเพื่อไปห้องสุขา 

ขณะทำการก่อสร้าง

หลังทำการก่อสร้าง

งานซ่อม โครงการได้จัดซ่อมห้องสุขาจนแล้วเสร็จจำนวน 2 โรงเรียน ดังนี้

1.  โรงเรียนห้วยแม่ซ้าย ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย โดยได้ดำเนินการซ่อมใน 2 ชุดอาคารหรือ 2 จุดคือ

  • จุดที่ 1 ห้องสุขาของเด็กอนุบาล ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 4 ห้อง โดยโครงการได้ทำการเปลี่ยนประตูใหม่ทั้งหมด แก้ไขปัญหาระบบน้ำ และทาสีให้ใหม่
  • จุดที่ 2 ห้องน้ำบริเวณโรงอาหาร ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมในการใช้ห้องน้ำของเด็ก ๆ หลังการรับประทาน จุดนี้ห้องน้ำมี 4 ห้อง ใช้งานได้เพียง 3 ห้อง โครงการได้ทำการซ่อมบำรุงระบบน้ำ ประตู และปรับสภาพให้เหมาะกับการใช้งาน

ก่อนทำการซ่อม

ขณะทำการซ่อม

หลังทำการซ่อม
จุดที่ 1 

จุดที่ 2

2 โรงเรียนบ้านผาลั้ง ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย
โรงเรียนบ้านผาลั้ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองขึ้นไปบนดอย 60 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างยากลำบาก มีนักเรียนทั้งหมด 18-20 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก ห้องน้ำที่เด็กใช้มี 2 ห้อง แต่ล่าสุดไม่สามารถใช้ได้ เนื่องเพราะประตูพัง ทางเดินไปห้องน้ำลื่นและลาดชัน ระบบน้ำใช้งานไม่ได้ ทำให้เด็กต้องไปใช้ห้องน้ำชุดเก่าซึ่งสร้างมาหลายสิบปี มีโครงสร้างค่อนข้างอ่อนแอและอันตราย ทางโครงการได้เข้าไปทำการปรับปรุงและทำทางเดินเข้าห้องน้ำให้กับเด็ก ๆ

ก่อนทำการซ่อม

ขณะทำการซ่อม

หลังทำการซ่อม

3 จัดประชุมผู้บริหาร/ตัวแทนของโรงเรียนในเขตอำเภอแม่จัน 8 โรงเรียน พร้อมสำรวจเพื่อคำนวนและประเมินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมห้องสุขารายโรงเรียน

อนึ่งตามแผนงานของโครงการ งานซ่อมจะมีทั้งหมด 10 โรงเรียน ทั้งนี้โดยประเมินจากตัวเลขการระดมทุนที่ได้ ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินการเสร็จแล้ว 2 โรงเรียน ส่วนอีก 8 โรงเรียนโครงการได้มีการจัดประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับผู้บริหาร/ผู้แทนของโรงเรียน รวมถึงได้มีการลงสำรวจข้อมูลเชิงลึกเพื่อประเมินและคำนวน/วางแผนการจัดซื้ออุปกรณ์เป็นของแต่ละโรงเรียน และจะดำเนินการซ่อมด้วยช่างในท้องถิ่นของแต่ละโรงเรียน โดยจะมีประธานกลุ่มโรงเรียนและทางโครงการคอยติดตามความคืบหน้า ซึ่งประกอบด้วย

  1. โรงเรียนธรรมจาริกอุปถัมภ์ 1
  2. โรงเรียนบ้านป่าบง (หล้าราษฎร์วิทยา)
  3. โรงเรียนบ้านแม่ลากเนินทอง
  4. โรงเรียนบ้านแหลว-นาล้อม
  5. โรงเรียนอนุบาลจอมสวรรค์
  6. โรงเรียนอนุบาลศรีค้ำ
  7. โรงเรียนโป่งน้ำร้อน
  8. โรงเรียนบ้านร่องก๊อ



สร้างและซ่อมแซมห้องน้ำเพิ่มเติม 8 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงราย

9 มิถุนายน 2023

ด้วยงบประมาณที่ได้รับจากการระดมทุนทางสังคม โครงการได้ดำเนินการสร้างห้องสุขาสำหรับเด็กจำนวน 1 โรงเรียน คือโรงเรียนบ้านห้วยแม่ซ้าย ซึ่งเป็นห้องสุขาสำหรับให้บริการเด็กนักเรียนที่ต้องมาใช้ห้องสมุดและเรียนบางรายวิชาที่ห้องสมุด รวมถึงซ่อมบำรุงห้องสุขาให้กับเด็กนักเรียนในท้องถิ่นห่างไกลอีกจำนวน 10 โรงเรียน คือ

  1. โรงเรียนห้วยแม่ซ้าย
  2. โรงเรียนผาลั้ง
  3. โรงเรียนบ้านร่องก๊อ
  4. โรงเรียนอนุบาลจอมสวรรค์
  5. โรงเรียนอนุบาลศรีค้ำ
  6. โรงเรียนบ้านแม่ลากเนินทอง
  7. โรงเรียนโป่งน้ำร้อน
  8. โรงเรียนบ้านแหลว-นาล้อม
  9. โรงเรียนบ้านป่าบง (หล้าราษฎร์วิทยา)
  10. โรงเรียนธรรมจาริกอุปถัมภ์ 1

ในจำนวน 10 โรงเรียนนี้ ทางโครงการได้ทำการซ่อมบำรุงห้องสุขาให้กับเด็กนักเรียนมากกว่า 20 อาคาร รวมประมาณ 70 ห้อง และขยายปรับปรุงให้มีที่ปัสสวะเพิ่มเติมให้กับเด็กนักเรียนชาย รวมถึงปรับปรุงให้มีจุดสำหรับการล้างมือหลังการใช้ห้องสุขาให้กับเด็ก ๆ มีเด็กนักเรียนได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของโครงการมากกว่า 1,000 คน
โดยการดำเนินโครงการการซ่อมแซมบำรุงห้องสุขา ได้มีการดำเนินการไปแล้ว 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนห้วยแม่ซ้าย และโรงเรียนผาลั้ง ทางมูลนิธิจึงได้ทำการซ่อมสุขาเพิ่มเติมตามโรงเรียนที่เหลือ ดังนี้

โรงเรียนบ้านร่องก๊อ ต.แม่คำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 132 คน ปัญหาที่พบคือห้องสุขาชุดที่นักเรียนมัธยมซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังโตมีความเสื่อมโทรมและไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องน้ำสำหรับเด็กนักเรียนมัธยม 1 จุด จำนวน 6 ห้อง โครงการได้ปรับปรุงและเปลี่ยนระบบนั่งขับถ่ายเป็นแบบนั่งราด เปลี่ยนประตู ปรับระดับและเปลี่ยนพื้น ปรับปรุงที่ปัสสาวะชาย
ก่อนทำการซ่อม หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนอนุบาลจอมสวรรค์ ต.จอมสวรรค์ อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมต้น มีนักเรียนทั้งหมด 121 คน ได้ดำเนินการปรับปรุงและสร้างเพิ่มอีก 1 ห้อง สำหรับเด็กระดับอนุบาล เนื่องเพราะเด็กเล็กมีจำนวนของห้องน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ จัดทำที่ปัสวะของเด็กชายเพิ่ม
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนอนุบาลศรีค้ำ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 3 จนถึงประถม 6 มีนักเรียนทั้งหมด 74 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 2 จุด จำนวนรวม 8 ห้อง รวมถึงปรับปรุงที่ปัสสวะเด็กนักเรียนชายและเพิ่มเติมอ่างล้างมือให้กับเด็ก ๆ
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนบ้านแม่ลากเนินทอง หมู่ที่ 6 บ้านแม่ลาก ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 116 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 4 จุด จำนวนรวม 14 ห้อง
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 11 บ้านโป่งน้ำร้อน ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 228 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 4 จุด จำนวนรวม 12 ห้อง 

โรงเรียนบ้านแหลวนาล้อม หมู่ที่ 6 บ้านแหลว ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 71 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงใน 2 จุด จำนวนรวม 7 ห้อง และปรับปรุงที่ปัสสาวะเด็กชาย
ก่อนทำการซ่อม  หลังทำการซ่อม 

โรงเรียนบ้านป่าบง (หล้าราษฎร์วิทยา) หมู่ที่ 3 บ้านป่าบงหลวง ตำบลจันจว้าใต้ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 59 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงห้องสุขา 1 จุด จำนวนรวม 2 ห้อง โดยเปลี่ยนที่นั่งขับถ่ายสำหรับเด็กอนุบาล 

โรงเรียนธรรมจาริกอุปถัมภ์ 1 หมู่ที่ 13 บ้านธรรมจาริก ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนขยายโอกาส ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนทั้งหมด 204 คน โครงการได้ดำเนินการซ่อมบำรุงห้องสุขา โดยเปลี่ยนที่นั่งขับถ่ายสำหรับเด็กจำนวน 13 ห้อง และเพิ่มเติมส่วนของที่ปัสสาวะเด็กชายและอ่างล้างมือ รวม 10 ชุด 


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 สำรวจข้อมูล คัดเลือก ประสานงาน/ประสานความร่วมมือ (ค่าเดินทาง/ประสานงาน ค่าอาหาร/น้ำดื่ม)
30,000
2 ปฏิบัติการซ่อมห้องสุขา: โรงเรียนละ 30,000 บาท (ค่าเดินทาง ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ค่าอาหาร/น้ำดื่ม ค่าช่าง เบ็ดเตล็ด) 10 โรงเรียน 300,000
3 สร้างห้องสุขาใหม่: โรงเรียนละ 45,000 บาท (ค่าเดินทาง ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ค่าอาหาร/น้ำดื่ม ค่าช่าง เบ็ดเตล็ด) 40 ห้อง 1,800,000



2,130,000
รวมเป็นเงินทั้งหมด
2,130,000
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
213,000

ยอดระดมทุน
2,343,000