project สัตว์ สิ่งแวดล้อม

Below the Tides: ปะ ปลา ยูน หญ้า ณ เกาะหมาก

ในขณะที่เกาะหมากมีพื้นที่ประมาณ 12.3 ตร.กม. แต่มีแนวปะการังใหญ่ถึง 9.7 ตร.กม. และที่สำคัญบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมีดงหญ้าทะเล เนื่องจากสภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลต่อการฟอกขาวของปะการัง การท่องเที่ยวแบบไม่ดูแล การประมงผิดกฏหมาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง เกาะหมากถือเป็นโมเดลท่องเที่ยวที่อาศัยจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เน้นเรื่องแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เนื่องจากงบประมาณในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของรัฐมีจำกัด แต่การฟื้นฟูรักษาปะการังที่เกาะหมากนั้นไม่ยากเกินกำลัง เนื่องจากคนในชุมชนมีความตระหนักรู้ ตั้งใจที่จะทำและร่วมมือกัน เพียงแต่ขาดเงินทุนในการทำนุบำรุงแนวปะการัง ยิ่งทำเร็วก็ยิ่งดีเพื่อคืนสภาพแนวปะการังให้สมบูรณ์ คงไว้ซึ่งจุดแข็งสร้างศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจทั้งทางประมงและการท่องเที่ยวระดับสากล

ระยะเวลาโครงการ 05 ม.ค. 2567 ถึง 05 ก.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด (Koh Mak Coral Conservation Group)

ยอดบริจาคขณะนี้

73,840 บาท

เป้าหมาย

330,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 22%
69 วัน จำนวนผู้บริจาค 89

ในขณะที่เกาะหมากมีพื้นที่ประมาณ 12.3 ตร.กม. แต่มีแนวปะการังใหญ่ถึง 9.7 ตร.กม. และที่สำคัญบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมีดงหญ้าทะเล เนื่องจากสภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลต่อการฟอกขาวของปะการัง การท่องเที่ยวแบบไม่ดูแล การประมงผิดกฏหมาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง เกาะหมากถือเป็นโมเดลท่องเที่ยวที่อาศัยจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เน้นเรื่องแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เนื่องจากงบประมาณในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลของรัฐมีจำกัด แต่การฟื้นฟูรักษาปะการังที่เกาะหมากนั้นไม่ยากเกินกำลัง เนื่องจากคนในชุมชนมีความตระหนักรู้ ตั้งใจที่จะทำและร่วมมือกัน เพียงแต่ขาดเงินทุนในการทำนุบำรุงแนวปะการัง ยิ่งทำเร็วก็ยิ่งดีเพื่อคืนสภาพแนวปะการังให้สมบูรณ์ คงไว้ซึ่งจุดแข็งสร้างศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจทั้งทางประมงและการท่องเที่ยวระดับสากล

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวไว้ว่า ในขณะที่เกาะหมากมีพื้นที่ประมาณ 12.3 ตร.กม. แต่มีแนวปะการังใหญ่ถึง 9.7 ตร.กม. ถือว่าเป็นเกาะที่มีแนวปะการังใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก และมีแนวปะการังกว้างที่สุดของประเทศไทย และที่สำคัญบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมีดงหญ้าทะเล เนื่องจากสภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลต่อการฟอกขาวของปะการังและตายในที่สุด ประกอบกับการท่องเที่ยวที่มาแบบไม่ดูแล เช่นการว่ายน้ำ ดำน้ำ เหยียบปะการัง การขับเรือเพื่อกิจกรรมทางทะเลอย่างดำน้ำ ตกปลา แต่ไปทิ้งสมอเรือแถวแนวปะการัง ทำให้เกิดการแตก หัก อีกทั้งการประมงผิดกฏหมายเช่น เรือประมงขนาดใหญ่มีการเข้ามาในพื้นที่และระเบิดปลา ยาสลบเพื่อที่จะได้จับปลาให้ได้จำนวนมากๆ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อปะการัง

การที่ปะการังถูกทำลายส่งผลกระทบโดยตรงกับการขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่ใช้แนวปะการังในการวางไข่ หาอาหาร และอนุบาลตัวอ่อนความอุมสมบูรณ์ในท้องทะเล และบริเวณนี้มีแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่ง Blue carbon ช่วยเก็บกักคาร์บอนไดออกไซค์ได้อย่างดีเยี่ยม และจะกลายเป็นแหล่งอาหารที่นำมาซึ่งสัตว์หายากใกล้สูญพันธ์ทั้งเต่าทะเล และพยูนที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร ซึ่งการจะปลูกทดแทนหญ้าทะเลในบริเวณนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากพื้นทะเลด้านล่างเป็นซากปะการัง นอกจากนี้ ในเชิงเศรษฐกิจเกาะหมากเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวทางทะเล ถ้าความสมบูรณ์ทางท้องทะเลด้อยลงไป ก็คงหลีกหนีไม่พ้นต่อการสูญเสียความได้เปรียบ และความสามารถในการแข่งขันกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลงบทความกล่าวถึงการที่เกาะหมาก ถือเป็นโมเดลท่องเที่ยวที่อาศัยจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ มีภาพลักษณ์และกลยุทธ์เน้นเรื่องแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ นั่นก็คือไม่เน้นซึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวที่สร้างมลพิษ ลดใช้พลังงานและน้ำในที่พักแรม และรักษาวิถีดั้งเดิมของชุมชน จึงเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพได้อย่างดีเยี่ยม สะท้อนได้จาก จำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเดินทางไปเที่ยวที่เกาะหมาก เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15% ในปี 2562 เมื่อเทียบกับปี 2556 ในขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 50% ในช่วงเวลาเดียวกัน

เนื่องจากงบประมาณในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลมีจำกัด และอาจจะมีพื้นอื่นหรือเหตุการณ์ที่มีความเร่งด่วนมากกว่าที่เกาะหมาก แต่การฟื้นฟูรักษาปะการังที่เกาะหมากนั้นไม่ยากเกินกำลัง เนื่องจากคนในชุมชนมีความตระหนักรู้ ตั้งใจที่จะทำและร่วมมือกัน เพียงแต่ขาดเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐในการทำนุบำรุงแนวปะการัง ยิ่งทำเร็ว ทำก่อนก็ยิ่งดี เพื่อคืนสภาพแนวปะการังให้สมบูรณ์ และคงไว้ซึ่งจุดแข็งเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจทั้งทางประมงและการท่องเที่ยวในระดับสากล ก่อนหน้านี้ปะการังถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ห้ามล่า ห้ามทำอันตราย ห้ามครอบครอง ห้ามค้า หรือเพาะพันธุ์โดยมิได้รับอนุญาต เรื่องของการฟื้นฟูรักษาปะการังจึงถูกทิ้งมานานจนกระทั่ง นายนพดล สุทธิธนกูล (ลุงอึ่ง) รวมกลุ่มคนในชุมชนขึ้นมาและก่อตั้ง Koh Mak Coral Conservation Group เพื่อที่จะสามารถดำเนินการปลูกปะการังได้อย่างถูกกฏหมาย โดยได้รับอนุญาตในการทำนุบำรุงปะการังจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายนพดล สุทธิธนกูล (ลุงอึ่ง) ได้ก่อตั้ง Koh Mak Coral Conservation Group ขึ้นมาเพื่อที่จะทำการบูรณาการปะการัง ด้วยการสร้างปะการังเทียม (Artificial Reef) จากวัสดุที่แข็งแรง เช่น อิฐ โครงเหล็ก ท่อคอนกรีต อิฐบล็อค ตะแกรงเหล็ก กาว สายรัดเคเบิ้ล ตะปู เพื่อทนทานต่อกระแสน้ำในท้องทะเล มีน้ำหนักมั่นคง ทำให้การเคลื่อนตัวจากตำแหน่งน้อย เป็นที่เกาะยึดของสิ่งมีชีวิตพวกเกาะติดได้ดี อีกทั้งจะกลายเป็นแหล่งอาหารของปลาขนาดใหญ่ในลักษณะของสายใยอาหาร (food web) และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลน้อย จึงทำเป็นที่อยู่อาศัยให้แก่สัตว์ทะเล เป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้ปะการังจริงสามารถก่อตัวขึ้นอีกครั้ง และแพร่ขยายเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ในท้องทะเล บริษัทวีนีไทยเริ่มต้นให้ความช่วยเหลือลุงอึ่งด้วยการบริจาคท่อ PVC มาทำเป็นแปลงอนุบาลจำนวน 150 แปลง โดยที่แต่ละแปลงปลูกได้ประมาณ 12 กิ่งพันธุ์ ด้วยวิธีนี้ Koh Mak Coral Conservation Group ได้ปลูกปะการังรวมแล้วประมาณ 1,800 กิ่ง

ลุงอึ่งนำแปลงอนุบาลที่ทำจากท่อ PVC ไปวางรอบเกาะหมากออกไปจนถึงเกาะกูด วางจุดละประมาณ 5 แปลง เพราะต้องการตรวจสอบว่า สภาพน้ำตรงไหนดีที่สุด ลุงอึ่งอธิบายว่าจากที่สังเกตพบว่า หลังจากปลูกปะการังผ่านไปสัก 2 ปีเห็นว่ามีปลาเล็กมาอยู่ และปลาใหญ่ก็จะตามมาเวียนข้างนอก การปลูกปะการังเทียม (Artificial habitats) ดึงดูดให้สัตว์น้ำเข้ามาอยู่อาศัย หลบภัยและมีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น เพิ่มทั้งจำนวนปลาและความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ทำให้การประมงในพื้นที่ดีขึ้น แต่ถ้าไม่มีปะการังให้ปลาเล็กซ่อน ปลาใหญ่ก็ไม่มา

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) กับศรชล (ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล Thai Maritime Enforcement Command Center) เข้ามาช่วยเหลือในด้านการดูแล สอดส่องเรื่องประมงผิดกฏหมาย และมาตรวจสอบดูความเหมาะสมในการปลูกปะการังเทียม ถ้าที่ปลูกแล้วดูผิดแปลก ทางหน่วยงานรัฐจะส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาช่วยดูแล แนะนำ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เริ่มจาก เก็บเศษปะการังที่ยังมีชีวิตอยู่แต่แตกหักอยู่ในธรรมชาติมาแช่น้ำเพื่อเตรียมสำหรับการปลูก อย่าให้แห้ง นำท่อ PVC มาทำเป็นแปลงอนุบาลขนาด 60*120 เซนติเมตร โดยที่แต่ละแปลงจะมีท่อให้ปักปะการัง (แบบแจกัน) ได้ประมาณ 12 กิ่งพันธุ์ แล้วนำปะการังที่แช่น้ำไว้มาขันยึดไว้กับท่อ PVC ก่อนจะเสียบลงไปในแท่น PVC bed ที่เป็นแปลงอนุบาล เมื่อเสร็จแล้วนักดำน้ำจะนำแปลงอนุบาลไปวางตรงบริเวณที่ต้องการใต้ทะเล ตอกแปลงเพื่อยึด PVC bed ไว้ใต้น้ำ เอาไปเสียบในหิน ในซอก ในหลืบ หรือเอากาว epoxy มายึดติด ปะการังจะปล่อยหินปูนมาหุ้ม PVC รอบๆ จนมองไม่เห็น ข้อสำคัญคือการจัดวางปะการังเทียม ต้องมีช่องว่าง รู เพื่อให้น้ำผ่านได้สะดวก ง่ายต่อสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยภายใน

ส่วนในกรณีที่เป็นเศษปะการัง ประเภท ปะการังโขด (Porites lutea) หรือปะการังรูปทรงแบบก้อน มีการใช้อิฐบล๊อกที่มีพื้นที่ราบในการทำปะการังเทียมวางในน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ยึดเกาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการเกาะติด เช่น ปะการังสาหร่าย หอยนางรม จะทำการยึดโดยใช้กาวอีพ็อกซี่บนฐานยึดเกาะ อีกวิธีคือใช้ตะปูเหล็กยาวประมาณ 2 นิ้วตอกลงไปเพื่อเป็นแกนยึดแล้วใช้สายรัดยึดติดกิ่งพันธุ์ติดกับตะปูเหล็ก

หลังจากนั้นต้องคอยลงไปดูว่าปะการัง มันเชื่อมกันไหม ทั้งทางด้านข้างหรือด้านบน เพราะกิ่งเวลามันแตก มันเชื่อมกันเลยเพราะฉะนั้นต้องลงไปคอยดูทุกอาทิตย์ อีกทั้งปะการังแต่ละสี แต่ละชนิดอยู่ติดกันไม่ได้ กิ่งที่ติดกันจะตายหมด และมันก็จะเชื่อมกันไม่ได้ มันจะเป็นแผลถลอก เช่น ปะการังเขากวางสีเขียว ไปวางติดกับสีม่วง ก็ไม่ได้ หรือ ปะการังเขากวางไปแปะติดกับปะการังโขดก็ไม่ได้นะ ปะการังโขดจะตายหมดเพราะปะการังเขากวางโตเร็วกว่ามันจะไปคลุมแดดหมดเลย พอมันโตก็ค่อยย้ายมันไปปลูกตามแนวธรรมชาติ

เดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2567 นี้ลุงอึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะถึงเวลาต้องเริ่มทำการโยกย้ายปะการังที่อนุบาลจากแปลง PVC ออกจากแปลงก่อนที่มันจะประสานกัน จะเอาออกมา และใช้ epoxy นำปะการังที่โตได้ขนาดไปแปะบนโขดเทียมที่ทำจากซีเมนต์บ้าง ไม่ก็นำไปแซมในร่องทรายที่มีปะการังเก่าบังอยู่ในธรรมชาติให้สวยยิ่งขึ้น และนำแปลง PVC ชุดเดิมมาใช้ซ้ำในการอนุบาลปะการังรุ่นต่อๆ ไปได้ เพื่อทำให้แนวปะการังเดิมอุดมสมบูรณ์ และยั่งยืน


ผู้รับผิดชอบโครงการ

นาย อริณชย์ ทองแตง

ดญ. อริสา ทองแตง 

ผู้ก่อตั้ง Below the Tides

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 การออกเรือจะใช้บุคลากรประมาณ 6 คน ค่าน้ำมันเบนซินเฉลี่ยวันละ30ลิตร ประเมินว่าไม่เกิน 40บาทต่อลิตร เท่ากับประมาณ 1200บาท ค่าถังอากาศถังละ 200บาท สำหรับ 5 คน เป็นจำนวนเงิน 1000บาท ค่าอุปกรณ์ดำน้ำ คนละ 100 รวม 500บาท ค่าอาหารมื้อกลางวัน คนละ 100บาท สำหรับ 6 คน รวม 600บาท และค่าอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ใช้ในการปลูกปะการังเทียมตกประมาณ2000 บาท ประมาณ 57ครั้ง 300,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
300,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
30,000.00

ยอดระดมทุน
330,000.00

บริจาคให้
Below the Tides: ปะ ปลา ยูน หญ้า ณ เกาะหมาก

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน