project สัตว์ สิ่งแวดล้อม

ชวนทำบุญปล่อยปลา โดยไม่ต้องซื้อปลามาปล่อย

การช่วยชีวิตปลาในฤดูมีไข่ ช่วย 1 ชีวิต = รอดเป็นร้อยเป็นพันชีวิต เพราะการช่วยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีไข่เต็มท้อง ในฤดูพร้อมวางไข่ เปรียบเสมือนการต่อชีวิตปลาที่กำลังจะถือกำเนิดตามฤดูกาลของธรรมชาติ อาสาสมัครกลุ่มใบไม้พร้อมที่จะเดินทางไปเพื่อนำ ทักษะ แรงกาย หัวใจ เพื่อเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัย ร่วมสนับสนุนภารกิจครั้งนี้ไปกับเรา

ระยะเวลาโครงการ 01 เม.ย. 2567 ถึง 15 ก.ย. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

327,120 บาท

เป้าหมาย

248,820 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 131%
3 วัน จำนวนผู้บริจาค 478

การช่วยชีวิตปลาในฤดูมีไข่ ช่วย 1 ชีวิต = รอดเป็นร้อยเป็นพันชีวิต เพราะการช่วยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีไข่เต็มท้อง ในฤดูพร้อมวางไข่ เปรียบเสมือนการต่อชีวิตปลาที่กำลังจะถือกำเนิดตามฤดูกาลของธรรมชาติ อาสาสมัครกลุ่มใบไม้พร้อมที่จะเดินทางไปเพื่อนำ ทักษะ แรงกาย หัวใจ เพื่อเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัย ร่วมสนับสนุนภารกิจครั้งนี้ไปกับเรา

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

"ถ้าเราปล่อยปลาแล้วเขาไปตาย เราจะยังได้บุญอยู่ไหม แล้วถ้าปลาที่เราปล่อยแท้จริงคือปลาผู้ล่าที่กำลังไปไล่ล่ากินปลาตัวอื่นในแหล่งน้ำ เราจะยังได้บุญอยู่ไหม แล้วถ้ามีงานอยู่งานหนึ่ง ที่เราไปช่วยชีวิต ปลดปล่อย แม่ปลาที่มีไข่เต็มท้อง ให้รอดจากความตาย ช่วย 1 ชีวิต รอดอีกเป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสนชีวิต เรามาร่วมบุญครั้งนี้กันดีไหม"

เราศึกษาติดตามเรื่องการทำบุญปล่อยปลา ที่เห็นว่าผู้ที่อยากทำบุญมีความปรารถนาดีต่อชีวิตสัตว์ด้วยใจบริสุทธิ์ ในขณะที่ชนิดของปลาและสัตว์น้ำที่ปล่อย รวมทั้งวิธีการและสถานที่ในการปล่อยปลาส่วนใหญ่นั้น อาจไม่ได้ทำความตั้งใจในการทำบุญเป็นดั่งหวัง อาจจะยกมาเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1. "ปลาดุก" เป็นชนิดของปลาที่นิยมปล่อยตามหน้าวัดมากที่สุด ในขณะที่ปลาดุกดังกล่าวเป็น "ปลาผู้ล่า" ที่ล่าปลาชนิดอื่น ๆ เป็นอาหาร รวมทั้งปลาผู้ล่าชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลาไหล ฯลฯ การปล่อยปลาเหล่านี้ครั้งละมาก ๆ ในพื้นที่เดียว จึงเสมือน "เรากำลังปล่อยผู้ล่า ลงไปล่าปลาและสัตว์น้ำวัยอ่อนในธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วให้หมดไป"

2. "ปลาที่เราซื้อมาปล่อย กำลังให้ให้ปลาในธรรมชาตินั้น ๆ มีชีวิตลำบาก" ปลาที่สามารถหาซื้อ นำมาปล่อย ส่วนใหญ่เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาเพื่อการบริโภคโดยเฉพาะ เป็นคนละชิดกับที่มีในธรรมชาติ การปล่อยปลาเหล่านี้ลงแหล่งน้ำครั้งละมาก ๆ ยังเป็นการแย่งอาหาร แย่งทรัพยากร ทำให้ปลาชนิดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติถูกแย่งชิงอาหาร ส่งผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่นั้น ๆ

3."ปล่อยผิดที่ เขาก็ตาย" ปลาและสัตว์น้ำแต่ละชนิด ต้องการถิ่นอาศัย(Habbitat) ที่แตกต่างกัน ปลาบางชนิดชอบพื้นโคลน ปลาบางชิดชอบน้ำไหล ปลาบางชนิดชอบพื้นที่รก ๆ เต่าบกอยู่ในแม่น้ำลึกไม่ได้ ตะพาบก็ต้องการพื้นทรายพื้นดินเลน ในขณะที่การทำบุญส่วนใหญ่เกิดขึ้นหน้าวัดบ้าง ท่าน้ำบ้าง มีสัตว์น้ำจำนวนมากที่ถูกปล่อยด้วยความปรารถนาดีจากผู้ทำบุญ แต่เขาอาจต้องตายลง หิว และไม่มีที่อยู่ จากการปล่อยในพื้นที่ไม่เหมาะสม

* จริง ๆ แล้วยังมีผลกระทบอีกไม่น้อย จากการปล่อยปลาหรือสัตว์น้ำ ในแบบที่ยังมีข้อมูลไม่พอ ว่าปล่อยอย่างไรเขาถึงจะรอด "เพื่อให้เราได้บุญที่แท้จริง"

วิธีการแก้ปัญหานี้เพื่อให้การทำบุญ ได้บุญ ได้ช่วยเหลือ อย่างแท้จริง

โครงการในปีนี้ เราตั้งใจทำงานเพื่อ "ช่วยชีวิตแม่ปลาในธรรมชาติที่มีไข่เต็มท้อง" ที่มนุษย์ควรจะเว้นวรรคช่วงเวลาฤดูวางไข่ ให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้ออกลูกหลานตามธรรมชาติ โดยการค้นหาและเก็บกู้ตาข่าย เบ็ดราว อวน เครื่องมือประมงผิดกฎหมายออกจากผืนน้ำในพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ฯ และ "ใช้กรรไกรตัดตาข่าย เชือก ช่วยเหลือปลา ปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำ " การช่วยปลา 1 ตัว จึงไม่ใช่แค่ 1 ชีวิต แต่คือการช่วยชีวิตลูกปลาในท้องแม่ ที่กำลังจะลืมตาดูโลก อีกเป็นร้อย เป็นพัน หรือเป็นหมื่นตัว ยิ่งเราทำงานช่วยพ่อแม่พันธุ์ปลาได้มากแค่ไหน จึงเสมือนการช่วยเหลือชีวิตน้อย ๆ ทวีคูณ เป็นล้าน ๆ ชีวิต ตลอดฤดูกาลที่เขาควรจะเกิดมาสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศแหล่งนี้

ปัญหาการลักลอบทำการประมงในฤดูปลาวางไข่ เป็นปัญหาใหญ่ของพื้นที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ นอกจากจะปิดโอกาสให้พ่อแม่พันธุ์ปลาได้สืบเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติแล้ว เครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมาย เครื่องมือเก่า ขยะจากกิจกรรมในน้ำ ยังเป็นอุปสรรค์ต่อการเดินทางว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นสู่พื้นที่วางไข่ในบริเวณทุ่งน้ำท่วมของฝูงปลา และสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ

ดังนั้นหากสูญเสียประชากรปลาแล้ว จะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหารของชาวบ้าน ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ และพวกเราทุกคน หากประชากรปลาลดลงจะส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศที่จะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย

ใน 1 ปี จะมีเพียงครั้งเดียวที่สัตว์น้ำจะขึ้นวางไข่ ถ้าเรารักษาได้ก็เหมือนรักษาปลาได้ทั้งปี แต่ถ้ารักษาไว้ไม่ได้ เพียงไม่กี่ฤดูกาลปลาและสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก็จะหมดไปจากผืนน้ำ แม้จะกว้างใหญ่ไพศาลเพียงใด

โครงการครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน และอาสาสมัครกลุ่มใบไม้ วางแผนล่องท้องน้ำประมาณ 2 แสนกว่าไร่ โดยออกเดินทางจำนวน 5 ครั้ง ๆละ 4-5 วันตลอดฤดูฝน โดยใช้เรือในการเดินทางขึ้นสู่ต้นน้ำ ที่เป็นพื้นที่ทุ่งน้ำท่วมที่ปลาจะใช้วางไข่ ผสมพันธุ์ และปฏิบัติภารกิจเก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย อุปกรณ์ทำการประมงเก่า ขยะต่าง ๆ เพื่อเคลียร์และเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้พ่อแม่พันธุ์ปลารวมทั้งสัตว์น้ำอื่น ๆ

แต่ละครั้งเราจะมีผู้ปฏิบัติภารกิจราว 20 คน จึงทำให้ต้องระดมทุนเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือ เสบียงอาสาสมัคร และอุปกรณ์เก็บกู้เครื่องมือประมง โดยใช้งบประมาณ 27,000 บาท

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.ระบบจัดการอาสาสมัคร : ประชุมร่วมกับเครือข่าย ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม ชุมชน และทีมอาสาสมัครผู้ร่วมปฏิบัติงาน เพื่อเปิดรับอาสาทั่วไปให้เข้าร่วมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (กลุ่มใบไม้มีสถานะเป็นเครือข่ายอาสาสมัครผู้ร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานฯ)

2.ขั้นปฏิบัติงาน ลงพื้นที่ทำงาน ประเมินสถานการณ์ตามฤดูกาล : ลงพื้นที่ทำงานในฤดูฝน (เดือน มิถุนายน - เดือนกันยายน) ประมาณ 4 ครั้ง

ตามสถานการณ์ของฝน และการไหลของน้ำป่าจากพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนัก เป็นช่วงที่ปลาสำคัญ เช่น ปลาค้าวดำ ปลาค้าวขาว ปลากด ฯลฯ ขนาดใหญ่หลายสิบกิโลต่อตัว เลือกผสมพันธุ์ในช่วงนั้น ทางทีมอาสาสมัครจะเข้าพื้นที่ทำงานเข้มข้นขึ้น และสนับสนุนทรัพยากร น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์การทำงาน ให้กับเครือข่ายงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่

ด้วย 3 ภารกิจย่อยในการช่วยชีวิตพ่อแม่พันธุ์ปลา ได้แก่

1.ค้นหา : ตาข่าย เบ็ดราว อวน เครื่องมือทำการประมงผิดกฎหมาย ในพืนที่อนุรักษ์ พื้นที่วางไข่ของปลา โดยใช้อาสาสมัครออกเรือกระจายไปตามลำห้วยต่าง ๆ ที่ต้นน้ำ

2.ปลดปล่อย : ใช้กรรไกรตัด ปลดปล่อย ช่วยชีวิตแม่ปลาที่เคราะห์ร้ายเข้ามาติดตาข่าย และรีบปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำในธรรมชาติให้ปลาได้ว่ายขึ้นสู่พื้นที่วางไข่อย่างปลอดภัย

3.เก็บกู้ : เมื่อปล่อยปลาแล้ว เราจะเก็บกู้ตาข่าย และเครื่องมือประมงผิดกฎหมายเหล่านั้น รวมทั้งขยะในลำน้ำ ขึ้นมาบนเรือแต่ลำ ก่อนจะขนย้ายกลับมาขึ้นฝั่ง เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ฝูงปลาได้มีพื้นที่วางไข่ตามฤดูกาลของธรรมชาติ

3.ขั้นประชาสัมพันธ์ สร้างความร่วมมือกับชุมชน และประชาชนในพื้นที่ : นอกจากงานลงพื้นที่เก็บกู้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ปลา จะมีการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากชาวบ้าน ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจกรรมทางน้ำหรือคนที่ใช้ประโยชน์จากสายน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำงานระยะยาวต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายโชคนิธิ คงชุ่ม และอาสาสมัครงานปกป้องปลาในฤดูมีไข่

โดยการขับเคลื่อนการทำงานของกลุ่มใบไม้

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 สนับสนุนการทำงานภาคสนามของอาสาสมัคร 1 วัน 7,000 บาท (จำนวนอาสา 10-15 คน ลงพื้นที่ 6 ครั้ง ครั้งละ 4 วัน) - ค่าเสบียงอาหาร น้ำดื่ม 2,000 บาท/วัน - ค่าน้ำมัน ออกเรือทำงาน 5,000 บาท/วัน - ค่าอุปกรณ์ในการทำงาน 1,000 บาท/วัน 24 วัน 192,000.00
2 - ค่าผลิตสื่อ ป้าย ติดตั้งในพื้นที่ สร้างความเข้าใจระยะยาวกับชาวบ้าน / สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างแนวร่วมในการทำงานอนุรักษ์ เดือนละ 5,000 บาท 3 เดือน 15,000.00
3 สนับสนุนเสบียง อาหาร ยาสามัญ และอุปกรณ์การทำงาน ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ เดือนละ 3,000 บาท 3 เดือน 9,000.00
4 สนับสนุนเสื้อแขนยาวภาคสนาม(300 บาท) หมวกกันแดด(200บาท) ถุงมือ(30บาท) ไฟฉาย(150บาท) เพื่อใช้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาคสนาม 15 คน 10,200.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
226,200.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
22,620.00

ยอดระดมทุน
248,820.00

บริจาคให้
ชวนทำบุญปล่อยปลา โดยไม่ต้องซื้อปลามาปล่อย

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน