project กลุ่มคนเปราะบาง

ฟังบูโดกัน : คืน “ที่ดิน” และ “สิทธิชุมชน” ให้ผู้คนบนเขาบูโด

“ฟังบูโดกัน” Online Exhibition ที่จัดขึ้นเพื่อช่วยถ่ายทอดเรื่องราวให้กับผู้คนบนเทือกเขาบูโดที่อยู่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ให้คนภายนอกได้รับรู้ถึงปัญหาที่เดินขึ้นเพื่อคืน “ที่ดิน” และ “สิทธิชุมชน” ด้วยการทำเป็นทความ วีดีโอ ภาพถ่าย ภาพวาด และเสียงดนตรี

Duration 15 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 พฤษภาคม 2564 Area พื้นที่รอบเทือกเขาบูโด จังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานี

Current donation amount

23,072 THB

Target

109,120 THB
ดำเนินการไปแล้ว 21%
จำนวนผู้บริจาค 137

สำเร็จแล้ว

Project updates

ยกเลิการดำเนินโครงการ ฟังบูโดกัน : คืน “ที่ดิน” และ “สิทธิชุมชน” ให้ผู้คนบนเขาบูโด

10 November 2022

ตามที่ทีมสาธารณะได้ขอระดมทุนในโครงการ ฟังบูโดกัน : คืน “ที่ดิน” และ “สิทธิชุมชน” ให้ผู้คนบนเขาบูโด เมื่อปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาทำให้การดำเนินงานไม่สามารถทำได้ตามระยะเวลาที่วางแผนไว้ จนกระทั่งในปี 2565 ทีมอาสาสมัครได้ขาดการติดต่อกับชุมชนเป้าหมาย และไม่สะดวกลงพื้นที่อีกต่อไป ทางเราจึงขอยกเลิกโครงการ และขอโอนเงินบริจาคจำนวน 23,072 บาท ไปให้ยังโครงการ พัฒนาความมั่นคงทางอาหารของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี 

ขอแสดงความนับถือ

ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ (มัย)
Co-Founder / Accounting and Finance Manager
SATARANA

Read more »
See all project updates

‘เทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี’ เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กินพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 9 อำเภอ 25 ตำบล 89 หมู่บ้าน



การใช้ที่ดินของชุมชนรอบเทือกเขาบูโดสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพ โดยชาวบ้านได้แบ่งการใช้งานพื้นที่ “สวนดูซง” หรือ สวนป่าผสมซึ่งเป็นการปลูกต้นไม้หลากหลายชนิดแซมเข้าไปในป่า เพื่อให้ มนุษย์และธรรมชาติสามารถอยู่อย่างพึ่งพาและเคารพกันได้ และไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้ใหญ่ในป่าออกเพื่อทำสวน

การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี ในปี 2542 สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยตรง ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่อุทยานแห่งชาติและที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านรวมทั้งสิ้น 9 อำเภอ 24 ตำบล โดยมีผลกระทบที่เกิดขึ้นเบื้องต้น ได้แก่

  1. 
การขาดความมั่นคงเรื่องที่ดิน

  2. ระบบสิทธิทำกินไม่มั่นคง
  3. 
ที่อยู่อาศัยไม่มีระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า,ประปา)
  4. 
ไม่สามารถขอบ้านเลขที่ได้

  5. ไม่สามารถทำสัญญาเช่าได้ในระยะยาว

  6. ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินได้เพราะไม่ทราบแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่ชัดเจน

  7. ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปทำสวนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานได้ การโค่นวัชพืชเพื่อดูแลรักษาสวน รวมไปถึงการโค่นต้นยางพาราที่หมดอายุขัยและไม่เหลือยางให้กรีดเพื่อปลูกต้นใหม่ทดแทน กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
 นำมาสู่จุดเริ่มต้นในการเคลื่อนไหวของชุมชน ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและภาครัฐ เพื่อแสดงขอบเขตของที่ดินทำกินที่ได้รับผลกระทบและพิสูจน์ให้ภาครัฐเห็นว่าไม่ได้กระทำการรุกล้ำพื้นที่ป่ามากไปกว่าการทำกินและอยู่อาศัย นับจากปี 2543 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 20 ปี

ตั้งแต่ พ.ศ. 2543-2547 ที่เครือข่ายแก้ไขปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี ได้ก่อตัวขึ้นภายใต้การนำของปราชญ์ชาวบ้านที่นำเสนอหลักการ “การสร้างหลักประกันสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีชุมชน” เพื่อเป็นพลังต่อรองกับอำนาจรัฐ โดยชาวบ้านบูโดจัดตั้งคณะทำงาน


  1. เดินสายสร้างความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินให้กับผู้ได้รับผลกระทบ
  2. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อพิสูจน์ประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐาน

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2562 มีการประกาศใช้ “พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติพ.ศ. 2562” ประกาศฉบับนี้ ส่งผลให้ชุดข้อมูลการรังวัดพื้นที่และการพิสูจน์สิทธิ์ที่ชาวบ้านใช้เวลาตลอด 20 ปีจัดทำขึ้น ถูกบังคับให้ต้องจัดทำขึ้นใหม่ภายในเวลา 240 วัน และอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถมาลงทะเบียนรับสิทธิ์การใช้งานพื้นที่ทำกินในระยะสั้นได้ทุก 20 ปี ความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงให้ภาครัฐมองเห็นการมีอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่เดิม จนเกิดการกำหนดเขตพื้นที่อุทยานและข้อตกลงการใช้พื้นที่ร่วมกัน จึงต้องนับหนึ่งอีกครั้ง


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. Raise awareness ให้คนภายนอกรู้ถึงปัญหากำลังเกิดขึ้นผ่านแคมเปญออนไลน์

  2. Empower ให้คนในชุมชนที่กำลังสิ้นหวังกับความล้มเหลว ได้รับรู้ว่าสิ่งที่ทำมาตลอดนั้นไม่ได้สูญเปล่า แต่ยังมีบุคคลภายนอกที่รับรู้ มองเห็น ให้ความสนใจกับปัญหา

  3. เปิดระดมทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางลงพื้นที่ ค่าอาหาร และสวัสดิการพื้นฐานของทีมงานอาสาสมัครและชุมชน)
  4. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มนักวิชาการและอาสาสมัครหลากหลายแขนง เช่น ด้านกฎหมาย สถาปัตยกรรม โบราณคดี หรือการออกแบบและการสื่อสาร กับชาวบ้านบนเทือกเขาบูโดเพื่อพัฒนา "แนวทางในการสร้างข้อต่อรองกับภาครัฐ" เตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้ครั้งใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความสามารถเฉพาะทางในแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 


ทีมงาน

Attention.Studio สตูดิโอออกแบบการสื่อสาร ภายใต้เครือข่ายพัฒนาเมือง SATARANA ที่ให้ความสำคัญกับการทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับ “เจ้าของเรื่องราว” ด้วยความเชื่อที่ว่า “ไม่มีใครเล่าเรื่องของเราได้ดีเท่าตัวเราเอง” ที่ลุกขึ้นมาชักชวนสื่ออาสาสมัครอย่าง Localry, echo, Trawell Thailand, The Momentum และ a day BULLETIN และศิลปินหลากหลายแขนง มาทำงานร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เพื่อร่วมกันสื่อสารปัญหาสิทธิที่ดินทำกินและการต่อสู้ของชาวบ้านออกไปให้ดังขึ้นเพื่อขยายเครือข่ายและขอบเขตความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาที่ดิน


ยกเลิการดำเนินโครงการ ฟังบูโดกัน : คืน “ที่ดิน” และ “สิทธิชุมชน” ให้ผู้คนบนเขาบูโด

10 November 2022

ตามที่ทีมสาธารณะได้ขอระดมทุนในโครงการ ฟังบูโดกัน : คืน “ที่ดิน” และ “สิทธิชุมชน” ให้ผู้คนบนเขาบูโด เมื่อปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาทำให้การดำเนินงานไม่สามารถทำได้ตามระยะเวลาที่วางแผนไว้ จนกระทั่งในปี 2565 ทีมอาสาสมัครได้ขาดการติดต่อกับชุมชนเป้าหมาย และไม่สะดวกลงพื้นที่อีกต่อไป ทางเราจึงขอยกเลิกโครงการ และขอโอนเงินบริจาคจำนวน 23,072 บาท ไปให้ยังโครงการ พัฒนาความมั่นคงทางอาหารของเด็กในชุมชนประมง ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี 

ขอแสดงความนับถือ

ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ (มัย)
Co-Founder / Accounting and Finance Manager
SATARANA

Budget plan

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
สนับสนุนค่าเดินทางอาสาสมัคร (ตั๋วเครื่องบิน) ในการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสคนละ 2,000 บาท จำนวน 20 คน40,000
สนับสนุนค่าอาหารอาสาสมัคร ในการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส4 วัน (วันละ 3 มื้อ) มื้อละ 80 บาท
จำนวน 20 คน19,200
สนับสนุนค่าที่พักอาสาสมัคร ในการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

คืนละ 500 บาท 4 คืน
จำนวน 20 คน40,000
ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ระบบตรวจสอบติดตามโครงการ และดูแลแพลตฟอร์ม)

9,920
รวม
109,120