project อื่นๆ

ส่งต่อความห่วงใย ให้คนในชายแดนไทย-พม่า

แรงงานข้ามชาติหลายคนถูกล่อลวงโดยกลุ่มคนค้ามนุษย์ หลายคนข้ามมาเพื่อหลุดพ้นความอดอยาก หลายคนถูกทำให้ติดยา DARE Team มองเห็นโอกาสในการเข้าไปช่วยประชากรแรงงานข้ามชาติ ด้วยการบำบัดและสร้างอาชีพให้ผู้ลี้ภัย ร่วมสนับสนุนค่าน้ำประปาและไฟฟ้าของศูนย์และค่าบำบัดผู้ลี้ภัยที่มีปัญหายาเสพติดกับเรา

Duration 05 ก.ย. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2566 Area แม่ฮ่องสอน

Current donation amount

74,770 THB

Target

321,200 THB
ดำเนินการไปแล้ว 23%
จำนวนผู้บริจาค 48

สำเร็จแล้ว

แรงงานข้ามชาติหลายคนถูกล่อลวงโดยกลุ่มคนค้ามนุษย์ หลายคนข้ามมาเพื่อหลุดพ้นความอดอยาก หลายคนถูกทำให้ติดยา DARE Team มองเห็นโอกาสในการเข้าไปช่วยประชากรแรงงานข้ามชาติ ด้วยการบำบัดและสร้างอาชีพให้ผู้ลี้ภัย ร่วมสนับสนุนค่าน้ำประปาและไฟฟ้าของศูนย์และค่าบำบัดผู้ลี้ภัยที่มีปัญหายาเสพติดกับเรา

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

DARE ได้เข้าไปช่วยผู้ลี้ภายในเขตชายแดนไทยพม่ามาเป็นเวลากว่า 20 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมาทาง DARE ได้ช่วยบำบัด ฟื้นฟู และให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์กับผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมากกว่า 20,000 ราย ปัญหาหลักๆ ที่ทาง DARE team ได้เห็นคือผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มคนเปราะบางที่ถูกเอาเปรียบจากนายจ้างทั้งฝั่งไทยและพม่า นอกจากจะได้รายได้แค่ครึ่งเดียวของค่าแรงขั้นต่ำแล้วนั้น ผู้ว่าจ้างบางรายยังกดขี่และทารุณผู้ลี้ภัยผ่านยาเสพติดต่างๆ ทำได้เกิดปัญหาทางยาเสพติดซับซ้อนขึ้นมาในกลุ่มคนนี้

ทาง DARE ได้สร้าง intensive treatment program ที่มีประสิทธิภาพดีมากในการรักษาผู้ติดสารเสพติด สามารถช่วยให้ผู้ติดสารเสพติดมากกว่า 60% หายดีได้ (เทียบกับโดยเฉลี่ย 25%-30% ในอเมริกา)

ปัจจุบันทาง DARE มีผู้ลี้ภัยที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มอีกประมาณ 200 คน ทางองค์กรไม่มีทรัพยากรพอที่จะดูแลผู้ลี้ภัยเพิ่มเข้ามาตามค่ายต่างๆได้ จึงต้องการหาวิธีที่จะช่วยผู้ลี้ภัยแบบใหม่โดยการสร้างศูนย์บำบัดร่างกายและจิตใจ เพื่อดูแลผู้ลี้ภัยให้ได้มากขึ้น แต่ถึงแม้ DARE จะมีที่ดินที่แม่ฮ่องสอน ที่จะนำมาสร้างศูนย์บำบัดให้ผู้อพยพที่ติดสารเสพติด อย่างไรก็ตาม DARE ยังขาดทรัพยากรในการบำบัดผู้ลี้ภัยที่มีปัญหาการใช้ยาเสพติดได้ทั้งหมด โดยค่ารักษาต่อคนอยู่ที่ประมาณ 34,000 บาท ในเบื้องต้น DARE ต้องการจะช่วยเหลือบำบัดผู้ลี้ภัยให้ได้อย่างน้อย 8 คน  รวมถึงค่าน้ำประปาและไฟฟ้าของศูนย์

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในอนาคตโครงการจะสามารถช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้อย่างทั่วถึงและไม่ติดขัด และไม่ต้องพึ่งเงินบริจาคอย่างเดียว DARE จะนำพื้นที่บางส่วนมาปลูกต้นมะรุมแล้วแปรรูปใบมะรุมเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้ MoringAid ที่สามารถนำมาขายเพื่อสร้างรายและนำมาสนับสนุนโครงการต่อไป

MoringAid เป็นโปรเจคเพื่อสร้างรายได้ที่จะนำมาช่วยเหลือและบำบัดยาเสพติดให้ผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนไทย-พม่าโดยเฉพาะ ด้วยจุดประสงค์ที่อยากให้ศูนย์บำบัดดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและยั่งยืนโดยไม่ต้องพึ่งเงินบริจาคช่องทางเดียว ปัจจุบัน MoringAid เน้นขายสินค้าแปรรูปจากมะรุมให้คนไทยและชาวต่างชาติในประเทศแคนาดาและอเมริกา โดยเราได้เปิดทำการมาประมาณ6 ปีโดยประมาณ ได้รายได้โดยเฉลี่ย 350,000 บาทต่อปี ซึ่งรายได้ทั้งหมดนำมาบำบัดยาเสดติดให้ผู้ลี้ภัยที่ Refugee camp ที่ Karen State ประเทศพม่า

เรามีแผนที่จะเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์ได้มากถึง 8 เท่า โดยกะประมาณว่าจะสามารถผลิตใบมะรุมได้ประมาณ 100 ถุงต่อสัปดาห์ ปัจจุบันขายอยู่ที่ถุงละ 800 บาท ช่องทางการขายอยู่ที่เว็บไซต์ https://www.moringaidare.com/ ที่มีฐานลูกค้าส่วนมากอยู่ที่ประเทศอเมริกาและแคนาดา

ในอนาคตเรามีแพลนที่จะพัฒนาสินค้าและขยายช่องทางการขายสินค้าในประเทศไทยเช่นกัน ผ่าน social commerce เช่น Facebook, Lazada, Shopee เพื่อที่จะนำรายได้มาสมทบทุนในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ติดยาเสพติดที่มีอยู่ตามค่ายลี้ภัยอีกประมาณ 200 คน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. รับบริจาคเงินเพื่อนำมาดำเนินงานที่ศูนย์บำบัด

2. บำบัดยาเสพติดให้กลุ่มผู้ลี้ภัยจากชายแดนไทย-พม่า  8 คน โดยจ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 34,000 บาทต่อคนโดยประมาณ โดยรวยค่ารักษาพยาบาลผู้ลี้ภัย ค่าอาหารและที่พัก ค่าอุปกรณ์บำบัดต่างๆ เช่น เข็ม ยาสมุนไหร เครื่องกายภาพ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนจนกว่าจะฟื้นฟูสำเร็จ

3. เก็บเมล็ดพันธุ์ต้นมะรุมจากบริเวณชายแดนเพื่อมาปลูกต้นมะรุมและขยายกิจการให้สามารถสร้าง Moringa powder และ Moringa capsules ได้อย่างน้อย 100 ถุงต่อสัปดาห์

4. นำจำหน่ายสินค้าใน website ของ MoringAid ซึ่งปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยู่ที่ต่างประเทศ ติดต่อร้านค้าเพื่อสุขภาพต่างๆในบริเวณกรุงเทพ นำสินค้าเข้า e-Commerce platform เช่น Shopee และ Lazada

5. นำรายได้ระยะยาวที่มาจากการบริจาคและ MoringAid มาสร้างศูนย์บำบัดร่างกายและจิตใจบนที่ดินแปลงนี้ เพื่อที่จะสามารถช่วยผู้ลี้ภัยที่มีมากกว่า 200 คนในค่ายลี้ภัยตามชายแดนไทย-พม่าต่างๆ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

พิสชา ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล และ วริศรา วัลลภศิริ ตัวแทนจาก DARE Network และ MoringAid

Pam Rogers ผู้นำองค์กร DARE Network และ MoringAid

DARE Network (https://darenetwork.com/)

MoringAid (https://www.moringaidare.com/)

ไม่มีข้อมูล

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเดินน้ำประปาและไฟฟ้า 1 20,000.00
2 ค่าบำบัดรักษาผู้ลี้ภัยที่มีปัญหาสารเสพติด 8 272,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
292,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
29,200.00

ยอดระดมทุน
321,200.00