จิตวิทยาบำบัดและกิจกรรมบำบัด เพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และถูกใช้ความรุนแรงในครอบครัว

ช่วยเหลือเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงจำนวน 45 คน ให้เด็กได้รับการบำบัดด้วยนักจิตวิทยาและกิจกรรมบำบัด
Duration 01 ก.ค. 2564 ถึง 31 ธ.ค. 2565 Area ระบุพื้นที่: ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านพักเด็กเรดิออน2), ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (บ้านพักเด็กเรดิออน1)
Current donation amount
433,638 THBTarget
433,538 THBสำเร็จแล้ว
Project updates
กิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ย.- ธ.ค. 65
กิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มูลนิธิมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก
1. ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 09.00 -16.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 4-6 คนต่ออาทิตย์ ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) หลังจากนักจิตวิทยาได้พูดคุยกับเด็ก จะนำข้อมูลของเด็กๆ ทุกคนมาพูดคุย ปรึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องกับเด็ก สร้างความเข้าใจในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อหาทางช่วยเด็กๆ
2. วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก และ 25 ธันวาคม 2565 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้ออกไปช่วยเหลือชุมชนโดยการจัดบูธเฟรนช์ฟรายส์ทอด เพื่อเสริมสร้างให้เด็กเข้าใจสังคม มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเห็นคุณค่าของการให้
3. วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 และวันเสาร์ที่3 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)
ภาพกิจกรรม
ภาพ: เป็นภาพที่เด็กได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)
ภาพ: เป็นภาพที่เด็กๆ กำลังจัดเฟรนช์ฟรายส์เป็นชุดๆใส่แก้วกระดาษ เพื่อแจกให้ผู้คนในชุมชน
ภาพ: ผู้มาร่วมกิจกรรมกำลังต่อแถวรับเฟรนช์ฟรายส์ที่เด็กได้จัดเตรียมไว้
ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก
ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก
ภาพ: กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็กสู่การเอาชนะใจตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย (ธรรมชาติบำบัด)
ความประทับใจของเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม
เจี๊ยะ
“ส่วนตัวของผม ผมมีความสุขครับที่ได้ไปใช้เวลากับธรรมชาติ และได้ทำในสิ่งที่ชอบ มันทำให้ผมรู้สึกผ่อนคลาย ได้ใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนๆ นอกจากนี้ทำให้ลืมกับที่เครียดมาทั้งวันได้”
หึ
“การได้ไปกีฬาสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก ทำให้ผมได้สร้างความสัมพันธ์ ทำความรู้จักผู้อื่น และรู้สึกประทับใจที่เราเป็นกันเองไม่แบ่งแยกกัน และก็สนุก และได้ช่วยคุมดูแลน้องๆด้วยครับ”
ไหมเล่า
“รู้สึกประทับใจที่นักจิตวิทยารับฟังหนู ไม่ตัดสินหนูในทางที่ผิด และมันทำให้หนูได้เรียนรู้จักการไม่ตัดสินอะไรก่อนด้วย”
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | จำนวน | ความเปลี่ยนแปลง |
เด็กและเยาวชนในโครงการที่อาศัยในพื้นที่หางดงจังหวัดเชียงใหม่ เด็กอายุ 12-21 ปี | 22 คน |
|
Read more »
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
มูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล ทำงานกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสมานานกว่า 14 ปี โดยเริ่มต้นจากกลุ่มเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ ทารุณกรรม ถูกค้ามนุษย์ ตลอดระยะเวลาช่วยเหลือ เราพบว่ายังมีเด็กอีกมากที่ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีจำนวนมากขึ้นทุกปี จึงริเริ่มโครงการ “street kids” เด็กข้างถนน โดยได้นำเด็กกลุ่มเสี่ยงออกจากพื้นที่ที่ถูกทำร้าย ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ให้แก่เด็กในพื้นที่หางดง จังหวัดเชียงใหม่ และชุมชนเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์
จากการลงพื้นที่ชุมชนเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าเป็นพื้นที่ประสบปัญหายาเสพติดสูง ส่งผลให้ชุมชนเผชิญปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัว ความรุนแรง ความยากจนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เด็กหลายคนตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้
มูลนิธิฯจึงทำการคัดเลือกเด็กในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 6 เงื่อนไข เพื่อเข้าช่วยเหลือ ดังนี้
- เด็กมีความเสี่ยงต่อยาเสพติด (ตัวเด็ก คนในครอบครัวและสิ่งแวดล้อม)
- เด็กถูกทารุนกรรมทางกายและใจ (จากคนในครอบครัว)
- เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ (จากคนในครอบครัว พิจารณารับเด็กเข้ามาอยู่ในมูลนิธิฯ โดยทันที)
- เด็กถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนใส่ใจ ดูแล เรื่องความเป็นอยู่ของเด็ก
- ครอบครัวมีปัญหาเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ครอบครัวแตกแยก
- ครอบครัวยากจน และเสี่ยงต่อการขาดปัจจัยขั้นพื้นฐาน (ด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัย การศึกษา
ปัจจุบันมีเด็กในโครงการจำนวน 45 คน อายุตั้งแต่ 5 ขวบ-18 ปี โดยแบ่งเป็นเด็กอายุ 5-12 ปี ( STREETKIDS 1 ) จำนวน 22 คน อาศัยอยู่ในตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และเด็กอายุ 13-21 ปี ( STREETKIDS 2 ) อาศัยอยู่ในอำเภอหางดง ซึ่งเด็กที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มาจากการย้ายเด็กขึ้นมาจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเด็กๆที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นกลุ่มคนชาติพันธุ์ในพื้นที่ประเทศไทยที่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนหรือร่วมแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการถูกคุกคามทางเพศ
จากการดำเนินการคัดเลือกเด็ก พบว่าเด็กในโครงการ 1 ใน 3 ถูกคุกคามทางเพศจากคนในครอบครัวและคนในชุมชน 2 ใน 3 ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทอดทิ้ง และถูกค้ามนุษย์ ส่งผลให้เด็กบางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดสภาวะโรคซึมเศร้า หวาดกลัว และรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า เด็กจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลด้านอาหารและการบำบัดจากนักจิตวิทยาเด็กโดยตรง โดยใช้กิจกรรม ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ดูแลควบคู่ไปกับชีวิตความเป็นอยู่เพื่อแยกเด็กให้ออกจากสภาพแวดล้อมเสี่ยง และสร้างชีวิตใหม่ให้กับเขาเพื่อออกไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
วิธีการดำเนินโครงการ
- คัดเลือกเด็กจากกลุ่มเสี่ยงและนำเด็กเหล่านี้ออกจากครอบครัวเข้ามาอยู่ในบ้านพักเด็กเรดิออน เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงและการถูกคุกคามทางเพศที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำ
- ให้เด็กปรับตัวกับสังคมใหม่ โดยมีผู้จัดการบ้านเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก และนักจิตวิทยาเด็ก คอยพูดคุย ดูแล และเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- เมื่อเด็กสามารถปรับตัวได้ ทำการลงทะเบียนเด็กเข้าโครงการ เพื่อดูแลเป็นเด็กประจำโครงการ และเข้ารับจิตวิทยาบำบัดเป็นประจำ
การรับเด็กเข้าโครงการฯ ยังรับสมัครอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เนื่องจากยังมีเด็กในชุมชนเข็กน้อยและพื้นที่ใกล้เคียงที่ยังไม่ได้รับโอกาสช่วยเหลือ และโครงการSTREETKIDS ยังคงดำเนินการต่อไปทุกปีเช่นกัน แต่เนื่องด้วยมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล ยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับคนไทยมากนัก ประกอบกับการระบาดของโควิด -19 ทำให้มูลนิธิฯ ไม่ได้รับการบริจาคทุนทรัพย์เพื่อดำเนินโครงการได้เท่าที่ควร ทำให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความยากลำบากในตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯจึงมุ่งหวังว่า การระดมทุนในครั้งนี้จะช่วยเหลือเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศ และเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงจำนวน 45 คน ให้เด็กเข้ารับการบำบัดกับนักจิตวิทยา เพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับพวกเขาเเละออกไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์
- Organisation in Special Consultative Status with the United Nations Economic& Social Council (ECOSOC)
- Lee Foundation (Singapore)
- International Indigenous Women's Fund (IWF)
- Health Expeditions International
- Wesley Methodist Church (Singapore)
- Project LIGHT (Singapore)
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ (Thailand)
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ (Thailand)
เริ่มแล้ว!! กิจกรรมบำบัด เพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัว
เริ่มดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก
- ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-17.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 21 คน กิจกรรมศิลปะบำบัด ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ การเข้าสังคม และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก
- ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 5 ขวบ – 21 ปี จำนวน 45 คน ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงกับนักจิตวิทยาเด็กคนละ 1 ชั่วโมง โดยนักจิตวิทยาและผู้จัดการโครงการทำการบันทึกทัศนคติ อารมณ์ และจิตใจเด็ก พร้อมประเมินความเสี่ยงขอสภาวะซึมเศร้า (หากบันทึกสมบูรณ์และรวมส่งการเปลี่ยนแปลงของเด็กในโครงการอีกครั้ง)
- วันจันทร์ที่ 4 – 8 เมษายน 2565 ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 21 คน เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีสัมพันธ์ จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ สอดแทรกความสามัคคี การปรับตัวเข้าหาผู้อื่น และการเรียนรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เด็กได้ผ่อนคลาย ได้เรียนรู้จักคุณค่าของตนเอง ความสามารถของตนเอง ผ่านกิจกรรมย่อย อาทิ การแข่งขันทำอาหาร การแข่งขัน COVER DANCE การแข่งกีฬาสามัญ (กีฬาบำบัด)
สัมภาษณ์น้องๆที่ได้ร่วมกิจกรรม
น.ส.ดี้ เข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะบำบัด
“หนูวาดภาพเก่งขึ้นเพราะการเริ่มทำศิลปะบำบัด หนูชอบตัวเองที่ได้วาดรูป รู้สึกอะไรก็วาดเข้าไป เหมือนได้ระบายอารมณ์ และได้ส่งผลงานขอบคุณคนที่เขาสนับสนุนหนูด้วย ”
นายไพโรจน์ เข้าร่วมกิจกรรมด้านจิตวิทยาบำบัดรายบุคคล
“ผมว่าเด็กสมัยนี้ติดโซเชียล เพื่อน มากกว่าเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรา เวลามีอะไรหนักใจก็ไประบายกับเพื่อน ปรึกษาคนข้างนอก ถ้าเพื่อนดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีก็พากันไปเสีย ผมว่าการมีพี่เขาที่ให้เวลาเราได้คุย เขาให้คำปรึกษาที่ดี และปลอดภัยสำหรับผมและน้องๆ”
นายปัญญาดี เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสี
“ผมชอบมากครับ 2 ปีแล้วที่โควิดทำให้ไม่ได้ทำอะไรที่อยากทำ อยากออกไปไหนก็ไม่ได้ กีฬาสีทำให้เด็กในบ้านมีความสุขอีกครั้ง ผมชอบเล่นกีฬามากครับ”
ภาพกิจกรรม
ความเจ็บปวดและบาดแผลเหมือนน้ำที่เราแบก แต่เมื่อเราได้รู้ว่าทุกคนก็มีบาดแผลของตนเองที่ต้องแบก และได้แชร์ความเจ็บปวด ความรู้สึกเจ็บปวดนั้นก็เบาขึ้น
นักจิตวิทยา-พี่เลี้ยง ร่วมกับเด็กเล่นกิจกรรมกีฬาสีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ และสร้างความเป็นเพื่อนและส่วนหนึ่งของกันและกัน
กิจกรรมกีฬาบำบัด- เด็กออกจากโซนของตนเองและร่วมใช้ชีวิตกับผู้อื่นมากขึ้น
ผู้จัดการ-พี่เลี้ยง พาน้องๆทัศนศึกษานอกสถานที่ น้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ศิลปะบำบัด – เด็กเริ่มค้นหาประเภทงานศิลปะที่ตนเองชื่นชม โดยผลงานสร้างสรรค์ในหัวข้อ “ชีวิตของ ฉัน” ฉันได้เริ่มใช้โทนสี ลานเส้น ผสมผสานเพื่อสร้างภาพ พี่เลี้ยงได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเด็กเพื่อประเมินสุขภาพจิตของเด็กขั้นพื้นฐานตามแนวทางจิตวิทยาและการเยียวยาบาดแผลภายใน
กิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ค.- ต.ค. 65
โครงการได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม 2565 กิจกรรมที่จัดให้กลุ่มเด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก
1. ทุกวันเสาร์อาทิตย์แรกและอาทิตย์ของเดือน เวลา 09.00 -11.00 น. เด็กอายุ 12-20 ปี จำนวน 22 คน กิจกรรม Big cleaning day ให้งานบ้านเยียวยาจิตใจ (จิตวิทยาของการเก็บกวาดและตกแต่งบ้าน)
2. ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ ช่วงเวลา 16.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านกิจกรรม ONE ON ONE เป็นกิจกรรมที่ให้คำปรึกษากับเด็ก ผ่านทางการสำรวจ 5 ด้านหลักๆ คือ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ ด้านสังคม (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)
โดยกิจกรรมนี้จะมีการแบ่งเด็กออกเป็นสามกลุ่มตามจำนวนนักจิตวิทยา ซึ่งแต่ละคนจะมีการนัดเพื่อพูดคุยกับเด็กตามตาราง การพูดคุยจะมีแบบฟอร์มให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงใน 5 ด้าน หากทำการพูดคุยเรียบร้อยนักจิตวิทยาจะมาพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเด็กและหาทางช่วยเด็กในด้านที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ
3. วันจันทร์ที่ 4 และ 10 ตุลาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)
ความประทับใจจากเด็กที่ร่วมกิจกรรม
นายไกรวิชญ์ “ได้ปรึกษาในสิ่งที่เรานั้นมีปัญหาและการเรียนต่างๆ และได้รับคำตอบที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างดี และได้ประทับใจคำถามแต่ละคำถาม และที่สำคัญคือได้ระบายความในใจให้กับพี่เลี้ยงได้รู้ในปัญหาของชีวิตเราครับ”
นายสมยศ “ผมได้รู้จักความอดทนเพื่อไปสู่เป้าหมายและรู้จักช่วยเหลือคนอื่น และได้เห็นถึงความมีนํ้าใจของเพื่อน ประทับใจที่มีผู้หญิงไปถึงด้วย ถึงจะน้อยเเต่ก็เห็นความพยายามที่เขาตั้งใจเดินทางจุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง ได้รับอากาศที่ดีลมเย็นสบาย การไม่ทิ้งให้คนใดคนหนึ่งเดินคนเดียวทุกคนต่างรอกันเเเละกันจัดการอาหารน้ำให้พอดีเพื่อว่าจะไม่หมดก่อนที่จะถึงเป้าหมาย”
น.ส.พัชราพร “ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีความถูกต้องในการทำงานมากขึ้น ได้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี ทำให้มีระเบียบวินัยมากขึ้นและเห็นถึงข้อเสียของความไม่เป็นระเบียบในบริเวณมูลนิธิ และการเป็นผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีในการทำความสะอาด รับฟังความคิดเห็นของพี่เลี้ยงและปรับปรุงในการทำBig cleaning day”
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (นับแบบสะสมตั้งแต่เริ่มทำโครงการ)
ภาพประกอบ
คำบรรยายภาพ : เป็นภาพที่พี่เลี้ยงกำลังพูดคุยกับน้องผ่านกิจกรรม ONE ON ONE เป็นกิจกรรมที่ให้คำปรึกษากับเด็ก ผ่านทางการสำรวจ 5 ด้านหลักๆ คือ ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ความสัมพันธ์ ด้านสังคม (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)
คำบรรยายภาพ : เด็กร่วมกิจกรรม Big cleaning day เพื่อสร้างความสามัคคี การมีระเบียบวินัย และการเป็นผู้นำที่ดีและผู้ตามที่ดีเพื่อให้มีสังคม เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
คำบรรยายภาพ : กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็กสู่การเอาชนะใจตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย (ธรรมชาติบำบัด)
กิจกรรมบำบัดเพื่อเด็กที่ถูกคุกคามทางเพศและใช้ความรุนแรงในครอบครัวเดือน พ.ย.- ธ.ค. 65
กิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มูลนิธิมูลนิธิเรดิออน อินเตอร์เนชั่นแนล จัดกิจกรรมกลุ่มให้เด็กในโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก
1. ทุกๆ วันเสาร์ เวลา 09.00 -16.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 4-6 คนต่ออาทิตย์ ได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก) หลังจากนักจิตวิทยาได้พูดคุยกับเด็ก จะนำข้อมูลของเด็กๆ ทุกคนมาพูดคุย ปรึกษากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องกับเด็ก สร้างความเข้าใจในด้านต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อหาทางช่วยเด็กๆ
2. วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก และ 25 ธันวาคม 2565 08.00 -21.00 น. เด็กอายุ 12– 21 ปี จำนวน 22 คน ได้ออกไปช่วยเหลือชุมชนโดยการจัดบูธเฟรนช์ฟรายส์ทอด เพื่อเสริมสร้างให้เด็กเข้าใจสังคม มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเห็นคุณค่าของการให้
3. วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 และวันเสาร์ที่3 ธันวาคม 2565 ช่วงเวลา 08.00 – 17.00 น. เด็กอายุ 12-21 ปี จำนวน 22 คน ทัศนศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็ก (ธรรมชาติบำบัด)
ภาพกิจกรรม
ภาพ: เป็นภาพที่เด็กได้รับการบำบัดรายชั่วโมงผ่านการเข้าพบนักจิตวิทยา โดยนักจิตวิทยาจะพูดกับเด็กในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบไปด้วยด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความสัมพันธ์ (ด้านการเรียน, การใช้ชีวิตในบ้านเด็ก)
ภาพ: เป็นภาพที่เด็กๆ กำลังจัดเฟรนช์ฟรายส์เป็นชุดๆใส่แก้วกระดาษ เพื่อแจกให้ผู้คนในชุมชน
ภาพ: ผู้มาร่วมกิจกรรมกำลังต่อแถวรับเฟรนช์ฟรายส์ที่เด็กได้จัดเตรียมไว้
ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก
ภาพ: เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆ ต่างหอพัก
ภาพ: กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ธรรมชาติ สัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เด็กสู่การเอาชนะใจตัวเองในการไปสู่เป้าหมาย (ธรรมชาติบำบัด)
ความประทับใจของเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม
เจี๊ยะ
“ส่วนตัวของผม ผมมีความสุขครับที่ได้ไปใช้เวลากับธรรมชาติ และได้ทำในสิ่งที่ชอบ มันทำให้ผมรู้สึกผ่อนคลาย ได้ใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนๆ นอกจากนี้ทำให้ลืมกับที่เครียดมาทั้งวันได้”
หึ
“การได้ไปกีฬาสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนๆต่างหอพัก ทำให้ผมได้สร้างความสัมพันธ์ ทำความรู้จักผู้อื่น และรู้สึกประทับใจที่เราเป็นกันเองไม่แบ่งแยกกัน และก็สนุก และได้ช่วยคุมดูแลน้องๆด้วยครับ”
ไหมเล่า
“รู้สึกประทับใจที่นักจิตวิทยารับฟังหนู ไม่ตัดสินหนูในทางที่ผิด และมันทำให้หนูได้เรียนรู้จักการไม่ตัดสินอะไรก่อนด้วย”
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | จำนวน | ความเปลี่ยนแปลง |
เด็กและเยาวชนในโครงการที่อาศัยในพื้นที่หางดงจังหวัดเชียงใหม่ เด็กอายุ 12-21 ปี | 22 คน |
|
Budget plan
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | อุปกรณ์แบดมินตัน สำหรับเด็ก 45 คน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ชุดละ 700 บาท | 4 ชุด | 2,800.00 |
2 | อุปกรณ์ฟุตบอล สำหรับเด็ก 45 คน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ชุดละ 500 บาท | 2 ชุด | 1,000.00 |
3 | อุปกรณ์ตะกร้อ สำหรับเด็ก 45 คน เพื่อใช้ในกิจกรรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการ ชุดละ 250 บาท | 2 ชุด | 500.00 |
4 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ ชุดละ 5,000 บาท | 2 ชุด | 5,000.00 |
5 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีกีต้าร์ ชุดละ 1,800 บาท | 2 ชุด | 3,600.00 |
6 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีอูคูเลเล่ ชุดละ 600 บาท | 4 ชุด | 2,400.00 |
7 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมด้านดนตรีบำบัด ค่าอุปกรณ์เครื่องดนตรีคีย์บอร์ด ชุดละ 5,900 บาท | 1 ชุด | 5,900.00 |
8 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์สีน้ำ ชุดละ 200 บาท | 20 ชุด | 4,000.00 |
9 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์สีไม้ ชุดละ 95 บาท | 20 ชุด | 1,900.00 |
10 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์แผ่นผ้า ชุดละ 145 บาท | 20 ชุด | 2,900.00 |
11 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์กระดาษวาดเขียน ชุดละ 185 บาท | 20 ชุด | 3,700.00 |
12 | อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัด ค่าอุปกรณ์กระดาษวาดเขียน ชุดละ 85 บาท | 5 ชุด | 425.00 |
13 | อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการบำบัดเด็ก ได้แก่ คอมพิวเตอร์สำหรับนักจิตวิทยา เครื่องละ 15,000 บาท | 1 เครื่อง | 15,000.00 |
14 | งบประมาณสำหรับการดำเนินทางออกนอกสถานที่เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าธรรมเนียมสถานที่ ครั้งละ 1,500 บาท | 2 ครั้ง | 3,000.00 |
15 | ค่าจ้างนักจิตวิทยาเด็กจำนวน 2 คนเต็มเวลา สำหรับเด็ก 45 คน บำบัดจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง/เดือน เป็นระยะเวลา 1 ปี (14,250บาท/เดือน/คน) | 2 คน | 342,000.00 |