project สัตว์

บ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู

พังบุญชูมีเท้าและขาด้านหลังที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากปัญหาการใช้แรงงานหนักโดยมนุษย์ และด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเดิน การเคลื่อนไหวของพังบุญชูช้ากว่าปกติ สายตาก็ไม่ดี เพื่อให้บุญชูมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในบั้นปลายสุดท้ายของชีวิต จึงเป็นที่มาของโครงการ สร้าง"บ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู"

ระยะเวลาโครงการ 01 มิ.ย. 2566 ถึง 01 ม.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

67,543 บาท

เป้าหมาย

398,970 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 17%
จำนวนผู้บริจาค 188

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ปรับปรุงโครงสร้างบ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู

15 มีนาคม 2024

โครงการ บ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู ได้เปิดระดมทุนโดยมุ่งหมายรีโนเวทบ้านที่เสื่อมโทรมให้กับพังบัญชูด้านข้างคลินิกช้าง เนื่องด้วยยอดระดมทุนยังไม่เพียงพอ ปัจจุบันมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียจึงได้เข้าปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในเฟสแรก ดังนี้

  • ทำโครงสร้างคอกเหล็กใหม่ทั้งหมด
  • ปูพื้นปูนใหม่

ส่วนในเฟสที่ 2 จะดำเนินการดังนี้

  • ติดตั้งหลังคา
  • ปรับปรุงราวกั้น
  • ทำประตูเข้าออกใหม่
  • ต่อระบบน้ำสำหรับดื่มกิน
  • ต่อระบบไฟสำหรับใช้กรณีฉุกเฉิน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

" โครงการบ้านช้างชรา ถือเป็นโครงการตัวอย่างให้กับปางช้างต่างๆ ในภาคเหนือที่มีช้างชรา ช้างพิการ ได้พัฒนาคอกช้างให้มีประสิทธิภาพและเหมาะกับช้างชรา ไม่ว่าจะเป็นประตูทางเข้าที่กว้างขึ้น พื้นนอนที่แบ่งเป็นทั้งปูนและทราย เพื่อให้ช้างชราทุกๆ เชือกในเชียงใหม่ มีอาหารการกินที่สะอาด มีน้ำไว้สำหรับดื่ม และจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามหลักสวัสดิภาพช้าง และช้างจะได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีความสุข " นายณัฐกานต์ แก้วกันภัย ผู้จัดการมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์ช้าง พังบุญชู1 เชือกบ้านอาศัยที่แข็งแรง ปลอดภัยในการอยู่อาศัย
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

พังบุญชูมีเท้าและขาด้านหลังที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากปัญหาการใช้แรงงานหนักโดยมนุษย์ และด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเดิน การเคลื่อนไหวของพังบุญชูช้ากว่าปกติ สายตาก็ไม่ดี เพื่อให้บุญชูมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในบั้นปลายสุดท้ายของชีวิต จึงเป็นที่มาของโครงการ สร้าง"บ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู"

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ช้าง มีอายุที่ยืนยาวเหมือนคน บางเชือกอยู่ได้ถึง 98 ปี โดยในปัจจุบันจำนวนช้างชราหรือช้างเกษียณอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มที่สูงมากขึ้น การที่ช้างเหล่านี้อายุมากขึ้นนั่นหมายความว่าสุขภาพของพวกเขาก็ยิ่งถดถอยลงไปมากด้วย ด้วยเหตุนี้เอง ช้างชราทั้งหลายจึงไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจึงเป็นที่มาของชื่อ "ช้างเกษียณอายุ" ซึ่งบางเชือกนั้นในบั้นปลายไม่ได้รับการเอาใจใส่ที่ดีนัก ส่งผลให้ช้างเหล่านั้นใช้ชีวิตอยู่ด้วยความลำบากจนกว่าพวกเขาจะสิ้นอายุขัย หนึ่งในนั้นคือ "พังบุญชู" เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในชีวิตบั้นปลายสุดท้ายของพังบุญชู โดยบุญชูมีปัญหาสุขภาพดังนี้

ประวัติพังบุญชู เพศเมีย อายุ 41 ปี เป็นช้างที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิออนุรักษ์ช้างเอเชีย

ปัจจุบัน มีปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

ปัญหาด้านการกิน

เนื่องจากพังบุญชูมีอายุมาก ทำให้ฟันของพังบุญชูหลุดร่วง เหลือเพียงฟันไม่กี่ซี่ สำหรับการเคี้ยวอาหาร ทำให้การเคี้ยวอาหารของพังบุญชูช้ากว่าปกติ และจำเป็นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษในการให้อาหารแบบละเอียดอ่อน

ปัญหาด้านการมอง

พังบุญชูประสบปัญหาการมองเห็น เนื่องจากดวงตาของพังบุญชูมีลักษณะพล่ามัว เหมือนต้อในมนุษย์ และไม่สามารถรักษาได้ ในปัจจุบันยังมีการมองเห็นได้อยู่เพียง 60%

ปัญหาด้านการเดิน

พังบุญชูมีเท้าและขาด้านหลังที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากปัญหาการใช้แรงงานหนักโดยมนุษย์ และด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเดิน การเคลื่อนไหวของพังบุญชูช้ากว่าปกติ

ปัญหาทางด้านจิตใจ

พังบุญชูยังมีนิสัยที่ไม่ค่อยชอบมนุษย์ เพราะมนุษย์ใช้แรงงาน อีกทั้งยังโดนทุบตี จนเกิดเป็นภาพฝังใจ ว่ามนุษย์ไม่ใช่เพื่อน ดังนั้นทางมูลนิธิ จึงจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพังบุญชูในทุกๆวัน เพื่อให้พังบุญชูกลับมารักและเข้าใจมนุษย์อีกครั้งจึงเป็นที่มาของโครงการ "บ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู" จัดตั้งโดยมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย

มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียจะสร้างโรงช้างที่มีลักษณะพิเศษขึ้นมาเพื่อเป็นบ้านพักสำหรับช้างชราโดยเฉพาะ โดยใช้วัสดุก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ มั่นคง แข็งแรง มีประตูที่กว้างขึ้นกว่าปกติสำหรับง่ายต่อการขนย้ายในกรณีขนย้ายช้างสูงวัยที่เจ็บไข้ได้ป่วยส่งโรงพยาบาล มีคอกที่ต่ำลงเพื่อให้ช้างสูงวัยได้มองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติเพื่อสุขภาพจิตที่ดี จัดที่สำหรับพักกักเก็บอาหารและบ่อน้ำดื่มที่สะอาด รวมถึงจัดการระบบน้ำ ระบบไฟ และระบบกล้องวงจรปิดสำหรับดูอาการช้างชราในกรณีล้มป่วย ปัจจุบันยังไม่มีต้นแบบของบ้านพักช้างชรา มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียจะจัดสร้างขึ้นเป็นที่แรก เพื่อเป็นต้นแบบให้สำหรับปางช้างที่มีช้างชราได้ไปพัฒนาความเป็นอยู่ของช้างเหล่านี้ เพื่ออนุรักษ์และคงไว้ซึ่งช้างไทย


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. มูลนิธิคัดเลือกช้างชราเพื่อเข้าอยู่อาศัย ซึ่งในโครงการนี้จะสร้างบ้านพักสำหรับ พังบุญชู เป็นอันดับแรก และเป็นต้นแบบสำหรับบ้านพักช้างชราในลำดับถัดไป
  2. วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายสำหรับสร้างบ้านพักช้างชรา รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อช้าง เช่น อาหาร ยารักษา(ในกรณีที่ช้างเจ็บป่วย) อุปกรณ์ที่จำเป็น (เช่น เครื่องสับหญ้า ฟูกนอนขนาดใหญ่ ที่พักขา ฯลฯสำหรับช้างทุพพลภาพ)
  3. ระดมทุนผ่าน เทใจ
  4. จัดหา จัดจ้าง ช่างสำหรับก่อสร้างบ้านพักช้างชรา ในพื้นที่เขตอำเภอแม่แตง เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน
  5. ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักช้างชรา และเข้าเช็คการก่อสร้างทุกระยะเพื่อ ให้ได้ซึ่งบ้านพักช้างชราที่มีประสิทธิภาพ มั่นคงแข็งแรง
  6. สรุปผลการดำเนินงานบ้านต้นแบบ เพื่อพัฒนาสำหรับบ้านพักช้างชราในลำดับถัดไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย

ปรับปรุงโครงสร้างบ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู

15 มีนาคม 2024

โครงการ บ้านพักช้างชราเพื่อพังบุญชู ได้เปิดระดมทุนโดยมุ่งหมายรีโนเวทบ้านที่เสื่อมโทรมให้กับพังบัญชูด้านข้างคลินิกช้าง เนื่องด้วยยอดระดมทุนยังไม่เพียงพอ ปัจจุบันมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียจึงได้เข้าปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในเฟสแรก ดังนี้

  • ทำโครงสร้างคอกเหล็กใหม่ทั้งหมด
  • ปูพื้นปูนใหม่

ส่วนในเฟสที่ 2 จะดำเนินการดังนี้

  • ติดตั้งหลังคา
  • ปรับปรุงราวกั้น
  • ทำประตูเข้าออกใหม่
  • ต่อระบบน้ำสำหรับดื่มกิน
  • ต่อระบบไฟสำหรับใช้กรณีฉุกเฉิน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

" โครงการบ้านช้างชรา ถือเป็นโครงการตัวอย่างให้กับปางช้างต่างๆ ในภาคเหนือที่มีช้างชรา ช้างพิการ ได้พัฒนาคอกช้างให้มีประสิทธิภาพและเหมาะกับช้างชรา ไม่ว่าจะเป็นประตูทางเข้าที่กว้างขึ้น พื้นนอนที่แบ่งเป็นทั้งปูนและทราย เพื่อให้ช้างชราทุกๆ เชือกในเชียงใหม่ มีอาหารการกินที่สะอาด มีน้ำไว้สำหรับดื่ม และจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามหลักสวัสดิภาพช้าง และช้างจะได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีความสุข " นายณัฐกานต์ แก้วกันภัย ผู้จัดการมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์ช้าง พังบุญชู1 เชือกบ้านอาศัยที่แข็งแรง ปลอดภัยในการอยู่อาศัย
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม



แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าแรงคนงานก่อสร้างบ้านพักช้างจำนวน 1 หลัง 3 คน 56,000.00
2 เหล็ก 3*1.5 แท่งละ 1000 บาท 24 แท่ง 24,000.00
3 ปูน 70 กระสอบ 9,100.00
4 ทราย 3 ลำ 6,000.00
5 หิน 3 ลำ 10,800.00
6 เมทัลชีท ยาว 7 เมตร 40 แผ่น 36,400.00
7 ลวดเชื่อม 1 ลัง 1,400.00
8 เหล็ก (เหล็กกล่อง, เหล็กตัวซี) 80 แท่ง 104,000.00
9 เหล็กหุน (2 และ 3 หุน) 2 ชุด 40,000.00
10 ฟูกนอนขนาดใหญ่สำหรับช้าง 2 ชุด 2 ชุด 46,000.00
11 เครื่องสับหญ้า 1 เครื่อง 12,000.00
12 แทงค์น้ำ ถังเก็บน้ำบนดิน 600 ลิตร 1 ถัง 2,500.00
13 ระบบท่อน้ำ วาง PVC 1 ชุด 3,000.00
14 วางระบบไฟฟ้า 1 ชุด 5,000.00
15 ระบบกล้องวงจรปิด 4 จุด 6,500.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
362,700.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
36,270.00

ยอดระดมทุน
398,970.00