project ผู้พิการและผู้ป่วย

เครื่องมือแพทย์หมุนเวียน เพื่อผู้ป่วย 3 โรงพยาบาลภาคอีสาน

ผู้ป่วยจำนวนมากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้ แต่ปัญหาทางการเงินจึงไม่สามารถซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อรองรับการกลับบ้านของผู้ป่วย มูลนิธิหนึ่งคนให้หลายคนรับเล็งเห็นความสำคัญ การลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย และลดความแออัดของโรงพยาบาล จึงช่วยทุกท่านมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและขาดแคลน 3 โรงพยาบาลทางภาคอีสาน

ระยะเวลาโครงการ 16 ส.ค. 2566 ถึง 30 มิ.ย. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: โรงพยาบาลโพนพิสัย จ.หนองคาย , โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ยอดบริจาคขณะนี้

1,132,597 บาท

เป้าหมาย

1,650,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 69%
63 วัน จำนวนผู้บริจาค 1,243

ผู้ป่วยจำนวนมากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านได้ แต่ปัญหาทางการเงินจึงไม่สามารถซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อรองรับการกลับบ้านของผู้ป่วย มูลนิธิหนึ่งคนให้หลายคนรับเล็งเห็นความสำคัญ การลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย และลดความแออัดของโรงพยาบาล จึงช่วยทุกท่านมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและขาดแคลน โรงพยาบาลโพนพิสัย โรงพยาบาลขอนแก่น และ โรงพยาบาลมุกดาหาร

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัจจุบันเมื่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น และแพทย์เห็นสมควรให้กลับบ้านได้ ซึ่งบางรายมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์เพื่อการรักษาต่อเนื่องที่บ้าน และผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความยากไร้ ขาดแคลน และมีปัญหาด้านเศรษฐานะ กอปรกับเครื่องมือแพทย์มีหลากหลายราคาตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสน  และจากการสำรวจในปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยใหม่ได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลของโรงพยาบาล ลดอัตราการครองเตียงและ Readmit ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง  ในขณะเดียวกันผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  สามารถกลับบ้านได้และได้รับการดูแลจากญาติ และครอบครัว

 โครงการ "หนึ่งคนให้ หลายคนได้ใช้" คือ การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยได้ยืมกลับไปรักษาต่อเนื่องที่บ้าน จึงเป็นหนทางที่จะช่วยเข้าไปเติมเต็มในส่วนที่ขาดแคลน เป็นวิธีการที่รวดเร็วที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวตามบ้านประกอบด้วย เตียง ที่นอนลม รถเข็น เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ เครื่องช่วยหายใจขณะนอนหลับ ฯลฯ 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. แพทย์ประเมินอาการและพิจารณาความจำเป็นใช้อุปกรณ์การแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละราย

2. พยาบาลประจำหอผู้ป่วย / ห้องตรวจส่งปรึกษานักสังคมสงเคราะห์

3. นักสังคมสงเคราะห์สัมภาษณ์ประวัติและข้อมูลของผู้ป่วย ครอบครัว และประเมินเศรษฐานะ (พิจารณาความสามารถในการจัดซื้อ/เช่า  อุปกรณ์การแพทย์ / รายได้ / รายจ่าย ภาระหนี้สินต่างๆ ของครอบครัว)

4. ผู้ป่วย / ญาติ ทำสัญญายืมอุปกรณ์การแพทย์กับนักสังคมสงเคราะห์พร้อมถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไว้เป็นหลักฐาน (กรณีเตียงผู้ป่วย หากญาติไม่สามารถนำกลับที่พักได้ด้วยตนเอง นักสังคมสงเคราะห์จะดำเนินการขอใช้รถของโรงพยาบาลนำส่งให้ โดยพิจารณาเป็นรายกรณี)

5. นักสังคมสงเคราะห์ดำเนินการติดตามผลหลังการให้ยืมอุปกรณ์ เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย

  หากผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นใช้อุปกรณ์หรือผู้ป่วยเสียชีวิต ให้ญาติติดต่อและนำส่งคืนอุปกรณ์ ได้ในวันและเวลาราชการ เวลา 08.30-16.30 น. โดยโทรศัพท์นัดหมายก่อนล่วงหน้า

  ผู้รับผิดชอบโครงการ

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 อุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ เตียงหมุน ที่นอนลม เตียงไฟฟ้า รถเข็น เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ เครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ 3 โรงพยาบาล 1,500,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,500,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
150,000.00

ยอดระดมทุน
1,650,000.00

บริจาคให้
เครื่องมือแพทย์หมุนเวียน เพื่อผู้ป่วย 3 โรงพยาบาลภาคอีสาน

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน