project สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อื่นๆ

ซ่อมแซมแพเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

แพอาสาสมัครของเครือข่ายปกป้องพ่อแม่พันธุ์ปลาธรรมชาติ ณ ด่านตรวจร่วมห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี พุพังจนขาดความปลอดภัย เราจึงชวนระดมทุนเพื่อซ่อมแซมแพเพื่อให้อาสาสมัครมีที่อยู่ เข้าห้องน้ำและทำงานได้ปลอดภัย ระหว่างที่พวกเขาต้องปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูมีไข่ตามธรรมชาติ (ฤดูน้ำแดง)

Duration 15 ก.ย. 2566 ถึง 15 ต.ค. 2566 Area ระบุพื้นที่: ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี (แพอาสาสมัคร ด่านตรวจร่วม ห้วยบิคลี่)

Current donation amount

48,027 THB

Target

93,170 THB
ดำเนินการไปแล้ว 52%
จำนวนผู้บริจาค 99

สำเร็จแล้ว

Project updates

ซ่อมแซมแพที่ปากน้ำห้วยบิคลี่ กาญจนบุรี

9 April 2024

ในการซ่อมแซมแพครั้งนี้ เป็นแพอาสาสมัครที่ใช้ร่วมกันทำงานเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ทั้งพ่อแม่พันธุ์ปลาในธรรมชาติ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่าในพื้นที่ โดยพื้นที่ตั้งของแพอยู่ที่ปากห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

ในช่วงก่อนฤดูฝนเราได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหาย ประเมินการทำงาน ค่าใช้จ่าย และวางแผนการทำงานเพื่อการซ่อมแซมแพให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลาวางไข่ที่จะมีอาสาสมัครและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาทำงานภาคสนาม โดยมีทีมอาสาสมัครกลุ่มใบไม้จำนวน 6 คน เข้าพื้นที่สำรวจ และวางแผนการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยประมงฯ

เดือนมิถุยายน-กรกฎาคม เป็นช่วงวางแผนระดมทรัพยากรการทำงาน และเปิดรับทีมอาสาสมัครที่มีทักษะช่าง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ ได้ติดต่อเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัคร โดยในครั้งนี้มีทีมช่างอาสาเข้าร่วมวางแผนการทำงาน

  • เริ่มจากการรื้อถอนโครงสร้างที่มีการผุพัง โดยใช้อาสาสมัครร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ประมง ร่วมกันรื้อแพเก่าที่ได้รับความเสียหาย ใช้เวลา 3 วัน ในการทำงาน
  • ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ นำทีมช่างอาสาจำนวน 15 คน เข้าร่วมปฏิบัติงาน ในการทำโครงสร้าง เปลี่ยนเสา คาน โครงสร้างสำคัญของแพ โดยขณะทำงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงาน
  • การเข้าพื้นที่ทำงานของอาสาสมัคร ร่วมกับชาวบ้าน ช่างจากหน่วยประมง ในการก่อสร้างผนัง โต๊ะ ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ โดยมีการจัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุก่อสร้างในการทำงานเข้าไปเพิ่ม รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมในการซ่อมแซมแพ

จนถึงช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน เป็นผู้ดูที่ปลาและสัตว์น้ำจะเริ่มวางไข่ ทีมอาสาได้เข้าพื้นที่ทำโครงการเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลา แพแห่งนี้ก็ได้ซ่อมแซมจนแล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ รองรับการทำงานของอาสาสมัครไม่น้อยกว่าปีละ 50 คน ด้วยดี

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ ดีใจที่เห็นแพมีความแข็งแรงมั่นคง เพราะเป็นหนึ่งในอาสาสมัครที่ได้เข้าร่วมภารกิจทำงานกับกลุ่มใบไม้มาตั้งแต่แรก ๆ เห็นการทรุกโทรม ผุพังของแพ พร้อม ๆ กับประโยชน์ที่แพได้รองรับ ดูแล คนทำงาน ที่สามารถช่วยเหลืองานอนุรักษ์แม่ปลา เมื่อแพได้ถูกซ่อมแซมจึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าการทำงานจะเกิดความยั่งยืน ทั้งต่อปลา แม่น้ำ และต่อเครือข่ายอาสาสมัครคนทำงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ” คุณบัวลูกแก้ว ศักดิ์ชัชวาล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ 

“ รู้สึกได้ใช้ทักษะและความตั้งใจของตัวเอง ในการทำประโยชน์ เพราะการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสถานที่ แพทำงาน จำเป็นต้องมีความเข้าใจงานช่าง รู้จักวัสดุ ในครั้งนี้มีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่การสำรวจความเสียหายและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มใบไม้และพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลแพ เมื่อแพซ่อมแซมเสร็จก็เหมือนเราได้เห็นความสำเร็จไปด้วย และเชื่อว่าแพที่ช่วยกันซ่อมจะสามารถใช้งานเกิดประโยชน์ และพร้อมรองรับการทำงานของผู้คนได้อีกหลายปี ” คุณอาทร จักรวาลมลฑล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






Read more »
See all project updates

แพอาสาสมัครของเครือข่ายปกป้องพ่อแม่พันธุ์ปลาธรรมชาติ ณ ด่านตรวจร่วมห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี พุพังจนขาดความปลอดภัย เราจึงชวนระดมทุนเพื่อซ่อมแซมแพเพื่อให้อาสาสมัครมีที่อยู่ เข้าห้องน้ำและทำงานได้ปลอดภัย ระหว่างที่พวกเขาต้องปกป้องพ่อแม่ปลาในฤดูมีไข่ตามธรรมชาติ (ฤดูน้ำแดง)

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

แพอาสาฯ หลังนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยมีมูลนิธิอนุรักษ์ป่าตะวันตก เป็นผู้ริเริ่ม โดยอาศัยความร่วมมือขององค์กรเครือข่ายในโครงการปกป้องปลาในฤดูมีไข่ (ฤดูน้ำแดง) ถือเป็นแพหลังแรกที่ใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการทำงานเฝ้าระวัง ออกลาดตระเวนเพื่อป้องกันพื้นที่ และพ่อแม่พันธุ์ปลาในช่วงฤดูน้ำหลาก เปรียบเสมือนรากฐานสำคัญของการปกป้องทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ต้นน้ำแม่กลองแห่งนี้

แต่ละปี นอกจากการใช้งานปกติแล้ว ช่วงฤดูปลาวางไข่ อาสาสมัครกลุ่มต่าง ๆ จะมีการใช้งานแพหลังนี้ตลอดระยะเวลา 3 เดือน (ตามประกาศฤดูปลาวางไข่ของทางราชการ) โดยมีการออกทำงานไม่น้อยกว่า 50 วัน ในช่วงนั้น แต่ละครั้งต้องรองรับการทำงานของอาสาสมัครไม่ต่ำกว่า 20 คน และยังใช้เป็นด่านตรวจทางน้ำ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องปราม การกระความผิดเกี่ยวกับการทำการประมงน้ำจืด บริเวณต้นน้ำเขื่อนเขาแหลม

การใช้งานอย่างต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับสภาพอากาศ ฤดูกาล  ทำให้แพอาสาฯ ผุพังลง จนไม่สามารถใช้งานเพื่อรองรับการทำงานได้อีก โครงสร้างอาคารซึ่งมีโอกาสพังจนไม่สามารถใช้งานต่อหากไม่มีการซ่อมแซม กลุ่มใบไม้จึงได้มีแผนดำเนินการระดมทุน และเริ่มซ่อมแซมแพ โดยกำหนดซอมแซมแพในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงานช่าง และงานซ่อมแซมดังกล่าว เพื่อให้กลับมาใช้งานต่อได้อีก เป็นเสาหลักของการทำงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ของพื้นที่ต้นน้ำแม่กลอง ณ อ่างเก็บน้ำเขาแหลม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

โครงการได้ดำเนินการซ่อมแซมแพไปแล้วในเบื้องต้น โดยยังขาดงบประมาณในการซ่อมแซมแพต่อให้แล้วเสร็จ จึงมีแผนการดำเนินโครงการดังนี้

1.ระดมทุนสาธารณะ เพื่อนำมาจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมแพ ต่อเนื่องจากการซ่อมแซมในครั้งแรก

2.เปิดรับช่างอาสาสมัคร เพื่อเข้าพื้นที่ไปดำเนินการซ่อมแซมแพ

3.ดำเนินการซ่อมแซม โดยมีเนื้องาน 4 ส่วนได้แก่ 1.งานพื้นโครงสร้างแพ 2.งานสร้างห้องน้ำบนแพ 3.งานผนัง 4.งานหลังคาแพ

4.เป้าหมายของการใช้งาน เมื่อแล้วเสร็จ เพื่อใช้แพหลังนี้ เป็นครัวทำอาหาร เข้าห้องน้ำ เก็บอุปกรณ์ และเป็นที่พักพิงของอาสาสมัครคนทำงานในโครงการอาสาปกป้องปลาในฤดูมีไข่ รวมทั้งเครือข่ายคณะทำงานทุกภาคสนาม ให้เป็นฐานปฏิบัติการร่วม ที่ทุกคนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายโชคนิธิ คงชุ่ม ผู้ก่อตั้งกลุ่มใบไม้และผู้รับผิดชอบโครงการซ่อมแซมแพอาสาฯ

นายอาทร จักรวาลมณฑล อาสาสมัคร

นางสาวบัวลูกแก้ว ศักดิ์ชัชวาล อาสาสมัคร

ซ่อมแซมแพที่ปากน้ำห้วยบิคลี่ กาญจนบุรี

9 April 2024

ในการซ่อมแซมแพครั้งนี้ เป็นแพอาสาสมัครที่ใช้ร่วมกันทำงานเพื่องานป้องกันทรัพยากรทางน้ำ ทั้งพ่อแม่พันธุ์ปลาในธรรมชาติ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่าในพื้นที่ โดยพื้นที่ตั้งของแพอยู่ที่ปากห้วยบิคลี่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

ในช่วงก่อนฤดูฝนเราได้เดินทางเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหาย ประเมินการทำงาน ค่าใช้จ่าย และวางแผนการทำงานเพื่อการซ่อมแซมแพให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลาวางไข่ที่จะมีอาสาสมัครและหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาทำงานภาคสนาม โดยมีทีมอาสาสมัครกลุ่มใบไม้จำนวน 6 คน เข้าพื้นที่สำรวจ และวางแผนการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยประมงฯ

เดือนมิถุยายน-กรกฎาคม เป็นช่วงวางแผนระดมทรัพยากรการทำงาน และเปิดรับทีมอาสาสมัครที่มีทักษะช่าง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ ได้ติดต่อเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัคร โดยในครั้งนี้มีทีมช่างอาสาเข้าร่วมวางแผนการทำงาน

  • เริ่มจากการรื้อถอนโครงสร้างที่มีการผุพัง โดยใช้อาสาสมัครร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ประมง ร่วมกันรื้อแพเก่าที่ได้รับความเสียหาย ใช้เวลา 3 วัน ในการทำงาน
  • ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาด้วยสองมือ นำทีมช่างอาสาจำนวน 15 คน เข้าร่วมปฏิบัติงาน ในการทำโครงสร้าง เปลี่ยนเสา คาน โครงสร้างสำคัญของแพ โดยขณะทำงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงาน
  • การเข้าพื้นที่ทำงานของอาสาสมัคร ร่วมกับชาวบ้าน ช่างจากหน่วยประมง ในการก่อสร้างผนัง โต๊ะ ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ โดยมีการจัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุก่อสร้างในการทำงานเข้าไปเพิ่ม รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมในการซ่อมแซมแพ

จนถึงช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน เป็นผู้ดูที่ปลาและสัตว์น้ำจะเริ่มวางไข่ ทีมอาสาได้เข้าพื้นที่ทำโครงการเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลา แพแห่งนี้ก็ได้ซ่อมแซมจนแล้วเสร็จ สามารถใช้งานได้ รองรับการทำงานของอาสาสมัครไม่น้อยกว่าปีละ 50 คน ด้วยดี

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

“ ดีใจที่เห็นแพมีความแข็งแรงมั่นคง เพราะเป็นหนึ่งในอาสาสมัครที่ได้เข้าร่วมภารกิจทำงานกับกลุ่มใบไม้มาตั้งแต่แรก ๆ เห็นการทรุกโทรม ผุพังของแพ พร้อม ๆ กับประโยชน์ที่แพได้รองรับ ดูแล คนทำงาน ที่สามารถช่วยเหลืองานอนุรักษ์แม่ปลา เมื่อแพได้ถูกซ่อมแซมจึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าการทำงานจะเกิดความยั่งยืน ทั้งต่อปลา แม่น้ำ และต่อเครือข่ายอาสาสมัครคนทำงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่ ” คุณบัวลูกแก้ว ศักดิ์ชัชวาล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ 

“ รู้สึกได้ใช้ทักษะและความตั้งใจของตัวเอง ในการทำประโยชน์ เพราะการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสถานที่ แพทำงาน จำเป็นต้องมีความเข้าใจงานช่าง รู้จักวัสดุ ในครั้งนี้มีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่การสำรวจความเสียหายและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มใบไม้และพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลแพ เมื่อแพซ่อมแซมเสร็จก็เหมือนเราได้เห็นความสำเร็จไปด้วย และเชื่อว่าแพที่ช่วยกันซ่อมจะสามารถใช้งานเกิดประโยชน์ และพร้อมรองรับการทำงานของผู้คนได้อีกหลายปี ” คุณอาทร จักรวาลมลฑล อาสาสมัครที่ใช้งานแพ

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าแผ่นพื้นซีเมนต์บอร์ดจำนวน (แบบหนา) 20 แผ่น 20,000.00
2 แผ่นหลังคาเมทัลชีทแบบหนา ยาวแผ่นละ 2.5 เมตร (ทำหลังคา และผนัง) 45 แผ่น 14,700.00
3 อุปกรณ์น็อต สำหรับยึดหลังคา ผนัง พื้น 1 ชุดใหญ่ 3,000.00
4 อุปกรณ์ไฟส่องสว่าง หลอดไฟ สายไฟ สวิต 5 ชุด 3,500.00
5 ค่าใช้จ่ายของทีมช่าง ในการซ่อมแซมแพ 3 วัน 12,000.00
6 อุปกรณ์สุขภัณฑ์สำหรับห้องน้ำ / ประตูห้องน้ำ 1 ห้อง 5,500.00
7 กระดานไม้จริง สำหรับใช้ทำพื้นทางเดินรอบแพ 20 แผ่น 8,000.00
8 อุปกรณ์งานช่างอื่น ๆ / ค่าน้ำมันเครื่องปั่นไฟ 1 ชุด 6,000.00
9 แผงโซล่าเซล และอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า 12v 1 ชุด 12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
84,700.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
8,470.00

ยอดระดมทุน
93,170.00