project เด็กและเยาวชน

Sisters’ Care

โครงการ Sisters’ Care จึงมีจุดประสงค์ที่จะจัดทำโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การเป็นสาว” โดยนำข้อมูลและความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับ “การเป็นสาว” ของเด็กหญิงไทย ที่ได้ศึกษาวิจัยจากโครงการที่ได้รับการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในปี 2564 และได้รับอนุญาตแล้วในรูปของการจัด workshop เพื่อให้ข้อมูลกับน้องๆ ผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยสาวที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โดยพี่ๆ นักเรียนในระดับมัธยมต้นหรือมัธยมปลายเพื่อช่วยเหลือน้องๆ และแบ่งปันประสบการณ์การมีประจำเดือนและการดูแลตัวเองในระหว่างการมีประจำเดือนในช่วงแรกๆ ที่จะทำให้น้องๆ มีความเข้าใจที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการเข้าสู่วัยสาวและการดูแลตนเองหลังจากการเป็นสาว

ระยะเวลาโครงการ 15 มิ.ย. 2567 ถึง 15 ส.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

2,500 บาท

เป้าหมาย

10,890 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 23%
46 วัน จำนวนผู้บริจาค 5

โครงการ Sisters’ Care จึงมีจุดประสงค์ที่จะจัดทำโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การเป็นสาว” โดยนำข้อมูลและความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับ “การเป็นสาว” ของเด็กหญิงไทย ที่ได้ศึกษาวิจัยจากโครงการที่ได้รับการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในปี 2564 และได้รับอนุญาตแล้วในรูปของการจัด workshop เพื่อให้ข้อมูลกับน้องๆ ผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยสาวที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โดยพี่ๆ นักเรียนในระดับมัธยมต้นหรือมัธยมปลายเพื่อช่วยเหลือน้องๆ และแบ่งปันประสบการณ์การมีประจำเดือนและการดูแลตัวเองในระหว่างการมีประจำเดือนในช่วงแรกๆ ที่จะทำให้น้องๆ มีความเข้าใจที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการเข้าสู่วัยสาวและการดูแลตนเองหลังจากการเป็นสาว

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

“การเป็นสาว” เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของเด็กผู้หญิงทุกคนในโลกใบนี้ไม่ว่าจะยากดีมีจน มีนิยามที่ตรงกันไม่ว่าจะในศาสนาหรือวัฒนธรรมใดก็คือ ภาวะที่เด็กผู้หญิงเปลี่ยนผ่านได้เป็นหญิงสาวจากการมีประจำเดือนครั้งแรก ที่หมายถึงความพร้อมทางกายภาพที่จะตั้งครรภ์ได้ แต่ในปัจจุบัน “การเป็นสาวก่อนวัย” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกมุมโลกที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรในเรื่องของภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility) จากผลการสำรวจในหลายประเทศทั่วโลก สอดคล้องกับผลสำรวจขององค์การอนามัยโลก ซึ่งพบว่า “โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการเป็นสาวก่อนวัย” โดยในภาพประกอบที่ 1 แสดงแนวโน้มของเด็กผู้หญิงที่มีรอบเดือนครั้งแรกในประเทศต่างๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ปี 1830 จนถึงปี 2010 ซึ่งจะเห็นได้ว่าอายุเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องในทุกประเทศที่มีการจัดเก็บข้อมูล (Sørensen and Mouritsen, 2012)

จากผลการศึกษาในประเทศไทยในปี 2564 โดย ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และคณะ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า อายุแรกเป็นประจำเดือนของเด็กหญิงไทยเฉลี่ยอยู่ที่อายุ 11.27 ปี ลดลงจากการสำรวจในปี 2540 ที่อายุเฉลี่ย 12.5 ปีอย่างมีนัยสำคัญ

“การเป็นสาวก่อนวัย” ยังสะท้อนสถานะทางสุขภาพของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลมาจากปัจจัยทางโภชนาการ และเงื่อนไขทางด้านสภาพแวดล้อม (Ameade & Garti,2016) โดย“การเป็นสาวก่อนวัยอาจนำมาซึ่งปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา เช่น การตั้งครรภ์ในเด็กผู้หญิงที่ยังอยู่ในวัยเรียน หรือวัยที่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาสถานะทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก เช่น การมีส่วนสูงต่ำกว่าค่ามาตรฐานหรือปัญหาโครงสร้างกระดูกหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัยอันควร และความเครียดโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กหญิงที่มีประจำเดือนก่อนวัยอันควร ในขณะที่ การให้ความรู้กับเด็กหญิงในเรื่อง แนวโน้มการเป็นประจำเดือนเร็ว ปัจจัยที่ทำให้มีประจำเดือนเร็ว และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนและการดูแลตัวเองในระหว่างเป็นประจำเดือนยังไม่มีความชัดเจนและเป็นระบบ

การแก้ปัญหาของ โครงการSisters’ Care จึงมีจุดประสงค์ที่จะจัดทำโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “การเป็นสาว” โดยนำข้อมูลและความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับ “การเป็นสาว” ของเด็กหญิงไทย ที่ได้ศึกษาวิจัยจากโครงการจาก อาจารย์ ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และได้รับอนุญาตแล้วในรูปของการจัด workshop เพื่อให้ข้อมูลกับน้องๆ ผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยสาวที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โดยพี่ๆ นักเรียนในระดับมัธยมต้นหรือมัธยมปลายเพื่อช่วยเหลือน้องๆ และแบ่งปันประสบการณ์การมีประจำเดือนและการดูแลตัวเองในระหว่างการมีประจำเดือนในช่วงแรกๆ ที่จะทำให้น้องๆ มีความเข้าใจที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการเข้าสู่วัยสาวและการดูแลตนเองหลังจากการเป็นสาว และเราจะให้นักเรียนในระดับชั้นต่างๆพูดคุยและแชร์ประสบการณ์กัน ไม่ได้มีแต่การให้ความรู้จากมุมมองของผู้ใหญ่ ซึ่งส่งผลให้น้องๆนักเรียนได้รับรู้ถึงประสบการณ์ที่แตกต่างกันที่ไม่ตายตัว เพื่อเตรียมในการรับมือเมื่อเข้าสู่วัยสาว

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

แบ่งเป็น 3 เฟส

1. การจัด workshop นำร่อง 3 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และต่างจังหวัด เพื่อประเมินรูปแบบการจัด workshop และประเมินเครื่องมือและความสนใจของนักเรียนและครูที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งประโยชน์ที่ได้จากโครงการ โดยการจัดทำ workshop ประกอบด้วย

a. การบรรยายความรู้เกี่ยวกับการเป็นสาว ปัจจัยที่ทำให้เป็นสาวเร็ว และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือน และการดูแลตนเองระหว่างการเป็นประจำเดือน

b. ช่วงการสาธิต และการถาม-ตอบ ระหว่าง “พี่สาว” กับ “น้องสาว”

2. การสร้าง “เครือข่ายพี่สาว” โดย

a. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน website และช่องทาง Instragram รับสมัคร “พี่สาว” ที่จะเป็นผู้นำในโครงการ Sisters’ Care ประจำภูมิภาค และจังหวัดต่างๆ

b. จัดอบรม Training of the trainer ตัวแทน “พี่สาว” ในการบรรยายและตอบคำถาม สำหรับการจัดทำ workshop ในโรงเรียนต่างๆ ที่มี “พี่สาว” ตัวแทนในพื้นที่ โดยการอบรมแบบ Online

3. จัด workshop “Sisters’ Care” ในพื้นที่ทั่วประเทศ 

แผนการประชาสัมพันธ์:

1. จัดทำโบรชัวร์ เอกสารโครงการ จัดทำเอกสารโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลตนเองขณะมีประจำเดือน

2. จัดทำ website โครงการ

3. จัดทำ Instragram โครงการ และช่องทาง ถาม – ตอบ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ: นางสาวปังหวาน ผลพิรุฬห์

(‘พี่สาว” ชั้น ม.5 โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า ผู้มีประสบการณ์การเป็นประจำเดือนเร็ว และมีน้องๆ และเพื่อนๆ มาปรึกษาปัญหาการเป็นประจำเดือนเป็นประจำ จนเป็นที่มาของโครงการนี้)

 

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเอกสารสำหรับจัดงานอบรม 50 คน × 3 โรงเรียน × 100 บาท 1,500.00
2 ค่าอาหาร/เครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนที่เจ้าร่วมโครงการ 50คนx3โรงเรียนx20บาท 3,000.00
3 ค่าเดินทางเพื่อไปกลับ 3โรงเรียน 3โรงเรียนx800บาท 2,400.00
4 ค่าประสานงาน 3โรงเรียน 3โรงเรียนx1000บาท 3,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
9,900.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
990.00

ยอดระดมทุน
10,890.00

บริจาคให้
Sisters’ Care

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน