project Covid-19 กลุ่มคนเปราะบาง สิ่งแวดล้อม

ล้านมื้ออาหาร ขจัดความหิวโหย Million Meals to End Hunger

ภารกิจส่งต่อมื้ออาหารคุณภาพดีถูกหลักโภชนาการจำนวน 1 ล้านมื้อระหว่างมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ และบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้แก่ 144 ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กทม. ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ในโครงการนี้แต่ละชุมชนจะได้รับอาหาร 900-1,000 มื้อ/เดือน เป็นเวลา 7 เดือน

Duration 01 ก.ย. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 Area ระบุพื้นที่: กรุงเทพมหานคร , ภูเก็ต , ประจวบคีรีขันธ์ , เชียงใหม่ , พื้นที่แนวชายแดนภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

Current donation amount

5,123,097 THB

Target

5,250,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 98%
จำนวนผู้บริจาค 95

สำเร็จแล้ว

Project updates

มอบอาหาร ลดรายจ่ายใน 144 ชุมชนกลุ่มเปราะบาง

27 May 2022

มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัส ที แนนซ์ (SOS) ได้เริ่มไตรมาสปี 2565 ด้วยผลการดำเนินงานที่เกินความคาดหมาย โดยผลลัพธ์ของโครงการรักษ์อาหาร และครัวรักษ์อาหารของมูลนิธิฯทั้ง 4 สาขาทั่วประเทศไทยนั้นได้กอบกู้อาหารส่วนเกินไปแล้วเป็นจำนวน 273,260 กิโลกรัมจากภาคธุรกิจอาหาร ซึ่งเทียบเท่ามื้ออาหารเป็นจำนวน 1,147,694 มื้อ และเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 691,349 ตัน

สัมภาษณ์ผู้ได้รับประโยชน์

ซิสเตอร์ฉลาด แห่งคณะภคินีศรีชุมพาบาล – บ้านพักฉุกเฉินสำหรับสตรีและเด็ก ได้กล่าวว่าอาหารที่มูลนิธิฯ นำมาส่งให้ โดยเฉพาะอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเบเกอรี่ได้ช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณค่าทางารอาหารให้แก่มื้ออาหารสำหรับเด็ก และสตรีภายในศูนย์เป็นอย่างมาก ทำให้ศูนย์ลดความกังวลในการจัดการค่าใช้จ่าย และได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับอันตราย หรือปัญหาทางสังคมได้มากขึ้น

พี่แดงหัวหน้าชุมชนนางเลิ้ง เคยแบ่งปันประสบการ์ณกับมูลนิธิฯไว้ว่า เวลาที่ชุมชนได้รับอาหารบริจาคเป็นจำพวกสินค้าอาหารที่คนชุมชนไม่ได้มีกำลังซื้อมารับประทานทั่วไป อย่างน้ำผลไม้ หรือผลไม้กระป๋องที่มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นขายเพียงแต่ในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ชาวชุมชนจะรู้สึกดีใจได้รับของที่ดีมาแบ่งปันกันในครอบครัว นอกเหนือจากนี้ทุกครั้งที่มีจำนวนอาหารบริจาคมากเกินความต้องการของชุมชนที่พี่แดงอยู่ พี่แดงจะคอยประสานไปยังชุมชนใกล้เคียงที่ต้องความช่วยเหลือเช่นกันเสมอ ทำให้เห็นว่าอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงถึงน้ำใจ และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนหลายๆชุมชนเข้าด้วยกัน

ผู้ได้รับประโยชน์

ชุมชนจำนวนผลกระทบที่เกิดขึ้น
ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กทม. ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต144 ชุมชนเป็นการช่วยเหลือชาวชุมชนที่รายได้น้อย หรือได้รับผลกระทบจากการสูญเสียงานประจำเพื่อลดรายจ่ายค่าอาหารในภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และช่วยเหลือชุมชนห่างไกลที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ โดยการส่งอาหารผ่านอาสาสมัครทางไกล

ภาพประกอบ

ครัวชุมชนบ้านมั่นคงที่ปรุงอาหารส่งต่อให้แก่คนในพื้นที่บางพลัด

มูลนิธิ SOS สาขาหัวหินส่งต่ออาหารให้แก่ชุมชนชาวมุสลิมกว่า 120 ครัวเรือนที่ชุมชนสามพระยาสันติสุข

มูลนิธิ SOS สาขากรุงเทพฯ ส่งต่อผักสดให้แก่ชุมชนมาชิม ริมทางรถไฟเขตวัฒนา

มูลนิธิ SOS สาขาเชียงใหม่เข้ารับผักส่วนเกินจำนวนมากจากโครงการหลวงเพื่อส่งต่อให้แก่ชุมชนคนไร้บ้าน และชุมชนรายได้น้อยที่มีผู้สูงอายุมากในจังหวัด

มูลนิธิ SOS ร่วมมือกับมูลนิธิบ้านอุ่นรักในการส่งต่ออาหารให้แก่ 9 ชุมชนห่างไกลติดชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรี

Read more »
See all project updates

ภารกิจส่งต่อมื้ออาหารคุณภาพดีถูกหลักโภชนาการจำนวน 1 ล้านมื้อระหว่างมูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ และบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้แก่ 144 ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กทม. ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต ในโครงการนี้แต่ละชุมชนจะได้รับอาหาร 900-1,000 มื้อ/เดือน เป็นเวลา 7 เดือน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาความหิวโหยและปัญหาขยะอาหาร

    ข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ UNFAO ได้ระบุไว้ว่า มีอาหารจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของโลกถูกทิ้งลงหลุมฝังกลบทั้งที่ยังกินได้ในทุก ๆ ปีซึ่งหากคิดตามปริมาณน้ำหนักนั้นจะมีปริมาณมากถึง 1,300 ล้านตัน/ปี โดยขยะอาหารเหล่านี้จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 3,300 ล้านตัน/ปีซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ในขณะที่ยังมีผู้ขาดแคลนอาหารที่รอคอยความช่วยเหลืออยู่อีกถึง 815 ล้านคนทั่วโลก

    ในส่วนของประเทศไทย ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีโดยข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยกว่า 26.77 ล้านตัน/ปีในจำนวนนี้มีขยะอาหารปนเปื้อนมากถึง 64% มากไปกว่านั้นประเทศไทยยังมีความสามารถในการกำจัดขยะไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรงจากการที่ขยะอาหารปนเปื้อนลงสู่ดิน แหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดินอันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรค อีกทั้งยังผลิตก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากการขนส่งภาคพื้นดินและการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรงในปัจจุบัน

    อีกด้านหนึ่งสัดส่วนผู้ขาดแคลนอาหารและขาดสารอาหารในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มจาก 8.6% ในปีพ.ศ. 2559 เป็น 9.3% ในปี พ.ศ.2561 ซึ่งหากคิดเป็นจำนวนประชากรจะมีจำนวนมากถึง 6.475 ล้านคนทั่วประเทศที่ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมกลุ่มต่างๆ เช่น เด็กด้อยโอกาส คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อพยพ คนไร้บ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ลี้ภัย และผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังมีผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนในประเทศไทยอีกจำนวนมากถึง 6.89 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 9.9% ของประชากรทั้งประเทศ โดยตัวเลขดังกล่าวนี้นับรวมผู้สูงอายุ อพยพเข้ามาในประเทศไทย คนพิการที่ไม่มีงานทำที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนไปด้วย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เดิมทีมีภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะขาดแคลนอาหารในการดำรงชีวิตในระยะยาวอยู่แล้ว เนื่องจากไม่มีช่องทางในการสร้างรายได้ที่แน่นอนในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆด้านในชีวิต และในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยซบเซาอย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมกลุ่มคนเหล่านี้ให้มีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนอาหารเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

       แนวทางการแก้ไขและประโยชน์

    เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มูลนิธิจึงได้ดำเนินการกอบกู้อาหารส่วนเกินไปพร้อมกับการให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนอาหารในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี โครงการทั้งหมดของมูลนิธิฯถูกพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพอยู่เสมอ ตั้งแต่ด้านการจัดระบบผู้บริจาค การปฏิบัติการเข้ารับอาหาร การจัดระบบผู้รับ และการเก็บจัดสรรข้อมูล

ตั้งแต่ก่อตั้ง มูลนิธิให้ความสำคัญโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 โครงการหลักได้แก่

    “โครงการรักษ์อาหาร” ซึ่งระบบโลจิสติกส์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รถบรรทุกที่ใช้จำเป็นต้องติดตั้งตู้เย็นเพื่อคงสภาพของอาหารให้ปลอดภัยจนกว่าจะถึงมือผู้รับในแต่ละวัน รวมถึงการวางแผนเส้นทางเข้ารับอาหารจากผู้บริจาคประจำวันและการจัดการของบริจาคที่มีปริมาณมาก กระทั่งส่งต่อให้ผู้รับอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงการใช้พลังงานน้ำมัน ปริมาณอาหารและความต้องการของผู้รับ

    ต่อมาได้จัดตั้ง “โครงการครัวรักษ์อาหาร” ซึ่งเป็นอีกโครงการที่สำคัญที่สร้างระบบการถ่ายโอนอาหารส่วนเกิน ไปยังกลุ่มผู้เปราะบาง พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมของคนชุมชนผ่านครัวชุมชน วัตถุดิบอาหารจะถูกกระจายสู่ครัวชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำไปประกอบอาหารปรุงสุกที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และท้ายที่สุดนำส่งมอบให้กับกลุ่มผู้รับอาหารในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ดีได้เท่าที่ควร

    และ “โครงการรักษ์อาหารเพื่อชุมชนห่างไกล” ด้วยความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายกลุ่มอาสากู้ภัยและทหาร ทำให้อาหารถูกส่งต่อไปถึงผู้ขาดแคลนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตามแนวชายแดนของประเทศ และพื้นที่ห่างไกลยากแก่การเข้าถึงเช่นในป่า และบนดอยสูง

    นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการอาหารส่วนเกินอย่างง่าย ๆ ได้ที่บ้าน และจัดงานอีเวนท์ต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างการตระหนักรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

    ตั้งแต่การก่อตั้งในปี 2016 ตลอดมามูลนิธิฯได้ส่งมอบอาหารให้แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่สาขา (ที่มีอยู่) ตามชุมชนรวมถึงสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ มากกว่า 500 แห่ง ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 กลุ่มเปราะบางเหล่านี้ล้วนแต่มีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ผู้รับบริจาคอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารและไม่สามารถเข้าถึงคุณภาพดีได้ บางส่วนนอกจากจะมีรายได้น้อยแล้ว ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แม่และเด็ก แรงงานข้ามชาติ ภายหลังการระบาดของโควิด กลุ่มเปราะบางยิ่งมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ที่ไม่มีงานทำและผู้ที่ถูกลดเงินเดือน ซึ่งส่วนหนึ่งประกอบอาชีพด้านการบริการ เช่นพนักงานโรงแรม ร้านนวด และพนักงานรับจ้างทั่วไป

    สาขามูลนิธิฯ ในปัจจบันประกอบด้วย

1. SOS สาขากรุงเทพ (HQ) จัดตั้งในปี 2016

o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดกรุงเทพฯ และปริมณฑล 

2. SOS สาขาภูเก็ต จัดตั้งในปี 2019

o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดภูเก็ต

3. SOS สาขาหัวหิน จัดตั้งในปี 2020

o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี

4. SOS สาขาเชียงใหม่ กำลังจัดตั้ง (2021)

o ผู้ได้รับผลประโยชน์คลอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่


    นอกจากนี้เรายังมีภาคีเครือข่าย เช่น ทหารกองทัพบก ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือประชาชนและกลุ่มจิตอาสาต่างๆ ที่ช่วยส่งมอบอาหารสู่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และพื้นที่ในเขตชายแดน เช่นจังหวัด แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี นราธิวาส เป็นต้น


    ในพื้นที่สาขาของมูลนิธิฯ นอกจากกรุงเทพ (HQ) ที่ปฏิบัติการ 7 วันต่อสัปดาห์แล้ว สาขาภูเก็ตและหัวหินปฏิบัติการ 5 วันต่อสัปดาห์เนื่องจากมีบุคลากรน้อยกว่า ระบบการทำงานของมูลนิธิในทุกสาขามีลักษณะเหมือนกัน และพนักงานทุกคนที่ต้องสัมผัสอาหารจะได้รับการเทรนจากผู้เชี่ยวชาญ ในวันๆหนึ่งโครงการรักษ์อาหารจะเป็นปฏิบัติการหลัก ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการในภาพรวมจึงมีดังนี้

1. จัดการวางแผนเส้นทางตามข้อมูลผู้บริจาคและชุมชนผู้รับ

2. เข้ารับอาหารตามจุดต่าง และส่งต่อให้ชุมชนในวันเดียวกัน โดยยึดถือความปลอดภัยในการบริโภคเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด

3. ถ้าได้รับอาหารที่เก็บได้นานเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ข้าวสาร น้ำผลไม้ ซีเรียล อาหารสามารถถูกจัดสรรเพื่อแบ่งให้ภาคีเครือข่ายส่งมอบสู่พื้นที่ห่างไกล

4. ถ้ามีวัตถุดิบอาหารจำนวนมาก สามารถนำส่งต่อให้ครัวชุมชนเพื่อนำไปทำเป็นอาหารปรุงสุกแจกจ่ายให้กลุ่มเปราะบางในชุมชน

5. พัฒนนาระบบผู้บริจาค และภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง และเป็นที่ไว้วางใจ

6. พัฒนาระบบผู้รับอยู่เสมอ ให้ข้อมูลแม่นยำ ถูกต้อง และเข้าถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง

7. พัฒนาและอัพเดทการจัดเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

8. เทรนพนักงานและสอบถามหารือเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติการ และข้อแนะนำอยู่เสมอ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (Scholars of Sustenance Foundation) หรือ SOS Thailand  ร่วมกับบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นภาคีหลักที่สนับสนุนพันธกิจ และผู้สนับสนุนบริจาคอาหารมากว่า 400 แห่ง เช่น กลุ่มซุปเปอร์มาเก็ต กลุ่มโรงแรม กลุ่มโรงงานผลิตอาหารทั้งขนาดเล็ก, กลาง, ใหญ่ กลุ่มผู้ประกอบการด้านอาหาร โรงเรียนนานาชาติ และอีกมากมาย รวมถึงกลุ่มเครือข่ายจิตอาสาในชุมชน 

มอบอาหาร ลดรายจ่ายใน 144 ชุมชนกลุ่มเปราะบาง

27 May 2022

มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัส ที แนนซ์ (SOS) ได้เริ่มไตรมาสปี 2565 ด้วยผลการดำเนินงานที่เกินความคาดหมาย โดยผลลัพธ์ของโครงการรักษ์อาหาร และครัวรักษ์อาหารของมูลนิธิฯทั้ง 4 สาขาทั่วประเทศไทยนั้นได้กอบกู้อาหารส่วนเกินไปแล้วเป็นจำนวน 273,260 กิโลกรัมจากภาคธุรกิจอาหาร ซึ่งเทียบเท่ามื้ออาหารเป็นจำนวน 1,147,694 มื้อ และเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 691,349 ตัน

สัมภาษณ์ผู้ได้รับประโยชน์

ซิสเตอร์ฉลาด แห่งคณะภคินีศรีชุมพาบาล – บ้านพักฉุกเฉินสำหรับสตรีและเด็ก ได้กล่าวว่าอาหารที่มูลนิธิฯ นำมาส่งให้ โดยเฉพาะอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และเบเกอรี่ได้ช่วยเหลือในการลดภาระค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณค่าทางารอาหารให้แก่มื้ออาหารสำหรับเด็ก และสตรีภายในศูนย์เป็นอย่างมาก ทำให้ศูนย์ลดความกังวลในการจัดการค่าใช้จ่าย และได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับอันตราย หรือปัญหาทางสังคมได้มากขึ้น

พี่แดงหัวหน้าชุมชนนางเลิ้ง เคยแบ่งปันประสบการ์ณกับมูลนิธิฯไว้ว่า เวลาที่ชุมชนได้รับอาหารบริจาคเป็นจำพวกสินค้าอาหารที่คนชุมชนไม่ได้มีกำลังซื้อมารับประทานทั่วไป อย่างน้ำผลไม้ หรือผลไม้กระป๋องที่มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นขายเพียงแต่ในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น ชาวชุมชนจะรู้สึกดีใจได้รับของที่ดีมาแบ่งปันกันในครอบครัว นอกเหนือจากนี้ทุกครั้งที่มีจำนวนอาหารบริจาคมากเกินความต้องการของชุมชนที่พี่แดงอยู่ พี่แดงจะคอยประสานไปยังชุมชนใกล้เคียงที่ต้องความช่วยเหลือเช่นกันเสมอ ทำให้เห็นว่าอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงถึงน้ำใจ และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนหลายๆชุมชนเข้าด้วยกัน

ผู้ได้รับประโยชน์

ชุมชนจำนวนผลกระทบที่เกิดขึ้น
ชุมชนเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนใน 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กทม. ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และเชียงใหม่ รวมไปถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนซึ่งชุมชนส่วนมากประกอบไปด้วยผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ แม่และเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและได้รับความลำบากในการดำรงชีวิต144 ชุมชนเป็นการช่วยเหลือชาวชุมชนที่รายได้น้อย หรือได้รับผลกระทบจากการสูญเสียงานประจำเพื่อลดรายจ่ายค่าอาหารในภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และช่วยเหลือชุมชนห่างไกลที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารสดที่มีคุณภาพดีได้ โดยการส่งอาหารผ่านอาสาสมัครทางไกล

ภาพประกอบ

ครัวชุมชนบ้านมั่นคงที่ปรุงอาหารส่งต่อให้แก่คนในพื้นที่บางพลัด

มูลนิธิ SOS สาขาหัวหินส่งต่ออาหารให้แก่ชุมชนชาวมุสลิมกว่า 120 ครัวเรือนที่ชุมชนสามพระยาสันติสุข

มูลนิธิ SOS สาขากรุงเทพฯ ส่งต่อผักสดให้แก่ชุมชนมาชิม ริมทางรถไฟเขตวัฒนา

มูลนิธิ SOS สาขาเชียงใหม่เข้ารับผักส่วนเกินจำนวนมากจากโครงการหลวงเพื่อส่งต่อให้แก่ชุมชนคนไร้บ้าน และชุมชนรายได้น้อยที่มีผู้สูงอายุมากในจังหวัด

มูลนิธิ SOS ร่วมมือกับมูลนิธิบ้านอุ่นรักในการส่งต่ออาหารให้แก่ 9 ชุมชนห่างไกลติดชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรี

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 การส่งต่อมื้ออาหารให้ 144 ชุมชน จำนวนเดือนละ 900-1,000 มื้อต่อเดือน รวมทั้งสิ้น 1 ล้านมื้อ (ต้นทุน 5 บาทต่อมื้อ) 1,000,000 มื้อ 5,000,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
5,000,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (5%)
250,000.00

ยอดระดมทุน
5,250,000.00