project สิ่งแวดล้อม อื่นๆ

จาก“ผู้พ้นโทษ” สู่ “นักประเมินต้นไม้อิสระ”

ผู้พ้นโทษจำนวนมากเผชิญกับข้อจำกัดทางรายได้อันมาจากถูกกีดกันการประกอบอาชีพหลักและเสริม จึงเป็นโอกาสดีของการพัฒนาโอกาสอาชีพเสริม “นักประเมินไม้ยืนต้นอิสระ” ให้ผู้พ้นโทษ เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพฯ ด้วยการจัดทำข้อมูลประเมินความสมบูรณ์ของต้นไม้บนพื้นที่สาธารณะก่อนการวางแผนและแจกจ่ายงานของเจ้าหน้าที่กรุงเทพฯต่อไป

Duration 01 ธ.ค. 2566 ถึง 31 ก.ค. 2567 Area ระบุพื้นที่: กรุงเทพมหานคร

Current donation amount

61,345 THB

Target

60,500 THB
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 88

สำเร็จแล้ว

ผู้พ้นโทษจำนวนมากเผชิญกับข้อจำกัดทางรายได้อันมาจากถูกกีดกันการประกอบอาชีพหลักและเสริม จึงเป็นโอกาสดีของการพัฒนาโอกาสอาชีพเสริม “นักประเมินไม้ยืนต้นอิสระ” ให้ผู้พ้นโทษ เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพฯ ด้วยการจัดทำข้อมูลประเมินความสมบูรณ์ของต้นไม้บนพื้นที่สาธารณะก่อนการวางแผนและแจกจ่ายงานของเจ้าหน้าที่กรุงเทพฯต่อไป

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา


ด้วยค่าครองชีพในกรุงเทพฯที่สูง จึงไม่แปลกที่ในปัจจุบัน การประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมเป็นเรื่องธรรมดาและเหมาะสมของคนเมือง แต่ด้วยอคติทางสังคมที่มักไม่ยอมรับผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกแล้ว จึงทำให้ผู้พ้นโทษจำนวนมากเผชิญกับข้อจำกัดทางรายได้อันมาจากถูกกีดกันการประกอบอาชีพหลักและเสริม

ประกอบกับกฎหมายบางฉบับก็ยังมีลักษณะกีดกันผู้พ้นโทษให้ไม่สามารถประกอบอาชีพบางประเภทได้อีกด้วย จึงเป็นอีกหนึงสาเหตุที่สำคัญของการกระทำผิดซ้ำและถูกส่งกลับไปยังเรือนจำอีกภายใน 1, 2 และ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 15, 25 และ 33 ของผู้พ้นโทษทั้งหมดโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2556-2560 ดังนั้น การจะคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืนผู้พ้นโทษสมควรจะได้รับโอกาสให้สามารถประกอบอาชีพมีรายได้พึ่งพิงตัวเองได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในแง่เศรษฐกิจตลาดแรงงานไทยมีความขาดแคลนแรงงานเป็นอย่างมากจนต้องใช้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ผู้พ้นโทษจึงเป็นทรัพยากรภายในประเทศที่มีคุณค่าที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้

จากผลการศึกษา “ลักษณะอาชีพที่ผู้พ้นโทษอยากทำ” คุณสมบัติสำคัญหลักๆควรจะต้องมีทั้งหมด 3 ประการ 1. ปฏิบัติและให้เกียรติเสมือนคนทั่วไป 2. มีอิสระกับการทำงานไม่ถูกจับจ้อง อันเป็นผลจากความเคยชินของวัฒนธรรมในเรือนจำ และ 3. ได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล

ประกอบกับ ทุกวันนี้ไม้ยืนต้นสาธารณะในเมืองทั่วประเทศมักถูกผูกขาดหน้าที่การดูแลไว้เพียงแต่หน่วยงานรัฐ และเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการบริหารเมืองที่ยั่งยืนสากล ประชาชนผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากต้นไม้เหล่านี้ควรมีส่วนร่วมในการสอดส่องและดูแลต้นไม้สาธารณะเหล่านี้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ  ซึ่งแนวความคิดนี้ควรนำไปปรับใช้กับทรัพย์สินสาธารณะอื่นๆต่อไป

กรุงเทพมหานคร  ได้มีความตั้งใจในการพัฒนาฐานข้อมูลต้นไม้สาธารณะ (Public Tree Map) ซึ่งถือเป็นพื้นฐานข้อมูลเริ่มต้นก่อนจะนำไปสู่การพัฒนาช่องทางการให้ประชาชนได้ร่วมกันสอดส่องดูแลต้นไม้เหล่านี้ โดยทำงานร่วมกับกลุ่ม GreenDot. ในการกลไกกองทุนและช่องทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดูแลเมืองสีเขียวนี้ร่วมกันผ่านกลไกสมาเมืองคนรุ่นใหม่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อให้กรุงเทพฯก้าวข้ามข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคล จึงเป็นที่มาของการริเริ่มในการพัฒนา “นักประเมินไม้ยืนต้น” จากภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพฯ ประกอบกับช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นจากต้นไม้บนพื้นที่สาธารณะ ซึ่งลักษณะงานของนักประเมินไม้ยืนต้น มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ เป็นงานเสริมที่มีอิสระกับการทำงานโดยไม่จำกัดพื้นที่ทำงาน นับว่าตรงกับลักษระอาชีพที่ผู้พ้นโทษต้องการ

จึงเกิดเป็นไอเดียและแนวทางในการพัฒนาอาชีพนักประเมินต้นไม้อิสระให้กับผู้พ้นโทษ เพื่อแก้ปัญหาทางด้านรายได้ให้กลับผู้พ้นโทษในกรุงเทพฯ และยังนับว่าเป็นครั้งแรกที่จะพัฒนาประชาชนสู่การเป็นผู้ประเมินไม้ยืนต้นอิสระ โดยกระบวนการทำฐานข้อมูลไต้ไม้สาธารณะนี้ เราจะดำเนินการตามหลักของรุกขศาสตร์เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้สามารถต่อยอดไปสู่การวางแผนการตัดแต่งหรือดูแลต่อไปได้

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. พัฒนาสื่อทบทวนความรู้ประกอบการดำเนินอาชีพ “นักประเมินไม้ยืนต้นอิสระ”
  2. รับสมัครผู้พ้นโทษที่สนใจเข้าร่วมบ่มเพาะอาชีพ  (จำนวน 6 คน)
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาอาชีพเสริม “นักประเมินไม้ยืนต้น” ให้แก่ผู้เข้าร่วมเป็นเวลา 1 วัน
  4. ติดตามผลการปฏิบัติงานหลังงานอบรม (ระยะเวลา 5 เดือน)
  5. วิเคราะห์และสรุปผลการปฏิบัติงาน
  6. นำเสนอข้อมูลต้นไม้ที่ได้จากผู้เข้าร่วมผ่านทาง  https://www.greendot.click/tree-map

ผู้รับผิดชอบโครงการ

อานนท์  บุณยประเวศ  (กลุ่มงาน GreenDot.)

Facebook: -
Website: https://www.greendot.click

ไม่มีข้อมูล

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดทำสื่อทบทวนความรู้ประกอบการดำเนินอาชีพ 2 คน 7,000.00
2 ค่าจัดอบรมให้ความรู้นักประเมินต้นไม้ (ค่าตอบแทนวิทยากร) 1 คน 5,300.00
3 ค่าตอบแทนการประกอบอาชีพ "นักประเมินไม้ยืนต้นอิสระ" ให้แก่ผู้พ้นโทษที่เข้าร่วม (ตลอดระยะเวลา 5 เดือน) เฉลี่ยคนละ 5,000 บาท 6 คน 30,000.00
4 ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบและวินิจฉัยข้อมูลการประเมินไม้ยืนต้น 8,500 ต้น 12,700.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
55,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
5,500.00

ยอดระดมทุน
60,500.00