project ผู้พิการและผู้ป่วย

สร้างเล้าไก่อารมณ์ดีเพื่อผู้ป่วยจิตเวช

สร้างเล้าไก่ 1 หลัง สำหรับเลี้ยงแม่ไก่พันธุ์ไข่จำนวน 100 ตัว เพื่อนำไข่ไก่มาประกอบอาหารให้ผู้ป่วยจิตเวชและเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย จำนวน 25 คน ที่ศูนย์พัฒนาชีวิตผู้ป่วยจิตเวช บ้านสวนสายใย-ก้อนแก้ว อ. คลองเขื่อน จ. ฉะเชิงเทรา เพื่อให้ผู้พิการทางจิตมีอาหารปลอดภัย ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ให้การเลี้ยงไก่เป็นกิจกรรมหนึ่งในการฟื้นฟูทางจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้งยังข่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง เพิ่มศักยภาพให้ศูนย์สามารถรองรับผู้ป่วยได้ต่อเนื่อง

Duration 01 เม.ย. 2565 ถึง 30 เม.ย. 2565 Area ทั่วประเทศ

Current donation amount

101,421 THB

Target

188,210 THB
ดำเนินการไปแล้ว 54%
จำนวนผู้บริจาค 98

สำเร็จแล้ว

Project updates

เปลี่ยนพื้นที่สร้างเล้าไก่อารมณ์ดี ในการดูแลของสมาคมสายใยครอบครัว จ.นนทบุรี

25 January 2023

หลังจากปิดการระดมทุน มูลนิธิ วี แชร์ ได้ประสานงานกับศูนย์พัฒนาชีวิตผู้ป่วยจิตเวชบ้านสวนสายใย-ก้อนแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา ว่าได้รับการสนับสนุนการสร้างเล้าไก้แล้ว และเพื่อส่งต่อโอกาสแก่ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มอื่น มูลนิธิ วี แชร์ จึงขอปรับเป็นสมาคมสายใยครอบครัว ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างในพื้นที่ในเขตโรงพยาบาลศรีธัญญาแทน

การวางแผนการจัดทำโครงการ มูลนิธิ วี แชร์ ได้เลือกการจัดทำโรงเรือนรูปแบบการสร้างเล้าไก่อารมณ์ดี เพื่อผู้ป่วยจิตเวช แบบเพิงหมาแหงนกลาย ลักษณะของโรงเรือนจะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว ทั้งนี้ เพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝน กันแดดได้ดีกว่าและข้อสำคัญคือ ค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบหน้าจั่ว


ภาพ: รูปแบบการก่อสร้างเล้าไก่ แบบเพิงหมาแหงานกลาย


ภาพ: เล้าไก่ที่กำลังจะสร้าง


ภาพ: ภายในเล้าไก่ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น

หลังจากการสร้างเล้าไก่เสร็จสิ้นแล้ว ให้ฉีดยาฆ่าเชื้อและโรยปูนขาวบนพื้นในเล้าไก่ แล้วจึงนำแกลบไปใส่ไว้บนพื้นในเล้าไก่ไม่หนา หรือบางมากจนเกินไป หากบางจนเกินไปจะทำให้ขี้ไก่แห้งช้า ส่งกลิ่นและสกปรก หากหนาเกินไป จะให้เกิดความหมักหมมและเกิดเชื้อโรคในไก่

เมื่อพ่นยาฆ่าเชื้อและโรยปูนขาวเสร็จแล้ว จึงนำแกลบมาลงไว้บนพื้น จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 20-25 วัน จนกว่า แกลบจะแห้ง จึงจะสามารถนำแม่ไก่ลงพื้นที่ได้


Read more »
See all project updates

สร้างเล้าไก่ 1 หลัง สำหรับเลี้ยงแม่ไก่พันธุ์ไข่จำนวน 100 ตัว เพื่อนำไข่ไก่มาประกอบอาหารให้ผู้ป่วยจิตเวชและเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย จำนวน 25 คน ที่ศูนย์พัฒนาชีวิตผู้ป่วยจิตเวช บ้านสวนสายใย-ก้อนแก้ว อ. คลองเขื่อน จ. ฉะเชิงเทรา เพื่อให้ผู้พิการทางจิตมีอาหารปลอดภัย ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ให้การเลี้ยงไก่เป็นกิจกรรมหนึ่งในการฟื้นฟูทางจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้งยังข่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง เพิ่มศักยภาพให้ศูนย์สามารถรองรับผู้ป่วยได้ต่อเนื่อง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

มูลนิธิเวิร์ลแชร์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทะเบียนเลขที่ กท 2702 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส สนับสนุนทุนยังชีพเพื่อคนกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้พิการ ผู้ยากไร้และผู้สูงอายุ สนับสนุนงานการฟื้นฟูผู้พิการทางจิตสังคม (ผู้ป่วยจิตเวช) และสนับสนุนโครงการช่วยเหลือสังคม เช่น สร้างห้องสมุด ซ่อมแซมโรงอาหารในโรงเรียน สร้างแทงค์น้ำดื่มสะอาดในโรงเรียนชนบท ทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อเด็ก นำทีมกลุ่มจิตอาสาลงพื้นที่เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ชุมชน เป็นต้น โครงการ "สร้างเล้าไก่และเลี้ยงไก่อารมณ์ดี เพื่อผู้ป่วยจิตเวช" จัดทำขึ้นเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้ศูนย์ฟื้นฟูฯ ผู้พิการทางจิตสังคม เผชิญสถานการณ์ความยากลำบากด้านอาหารการกิน การดำเนินชีวิตให้ปลอดภัยจากโควิด-19 รวมไปถึงงบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช ทำให้กิจกรรมการฟื้นฟูไม่สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยจิตเวชรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเข้ามารับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูฯ ได้ มูลนิธิจึงจัดโครงการนี้ขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อนำมาแก้ปัญหาจากสถานการณ์ปัจจุบัน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

(1) ผู้พิการทางจิตมีอาหารปลอดภัย

(2) ศูนย์ฟื้นฟูฯ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และพึ่งพาตนเองได้

(3) การเลี้ยงไก่อารมณ์ดีเป็นการเลี้ยงตามธรรมชาติไม่มีมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและผู้พิการทางจิต

(4) กิจกรรมเลี้ยงไก่เป็นวิธีหนึ่งในการฟื้นฟูทางจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยจิตเวช

(5) เพิ่มความสามารถในการรองรับผู้พิการทางจิตเข้ามาฟื้นฟูได้มากขึ้น (6) กิจกรรมการฟื้นฟูสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้ศูนย์ฟื้นฟูฯ ดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูผู้พิการทางจิต (ผู้ป่วยจิตเวช) ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถลดรายจ่าย สร้างรายได้ด้วยตนเอง นำโครงการมาทำเป็นกิจกรรมการฟื้นฟูทางธรรมชาติแก่ผู้พิการทางจิต เป็นการสร้างอาชีพให้กับผู้พิการทางจิตในอนาคต และศูนย์ฟื้นฟูฯ สามารถรับรองจำนวนผู้พิการทางจิตเข้ามารับการฟื้นฟูได้จำนวนมากขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันผู้ได้รับผลประโยชน์ เป็นผู้พิการทางจิต 20 คน ผู้ดูแล 5 คน ศูนย์ฟื้นฟูฯ สามารถลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้เฉลี่ย 4,000 บาทต่อดือน ศูนย์ฯ สามารถนำไข่จากไก่ที่เลี้ยงเองมาเป็นทำอาหารเพื่อเลี้ยงดูผู้พิการทางจิตในศูนย์ ดังนั้น เราจึงเริ่มต้นการแก้ปัญหาด้วยการเลี้ยงไก่อารมณ์ดี จำนวน 100 ตัว เป็นแม่ไก่พันธุ์ไข่ โดยให้อาหารบางส่วนผสมกับพืชผักในสวนที่มีอยู่ เช่น รำข้าวผสมกับจอกแหนทดแทนค่าอาหารไก่ ปล่อยให้ไก่มีอิสระอยู่กับธรรมชาติแทนการเลี้ยงในเล้าปิด ผู้พิการทางจิตสามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่แบบธรรมชาติ นำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต และศูนยฟื้นฟูฯ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้การพึ่งพาตนเอง ให้แก่ ชุมชน สังคม และผู้สนใจในท้องถิ่นได้

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ เพื่อดูแลการเลี้ยงไก่ จดบันทึกพฤติกรรม การเติบโต การผลิตไข่ และ บันทึกรายรับ-รายจ่ายเฉพาะการเลี้ยงไก่

2. เตรียมสถานที่ เพื่อสร้างเล้าไก่ ขนาด 6x9 ตารางเมตร

3. ทำรั้วสร้างบริเวณพื้นที่อิสระให้แก่ไก่ เพื่อเป็นไก่อารมณ์ดี ขนาด 18x25 ตารางเมตร

4. เตรียมอุปกรณ์ถังให้น้ำโดยใช้ถังแขวน

5. เตรียมอุปกรณ์รางอาหารไก่ โดยใช้พืชผักที่มีอยู่ เช่น มะละกอ กล้วย รำข้าว ข้าวโพด จอกแหน เป็นต้น

6. เตรียมตะกร้าใส่ฟางไว้สำหรับไก่วางไข่

7. ซื้อไก่สาวพันธุ์ไข่ อายุ 21 สัปดาห์ จำนวน 100 ตัว

8. การเลี้ยงไก้พันธุ์ไข่

 - ขังไก่ไว้ในเล้า เป็นเวลา 5 วันเพื่อให้ไก่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

 - หลังจากนั้น ปล่อยไก่ออกจากเล้าตอนเช้า และต้อนเข้าเล้าในช่วงเย็น

 - ทำความสะอาดถังให้น้ำทุกวัน และทำความสะอาดถังอาหารสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 - หากไก่มีอาการป่วย ให้แยกออกจากฝูง แยกรักษาก่อนนำกลับมาไว้ในเล้า

 - หากไก่ตายให้ทำการฝัง หรือเผา

9. การฉีดวัคซีน ปีละ 2 ครั้ง และถ่ายพยาธิ 3 เดือนครั้ง


ผู้รับผิดชอบโครงการ

เอื้องฟ้า  เพ้ยจันทึก  

มูลนิธิเวิร์ลแชร์

โทร. 020004225  มือถือ 0971292512

Line ID:  wsf2019

Facebook: https://www.facebook.com/WSF2702

Email: worldshare.wsf@gmail.com


เปลี่ยนพื้นที่สร้างเล้าไก่อารมณ์ดี ในการดูแลของสมาคมสายใยครอบครัว จ.นนทบุรี

25 January 2023

หลังจากปิดการระดมทุน มูลนิธิ วี แชร์ ได้ประสานงานกับศูนย์พัฒนาชีวิตผู้ป่วยจิตเวชบ้านสวนสายใย-ก้อนแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา ว่าได้รับการสนับสนุนการสร้างเล้าไก้แล้ว และเพื่อส่งต่อโอกาสแก่ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มอื่น มูลนิธิ วี แชร์ จึงขอปรับเป็นสมาคมสายใยครอบครัว ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างในพื้นที่ในเขตโรงพยาบาลศรีธัญญาแทน

การวางแผนการจัดทำโครงการ มูลนิธิ วี แชร์ ได้เลือกการจัดทำโรงเรือนรูปแบบการสร้างเล้าไก่อารมณ์ดี เพื่อผู้ป่วยจิตเวช แบบเพิงหมาแหงนกลาย ลักษณะของโรงเรือนจะดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว ทั้งนี้ เพราะมีการระบายอากาศร้อน กันฝน กันแดดได้ดีกว่าและข้อสำคัญคือ ค่าก่อสร้างจะถูกกว่าแบบหน้าจั่ว


ภาพ: รูปแบบการก่อสร้างเล้าไก่ แบบเพิงหมาแหงานกลาย


ภาพ: เล้าไก่ที่กำลังจะสร้าง


ภาพ: ภายในเล้าไก่ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น

หลังจากการสร้างเล้าไก่เสร็จสิ้นแล้ว ให้ฉีดยาฆ่าเชื้อและโรยปูนขาวบนพื้นในเล้าไก่ แล้วจึงนำแกลบไปใส่ไว้บนพื้นในเล้าไก่ไม่หนา หรือบางมากจนเกินไป หากบางจนเกินไปจะทำให้ขี้ไก่แห้งช้า ส่งกลิ่นและสกปรก หากหนาเกินไป จะให้เกิดความหมักหมมและเกิดเชื้อโรคในไก่

เมื่อพ่นยาฆ่าเชื้อและโรยปูนขาวเสร็จแล้ว จึงนำแกลบมาลงไว้บนพื้น จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 20-25 วัน จนกว่า แกลบจะแห้ง จึงจะสามารถนำแม่ไก่ลงพื้นที่ได้


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าปรับหน้าพื้นที่ดิน 8,000 บาท/วัน 1 วัน 8,000.00
2 สร้างเล้าไก่ ขนาด 6x9 ตารางเมตร 1 หลัง 50,000.00
3 สร้างรั้วบริเวณพื้นที่ ขนาด 18x25 ตารางเมตร 4 ด้าน 20,000.00
4 ถังให้น้ำไก่ ใบละ 200 บาท 20 ใบ 4,000.00
5 รางให้อาหารไก่ รางละ 300 บาท 10 ราง 3,000.00
6 ค่าอาหารไก่ เช่น รำข้าว ข้าวโพด 800 บาท 12 เดือน 9,600.00
7 ตะกร้าใส่ฟาง ใบละ 60 บาท 50 ใบ 3,000.00
8 ไก่สาวพันธุ์ไข่ ตัวละ 195 บาท 100 ตัว 19,500.00
9 ค่าดำเนินงาน ดูแลไก่ 3,000 บาท 12 เดือน 36,000.00
10 ค่าติดต่อประสานงาน 500 บาท 12 เดือน 6,000.00
11 ค่าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เช่น ยาพยาธิ วัคซีน เป็นต้น 1,000 บาท 12 เดือน 12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
171,100.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
17,110.00

ยอดระดมทุน
188,210.00