project ผู้พิการและผู้ป่วย อื่นๆ

ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไป 50 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพราะรพ.สต.มีภารกิจในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี แต่บุคคลากรมีปัญหาขาดแคลนองค์ความรู้ เพื่อให้บุคลากรฯ สามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทันสถานการณ์ จำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนท่านร่วมสนับสนุนโครงการฯ เพื่อหนุนสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรฯ ที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่ทั่วประเทศ

Duration 01 ก.ย. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2566 Area ทั่วประเทศ

Current donation amount

11,703 THB

Target

38,500 THB
ดำเนินการไปแล้ว 30%
จำนวนผู้บริจาค 13

สำเร็จแล้ว

Project updates

ส่งมอบนิตยสารหมอชาวบ้านแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 15 แห่ง

25 January 2024

ส่งมอบนิตยสารหมอชาวบ้านให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) จำนวน 15 แห่ง ให้แก่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าแดง 
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงสนั่น
  4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำรุ่งเรือง
  5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสนา
  6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์
  7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง
  8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแร่
  9. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดตะกู
  10. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง
  11. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสะแก
  12. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเอง
  13. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเตา
  14. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบ๊ะบายะ
  15. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง

เจ้าหน้าที่และอสม.ของ รพ.สต.และประชาชนที่มาใช้บริการและอสม.ไปเยี่ยมประชาชนในขอบเขตของ รพ.สต. ทั้ง 15 แห่งประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพบื้องต้นก่อนพบแพทย์เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่มีผู้บริจาคผ่านโครงการเทใจ และมีประชาชนที่ยังขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ในการจัดส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไปยัง รพ.สต.อีกมาก

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

" ได้ความรู้ใหม่ที่ใช้ในการแนะนำผู้มารับบริการ " คุณอัศวิน รพ.สต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย

" นำความรู้ที่ได้ปรับใช้งานสุขศึกษา " คุณสงคราม รพ.สต.บ้านกลาง จังหวัดสกลนคร

" นำไปใช้โดยการฝึกปฏิบัติ ตามความรู้ที่ได้ " คุณรัตน์ รพ.สต.เหล่าแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
โรงพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในประเทศไทย15 แห่งรพสต.มีนิตยสารไว้บริการประชาชน และผู้ป่วยที่มาใช้บริการให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ
รูปภาพการดำเนินโครงการ




Read more »
See all project updates

ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไป 50 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพราะรพ.สต.มีภารกิจในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี แต่บุคคลากรมีปัญหาขาดแคลนองค์ความรู้ เพื่อให้บุคลากรฯ สามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทันสถานการณ์ จำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนท่านร่วมสนับสนุนโครงการฯ เพื่อหนุนสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรฯ ที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่ทั่วประเทศ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

โครงการ "ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” เพราะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพไทย เพราะมีความใกล้ชิดกับประชาชนและประชาชนนิยมเข้ารับการบริการเป็นจำนวนมาก มีภารกิจในการให้บริการทางด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิ ฟื้นฟูสมรรถภาพและบริการอื่นๆ ให้กับชุมชน โดยมุ่งเข้าหาประชาชนและชุมชนนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ประชาชนมีสุขภาพดี

แต่ปัญหาที่กำลังประสบคือ การขาดแคลนองค์ความรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน ทำให้บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรฯ สามารถพัฒนาศักยภาพการทำงาน จึงจำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา มีความเชื่อมโยงกับสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สามารถขับเคลื่อน รพ.สต. ทั่วประเทศ ให้เกิดคุณภาพตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในเชิงรุก และพร้อมที่จะดูแลประชาชนอย่างมีคุณภาพ

ตลอดระยะเวลากว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา "หมอชาวบ้าน" ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการรณรงค์หยุดการใช้ยาชุด, โครงการรณรงค์หยุดการผลิตยาแก้ปวดสูตรเอพีซี (มีส่วนผสมกาเฟอีน), โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, โครงการฟื้นฟูการนวดไทย, โครงการรณรงค์วิ่งเพื่อสุขภาพ, โครงการอบรมให้ความรู้แด่พระภิกษุและประชาชนทั่วไป ซึ่งได้ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัย “นิตยสารหมอชาวบ้าน” เป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนสู่พี่น้องประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

“นิตยสารหมอชาวบ้าน” (หนึ่งในโครงการเผยแพร่ความรู้ทางสื่อสิ่งพิมพ์ของมูลนิธิหมอชาวบ้าน โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน) เป็นสื่อที่ถ่ายทอดวิทยาการและองค์ความรู้ ส่งเสริมทักษะในการดูแลตนเอง เผยแพร่แนวคิดด้านสุขภาพองค์รวมให้กับประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้ดำเนินการมากว่า 44 ปี มีความสอดคล้อง/เหมาะกับการนำเป็นสื่อในการช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน

เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในระบบที่มีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา มีความเชื่อมโยงกับสื่อการเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งเป็นการขับเคลื่อน รพ.สต. ให้เกิดคุณภาพ ตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในเชิงรุก พร้อมที่จะดูแลประชาชนอย่างมีคุณภาพเมื่อเจ็บป่วย จึงขอเชิญชวนท่านร่วมสนับสนุนกิจกรรมโครงการฯ เพื่อหนุนสร้างการเรียนรู้ให้กับพี่น้องชาวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  • ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไปยัง 50 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้บุคคลากรและคนในพื้นที่ได้เท่าทันสถานการณ์

กลุ่มเป้าหมาย 

  • เจ้าหน้าที่ บุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ ทั่วประเทศ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

  • เจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ๆ ทันสถานการณ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ ปรับพฤติกรรมอนามัยของประชาชน และการบริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานอย่างมั่นใจ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลลงในนิตยสารหมอชาวบ้าน

• นพ.ประเวศ วะสี (บรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา) คอลัมน์ “คุยกับผู้อ่าน” และคอลัมน์ “บนเส้นทางชีวิต”

• นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (บรรณาธิการบริหาร) คอลัมน์ “บอกเล่าเก้าสิบ” และคอลัมน์ “สิ่งละอันพันละน้อย”

• นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ (บรรณาธิการอำนวยการ) คอลัมน์ “ถนนสุขภาพ”

• ศ.คลินิกแพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล อุปนายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย คอลัมน์ “แพทย์แผนจีน”

• นพ.ยงยศ จริยวิทยาวัฒน์ คอลัมน์ “สุขภาพต้องรู้”

• โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คอลัมน์ “ภูมิปัญญาสุขภาพ”

• อาจารย์คมสัน ทินกร ณ อยุธยา แพทย์แผนไทยราชสกุลทินกร คอลัมน์ “สุขภาพดี วิถีหมอไทย”

• นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คอลัมน์ “คนไข้หัวเราะ คุณหมอที่รัก”

• นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ ชมรมป้องกันและฟื้นฟูหัวใจ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คอลัมน์ “ก้าวทันสุขภาพ”

• ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ คอลัมน์ “เข้าใจ ไกลโรค”

• ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง อาจารย์สาขากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คอลัมน์ “โรคน่ารู้”

• สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย คอลัมน์ “เรื่องของผิว”

• สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล คอลัมน์ “เข้าครัว”

• ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) คอลัมน์ “ต้นไม้ใบหญ้า”

• อาจารย์กวี คงภักดีพงษ์ “สารัตถะ และคณะ” โครงการเผยแพร่โยคะเพื่อสุขภาพ คอลัมน์ “โยคะศาสตร์”

• ทนายคณพัส เพชรภัทระ สำนักงานทนายความเพชรภัทระ คอลัมน์ “กฎหมายใกล้ตัว”

• พญ.วราภรณ์ (ยงวณิชย์) ตั้งตรงไพโรจน์ คอลัมน์ “คลินิกจิตแพทย์”

• โค้ชชาร์ป-นิจจนันท์ แสนทวีสุข คอลัมน์ “พลังชีวิต”

• รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด คอลัมน์ “พืชเป็นยา”

• พญ.ณฐมน ศรีสำราญ จักษุแพทย์เฉพาะทางต้อหิน คอลัมน์ “มุมมองของดวงตา”

• ปารณพัฒน์ แอนุ้ย คอลัมน์ “ชีวิต-งาน-ทรรศนะ” และคอลัมน์ “เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย”

• นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ คอลัมน์ “ดูหนังหาความหมาย”

• ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ คอลัมน์ “บทความพิเศษ”

• ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล อุปนายกทันตแพทย์สภา คนที่ 1 คอลัมน์ “สุขภาพช่องปาก”

   การประเมินผล ให้ รพ.สต. ที่ได้รับนิตยสารหมอชาวบ้าน ส่งหนังสือตอบรับถึงผู้สนับสนุนโครงการฯ

ผู้บริหารโครงการ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารหมอชาวบ้าน

ผู้จัดการโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เนตรนภา ขุมทอง กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

เหรัญญิกโครงการ นางสาวชลลดา สิทธิฑูรย์ กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ผู้ประสานงานโครงการ นายเอกชัย ศิลาอาสน์ 

ส่งมอบนิตยสารหมอชาวบ้านแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 15 แห่ง

25 January 2024

ส่งมอบนิตยสารหมอชาวบ้านให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) จำนวน 15 แห่ง ให้แก่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าแดง 
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงสนั่น
  4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำรุ่งเรือง
  5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสนา
  6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์
  7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าผึ้ง
  8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองแร่
  9. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดตะกู
  10. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง
  11. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสะแก
  12. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมสร้างตนเอง
  13. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเตา
  14. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบ๊ะบายะ
  15. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง

เจ้าหน้าที่และอสม.ของ รพ.สต.และประชาชนที่มาใช้บริการและอสม.ไปเยี่ยมประชาชนในขอบเขตของ รพ.สต. ทั้ง 15 แห่งประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพบื้องต้นก่อนพบแพทย์เพิ่มขึ้นตามจำนวนที่มีผู้บริจาคผ่านโครงการเทใจ และมีประชาชนที่ยังขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ในการจัดส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไปยัง รพ.สต.อีกมาก

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

" ได้ความรู้ใหม่ที่ใช้ในการแนะนำผู้มารับบริการ " คุณอัศวิน รพ.สต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย

" นำความรู้ที่ได้ปรับใช้งานสุขศึกษา " คุณสงคราม รพ.สต.บ้านกลาง จังหวัดสกลนคร

" นำไปใช้โดยการฝึกปฏิบัติ ตามความรู้ที่ได้ " คุณรัตน์ รพ.สต.เหล่าแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
โรงพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในประเทศไทย15 แห่งรพสต.มีนิตยสารไว้บริการประชาชน และผู้ป่วยที่มาใช้บริการให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ
รูปภาพการดำเนินโครงการ




Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดพิมพ์และจัดส่ง แห่งละ 700 บาท เป็นเวลา 1 ปี 50 35,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
35,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
3,500.00

ยอดระดมทุน
38,500.00