project เด็กและเยาวชน อื่นๆ

ส่งเสริมการอ่านนิทานข้าวนานาชาติเพื่อเด็กไทยควรรู้

ตำนานพื้นบ้านของเมล็ดข้าวน้อย ๆ ที่เป็นอาหารหลักของโลกกว่า 5,000 ปี จากหนังสือ Rice – Cherished Stories of the World’s Favorite Grain เขียนโดย คุณอลิซ ฟลินน์ สติลเวลล์ รวบรวมเรื่องเล่าของแต่ละประเทศที่ปลูกข้าวจากการเดินทางและค้นคว้าร่วม 25 ปี นิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับข้าวทั้ง 31 เรื่อง จาก 16 ประเทศ เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์และเผยแพร่เพื่อให้เยาวชนรุ่นต่อไปเรียนรู้ความความเป็นมาของวัฒนธรรมของข้าวแต่ละประเทศ และพัฒนาทักษะการอ่านไปพร้อมๆกัน ร่วมส่งนิทานไปให้น้องๆในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ 300 โรงเรียนไปด้วยกัน

ระยะเวลาโครงการ 15 มี.ค. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

37,307 บาท

เป้าหมาย

115,500 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 32%
248 วัน จำนวนผู้บริจาค 17

ตำนานพื้นบ้านของเมล็ดข้าวน้อย ๆ ที่เป็นอาหารหลักของโลกกว่า 5,000 ปี จากหนังสือ Rice – Cherished Stories of the World’s Favorite Grain เขียนโดย คุณอลิซ ฟลินน์ สติลเวลล์ รวบรวมเรื่องเล่าของแต่ละประเทศที่ปลูกข้าวจากการเดินทางและค้นคว้าร่วม 25 ปี นิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับข้าวทั้ง 31 เรื่อง จาก 16 ประเทศ เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์และเผยแพร่เพื่อให้เยาวชนรุ่นต่อไปเรียนรู้ความความเป็นมาของวัฒนธรรมของข้าวแต่ละประเทศ และพัฒนาทักษะการอ่านไปพร้อมๆกัน ร่วมส่งนิทานไปให้น้องๆในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ 300 โรงเรียนไปด้วยกัน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

หนังสือแปล “นิทานข้าว” เล่มนี้ รวบรวมนิทานพื้นบ้าน จากการบอกเล่าของเกษตรกรในแต่ละประเทศ ที่ผู้เขียนคุณอลิซ ฟลินน์ สติลเวลล์   เดินทางติดตามสามีที่ล่วงลับไปแล้ว คุณจอห์น ฟลินน์ ซึ่งทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ที่สถาบันค้นคว้าวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute – IRRI) ที่ลอสบาโญสในประเทศฟิลิปปินส์

ช่วงที่ได้เดินทางร่วมกับคุณจอห์นสามีของเธอ ไปยังประเทศต่างๆที่มีการปลูกข้าว คุณอลิซได้รับรู้เรื่องราว ตำนาน วัฒนธรรมท้องถิ่น ขนบประเพณี จารีต และพิธีกรรมความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับข้าว ซึ่งพิธีกรรมบางอย่างได้สาบสูญไปแล้ว

คุณอลิซจึงเกิดความสนใจ และเริ่มค้นคว้าเรื่องราวตำนานที่เกี่ยวข้องกับข้าวโดยเฉพาะ การทำหนังสือเกี่ยวกับนิทานตำนานที่ควรอนุรักษ์เล่มนี้ เป็นการค้นคว้าส่วนตัวซึ่งใช้เวลาร่วม 25 ปี เรื่องราวแผ่กว้างกระจายข้ามทวีป ทั้งเอเชีย แอฟริกา อเมริกา และออสเตรเลีย มีนิทานทั้งหมด 31 เรื่อง จาก 16 ประเทศ

ช่วง 25 ปีที่คุณอลิซค้นหาและสะสมนิทานเหล่านี้ สื่อข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทแทบจะไม่มี หรือมีน้อยมาก ดังนั้นแหล่งข้อมูลของนิทานเหล่านี้มากจากการบอกเล่าของคนในพื้นที่และห้องสมุดเท่านั้น และในที่สุดคุณอลิซได้นำนิทานที่สะสมและค้นคว้าทั้งหมดรวมเล่มเป็นหนังสือ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558

ประโยชน์จากการสื่อสารผ่านนิทานพื้นบ้านนานาชาติเกี่ยวกับข้าว

ผู้อ่านจะได้รับความรู้ทั้งความเชื่อและวัฒนธรรมในวงจรของข้าวตั้งแต่กำเนิดข้าว ฤดูกาล-วงจรการปลูกข้าว ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณของข้าว และวัฒนธรรมประเพณีของการเป็นอยู่ของประเทศต่างๆที่ปลูกข้าวและมีข้าวเป็นอาหารหลักในการบริโภค

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีข้าวเป็นพื้นฐานด้านเกษตรกรรม มีสายพันธุ์ที่ข้าวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ถึงแม้ว่าข้าวจะไม่ใช่รายได้หลักของประเทศอีกต่อไป ประเทศไทยยังมีพื้นที่ปลูกข้าวเกือบ 50% ของพื้นที่ประเทศ หน้งสือเล่มนี้จะเป็น soft power เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวและการปลูกข้าว และประเพณีความเชื่อ พิธีกรรม ไปยังรุ่นต่อๆไป

ผู้อ่านจะได้ความรู้และเพลิดเพลินไปกับนิทานจากประเทศที่มีพื้นฐานเดียวกันคือการปลูกข้าว และบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งต่างมีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นเช่นกัน รวมทั้งนิทานจากประเทศไทย ที่มีทั้งความคล้ายคลึงและความมีเอกลักษณ์ตามสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น

นอกจากนี้เยาวชนและคนที่โตมาในยุคสื่อเทคโนโลยี มีแนวโน้มสมาธิสั้น และการอ่านข้อมูลผ่านๆ ขาดการพัฒนาทักษะการอ่านดังนั้น การพัฒนาการอ่านหนังสือ ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเยาวชนและคนทั่วไป เช่นกัน ในขณะที่การอ่านหนังสือ พัฒนาทักษะหลายอย่าง ที่มากกว่าสือทางเทคโนโลยี เช่น สมาธิ ได้สำนวนภาษา กระตุ้นกระบวนการคิด พัฒนาความจำ พัฒนาการเขียน และให้ความบันเทิงได้เช่นเดียวกับสื่ออื่นๆ

สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับ

การแปลและจัดพิมพ์หนังสือ “นิทานข้าว” ส่งต่อให้ให้ห้องสมุดในโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ จะส่งผลให้เยาวชนและผู้บุคคลทั่วไปดังนี้

  • เรียนรู้และความเข้าใจในที่มาของวัฒธรรมแต่ละประเทศ และภูมิใจในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวกับข้าว
  • Soft Power เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรมพื้นบ้าน และสืบทอดเรื่องราวไปยังรุ่นต่อๆไป ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคของเทคโนโลยีใหม่ แต่สามารถคงรากฐานวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ด้วยเช่นกัน
  • สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (cross culture) เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่อดีตจนถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และมีความความรู้สึกสามัคคีในกลุ่มประเทศเอชียเพิ่มขึ้น
  • ส่งเสริมทักษะและรักการอ่านหนังสือ ซึมซับการใช้ภาษาไทยอย่างถูกหลักจากหนังสือวรรณกรรมเยาชน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. เลือกหนังสือต้นฉบับที่เหมาะสมในการส่งเสริมความรู้ วัฒนธรรมระหว่างประเทศ และส่งเสริมการอ่าน คือหนังสือชื่อ “Rice – Cherished Stories of the World’s Favorite Grain” แต่งโดย อลิซ ฟลินน์ สติลเวลล์ ซึ่งเจ้าของโครงการได้ติดต่อและขอลิขสิทธิ์จากผู้เขียนในการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งผู้เขียนได้ให้สิทธิการแปลเป็นภาษาไทยโดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ทังนี้เจ้าของโครงการ (ขั้นตอนนี้แล้วเสร็จ)
  2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการกระจายและบริจาคหนังสือ (ขั้นตอนนี้แล้วเสร็จ)
  3. ดำเนินการแปลหนังสือเป็นภาษาไทย โดย คุณสุวทนา เจริญสุข (เจ้าของโครงการ) โดยมีชื่อหนังสือเป็นภาษาไทย ว่า “นิทานข้าว – เรื่องเล่าขานตำนานเมล็ดพันธุ์ยอดนิยมของโลก (ขั้นตอนนี้แล้วเสร็จ)
  4. เรียบเรียงการแปลเพื่อให้เป็นสำนวนไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมกับเป็นวรรณกรรมเยาชน โดยเรียนเชิญ ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล เป็นที่ปรึกษาและบรรณาธิการกิตติมศักดิ์ และคุณนฤมล อิทธิวิวัฒน์ เป็นบรรณาธิการบริหาร ของการแปลหนังสือ “นิทานข้าว” เล่มนี้ (ขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  5. ออกแบบและจัดวาง artwork รูปเล่ม โดยเป็นหนังสือ ขนาด 21 ซมx21ซม ปกแข็ง พิมพ์4สี กระดาษอาร์ตด้าน ความหนา 200หน้า (โดยประมาณ) (ขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ)
  6. จัดพิมพ์และนำหนังสือบริจาค ไปยังกลุ่มเป้าหมาย (ขั้นตอนนี้จะเริ่มดำเนินการเมื่อระดมทุนได้ครบ หรือ ทำให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2567)

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สุวทนา เจริญสุข 

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดพิมพ์หนังสือ ขนาด 21 ซมx21ซม ปกแข็ง พิมพ์4สี กระดาษอาร์ตด้าน ความหนาโดยประมาณ 200-216 หน้า 300 เล่ม 105,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
105,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
10,500.00

ยอดระดมทุน
115,500.00

บริจาคให้
ส่งเสริมการอ่านนิทานข้าวนานาชาติเพื่อเด็กไทยควรรู้

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน