แอนติบอดีต้นแบบสามารถยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของไวรัสSARS-CoV-2 กับโปรตีน ACE-2 ของมนุษย์ได้ 80 - 95%

รวมพลังสู้ไม่ถอย... สนับสนุนแพทย์จุฬาฯ สร้างแอนติบอดีต้านโควิด-19

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2022

ส่วนของกระบวนการทดสอบคุณสมบัติของแอนติบอดีต้นแบบ จำนวน 12 ชนิด ในการยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ในหลอดทดลองโดยวิธี ELISA (enzyme-linked immunosorbent assay) โดยการทดสอบดังกล่าวจะนำเอาแอนติบอดีต้นแบบมาทำการเจือจางที่ความเข้มข้นต่าง ๆ จากนั้นนำไปบ่มร่วมกับโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ที่ติดฉลากด้วยเอนไซม์ HRP (RBD-labeled horseradish peroxidase) อยู่ จากนั้นนำไปใส่ในหลุมทดสอบที่มีโปรตีน ACE-2 บ่มที่อุณหภูมิ 37°C เพื่อให้เกิดการจับหรือยับยั้งระหว่างโปรตีน RBD กับ ACE-2 ในหลุมทดสอบ ต่อมาหลังจากทำการล้างโปรตีนที่ไม่ถูกจับในหลุมทดสอบออกไปแล้ว จะใส่สารตั้งต้น (substrate) เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่มีสีขึ้น จากนั้นวัดค่าดูดกลืนแสงของแต่ละหลุมทดสอบและรายงานออกมาเป็น %การยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ของมนุษย์ ดังแสดงในรูป

กลไกการทดสอบการยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ในหลอดทดลองโดยวิธี ELISA

โดยสรุป แอนติบอดีต้นแบบที่ได้ สามารถจับกับโปรตีนของไวรัสได้เป็นอย่างดี และสามารถยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของไวรัสกับโปรตีน ACE-2 ของมนุษย์ได้ วิเคราะห์ด้วย ELISA โดยมีค่า %การยับยั้งอยู่ในช่วง 80 - 95% ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้วางแผนนำแอนติบอดีต้นแบบที่ได้ ไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งไวรัสจำลอง (pseudovirus) หรือไวรัสจริง (live virus) ต่อไป

ความประทับใจจากทีมนักวิจัย



ภาพประกอบ

กระบวนการวัดคุณสมบัติของแอนติบอดี

กลุ่มเซลล์หลังการหลอมรวมภายใต้กล้องจุลทรรศน์

การเติมสารละลายลงในหลุมทดสอบ

ผลการทดสอบการคัดเลือกแอนติบอดีต้นแบบที่สามารถจับกับโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ Delta ได้ในหลอดทดลอง

ผลความสามารถของแอนนติบอดีต้นแบบ 6 แบบ ในการจับกับโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ Delta ในหลอดทดลองโดยวิธี ELISA

ผลความสามารถของแอนนติบอดีต้นแบบ 6 แบบ ในการยับยั้งการจับกันระหว่างโปรตีน RBD ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ Delta และ Omicron BA.1 กับโปรตีน ACE-2 ในหลอดทดลองโดยวิธี ELISA