กิจกรรมดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่ และวงเด็กภูมิดี

ดนตรีพลังบวก วงเด็กของเด็กและคนชราให้ปล่อยแก่

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2024

โครงการดนตรีพลังบวก วงปล่อยแก่

  1. โครงการวงปล่อยแก่บ้านคา จังหวัดราชบุรี
  2. โครงการวงปล่อยแก่บ้านเกาะลอย จังหวัดราชบุรี
  3. โครงการวงปล่อยแก่เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  4. โครงการวงปล่อยแก่ยะลา จังหวัดยะลา
  5. โครงการวงปล่อยแก่บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  6. โครงการวงปล่อยแก่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์
  7. โครงการวงปล่อยแก่เชียงราย จังหวัดเชียงราย
  8. โครงการปล่อยแก่สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  9. โครงการปล่อยแก่ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  10. โครงการปล่อยแก่โคราช จังหวัดนครราชสีมา
  • พัฒนาต่อยอดให้เกิดวงปล่อยแก่สำหรับชุมชน
  • ดำเนินการสอนและดำเนินแผนบูรณาการให้เข้ากับบริบทในแต่ละพื้นที่
  • สร้างความเข้าใจ โดยจัดประชุมในพื้นที่โครงการที่มีศักยภาพโดยให้ชุมชน/ภาครัฐ/ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย เปิดพื้นที่สำหรับวงปล่อยแก่เป็นที่รู้จัก และจัดกิจกรรมดนตรีในพื้นที่
  • การดำเนินการสอนให้เป็นไปตามบริบทพื้นที่จัดให้มีการเป็นการประชุมร่วมระหว่าง ผู้เรียน (ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่) (ครูเจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชน) ครูผู้สอน (วิทยากรโดยมูลนิธิฯ)
  • กิจกรรมการถอดบทเรียน

โครงการดนตรีพลังบวก วงเด็กภูมิดี

โรงเรียนวัดสุวรรณาราม จังหวัดนครปฐม
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนวัดลาดทราย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงเครื่องสาย
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสาย เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพื้นฐานอาชีพดนตรีไทย ให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยอาศัยพื้นที่วัดลาดทรายเป็นศูนย์กลางในการแสดงดนตรีไทยของชุมชน
โรงเรียนวัดกุฏิประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และวงอังกะลุง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวงอังกะลุง เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถประกวดแข่งขันดนตรีไทย
โรงเรียนวัดพระยอม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีไทย วงปีพาทย์ และกลองยาว
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีไทย การอ่านโน้ต การปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย จนถึงการเล่นรวมวงปี่พาทย์ และวกลองยาว เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การสร้างพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
โรงเรียนบ้านเทอดไทย จังหวัดเชียงราย
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตก
  • ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัมธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงเครื่องสายตะวันตกจนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก โรงเรียน
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนบ้านห้วยอื่น จังหวัดเชียงราย
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงเมโลเดียน
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล จนถึงการรวมวงดนตรี เพื่อกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนอนุบาลยะลา จังหวัดยะลา
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 40 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนโป่งเจ็ด จังหวัดราชบุรี
  • การเรียนการสอนวงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง
  • ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนนักเรียน 35 คน
  • การสร้างการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียงเด็ก จนถึงการรวมวงขับร้องประสานเสียง
  • การพัฒนาผู้ควบคุมดูแลวงดนตรีให้สามารถวางแผนการซ้อม สามารถดูแลรักษาเครื่องดนตรี และสามารถนำนักเรียนออกแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

เสียงสะท้อนจากวงปล่อยแก่

สิ่งที่รู้สึกชอบมาก คือ รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการมา มีสุขภาพจิตดีมากขึ้น เชื่อว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง มีเพื่อนได้พูดคุย ไม่เหงา มีเป้าหมาย ตารางเวลาและภาระหน้าที่ให้ต้องปฏิบัติ ไม่รู้สึกว่างเปล่าไร้ประโยชน์เหมือนในอดีต

สิ่งที่รู้สึกภาคภูมิใจมาก คือ การพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น

สิ่งที่รู้สึกว่ายากในการเรียนการสอน คือ การอ่านโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะ การออกเสียงให้ถูกต้อง การหายใจให้ถูกจังหวะ การเข้าใจอารมณ์ของเพลง และเมื่อร้องรวมกัน ยังสามารถออกเสียงตนเองได้ถูกต้อง

เป้าหมายสำคัญที่เข้าร่วมโครงการ คือ ความอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงปล่อยแก่ อยากมีเพื่อน อยากมาพูดคุยกับเพื่อนช่วยให้หายเหงาได้เยอะมาก อยากมีความสามารถในทักษะการร้องเพลงประสานเสียงมาขึ้น อยากแสดงบนเวทีเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ สร้างเป้าหมายใหม่ๆ ร่วมกัน

อยากมีเวทีให้แสดงบ่อยๆ เพื่อจะได้ฝึกฝนทักษะมากขึ้น สร้างความมั่นใจมากขึ้น อยากให้ชุมชนในพื้นที่ภาคภูมิใจในวงปล่อยแก่ ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้สูงวัย ก็ยังมีประโยชน์ สามารถช่วยสังคมด้วยการสร้างความสุขให้ผู้คน ดูแลสุขภาพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นสังคมสุขภาวะที่ไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน

ผลการประเมินความมีชีวิตชีวา

  • แสดงให้เห็นว่า เมื่อแยกระดับความมีชีวิตชีวาตามด้านต่างๆ จะพบว่าสิ่งที่ได้เพิ่มเข้ามาอย่างเห็นได้ชัดคือส่วนของสุขภาพจิต ที่ระดับความมีชีวิตชีวาด้านจิตใจเพิ่มขึ้น ในภาพรวมทั้ง 6 กลุ่ม สอดคล้องกับผลการถอดบทเรียนที่พบว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดของแต่ละบุคคลคือการที่รู้สึกมีความสุขมากขึ้น สุขภาพจิตดีมากขึ้น โดยให้เหตุผลประกอบว่า การร้องเพลงเป็นวิธีคลายเครียดวิธีหนึ่ง การรู้สึกภาคภูมิใจกับการพัฒนาความสามารถในด้านร้องเพลงของตัวเอง จากเริ่มต้นที่คิดว่าการเรียนตัวโน้ต การร้องเพลงให้ตรงจังหวะเป็นเรื่องยาก เป็นตัวถ่วงของกลุ่มแต่ในที่สุดสามารถทำได้แม้ว่าอาสาสมัครบางคนอ่านหนังสือไม่ออก การได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทเพลงในงานต่างๆ หรือการได้ช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นในกลุ่มที่มีปัญหา เช่น การช่วยอ่านหนังสือ อ่านตัวโน้ต การช่วยประสานงาน ช่วยเหลือเพื่อให้เดินทางมาฝึกซ้อมและจัดแสดง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น รองลงมาจากด้านสุขภาพจิตคือเรื่องของการเข้าสังคม นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงวัยที่มักเก็บตัวอยู่บ้านหรือรู้สึกโดดเดี่ยว ได้มีกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่นมากขึ้นแล้วยังมีเรื่องของการปรับตัวเมื่อต้องอยู่ในคนหมู่มาก นับได้ว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน และถือเป็นเรื่องยากมากสำหรับผู้สูงวัยแล้ว
  • วงปล่อยแก่เป็นวงขับร้องเพื่อสร้างพลังผู้สูงอายุให้สามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด เมื่อกำลังเริ่มถดถอยก็ต้องสร้างพลังจากภายในให้เข้มแข็ง เวลาร้องเพลงเลือดลมได้สูบฉีดทั่วร่างกาย ได้ปลดปล่อยความเจ็บปวดที่มีอยู่ภายในให้ออกไปและจะช่วยเติมความสุขเข้ามาแทน การเปล่งเสียงจึงเป็นการออกกำลังกายของคนแก่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เด็กและเยาวชนนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ355 คนเกิดวงดนตรีต้นแบบนำร่องเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน 
ผู้สูงอายุผู้สูงอายุในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ480 คน
  • ลดภาวะซึมเศร้า ลดภาวะความหดหู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ
  • มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีขึ้น
  • ทำให้ภาระการดูแลของลูกหลานลดลง
  • มีกลุ่มผู้สูงอายุที่สุขภาพที่ดี แข็งแรง
  • เกิดวงขับร้องปล่อยแก่ ขึ้นในชุมชน
  • เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย / ผู้เกี่ยวข้อง ในรูปแบบการสนับสนุนในหลายมิติ
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม